Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Creative learningCharacter building
17 January 2019

ต๋ามฮอยกอยบ้านเกิด: รู้อะไรก็ไม่สู้ ‘รู้จัก’ และ ‘รัก’ หมู่บ้านตัวเอง

เรื่องและภาพ The Potential

  • จิตอาสา และ สำนึกรักตัวตนบ้านเกิด คือความตั้งใจของโครงการ แต่ ‘จิตสำนึก’ ไม่ได้สร้างได้เพราะคำสั่ง กระบวนการพาให้รัก จึงถูกออกแบบ และนี่คือคีย์เวิร์ดของโครงการนี้
  • โครงการต๋ามฮีตโตยฮอยกอยบ้านเกิด โครงการที่ ‘พี่’ ตั้งใจจะพา ‘น้อง’ หมู่บ้านดงใต้พัฒนา ออกศึกษา ทำความรู้จักกับของดีในชุมชน เพื่อให้เกิดความรัก หวงแหน หันกลับมาเอาใจใส่ ช่วยกันดูแลบ้านดงใต้พัฒนา
  • ชวนอ่านวิธีสร้างกระบวนการและสร้างรูปแบบการทำงาน และการเติบโตของพลังเด็ก

ทั้ง นิกกี้-ทิวากร สุพรรณ์ และ ขิม-วรรณิกานต์ ตาจุมปา แกนนำเยาวชนบ้านดงใต้พัฒนา ค่อนข้างกังวลใจกับการทำโครงการในครั้งนี้ เพราะทั้งสองคนเห็นว่าโครงการที่เลือกทำเป็น ‘นามธรรม’ ไม่เหมือนโครงการอื่นๆ ที่เน้นเรื่องการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ขยะ หรือประเด็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

“ผลงานในโครงการเราจับต้องไม่ได้ เพราะเราทำโครงการกับคน สร้างคนให้มีจิตอาสา จึงไม่เห็นชิ้นงานเหมือนโครงการอื่นๆ”

นิกกี้บอกความกังวลใจ ขณะที่ขิมช่วยสำทับอีกเสียงว่า “เรามีเวลาในการทำโครงการแค่ 6 เดือน ก็เลยไม่ค่อยมั่นใจว่า จะพาโครงการไปรอดมั้ย”

นิกกี้-ทิวากร สุพรรณ์

ผลของความไม่มั่นใจ ทั้งเรื่องโครงการที่เป็นนามธรรมและเงื่อนไขเวลาเพียง 6 เดือน กับเป้าหมายโครงการเพื่อสร้างเยาวชนจิตอาสามาทดแทนรุ่นพี่ โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องเติบโตพร้อมไปกับการเรียนหนังสือหรือทำงาน ทำให้ทั้งนิกกี้และขิมเกือบถอดใจและเกือบเลิกทำโครงการไปแล้ว

แต่เอาเข้าจริง ‘ความยาก’ และ ‘ข้อกังวล’ การบรรลุเป้าหมายอย่างการทำให้น้องๆ ในชุมชนลุกขึ้นมาเป็นจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชนเหมือนที่พวกเธอทำ ไม่ใช่ความสำเร็จของทั้งนิกกี้และขิม แต่กลับเป็นเงื่อนไขเวลาที่ทั้งสองเห็นว่า อาจจะทำได้ไม่เต็มที่ เพราะขิมเป็นครู ส่วนนิกกี้เรียนหนังสืออยู่ที่เชียงใหม่

“เราก็ไปคุย ให้คำปรึกษาว่าลองวางแผนการทำงานกันดีๆ ลองทำเท่าที่สามารถทำได้ก่อน แล้วค่อยมาสรุปกันดูว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน” รัตน์-จินดารัตน์ สัตย์จริง โค้ชจากสถาบันหริภุญชัย จังหวัดลำพูนกล่าว   

สำหรับโครงการ ‘ต๋ามฮีตโตยฮอยกอยบ้านเกิด’ เป็นโครงการที่ขิม นิกกี้ และเพื่อนคือ วิม-วิมพ์วิภา กันทาดง ปิ้ง-ฐิติชญา หอมนาน วิกกี้-ทิวากร สุพรรณ และ ไวท์-วราพิมพ์ กันทาดง ตั้งใจจะพาน้องๆ เยาวชนในหมู่บ้านดงใต้พัฒนาออกไปศึกษาทำความรู้จักกับของดีในชุมชน เพื่อให้เกิดความรัก หวงแหน เพื่อให้หันกลับมาเอาใจใส่ ตลอดจนช่วยกันดูแลบ้านดงใต้พัฒนาในอนาคตเหมือนกับคนรุ่นก่อนๆ ปฏิบัติสืบทอดกันมา

