Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Social Issues
22 October 2019

LSED SYMPOSIUM 2019: สัมมนาวิชาการครบรอบ 5 ปี คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ.

เรื่อง The Potential

รายละเอียดโดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปีการก่อตั้ง คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการ LSEd Symposium 2019 & TSS Open-house ‘การเรียนรู้ที่มีค่า การศึกษาที่แตกต่าง’ ‘Meaningful Learning -Transforming Education’ วันที่ 25-26 ตุลาคม 2562 เวลา 9.00-16.00 น. ณ อาคาร SC3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

เวทีที่จะฉายภาพของการศึกษาไทยในปัจจุบันผ่านการนำเสนอแนวคิด นวัตกรรม และเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายไปจากระบบการศึกษากระแสหลักที่ทุกคนคุ้นเคย ผ่านเวทีเสวนาและการบรรยายที่รวบรวมมุมมอง วิสัยทัศน์และจิตวิญญาณของผู้ที่ทำงานด้านการขับเคลื่อนการศึกษา

สัมมนาวิชาการที่แบ่งปันองค์ความรู้จากงานวิจัยและการปฏิบัติงานของผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ ตลอดจนของคณาจารย์ของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลากหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ในมิติต่างๆ จากวิทยากรชั้นนำ ทั้งในแวดวงวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ทำงานด้านการศึกษา ภาคประชาสังคม ตัวแทนครูจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ และคณาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ คณาจารย์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำเอาประสบการณ์จริงในการทำงานของตนเองมาเชื่อมร้อยเป็นกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม

นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการแสดงจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และงาน ‘เปิดบ้าน’ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทั้งในรูปแบบเวทีเสวนา การอบรมเชิงปฏิบัติการและห้องเรียนจำลอง เพื่อสัมผัสกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนอีกด้วย

นำเสนองานวิจัย พื้นที่การเรียนรู้ Active Citizen มีผลต่อสำนึกพลเมือง และ การเปลี่ยนแปลงทางสมองอย่างไร

งานนี้ มูลนิธิสยามกัมมาจล ในฐานะทีมทำงานโครงการ Active Citizen หนุนเสริมเยาวชนให้ทำโครงการในพื้นที่ชุมชนตลอด 8 ปี เปิดห้องชวนคุยประเด็น ‘การสร้างจิตสำนึกพลเมืองของเยาวชนและทักษะการคิดเชิงบริหารและการกำกับตัวเองไปสู่เป้าหมายในวัยรุ่นด้วยการทำโครงการเพื่อชุมชนและการโค้ช’ วันที่ 26 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้อง 326 อาคารเรียนรวม S23 มธ. ศูนย์รังสิต

เวทีนี้ดำเนินการในโครงการ 2 ประเด็นคือ

  • รายงานการสร้างจิตสำนึกพลเมืองของเยาวชนด้วยการทำโครงการเพื่อชุมชนและการโค้ช (coach) โดยทีมวิจัยคณะวิทยาการจัดการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ.
  • การทำโครงการเพื่อชุมชนที่มีผลต่อสมอง สู่ทักษะการบริหารจัดการตัวเองและการกำกับตัวเองไปสู่เป้าหมายของวัยรุ่น (EF) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
รายละเอียดกิจกรรม
13.00 – 13.15 น.แนะนำโครงการ Active Citizen ซึ่งเป็น social lab ของมูลนิธิฯ ในการพัฒนาตัวอย่างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของเยาวชน โดย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
13.15 – 13.35 น.การสร้างจิตสำนึกพลเมืองของเยาวชนด้วยการทำโครงการเพื่อชุมชนและการโค้ช (coach) โดย ทีมวิจัยคณะวิทยาการจัดการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ.
13.35 – 13.45 น.แลกเปลี่ยนมุมมอง 10 นาที
13.45 – 14. 05 น.การทำโครงการเพื่อชุมชนที่มีผลต่อสมอง สู่ทักษะการบริหารจัดการตัวเองและการกำกับตัวเองไปสู่เป้าหมายของวัยรุ่น (EF) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
14.05 – 14.25 น.ปัจจัยและเงื่อนไขในการออกแบบการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างพลเมืองเยาวชนในแต่ละพื้นที่ โดย โค้ชและทีมออกแบบกระบวนการเรียนรู้โครงการ Young Active Citizen 4 จังหวัด (สงขลา สมุทรสงคราม ศรีสะเกษ น่าน)ข้อเสนอการนำบทเรียนไปปรับใช้ในบริบทต่างๆ ของการจัดการเรียนรู้โดย นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
14.25 – 15.00 น.แลกเปลี่ยนมุมมอง 10 นาที

Tags:

งานเสวนาระบบการศึกษาactive citizen

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • 21st Century skills
    อมรวิชช์ นาครทรรพ: ใช้ทัพเล็กสู้การศึกษา ซุ่มตีทีละเรื่อง “นี่คือรัศมีที่ผมทำได้ก่อนตาย”

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Social Issues21st Century skills
    การเรียนรู้ที่มีค่า การศึกษาที่แตกต่าง: ครบรอบ 5 ปี คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Unique Teacher
    ศราวุธ แก้วบุตร: นับหนึ่งที่ครูเดลิเวอรี วันนี้คือครูเต็มตัวผู้เข้าถึงปมในใจเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร

  • Everyone can be an Educator
    TEP TALK: เรื่องเล่านอกห้องเรียนจาก พระ-แม่-เด็ก-ครู

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Social Issues
    หลงทางกว่า TCAS คือ การศึกษาที่วนอยู่ในเขาวงกต

    เรื่อง

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel