- พฤติกรรมในห้องเรียนที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ คือ การเรียนรู้ และการฝึกควบคุมตัวเอง ความสามารถเผชิญสถานการณ์ขึ้นอยู่กับทั้งอารมณ์และการรับรู้ (cognition) มีผลการวิจัยบอกว่า ความสามารถเผชิญสถานการณ์ได้ดีช่วยลดปฏิกิริยาต่อความเครียดในโรงเรียน นําไปสู่ผลการเรียนที่ดีขึ้น
- ครูสามารถช่วยเหลือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนได้โดยเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของนักเรียนให้เอียงไปทางบวกมากขึ้น นําไปสู่การตัดในใจที่ถูกต้อง และยกระดับพื้นฐานทางอารมณ์ เกิดเป็นวงจรบวกในชีวิตของนักเรียน
- เพื่อสร้างชุดความคิดบวกให้แก่ศิษย์ ครูต้องทําตนเป็นตัวอย่าง โดยเปลี่ยนวาทกรรมในสมองจาก “ฉันได้พยายาม มองโลกแง่บวกแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีสารพัดอุปสรรค มองโลกแง่บวกเป็นเรื่องหลอกๆ แต่ฉันจริงใจต่อนักเรียน ฉันบอกความจริงตามที่เป็น” ไปเป็น “ฉันเป็นพันธมิตรที่มองโลกแง่บวกต่อเด็ก และจะช่วยให้ศิษย์สร้างความฝันสู่อนาคต”
อารมณ์เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ฝึกได้ คนเราเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของตนเองได้ การเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ในสายตาของผมเป็นการเรียนรู้ทักษะชีวิต คนบางคนพื้นฐานทางอารมณ์ คือ ความไม่พอใจ หรือโกรธ แต่บางคนมีพื้นฐานเป็นความสงบเย็นและพึงพอใจ ข้อมูลหลักฐานหรือทฤษฎีว่าด้วยพื้นฐานทางอารมณ์ นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีปัญหา มักอยู่ภายใต้สภาพจิตใจที่มีความเครียดเรื้อรัง ซึ่งสมองจะปรับตัวโดยอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ (emotional set-point) ให้ไปในทางลบมากขึ้น เช่น ก้าวร้าวมากขึ้น ตอบสนองน้อยลง
อารมณ์กับสมอง
พฤติกรรมของคนเราขึ้นกับการเชื่อมต่อระหว่างสมองส่วนกํากับอารมณ์ (amygdala) กับสมองส่วนกํากับความคิดและพฤติกรรม (prefrontal cortex) พฤติกรรมในห้องเรียนที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ คือ การเรียนรู้ และการฝึกควบคุมตัวเอง ความสามารถเผชิญสถานการณ์ขึ้นอยู่กับทั้งอารมณ์และการรับรู้ (cognition) มีผลการวิจัยบอกว่า ความสามารถเผชิญสถานการณ์ได้ดีช่วยลดปฏิกิริยาต่อความเครียดในโรงเรียน นําไปสู่ผลการเรียนที่ดีขึ้น
การวิจัยอธิบายว่า การที่จะเปลี่ยนพื้นฐานอารมณ์ของคนได้สําเร็จต้องการการดําเนินการต่อเนื่องสมํ่าเสมอไม่ใช่ ดําเนินการแบบเป็นครั้งคราว สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง ซึ่งหมายความว่าในเรื่องนี้สภาพแวดล้อมมีความสําคัญกว่าพันธุกรรม ซึ่งสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ได้แก่
- ความคิดแบบใหม่
- พฤติกรรมที่ดีกว่าเดิม
- ร่างกายแข็งแรง
- มีเพื่อนดี
- มีเป้าหมายสูงส่ง
- สุขภาพดี
นักเรียนจากครอบครัวที่มีปัญหา อาจตกอยู่ใต้วงจรที่หมุนลงหรือหมุนสู่ความเสื่อม คือ พื้นฐานทางอารมณ์เป็นลบ นําไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ยิ่งทําให้พื้นฐานทางอารมณ์แย่ลง เป็นวงจรลบที่อาจดํารงอยู่ตลอดชีวิตพวกเขา
ครูสามารถช่วยเหลือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนได้โดยเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของนักเรียนให้เอียงไปทางบวกมากขึ้น นําไปสู่การตัดในใจที่ถูกต้อง และยกระดับพื้นฐานทางอารมณ์ เกิดเป็นวงจรบวกในชีวิตของนักเรียน
ความสุข 3 แบบ
เพื่อให้ครูและศิษย์สามารถพัฒนาพื้นฐานทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจ ‘ความสุข’ ก่อน ในหนังสือเราสามารถแบบความสุขออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
- ความสุขชั่วแล่น (spontaneous happiness) เช่น ได้กินไอศกรีม ได้กลิ่นหอม ได้เห็นดอกไม้สวยงาม ได้ฟังครูเล่าเรื่องตลก เป็นความสุขที่เกิดแบบไม่คาดฝัน สารเคมีที่หลั่งออกมาจากสมอง คือ โดปามีน
- ความสุขจากการที่ความอยากได้รับการตอบสนอง (hedonic happiness) เป็นความสุขที่เกิดขึ้น เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง เช่น เมื่อคนที่เสพติดบางสิ่งได้รับสิ่งที่ต้องการ อาจเรียกว่า สุขเมื่อกิเลสได้รับการตอบสนอง มีลักษณะพิเศษ คือ 1.มีความอยากหรือความต้องการล่วงหน้า และ 2.บุคคลนั้นแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการ สารที่หลั่งออกมาจากสมอง คือ โดปามีน แต่เมื่อความอยากและการตอบสนองเกิดซ้ำๆ หลายครั้งเข้าการหลั่งโดปามีนจะลดลง ต้องการการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลไกของการเสพติด โดยนัยนี้คําชมของครูอาจก่อผลร้ายต่อศิษย์ กลายเป็นการสร้างการเสพติดคําชม อาจเรียกความสุขชนิดนี้ว่า ความสุขที่ได้จากการเสพ
- ความสุขจากการได้ธำรงเป้าหมายที่ทรงคุณค่า (eudaimonic happiness อ่านว่า ยูเดโมนิก) เป็นความอิ่มเอิบเบิกบานใจที่เกิดขึ้นจากการได้ทําสิ่งที่ทรงคุณค่ามายาวนาน อาจเรียกว่าเป็นความสุขจากฉันทะ หรือเกิดจากการได้สร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าที่อยู่เหนือผลประโยชน์ของตนเอง
ความรู้เกี่ยวกับความสุข 3 แบบ มีความหมายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะมีหลักฐานว่าสมองตอบสนองต่อ ความสุข 3 แบบ แตกต่างกัน เฉพาะความสุขแบบที่ 3 คือ ความสุขที่เกิดจากการสร้างสรรค์เท่านั้นที่มีผลสร้างสมอง มีหลักฐานจากงานวิจัยว่า ทําให้สมองส่วนสีเทา (gray matter) และส่วนสีขาว (white matter) เพิ่มขึ้น ทําให้สมองทํางานได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นยังมีผลงานวิจัยบอกว่า คนที่มีความสุขแบบที่ 3 มีการทํางานของยีนก่อการอักเสบลดลง และมีการทํางานของยีนสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส และยีนสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น มีผลให้อัตรามาโรงเรียนของนักเรียนมัธยมเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มของสุขภาพดีขึ้น หลีกเลี่ยงยาเสพติด และมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีขึ้น
วิธีเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของนักเรียน
วิธีที่จะช่วยปรับเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของนักเรียน มีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1.ใช้มาตรการที่เข้มข้น เช่น สร้างบาดแผลทางใจอย่างรุนแรง เป็นวิธีที่ไม่แนะนํา กับ 2.ใช้เวลายาวนานทําสิ่งที่เหมาะสม นี่คือการเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์จากการทําสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมาย และทําต่อเนื่องยาวนาน โดยได้รับการสนับสนุนให้ตีความคุณค่า เกิดสัมพันธภาพที่ดี และนําไปสู่การเติบโตส่วนบุคคล ใช้เครื่องมือ 4 ชิ้นด้วยกัน
- ใช้โครงงานที่มีความหมาย
มีหลักฐานจากงานวิจัยว่า เด็ก ป.6 ถึง ม.6 ที่ทําโครงงานระยะเวลา 1 เทอมถึงหนึ่งปี มีอุบัติการของโรคซึมเศร้า ลดลง คําแนะนําต่อครู คือ ลองมอบหมายให้นักเรียนเรียนแบบ project-based learning หรือ service learning หรือให้ทํางานเป็นทีมในเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
- มุ่งที่ผลลัพธ์สุดท้าย
ในการมอบหมายงานให้นักเรียนทําเพื่อการเรียนรู้ ครูควรเน้นที่เป้าหมายสุดท้าย อธิบายคุณค่าของการบรรลุเป้าหมายนั้น และคุณค่าของการใช้ความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมาย อาจให้นักเรียนวาดภาพความรู้สึกที่ตนคาดหมายเมื่อบรรลุเป้าหมาย และนํามาแชร์กับเพื่อน หรือนําเอารูปของนักเรียนรุ่นก่อนที่ร่วมกันฉลองความสําเร็จมาติดไว้ในห้อง หลังจากนั้นครูลองพิจารณากระบวนการทํางานของนักเรียนที่จะนําไปสู่ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูง หาทางให้นักเรียนเกิด ความสุขความพึงพอใจจากการได้ใช้กระบวนการทํางานที่ดี มีผลงานคุณภาพสูงให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนต้องการเรียนรู้ว่าผลงานที่ดีเป็นอย่างไร และต้องการให้ครูแสดงความใส่ใจในคุณภาพของผลงาน ไม่ใช่ส่ง งานได้เร็วแค่ไหน ครูจึงต้องหาผลงานคุณภาพสูงมาให้นักเรียนดู และวางไว้เป็นตัวอย่างในชั้นเรียน หรือโพสต์ไว้ในอินเทอเน็ตของชั้นเรียน เพื่อสร้างความประทับใจของนักเรียนเข้ากับเหตุการณ์ และผลงานคุณภาพสูง
- ตอกย้ำวิธีการที่ใช้ได้ผล
ตอกย้ำวิธีการที่ใช้ได้ผลด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น ยิ้ม กล่าวคํายืนยัน เขียนคําชม ชมกันเองภายในทีม อธิบายความมีคุณภาพสูงของผลงาน เป็นต้น
สร้างอารมณ์ความรู้สึกมีความสุขจากการได้สร้างสรรค์ให้เป็นอารมณ์พื้นฐานในชั้นเรียนหรือในโรงเรียน จะช่วยให้ นักเรียนมีความสุขและอยากมาโรงเรียนมากขึ้น มีความมานะพยายามมากขึ้น และประสบความสําเร็จมากขึ้น พลังบวกที่เกิดขึ้นจะมีผลสะท้อนกลับมายังครู ครูจะมีความมั่นใจมากขึ้นและรู้สึกเสมือนได้รับรางวัล นี่คือผลที่ยืนยันจากงานวิจัย
- เปลี่ยนวาทกรรม เปลี่ยนพฤติกรรม
เพื่อสร้างชุดความคิดบวกให้แก่ศิษย์ ครูต้องทําตนเป็นตัวอย่าง โดยเปลี่ยนวาทกรรมในสมองจาก “ฉันได้พยายาม มองโลกแง่บวกแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีสารพัดอุปสรรค มองโลกแง่บวกเป็นเรื่องหลอกๆ แต่ฉันจริงใจต่อนักเรียน ฉันบอกความจริงตามที่เป็น” ไปเป็น “ฉันเป็นพันธมิตรที่มองโลกแง่บวกต่อเด็ก และจะช่วยให้ศิษย์สร้างความฝันสู่อนาคต”
- ใคร่ครวญสะท้อนคิด และตัดสินใจ
การเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและยั่งยืน เริ่มจาก “กระจก” ซึ่งหมายถึงการสะท้อนภาพของตนเองออกมา โดยมีพื้นฐานความคิดที่สําคัญ คือ “ฉันมีทางเลือก” เสมอ ฉันจะเลือกใช้ชีวิตในวิชาชีพครูอย่างไร
เพื่อพัฒนาชุดความคิดบวกในครูและนักเรียน มีขั้นตอนสําคัญ 3 ขั้นคือ
1.สร้างวาทกรรมใหม่ เกี่ยวกับตนเอง และนักเรียน
2.เลือกกลยุทธเชิงบวกในการสร้างความรู้สึกเร่งด่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
3.สร้างกระบวนการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการดําเนินการสู่ความสําเร็จ กระบวนการสนันสนุนอาจเป็นการพูดคัยกับเพื่อนครู การเขียนบันทึกส่งให้ตนเอง การยกร่างแผนการสอนตามกลยุทธใหม่ และตามวาทกรรมใหม่