“จริงๆ เราไม่ต้องทำโครงการนี้ก็ได้ แต่พอคิดภาพที่พวกผมไปทำงานข้างนอกโดยไม่มีแกนนำหลักในการทำงาน ใครจะเป็นคนนำน้องๆ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมของชุมชน เพราะโครงการนี้มีความสำคัญมากๆ ที่จะต้องทำ ต้องมีแกนนำหลักในการที่ไปทำงานเป็นกำลังเสริมของผู้ใหญ่ในชุมชน” นิกกี้อธิบายถึงที่มาของการทำโครงการในครั้งนี้ เพราะเห็นว่ามีความสำคัญ ทั้งๆ รู้ว่ายาก

ขิม-วรรณิกานต์ ตาจุมปา

กระบวนการสร้างจิตอาสาโดยธรรมชาติ คือการทำให้เห็น จากรุ่นสู่รุ่น

ทั้งนี้ กระบวนการส่งต่อ ‘จิตอาสา’ จากรุ่นสู่รุ่นของคนบ้านดงใต้คือการ ‘ร้องขอให้ช่วย’ เด็กๆ ในชุมชนจึงออกมาปฏิบัติภารกิจในงานบุญงานประเพณีของชุมชนอยู่เป็นระยะๆ และเมื่อถูก ‘ใช้งาน’ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานแบบนี้ การถูกส่งต่อ ‘รุ่นสู่รุ่น’ ช่วยให้บ้านดงใต้พัฒนามีคนรุ่นใหม่ๆ มาทำงานช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

“ปกติเวลามีงานบุญงานประเพณี เด็กๆ จะเข้ามาประชุมร่วมกับผู้ใหญ่ เขาก็จะรับผิดชอบในส่วนที่เขาต้องรับผิดชอบได้ อย่างงานจุลกฐิน การออกแบบการแสดง การจัดเครื่องแต่งกาย เด็กๆ ก็จะจัดการของเขาเอง ผู้ใหญ่แค่ให้แนวว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งเขาก็จะมีพี่โตๆ คอยดูแล น้องเล็กๆ ก็จะเป็นลูกมือคอยช่วย” ดาวเรือง ตุ้ยดง พี่เลี้ยงเยาวชนบ้านดงใต้อธิบายถึงรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่และเยาวชนในหมู่บ้าน   

“พวกเราจะมีกลุ่มชื่อว่า ‘กลุ่มเยาวชนรักดงหลวงสบลี้’ เป็นกลุ่มเยาวชนของหมู่บ้าน ที่จะรวมทั้ง 4 หมู่บ้านก็คือ ดงเหนือ ดงเจริญ ดงหลวงและก็วังม่วง 4 หมู่บ้านนี้จะรวมกันและมีเด็กในชุมชน มาคอยช่วยกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสายดนตรี เล่นพวกดนตรีพื้นเมือง กลองสะบัดชัย สะล้อซอซึง กลุ่มนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เด็กในชุมชนมารวมตัวกันเล่นดนตรีและเพื่อให้เด็กในชุมชนห่างไกลยาจากเสพติด แต่หลังๆ เริ่มมีน้องๆ ผู้หญิงเข้ามาร่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเล่นดนตรีไม่ค่อยได้ แต่จะถนัดทำกิจกรรมนันทนาการและทำกิจกรรมต่างๆ”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นิกกี้เล่าดูเหมือนว่าบ้านดงใต้จะไม่มีปัญหาเรื่องของการส่งต่อความเป็นจิตอาสาจากรุ่นสู่รุ่นแต่อย่างใด แต่สิ่งที่โครงการตามฮีตโตยฮอยอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงคือ ‘วิธีการ’ สร้างคนรุ่นใหม่ของชุมชน

“เรามองว่าที่ผ่านมาเด็กๆ ถูกใช้ให้ทำงาน รุ่นผมก็เหมือนกัน อย่างเวลามีงาน ผู้ใหญ่ก็ให้ไปช่วยยกของ ยกเก้าอี้ เสิร์ฟน้ำ ผมเลยคิดว่า จะมีรูปแบบอื่นอีกหรือไม่ที่จะสร้างน้องๆ ให้มีจิตอาสาด้วยตัวเขาเองโดยไม่ต้องมีคนมาเอ่ยปากให้ช่วยทำนู่นทำนี่แบบรุ่นพวกเรา”

ออกแบบกิจกรรมดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

การทำให้เด็กสนุก คือโจทย์หลักของการออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่น้องๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 30 คน นิกกี้ให้เหตุผลว่า จากประสบการณ์การไปค่ายของตัวเองและการแลกเปลี่ยนกันภายในทีม ทุกคนเห็นตรงกันว่า ความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ และจะทำให้ผู้ที่มาเข้าค่ายรู้สึกอยากมาอีกในครั้งต่อๆ ไป

“ถ้าเราทำให้เป็นวิชาการมากเกินไป น้องๆ เบื่อแน่นอน เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักของเราคืออายุ 8-15 ปี ถ้าเด็กกว่านี้ จะทำให้เราต้องใช้พี่เลี้ยงประกบน้อง 1 ต่อ 1 ทำให้เราเสียคนทำงานไปโดยเปล่าประโยชน์”

นิกกี้เล่าว่า กิจกรรมช่วงเช้าของการจัดค่าย จะเป็นเกมหนักๆ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสนุกแต่ก็แทรกการเรียนรู้ไปด้วย เช่นกิจกรรม ‘ตัวเองเป็นใคร’ ผ่านการวาดรูปที่เป็นตัวแทนของตัวเอง จากนั้นให้ไปหาสิ่งของแทนคำจำกัดความของตัวเอง และให้บอกเหตุผลของการเลือกสิ่งนั้น น้องๆ ที่มาเข้าค่ายเลือกสิ่งของที่สามารถแทนตัวเองได้ และบอกเหตุผลว่าเลือกสิ่งนี้เพราะอะไร

จากนั้นให้น้องๆ รู้จักตัวเองผ่านชุดคำถามคือ

  1. ฉันเป็นใคร ชื่ออะไร นามสกุลอะไร นามสกุลของตัวเองมาจากที่ไหน มีความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างไร
  2. ฉันเป็นคนโชคดีเพราะที่บ้านฉันมีอะไร ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการพาน้องๆ ออกไปสำรวจรอบหมู่บ้านโดยใช้รถอีแต๋น ไปดูที่มาของชื่อบ้านดงหลวงสบลี้ ไปดูต้นไม้ประจำหมู่บ้าน ไปทำความรู้จักกับสถานที่สำคัญๆ ของชุมชน และไปพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้าน เพื่อให้เด็กๆ ค้นพบคำตอบของตัวเองว่า เราโชคดีที่หมู่บ้านเรามีอะไร

“ด้วยความที่เรารู้อยู่แล้วว่าเด็กในหมู่บ้านเราเป็นเด็กแบบไหน มีลักษณะอะไร แต่เราไม่เคยได้ยินเขาพูดในแง่วิชาการ แต่พอเขาออกไปนำเสนอ ก็เห็นว่ามี 4-5 คนพูดจาฉะฉาน บอกได้ว่าตัวเองเป็นแบบนี้ เพราะอะไร ยังไง พูดแบบวิชาการจนเขากลายเป็นจุดเด่นของกลุ่ม บางคนมีลักษณะของความเป็นผู้นำชัดเจน”

และเมื่อจัดค่ายครั้งที่ 2 ก็เป็นจริงตามทฤษฎี ‘ความสนุกสร้างความประทับใจ’ เพราะรอบสองมีเด็กเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม แม้คนเดิมหายไปแต่ก็มีคนใหม่เข้ามามากถึง 40 คน  

“ทำให้เราต้องมาจัดระบบหน้างานกันใหม่ บทบาทต้องชัดขึ้น เพราะรอบสองของค่ายเป็นการทำแผนที่ชุมชนคือการพาออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนที่ เราต้องดูแลน้องๆ ให้อยู่ในเส้นทางที่กำหนดให้ได้ ห้ามพลาด” นิกกี้บอกวิธีการบริหารจัดการงานเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

บริหารทีมเป็น + จัดการเวลาได้ = เงื่อนไขทำงานให้ลุล่วง

แม้จะมีเวลาค่อนข้างจำกัด และทีมแกนนำหลักต่างมีภารกิจ แต่ด้วยความเชื่อที่ว่า ‘จิตอาสาสร้างได้’ บวกกับอยากออกนอกกรอบเดิมๆ ดังนั้นการวางแผนทำงานให้รัดกุมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของทีมที่จะทำให้น้องๆ “รักบ้านเกิดตัวเองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอกให้รัก” โดยแกนนำหลักต้องมาประชุมก่อนว่า ในแต่ละกิจกรรมจะวางบทบาทของทีมทำอย่างไร

“อย่างที่บอกคือแผนของเราคือการจัดค่ายสองครั้ง โดยมีน้องๆ ในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 30 คน เมื่อคนทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน เพราะต้องทำงาน และเรียนหนังสือ เราจึงวางระบบ ให้มีทีมหลัก กับ ทีมหนุน ทีมหลักคือขิมและนิกกี้ ทำหน้าที่เป็นคนนำในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมร่วมกับทีมหนุน ซึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในชุมชน

“เราอยากทำงานตรงนี้เพราะเป็นชุมชนของเราเอง อีกอย่างก็อยากช่วยพี่ๆ ซึ่งไม่ค่อยมีเวลาว่างเนื่องจากพวกเขาต้องไปทำงาน ถึงจะทำออกมาได้ไม่ดีเท่ารุ่นพี่ แต่เราก็เลือกที่จะทำ หลังประชุมวางแผนและแบ่งงานกันแล้ว ทีมที่อยู่ที่ชุมชนก็จะคุยกันว่ามีใครมาได้บ้าง ถ้าเหลือกันอยู่สองคนก็ต้องทำกันสองคนแต่ถ้าเหลือคนเดียวก็ต้องทำคนเดียว แต่การทำงาน คนเดียวหรือสองคนไม่ได้หมายความว่าคนที่เหลือจะไม่รู้ เพราะเราสื่อสาร และปรึกษากันผ่านเฟซบุ๊ค พี่ๆ ก็จะรับรู้ด้วยว่าทำอะไรกันไปถึงไหน”

ผลของการบริหารทีมและเวลา เมื่อถึงช่วงของการจัดค่าย มีทีมหนุนมาช่วยงานกว่า 20 คน

“ผมมองว่ามันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ตอนแรกไม่คิดว่าเราจะทำได้ ถ้าจะให้ตอบว่าบทเรียนจากการทำโครงการคือเรื่องอะไร คำตอบคือ เราพุ่งเป้าไปที่การสร้างคนรุ่นใหม่คือเด็กเล็กๆ ในชุมชนมากเกินไป โดยลืมมองน้องๆ ที่เป็นทีมงานของเราเอง เราเห็นว่าพวกเขามาช่วยงานอย่างแข็งขัน ซึ่งจริงๆ แล้วกลุ่มนี้แหละคือกำลังหลักที่จะมาสานต่องานของหมู่บ้านในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ช่วยกันพัฒนาน้องๆ คนรุ่นต่อๆ ไปนะครับ” นิกกี้เล่าความรู้สึก

ด้านขิมชี้ว่า ตลอดช่วงเวลาของการทำโครงการ แม้เธอจะเข้ามามีบทบาทในทีมค่อนข้างน้อย แต่ประเด็นที่เธอเห็นคือการสื่อสารและให้กำลังน้องๆ ที่ทำงานอยู่ในชุมชน

“อย่างน้อยการส่งข้อความเข้ามาทักทายในเฟซบุ๊ค ก็ทำให้น้องๆ มีกำลังใจในการทำงาน เพราะพวกเขาจะรู้ว่าพี่ๆ ไม่ได้ทิ้งเขาไปไหน”

และในส่วนของน้องๆ รุ่นใหม่ ถึงขณะนี้อาจจะยังระบุไม่ได้ว่าจิตอาสาเกิดขึ้นแล้วหรือยังแต่ที่แน่ๆ คือ ทีมงานในโครงการหลัก บวกกับทีมหนุนอีกว่า 20 ชีวิต คือคำตอบที่เป็นรูปธรรมของโครงการนี้

Tags:

active citizenproject based learningคาแรกเตอร์(character building)ชาติพันธุ์

Author & Photographer:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Creative learningCharacter building
    เคาะประตูบ้าน ส่งต่อเพลงซอและนิทาน สืบสานต่อโดยละอ่อนปกาเกอะญอ

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Creative learningCharacter building
    ที่บ้านไม้สลี เด็กๆ ที่นี่ ปั่นฝ้าย ย้อมสี และทอผ้า ใส่กันเอง

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Everyone can be an Educator
    ‘ครูแอ๊ด’ ผู้ร้อยเด็กๆ เข้ากับผ้าไหมชาวกวย

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Creative learning
    หาดหายไปไหน?: เมื่อความสงสัยอัพเกรดไปสู่การเรียนรู้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Grit
    “เขาให้เราทำงานแล้ว ก็ต้องทำให้เสร็จ”: กิจกรรมปลูกความมุมานะ

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel