Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Social Issues
18 September 2019

FRIENDSHIP BENCH ม้านั่งให้คำปรึกษาโดยคุณยาย แก้ปัญหาวิกฤติสุขภาพจิตในซิมบับเว

เรื่อง The Potential

Friendship Bench – ความสัมพันธ์บนม้านั่งยาว คือชื่อโปรเจ็คต์การให้คำปรึกษาโดยคุณยาย แก้ปัญหาวิกฤติสุขภาพจิตในประเทศซิมบับเว

ย้อนกลับไปในปี 2004 ดิกซอน ชิบันดา (Dixon Chibanda) คือหนึ่งในสองจิตแพทย์ ที่ทำงานในระบบสาธารณสุขของภาครัฐ ประเทศซิมบับเว – ประเทศที่ประชากรราว 90 เปอร์เซ็นต์เข้าไม่ถึงการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต แต่ถึงอย่างไรเขาก็ตั้งใจอยู่ดีว่าวันหนึ่งจะต้องเปิดคลินิกเอกชนด้านจิตเวชเป็นของตัวเองตามแผนที่วางไว้ และในเมื่อมันเป็นหนทางของวิชาชีพและชื่อเสียงเงินทอง

แต่วันหนึ่ง หนึ่งในคนไข้ของเขาเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย เรื่องนี้กระทบใจชิบันดามากเพราะเขาเห็นว่าในกรณีนี้เขาน่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ – ถ้าเพียงแต่เขาจะพูดคุยกับคนไข้ได้บ่อยขึ้น และนั่นทำให้แผนการด้านอาชีพของชิบันดาต้องเปลี่ยน คลินิกจิตเวชเอกชนไม่ใช่คำตอบของประชากรชาวซิมบับเว (ซึ่งส่วนใหญ่ยากจน) ราว 12 ล้านคนอีกต่อไป ชิบันดาจำเป็นต้องสร้างระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่ทำให้ทุกคนใช้ประโยชน์ได้จริงและทั่วถึง

ดิกซอน ชิบันดา (Dixon Chibanda) บนเวที TEDWomen 2017

คุณยาย – grandmother คือคำตอบของชิบันดา

ที่ต้องเป็นผู้สูงวัยในชุมชนเป็นเพราะคุณยายคือผู้ที่ได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นจากคนในชุมชน และหญิงสูงวัยส่วนใหญ่มักเป็นอาสาสมัครด้านสาธารณสุขในประเทศอยู่แล้ว ชิบันดาคิดว่า หากแกรนนี่เหล่านี้ถูกฝึกให้ ‘รับฟัง’ และช่วยให้ผู้พูดคลี่คลายความขึ้งเครียดในจิตใจอย่างนักจิตวิทยาแล้ว นี่จะเป็นคำตอบเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและความกดดันในผู้คนได้

Friendship Bench เริ่มก่อตัวขึ้น โดยยึดม้านั่งในเมืองหลวงอย่างฮาราเรเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาเป็นเมืองแรก แล้วจึงกระจายวงไปครอบคลุมทั้งประเทศ พูดได้ว่าโปรเจ็คต์นี้ได้รับความนิยมอย่างล้มหลามและยอมรับว่าช่วยลดภาวะซึมเศร้าของคนในประเทศได้จริง และนอกจากซิมบับเว Friendship Bench ยังถูกต่อขยายโครงการเข้าไปหลายประเทศ

ที่นิวยอร์คก็มีม้านั่งให้คำปรึกษาในย่านฮาร์เล็มและบล็องซ์ โดยคาดการณ์ว่ามีผู้เข้าไปนั่งคุยราว 60,000 คน นอกจากนี้ยังมีที่มาลาวี แทนซาเนีย ล่าสุดก็มีม้านั่งให้คำปรึกษาที่ประเทศเคนยาที่เมืองเคริโช (Kericho) ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันชิบันยา ยังคงทำงานเดินสายเพื่อฝึกให้คุณยายหลายๆ ประเทศในแถบทวีปอเมริกาตะวันออกทำงานในโปรเจ็คต์นี้ นอกจากนี้ยังมีโปรเจ็คต์ใหม่คือการทำงานกับผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งที่มาของโปรเจ็คต์นี้ก็เพราะข้อมูลที่ชิบันยาเก็บในเชิง data ชี้เป้าว่าปัญหาสุขภาพจิตของผู้คนในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ HIV

อีกหนึ่งโปรเจ็คต์ที่น่าสนใจคือ ชิบันยาต้องการทำงานกับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น ข้อมูลที่เขาเก็บรวบรวมตลอดหลายปีรายงานเช่นกันว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่เข้ามารับบริการที่ม้านั่งยาว วัยรุ่นมีสัดส่วนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนไข้ในช่วงวัยอื่น ในโปรเจ็คต์ใหม่เขาจึงอยากทำงานกับวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี โดยเปิดให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอาสาสมัครแทนแกรนนี่ในโครงการ

อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์เริ่มมีขึ้นหนาหูว่าคาแรคเตอร์ของ “ความเป็นแกรนนี่ที่ให้คำปรึกษากับคนในชุมชนที่พวกเขารู้จักมักคุ้นดี” ของ Friendship Bench นั้นเริ่มหายไป เพราะเมื่อไอเดียดีๆ นี้กระจายไปหลายประเทศ คนที่รับหน้าที่ให้คำปรึกษาก็อาจไม่ใช่คุณยายคุณย่า – ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้แก่ชิบันยาเช่นกัน แต่แม้ Friendship Bench จะหลุดคอนเซ็ปต์เรื่องการใช้ฐานชุมชนเป็นที่ตั้งมั่น แต่ในกรอบใหญ่อย่างการทำให้ระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะประเด็นสุขภาพจิตเข้าถึงได้ง่าย ชิบันดาเชื่อว่าโปรเจ็คต์นี้ยังทำได้ดีอยู่

ท่ามกลางตัวเลขคาดการณ์ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าราว 300 ล้านทั่วโลก/ทุกกลุ่มอายุ และอย่างที่มีคนเคยพูดไว้ว่า “หากประเทศไหนประชากรเข้าถึงการให้คำปรึกษาหรือพูดคุยบำบัดได้ง่ายและทั่วถึง ประเทศนั้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว”

ท่ามกลางข้อจำกัดเชิงโครงสร้างมากล้น คงจะดีไม่น้อยหากเราต่างถูกฝึกให้รับฟังปัญหาและรู้ว่าจะช่วยเราคลี่คลายปัญหานั้นอย่างไร

อ้างอิง:
This ‘Friendship Bench’ is improving mental health for Zimbabweans
How a wooden bench in Zimbabwe is starting a revolution in mental health

Tags:

ซึมเศร้าจิตวิทยาสังคมสูงวัย

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Social Issues
    เปิดเทอมใหม่ อย่าเพิ่งสอนวิชาการ เยียวยาเด็กและเพื่อนครูด้วยกันก่อน

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ มานิตา บุญยงค์

  • MovieHealing the trauma
    HONEY BOY: ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อที่ดี แต่พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่ยังเจ็บปวดเหมือนกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • How to get along with teenager
    เปิดใจ-รับฟัง ช่วยวัยรุ่นแก้ปัญหาอย่างนักจิตวิทยาโรงเรียน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Life classroom
    BE KIND TO YOURSELF : ใจดีกับตัวเองบ้าง…วัยรุ่น

    เรื่องและภาพ SHHHH

  • Dear Parents
    สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

    เรื่อง The Potential

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel