Skip to content
พัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถาม
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
พัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถาม

Month: September 2021

ครูเป็นโค้ช โจทย์ต้องท้าทาย พลังสำคัญของการเรียนรู้ที่บ้าน : ครูเต้ย- โกเมน อ้อชัยภูมิ โรงเรียนประถมรุ่งอรุณ
Creative learning
1 September 2021

ครูเป็นโค้ช โจทย์ต้องท้าทาย พลังสำคัญของการเรียนรู้ที่บ้าน : ครูเต้ย- โกเมน อ้อชัยภูมิ โรงเรียนประถมรุ่งอรุณ

เรื่อง ปริสุทธิ์

  • รูปแบบการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ต้องไม่ลืมธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กๆ ครูต้องคิดถึงชีวิตตอนเด็กอยู่ที่บ้านว่าอะไรเหมาะกับเด็ก หรือจะช่วยให้เด็กและผู้ปกครองจัดการเวลาได้อย่างไร
  • ครูเต้ย – โกเมน อ้อชัยภูมิ ครูใหญ่โรงเรียนประถมรุ่งอรุณ เล่าแนวทางการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ที่ผสมผสานระหว่างการเรียนออนไลน์และการเรียนรู้ที่บ้านด้วยตัวเอง ในงานเสวนาออนไลน์ ‘ล็อกดาวน์’ ไม่ล็อกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2
  • โจทย์ที่ให้เด็กเป็นเจ้าของทั้งหมด โจทย์นั้นจึงเป็นพลังสำคัญของการเรียนรู้ที่บ้านได้ แต่ครูต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าเป็นความรู้ ทักษะ และทัศนคติหรือคุณค่าอะไรที่ควรจะออกแบบให้เด็กเกิดผลจริงๆ

ช่วงวัยของเด็กที่มีความเป็นนักสำรวจมากที่สุด คือ วัยประถม ทั้งสำรวจและเรียนรู้โลก แต่ข้อจำกัดจากสถานการณ์โควิด – 19 ทำให้เด็กๆ ยุคนี้แทบจะหมดโอกาสในการออกไปสัมผัสประสบการณ์ตรงจากโลกภายนอก

การเรียนออนไลน์ผ่านหน้าจอแทนการไปโรงเรียนอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แต่การปิดโรงสอนที่ดีจำเป็นต้องเปิดการเรียนรู้ให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ได้ใช้ความเป็นนักสำรวจอย่างเต็มที่จากการลงมือทำสำหรับเด็กประถมต้น และสำรวจโลกนี้อย่างซับซ้อนมากขึ้นในกรณีของเด็กประถมปลาย 

แต่จะทำอย่างไรภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ในสถานการณ์นี้ ครูเต้ย – โกเมน อ้อชัยภูมิ ครูใหญ่โรงเรียนประถมรุ่งอรุณ เล่าแนวทางการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ที่ผสมผสานระหว่างการเรียนออนไลน์และการเรียนรู้ที่บ้านด้วยตัวเอง ในงานเสวนาออนไลน์ ‘ล็อกดาวน์’ ไม่ล็อกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 : สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างทุกคนให้เป็นครู กล้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง- Inclusive Education บทเรียนจากโรงเรียนรุ่งอรุณ และโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

แบ่งกลุ่มย่อยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ครูโค้ชนักเรียนอย่างใกล้ชิด

เมื่อโรงเรียนปิดแล้วเด็กต้อง ‘เรียนออนไลน์’ การเรียนรู้อยู่บ้านจำเป็นต้องได้รับการจัดสรรเวลาที่ดี ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของเด็ก ผู้ปกครอง และครู ครูเต้ยกล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาว่า ต้องไม่ลืมธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กๆ ครูต้องคิดถึงชีวิตตอนเด็กอยู่ที่บ้านว่าอะไรเหมาะกับเด็ก หรือจะช่วยให้เด็กและผู้ปกครองจัดการเวลาได้อย่างไร โรงเรียนประถมรุ่งอรุณใช้วิธีแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้ครูมีโอกาสเจอนักเรียนอย่างใกล้ชิด ครั้งละ 5 – 8 คนตามพื้นฐานของนักเรียน

“แต่หลักสำคัญคือหน้าจอ เราพิสูจน์แล้วว่าหน้าจอที่เด็กๆ เห็นครู หรือว่าครูเห็นเด็ก ถ้าเยอะเกินไปจะไม่สามารถดูแลเด็กๆ ได้ทั้งหมดเลย ก็เท่ากับว่าทิ้งเด็กอีกหลายคนไปอยู่ข้างหลัง เราจึงออกแบบเป็นกลุ่มย่อย ถ้ากลุ่มย่อยมี 5 คน เรียน 30 นาที หารเฉลี่ยเขาจะได้คนละ 6 นาที ถ้าเทียบกับห้องเรียนจริงๆ 50 นาที นักเรียน 25 คน ได้คนละ 2 นาทีเองครับ ถ้ามองให้คุ้มค่าจริงๆ เราต้องมองโอกาสสร้างคุณค่าใน 30 นาทีนี้ได้ เด็กจะได้การเรียนรู้มากเช่นกัน การเรียนออนไลน์เปิดโอกาสให้เรา กลุ่มย่อย กลุ่มน้อย คุณครูจะเข้าถึงเด็กมากกว่า”

นอกจากแบ่งกลุ่มให้ครูดูแลเด็กอย่างทั่วถึง บทบาทต่อมาของครู คือ เตรียมชุดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน เช่น หนังสือหลักและหนังสืออ่านเสริม ใบงาน แผ่นบอร์ดเกมเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน และอุปกรณ์สำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์และงานศิลปะ เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนสร้างประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริง ครูเต้ยบอกว่า ครูเปรียบเสมือน ‘โค้ช’ เพื่อให้การเรียนรู้ที่บ้านมีประสิทธิภาพ

“สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องคุยกันผ่าน PLC ให้สอดรับกับแผนการสอนรายสัปดาห์ สองสัปดาห์ หรือสามสัปดาห์ได้อย่างไร เรื่องนี้ครูต้องมองภาพรวมใหญ่ๆ ให้ออกก่อนว่าแต่ละวิชาเราเตรียมกระบวนการอะไรให้เราเกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้ เพราะว่าเรามีเวลาจำกัด 

สิ่งที่จะทำได้ คือ โจทย์ต้องโดน, สื่อต้องโดน และกิจกรรมต้องโดน ไม่อย่างนั้นเราจะเสียโอกาสไปเลยในสองสัปดาห์นั้น”

โจทย์ที่ท้าทาย พลังสำคัญของการเรียนรู้ที่บ้าน

ครูเต้ยยกตัวอย่างผลสัมฤทธิ์ด้วยผลงาน ‘ละครหุ่นเงา เรื่องสุดสาคร’ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยอธิบายว่าละครหุ่นเงาเรื่องนี้เกิดจากการให้โจทย์ไปกับเด็กชั้นป.3 ที่กำลังเรียนเรื่องสุดสาคร ให้นำเสนอความสนุกและข้อคิดของสุดสาครผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการทำงานเป็นทีม ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่มาก ไม่เพียงแค่กับเด็ก แต่กับครูผู้สอนก็ต้องวางแผนขนานใหญ่

“ครูปรับจากการเล่าเรื่องสุดสาคร หรือสอนสุดสาครทั้งหมด ให้เด็กได้เป็นเจ้าของเรื่องสุดสาครด้วยตัวเขาเอง เราได้เห็นว่าเขาใช้หลากหลายความสามารถมาก ทั้งการแสดง การตั้งหน้าจอให้เชิดหุ่นแล้วตรงกับหน้าจอ พอดีกับที่คนมองให้ชัด เขาต้องทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนได้ความสัมพันธ์ของแสงของเงา เขาทดลองทำแล้วมา Reflection (สะท้อนคิด) กับครูอยู่เป็นประจำ เพราะโจทย์นี้เขาเป็นเจ้าของทั้งหมด โจทย์จึงเป็นพลังสำคัญของการเรียนรู้ที่บ้านได้”

กว่าจะมาเป็นละครหุ่นเงา เด็กๆ ได้รู้และเข้าใจอะไรมากมาย อาทิ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบของการเกิดเงา ได้แก่ แหล่งกำเนิดแสง (ธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น), วัตถุ (หุ่นเงา) และฉากรับ (โรงละครหุ่นเงา)

ในเรื่องการออกแบบ พวกเขาได้กำหนดระยะของแหล่งกำเนิดแสง เพื่อให้กระทบหุ่นและปรากฏเป็นหุ่นเงาบนฉากรับที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ของระยะ ทิศทาง ตำแหน่ง

หรือทักษะด้านภาษาไทย เด็กๆ ได้วิเคราะห์ ตีความ เข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกตัวละคร และความหมายของบทละคร แล้วสื่อสารโดยการพากย์เสียงตามบทบาท และเข้าถึงความรู้สึกของตัวละคร โจทย์จึงเป็นพลังสำคัญให้เกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้

“ผู้ปกครองเล่าให้ครูฟังว่า ลูกๆ ไม่ให้พวกเขายุ่งกับการสร้างสรรค์ละครเรื่องนี้เลย ลูกบอกว่าจัดการเองได้ พ่อแม่ไปรอดูได้เลย เพราะมีบางกลุ่มที่เขาต้องฉายสด ต้องไปรอดูอยู่ตรงหน้าจอตอนที่แสดงสดกับเพื่อนเขาทั้งหมด ตัวพ่อแม่เองสะท้อนว่าเด็กๆ ได้เรียนรู้รอบด้าน จัดการประสบการณ์ได้ดี เคารพซึ่งกันและกัน ทำงานกลุ่มได้อย่างมีความสุข มีความเห็นใจช่วยเหลือกัน ถือว่าประสบความสำเร็จในการศึกษาทุกมิติ รู้รอบ รู้ลึก รู้รักษ์ ริเริ่มสร้างสรรค์

“นี่จึงเป็นการสะท้อนสมรรถนะจากสายตาผู้ปกครองว่าการให้โจทย์ที่ดี การปิดโรงสอนแล้วโยนโจทย์ให้เด็กเรียนรู้เอง มีอิมแพคสูงมาก”

โขนออนไลน์ ตัวอย่างเชิงประจักษ์การ Reskill-Upskill

การออกแบบการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นเจ้าของภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 เกิดเป็นทั้งการเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskill) และทำให้ดีขึ้น (Upskill) ซึ่งการนำสมรรถนะมาเป็นเป้าหมายการออกแบบการเรียนรู้และการประเมินผลในการออกแบบการเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ครูของโรงเรียนประถมรุ่งอรุณใช้วงประชุม PLC เป็นการทำงานเพื่อการเรียนรู้ของครู เพื่อทำความเข้าใจการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน

ในทุกช่วงชั้น รวมถึงระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ข้อสรุปเป็นการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในช่วงที่นักเรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งนักเรียนต้องพึ่งพาตัวเองมากที่สุด ครูจึงออกแบบว่าต้องเอานักเรียนเป็นตัวตั้ง แล้วดูว่าถ้าเราให้โจทย์นี้ ทำกิจกรรมแบบนี้ นักเรียนจะเข้าใจอย่างไร

โจทย์ หรืองานที่ครูมอบหมายให้เด็กจะต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าเราจะเรียนรู้เป็นความรู้อะไร ทักษะอะไร ทัศนคติหรือคุณค่าอะไรที่ควรจะออกแบบให้เด็กเกิดผลจริงๆ

สำหรับในช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โขนออนไลน์ เป็นตัวอย่างสำคัญของการคิดโจทย์การเรียนรู้ในขณะที่เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ได้เรียนจริง ฝึกจริง และแสดงจริง

โขนออนไลน์ของโรงเรียนประถมรุ่งอรุณเป็นเครื่องมือการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องรามเกียรติ์ นอกเหนือจากเด็กได้อ่านวรรณคดีแล้วยังจัดการเรียนโขนมาเพื่อให้เด็กๆ เข้าถึงตัวละครผ่านการสวมบทบาท เพื่อเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกควบคู่ไปกับการเรียนวรรณคดี

โขนออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 แบบนี้จากการเรียนโขนปกติที่โรงเรียนจึงกลายเป็น ‘โขนออนไลน์’ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ ถ่ายทอดการสอนทั้งตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ และลิง ให้เด็กได้เรียนแบบออนไลน์ในระยะเวลาเรียนเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และผู้สอนไม่มีโอกาสเจอหน้าผู้เรียน ทว่าผลลัพธ์คือเด็กใส่ใจ ตั้งใจเรียนมาก

เสียงสะท้อนจากนักเรียนจำนวนหนึ่งบอกว่าทีแรกคิดว่าไม่น่าสนุก แต่เมื่อเรียนจริงกลับไม่เป็นอย่างคาด ถึงจะยากแต่ครูทุกคนที่สอนก็ช่วยเหลือให้เข้าใจและปฏิบัติตามได้

“ตอนแรกที่ยังไม่เคยเรียนโขนก็คิดว่าจะไม่สนุก แต่พอได้มาเรียนก็รู้สึกสนุกมากและรู้สึกดีใจที่ได้เรียน”

“ประทับใจที่ครูไม่กดดันเรา แล้วก็ใจดีด้วย ครูสอนสนุก เวลามีคำถามแล้วเราถามคุณครูก็จะช่วยทำซ้ำให้ดูอีกครั้งหนึ่งจนเริ่มทำเป็น”

“ขอบคุณครูทุกท่านที่มาช่วยสอนศิลปะประจำชาติของไทยให้พวกเรา เพราะโขนคงไม่ได้หาเรียนง่ายๆ ก็ดีใจที่ได้มาเรียน แล้วครูก็สอนสนุกมากครับ”

ครูเต้ยเล่าว่า หลังจากเด็กๆ ได้เรียนโขนออนไลน์ นอกจากความรู้เรื่องวรรณคดีกับทักษะต่างๆ ที่มีการ Reskill Upskill เขายังได้ประหลาดใจกับทัศนคติของเด็กประถมที่มีต่อคุณครูของพวกเขา ที่กลับกลายเป็นโจทย์สำคัญของครูยุคนี้เลยทีเดียว

“มีเด็กคนหนึ่งบอกว่าผมเข้าใจคุณครูนะครับว่าคุณครูก็ต้องปรับตัว ผมจะอธิบายตรงนี้ว่าเด็กๆ เองเขาให้โอกาสเรานะครับ เขาให้โอกาสครู และเขาก็ให้โอกาสครูอย่างนอบน้อมด้วย ถ้าเราไม่ปรับตัวอาจไม่ทันเขา ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ โจทย์สำคัญคือครูต้องปรับตัวให้ทันเด็ก”

Tags:

เทคนิคการสอนโรงเรียนรุ่งอรุณเรียนออนไลน์ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้ประถมศึกษาครูเต้ย- โกเมน อ้อชัยภูมิโขนออนไลน์

Author:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Social Issues
    จุดเปลี่ยนพลเมืองไทยคุณภาพใหม่ ผู้เรียนต้องเป็น ‘learner person’ มีสมรรถนะเป็นฐานการเรียนรู้

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Creative learning
    ‘งานบ้าน งานสวน งานครัว’ วิชาเรียนของเด็กๆ โรงเรียนบ้านกระถุนในช่วงโควิด – 19 ที่ยังคงได้ทักษะชีวิตและสมรรถนะที่จำเป็น

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Social IssuesCreative learning
    ปิดโรงสอน ย้อนคืนการเรียนรู้กลับสู่เด็ก : พลิกโควิดเป็นโอกาส กรณีศึกษาโรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • Creative learning
    ลดภาระงาน เลือกทักษะที่สอดคล้องกับชีวิตเด็ก : หลักการจัดการเรียนรู้ในช่วงโควิด – 19 ของ ‘โรงเรียนบ้านปะทาย’

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • โจทย์ไม่เยอะแต่ท้าทาย เป้าหมายคือสมรรถนะ : การจัดการเรียนรู้ระดับประถม ‘ครูยิ้ม – ศิริมา โพธิจักร์’

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.9 ‘รักที่ปราศจากเงื่อนไข เริ่มต้นจากมองเห็นคุณค่าในตัวเองและรักตัวเองเป็น’
  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel