ที่แม่กลอง ความรู้อยู่ที่ ‘ท้องร่อง’ ไม่ใช่ห้องเรียน
ทองคำ เจือไทย คุณป้านักวิจัยวัย 67 เชื่อว่าความรู้จริงๆ เกิดจากการลงมือทำ และพื้นที่เรียนรู้สำคัญคือ ชุมชน โดยเฉพาะถ้า…
เริ่มจากความสงสัยว่าทำไมอาชีพจับปูแสมถึงหายไปจากชุมชน สู่การลงมือพาเด็กในโรงเรียนหาคำตอบแบบบ้านๆ ออกไปคุยกับคนจับปู ไปศึกษาชีวิตปู ไปดูว่าปูอยู่อย่างไร กินอะไร แล้วทำไมมันถึงหายไป
จากนั้นถอดบทเรียนจากข้อมูล วิเคราะห์ให้เห็นปัญหา นำพาไปสู่การรู้สาเหตุ ถอดรหัสเพื่อแก้ไข และในที่สุด…ปูแสมก็กลับบ้าน – แม่กลอง
ทั้งหมดทั้งมวลคือกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กๆ ผ่านการลงมือทำ และไปสัมผัสประสบการณ์จริง โดยไม่ต้องเปิดตำรา
แล้วป้าได้อะไร? ป้าบอกว่า “นี่คือชีวิตของฉัน” ที่จะไม่ยอมอยู่กับที่และดักดาน
และนี่คือการศึกษาที่ (ป้า) ออกแบบเอง