Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Adolescent Brain
31 May 2021

หน้าจอกับสภาพจิต วัยรุ่นกับอาการซึมเศร้า ความเชื่อมโยงที่อธิบายได้ด้วยงานวิจัย

เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ อัคคเดช ดลสุข

  • การเข้าโซเชียลมีเดียบ่อยในเด็กอายุน้อย (13-14 ปี) ใช้ทำนายสุขภาพที่ย่ำแย่ลงได้ในปีถัดๆ มา สอดคล้องกับจำนวนการเข้าโซเชียลมีเดียที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุในเด็กกลุ่มนี้ 
  • โซเชียลมีเดีย อาจจะไม่ใช่ปัญหาเสียทีเดียว แต่การกลั่นแกล้งกันทางไซเบอร์ร่วมกับการขาดการออกกำลังกายและหลับนอนอย่างเหมาะสมและพอเพียง ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบอย่างรุนแรงได้
  • การเสพติดโซเชียลมีเดียที่มากเกินไป อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ลดการเข้าสังคม เกิดความขัดแย้งทางจิตใจ และ สูญเสียความสามารถในการแยกแยะระหว่างเว็บไซต์หรือแอปที่ดีต่อสุขภาพและที่เสียต่อสุขภาพ
  • มีการสำรวจครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 2017 พบว่า ผู้ที่ไวต่อการเสพติดโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ กลุ่มผู้หญิงอายุน้อยที่ยังโสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีระดับการศึกษาต่ำ มีรายได้น้อย และมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ

เรื่องหนึ่งที่พ่อแม่จำนวนมากน่าจะอยากรู้คือ ควรให้ลูกของตัวเองใช้โซเชียลมีเดียหรือไม่? และถ้าใช้ได้ควรจะใช้มากน้อยเพียงใด จึงจะไม่เกิดผลเสีย?

ผลการสำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดและสุขภาพประจำปี 2018 ของสหรัฐ [1] เปิดเผยว่ามีวัยรุ่นอายุ 12–17 ปี ราว 14.4% ที่มีอาการซึมเศร้าในปีนั้น โดยกำหนดนิยามว่า “ความซึมเศร้า” ที่ว่านั้นคือ ต้องมีอารมณ์หดหู่หรือมีความสุขในการทำสิ่งต่างๆ ลดลงนาน 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น จนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องพฤติกรรม 

ผลการสำรวจนี้ระบุว่าตัวเลขนี้เท่ากับวัยรุ่นจำนวนราว 3.5 ล้านคนหรือ 1/7 ของวัยรุ่นทั้งหมดในสหรัฐที่ประสบปัญหาดังกล่าวอยู่

ที่น่าตกใจคือ จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (2017) ที่ตัวอย่างระบุว่าอยู่ที่ 13.3% และหากย้อนไปเทียบกับปี 2004 ก็อยู่ที่แค่ 9% เท่านั้น ตัวเลขดังกล่าวไปในทิศทางเดียวกับจำนวนการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจว่าคนจำนวนมากจะตกใจเมื่อเห็นตัวเลขพวกนี้ 

คำถามสำคัญคำถามหนึ่งก็คือ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียหรือไม่?

วัยรุ่นอเมริกันไม่ว่ายุคไหนก็มีเรื่องที่ท้าทายในชีวิตตลอดไม่ต่างกัน ทั้งเรื่องความกดดันในเรื่องการเรียน ไปจนถึงการเข้าสังคมและการใช้ยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ในอดีตตัวเลขคนที่มีปัญหาซึมเศร้าไม่ได้มากอย่างนี้ จึงเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ น่าจะมีส่วนและเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ และน่าสนใจว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นกับเด็กไทยในแบบเดียวกันหรือไม่  

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งในอังกฤษ [2] ที่ติดตามพฤติกรรมของวัยรุ่นอายุ 13–16 ปี จำนวน 12,866 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ใช้ทดสอบสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่เรียกว่า GHQ12 (General Health Questionare) ในแบบทดสอบดังกล่าวจะให้วัยรุ่นแต่ละคนให้คะแนนจาก 1–10 ในเรื่องที่เกี่ยวกับความกระวนกระวายใจ ความสุข และความพึงพอใจในชีวิต 

นอกจากนี้ ยังวัดในเรื่องการออกกำลังกาย การนอนหลับ และการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (cyberbullying) อีกด้วย 

ในแบบสอบถามยังถามเรื่องความถี่ของการเข้าใช้โซเชียลมีเดียอีกด้วย โดย “บ่อยมาก” หมายถึงเช็คมือถือหรือแอปหลายๆ ครั้งต่อวัน ขณะที่น้อยกว่านั้นก็อาจจะแค่สัปดาห์ละครั้งหรือน้อยกว่านั้นอีก ผลลัพธ์ที่น่าสนใจคือ การเข้าโซเชียลมีเดียบ่อยในพวกอายุน้อย (13-14 ปี) ใช้ทำนายสุขภาพที่ย่ำแย่ลงได้ในปีถัดๆ มา ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนการเข้าโซเชียลมีเดียที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุในเด็กกลุ่มนี้อีกด้วย 

โดยในเด็กผู้ชายจะค่อยๆ เพิ่มจาก 34.4% ไปเป็น 61.9% และเด็กผู้หญิงเพิ่มจาก 51.4% ไปเป็น 75.4% เรื่องนี้อาจอธิบายได้ส่วนหนึ่งว่า เหตุใดจึงพบเด็กผู้หญิงจึงเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มากกว่าเด็กผู้ชาย แถมผลกระทบยังรุนแรงกว่าอีกด้วย 

การที่เด็กผู้หญิงใช้โซเชียลมีเดียบ่อยกว่าจึงอธิบายได้ส่วนหนึ่ง แต่อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ยังมีการค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า เด็กผู้หญิงใช้เวลากับการออกกำลังกายและหลับนอนน้อยกว่าด้วย ขณะที่เด็กผู้ชายใช้เวลาเล่นเกมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด 

อีกเรื่องหนึ่งที่งานวิจัยนี้พบก็คือ ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงที่มีอาการเสพติดมือถือและอินเทอร์เน็ต จะเกิดผลลบต่อสุขภาพจิต [2]

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเยล [3] ระบุว่า สุขภาพจิตที่ดีขึ้นกับการออกกำลังและการนอนหลับที่ดีด้วย 

ตัวโซเชียลมีเดียเองอาจจะไม่ใช่ปัญหาเสียทีเดียว แต่การกลั่นแกล้งกันทางไซเบอร์ร่วมกับการขาดการออกกำลังกายและหลับนอนอย่างเหมาะสมและพอเพียง ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบอย่างรุนแรงได้ 

อย่างไรก็ดี มีการตั้งข้อสังเกตว่า โซเชียลมีเดียอาจมีส่วนเป็นตัวกลางที่ทำให้เรื่องการฆ่าตัวตายแพร่หลายติดต่อกันเป็นกว้างได้ง่ายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การตรวจวัดเรื่องความถี่ในการใช้งานโซเชียลมีเดียในการทดลองข้างต้น ยังเป็นการให้ตัววัยรุ่นรายงานเองว่า ใช้งานโซเชียลมีเดียบ่อยเพียงใด จึงอาจมีความแม่นยำน้อยไปสักนิด ในอนาคตหากมีการทดลองทำนองนี้เอง ก็อาจใช้ “การวัดโดยตรง” ผ่านแอปหรือใช้เซนเซอร์เข้าช่วย นอกจากจะบันทึกจำนวนครั้งได้แล้ว ก็อาจจะทำให้ได้ข้อมูลช่วงเวลาในการใช้งานแต่ละครั้ง หรืออาจรวมไปถึงสถานที่บนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เวลามากหรือน้อยอีกด้วย

ดังนั้น ในแง่หนึ่งจำนวนที่รายงานในการทดลองคราวนี้อาจจะต่ำกว่าจริงก็เป็นได้     

ในทางกลับกัน ก็อาจจะพิสูจน์ในทางตรงกันข้ามได้ว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่แย่ลง การเกิดความรู้สึกซึมเศร้าหรืออยากฆ่าตัวตาย “โดยตรง” 

มีนักวิจัยที่ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การมีแอคเคาต์หลายๆ แอคเคาต์สำหรับใช้ในโซเชียลมีเดียของวัยรุ่น อาจเป็นดัชนีชี้ได้ถึงความเปลี่ยวเหงา ความกระวนกระวายใจ ความวู่วาม และความซึมเศร้า ได้อีกด้วย [4]  

ขอกลับมาที่คำถามว่า “มากแค่ไหน จึงจะถือว่ามากเกินไป?” อีกครั้งนะครับ อันที่จริงนี่เป็นคำถามที่สำคัญมากนะครับ     
มาร์ค กริฟฟิธส์ จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมเทรนต์ ให้ข้อสังเกตว่าน่าจะถือตามลักษณะสิ่งเสพติดต่างๆ ไม่ว่าจะบุหรี่ เหล้า หรือยาเสพติด นั่นคือมีการเสพติดจนเกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ลดการเข้าสังคม เกิดความขัดแย้งทางจิตใจ และมีอาการอยากยา 

แต่ในกรณีของโซเชียลมีเดีย อาจจะมีปัจจัยที่ช่วยชี้อีกปัจจัยหนึ่งคือ สูญเสียความสามารถในการแยกแยะระหว่างเว็บไซต์หรือแอปที่ดีต่อสุขภาพและที่เสียต่อสุขภาพ 

สถานีวิทยุบีบีซีออกแบบสอบถามว่า [5] คุณคิดว่าการใช้โซเชียลมีเดียมากเท่าใดจึงจะถือว่าไม่ดีต่อสุขภาพ ปรากฏว่าจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 554 คน มีอยู่ 40% (มากกว่า 1 ใน 3) ที่คิดว่าใช้มากกว่า 2 – 3 ชั่วโมงต่อวันก็มากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ที่ใช้โซเชียลมีเดียอยู่ก็ใช้เวลากับมันอยู่ในราวๆ นี้ โดยไม่แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด 

อันที่จริงแล้ว ราว 1/3 ของเด็กอังกฤษอายุ 15 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ราว 6 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นเสียอีก แม้จะใช้มากขนาดนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า มีอาการเสียสุขภาพจิตจากการใช้งานแต่อย่างใด 

เวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดียจึงน่าจะเป็นแค่เพียงปัจจัยเดียว และน่าจะมีปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กริฟฟิธมองว่า “เนื้อหาและบริบท” โดยรอบของการใช้ต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญกว่า  

เรื่องน่าสนใจก็คือ มีงานวิจัยตั้งแต่ ค.ศ. 2011 ที่ระบุว่า พวกคนที่เปิดเผยและชอบเข้าสังคม (extrovert) ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเพิ่มแวดวงการเข้าสังคมจริงของตัวเอง ในทางตรงกันข้าม พวกเก็บเนื้อเก็บตัว (introvert) ใช้โซเชียลมีเดียชดเชยการที่ไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตเข้าสังคมแบบต่อหน้าจริงจัง แต่ทั้งสองกลุ่มยิ่งใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นเท่าใด ก็จะใช้เวลาพบปะผู้คนในชีวิตจริงลดลงตามไปด้วยมากขึ้นเท่านั้น 

มีการสำรวจครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 2017 ที่พบว่า ผู้ที่ไวต่อการเสพติดโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ กลุ่มผู้หญิงอายุน้อยที่ยังโสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพวกที่มีระดับการศึกษาต่ำ มีรายได้น้อย และมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ 

ก่อนจบ ไม่อยากให้มองว่าโซเชียลมีเดียเป็นต้นตอของเรื่องยุ่งยากเพียงด้านเดียว ก็เลยอยากให้ข้อมูลด้านตรงข้าม ใน ค.ศ. 2017 พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานหน้าจอกับสภาพจิต โดยวาดภาพได้เป็นรูปตัวอักษรยูกลับหัว (∩) กล่าวคือ การใช้โซเชียลมีเดียจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะกลับส่งผลเสีย และหากยังใช้มากขึ้นไปอีก ผลเสียก็จะยิ่งมากขึ้นไปอีก

แต่จะใช้มากเท่าใดและใช้อย่างไร คงต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป

เอกสารอ้างอิง

1. Substance Abuse and Mental Health Services Administration. (2019) Key Substance Use and Mental Health Indicators in the United States: Results from the 2018 National Survey on Drug Use and Health. 

2.Roh, D., Bhang, S.Y., Choi, J.S., Kweon, Y.S., Lee, S.K., Potenza, M.N. (2018) The validation of Implicit Association Test measures for smartphone and Internet addiction in at-risk children and adolescents. J Behav Addict.

3.Yau, Y.H., Pilver, C.E., Steinberg, M.A., Rugle, L.J., Hoff, R.A., Krishnan-Sarin, S., Potenza, M.N. (2014) Relationships between problematic internet use and problem-gambling severity: findings from a high-school survey. Addict Behav.

4.Barry, C.T., Sidoti, C.L., Briggs, S.M., Reiter, S.R., Lindsey, R.A. (2017) Adolescent social media use and mental health from adolescent and parent perspectives. J Adolesc.

5.https://www.bbc.com/future/article/20180118-how-much-is-too-much-time-on-social-media

Tags:

ซึมเศร้าวัยรุ่นโซเชียลมีเดียสุขภาพจิต

Author:

illustrator

นำชัย ชีววิวรรธน์

นักอณูชีววิทยา นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักแปล และนักอ่าน ผู้มีความสนใจอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาขับเคลื่อนสังคม

Illustrator:

illustrator

อัคคเดช ดลสุข

Related Posts

  • Dear Parents
    ผู้ใหญ่เครียด เด็กก็เครียด: ภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ สิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่และเด็กๆ ควรมีในปี 2020

    เรื่อง ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • Social Issues
    เมื่อสังคมก้มหน้าฆ่าคนที่เรารักให้กลายเป็นอากาศ : นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • How to get along with teenager
    อินสตาแกรม 101: รู้ไว้ให้ ‘ลูก’ ใช้เป็น

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Life classroom
    BE KIND TO YOURSELF : ใจดีกับตัวเองบ้าง…วัยรุ่น

    เรื่องและภาพ SHHHH

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel