Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Movie
25 July 2025

Superman: ฮีโร่ที่มีอยู่จริง…ก็แค่มนุษย์คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความรัก ความดี และคุณค่าความเป็นมนุษย์(ธรรมดา) 

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Superman (2025) เขียนบทและกำกับโดย เจมส์ กันน์ เขาให้สัมภาษณ์ว่า ซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้มีความแตกต่างกับที่ผ่านมา เพราะนอกจากฉากต่อสู้ภายนอกแล้ว ยังมีเรื่องราวการต่อสู้ภายในของซูเปอร์แมนเกี่ยวกับตัวตน ที่มา รวมถึงพ่อแม่ ทั้งพ่อแม่ชาวคริปโตเนียนและพ่อแม่ในโลกมนุษย์  
  • ภาพยนตร์สร้างสถานการณ์ให้ผู้ชมเห็นความเป็นมนุษย์ของซูเปอร์แมน ผ่านการกระทำที่ล้มเหลว ความรู้สึกอ่อนไหว หัวใจที่อ่อนโยนและพร้อมปกป้องเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นการปลดล็อกความสมบูรณ์แบบของ ‘ฮีโร่’ และคืนความหมายของความเป็น ‘มนุษย์ธรรมดา’ ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน
  • นิยามความเป็น ‘ครอบครัว’ ถูกตั้งคำถามอีกครั้ง ว่าระหว่างพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดกับคนที่เลี้ยงดูด้วยความรักความเอาใจใส่ ใครคือคนที่กล่อมเกลาตัวตนให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมา และเขาควรให้ความสำคัญกับสิ่งไหน

“Only a man in a funny red sheet, Looking for special things inside of me.” 

(ฉันมันก็แค่ผู้ชายคนหนึ่งในผ้าคลุมสีแดงประหลาดๆ ที่พยายามค้นหาบางอย่างที่พิเศษในตัวเอง)

เนื้อเพลงท่อนโปรดจากเพลง Superman (It’s Not Easy) ของ Five for Fighting ดังก้องอยู่ในหัว ระหว่างที่ผมขับรถไปดูภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่จากจักรวาล DC ซึ่งไม่ว่าจะทำมากี่เวอร์ชั่น ก็มักจะถูกหยุดไว้กลางทาง…ราวกับชื่อเพลงที่ผมเอ่ยถึง 

 [บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาภาพยนตร์]

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Superman เวอร์ชันล่าสุดนี้ ถ่ายทอดชีวิตของคลาร์ก เคลนท์ หรือ ‘ซูเปอร์แมน’ ฮีโร่จากดาวคริปตันที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตทางตัวตนและจิตวิญญาณอย่างรุนแรง เขาต้องต่อกรกับ เล็กซ์ ลูเธอร์ ศัตรูขี้อิจฉาที่มุ่งทำลายเขาทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการเปลี่ยนความคิดของคนทั้งโลกให้มองซูเปอร์แมนในฐานะวายร้ายที่หวังยึดครองโลก 

ในฐานะของแฟนคลับของ เจมส์ กันน์ (เจ้าของผลงาน Guardians of the Galaxy ทั้งสามภาค) ที่รับหน้าที่เขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยตัวเอง ผมจึงเฝ้าดูว่าเขาจะนำเสนอซูเปอร์แมนออกมาในรูปแบบไหน โดยตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์จากเว็บไซต์ Subculture Entertainment ระบุว่าเขาตั้งใจทำให้ซูเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้มีความแตกต่างกับที่ผ่านมา เพราะนอกจากฉากต่อสู้ภายนอกแล้ว ยังมีเรื่องราวการต่อสู้ภายในของซูเปอร์แมนเกี่ยวกับตัวตน ที่มา รวมถึงพ่อแม่ ทั้งพ่อแม่ชาวคริปโตเนียนและพ่อแม่ในโลกมนุษย์ 

“ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้เน้นแค่นี้แหละครับ เน้นความเป็นมนุษย์ของคลาร์ก เคนท์ ใช่ เขาเป็นมนุษย์ต่างดาวจากดาวดวงอื่นที่ทรงพลังมาก แต่เขาก็มีความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง เขามีอารมณ์ความรู้สึก และทุกๆ วันที่ตื่นขึ้นมา เขาจะพยายามเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และบางครั้งก็ล้มเหลว ซึ่งนั่นแหละคือแก่นแท้ของหนังเรื่องนี้” เจมส์ กันน์ กล่าว

หนึ่งในฉากเจ็บปวดและทรงพลังที่สุดคือเหตุการณ์ที่เล็กซ์และพวกบุกบ้านส่วนตัวของซูเปอร์แมน และขโมยคลิปวิดีโอสุดท้ายจากพ่อแม่ชาวคริปโตเนียนของเขา ก่อนนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะพร้อมคำแปลจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่กล่าวหาว่า พวกเขาหวังให้ลูกชายครองโลกด้วยอำนาจ ฆ่าใครก็ตามที่ขวางทาง พร้อมกำชับให้เขามีภรรยาหลายๆ คนเพื่อสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่ และร่วมกันปกครองโลกอย่างไร้ปรานี

แม้จะไม่แน่ใจนักว่าคำแปลนั้นถูกบิดเบือนหรือไม่ แต่สิ่งที่ชัดเจนคือคนจำนวนมากเลือกเชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม พวกเขาพร้อมใจกันตัดสินซูเปอร์แมนจากข่าวเพียงข่าวเดียว ไม่นับรวมการสร้าง Hate Speech ในโลกโซเชียลที่ร้อนระอุไปด้วยความเกลียดชัง (จากการปลุกปั่นโดยกองทัพไอโอของเล็กซ์) 

ดังนั้นภาพที่ผู้คนชี้นิ้วด่า สาปแช่ง และขว้างปาข้าวของใส่ฮีโร่ที่อุทิศตนเพื่อโลกจึงค่อนข้างสะเทือนใจ เพราะมันเป็นการบอกอ้อมๆ ว่าต่อให้เราทำดีเป็นร้อยเป็นพันครั้ง แต่ถ้าวันหนึ่งเกิดมีอะไรที่พลาดพลั้งหรือชวนสงสัย ผู้คนก็พร้อมตัดสินเราอย่างรุนแรงในสิ่งที่เขาเชื่อมากกว่าการให้โอกาสเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ

ซูเปอร์แมนเองก็เช่นกัน ภายใต้พลังเหนือธรรมชาติ เขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกับทุกคน เขาทั้งกลัว สับสน ผิดหวัง โมโห น้อยใจ เสียใจ และเจ็บปวดกับสิ่งที่เชื่อมาตลอดชีวิตว่าพ่อแม่ส่งเขายังมาโลกมนุษย์เพื่อให้เขาเป็นคนดีและปกป้องโลก แต่บัดนี้สิ่งที่ปลอบประโลมใจเขามาตลอดหลายปีได้ย้อนกลับมาทำร้ายเขาอย่างแสนสาหัส

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าเจมส์ กันน์ นั้นเชี่ยวชาญด้านฉากซึ้งๆ สะเทือนอารมณ์ ไม่แพ้ฉากบู๊ระห่ำเท่ๆ เพราะเขาหาทางออกให้กับซูเปอร์แมนด้วยการส่งเขากลับบ้าน…บ้านที่เขาเติบโตมาในรัฐแคนซัส ซึ่งที่นั่นเอง เขาได้ระบายความแหลกสลายในใจกับ ‘โจนาธาน’ หรือพ่อที่เลี้ยงดูเขามาด้วยความรัก และเมื่อถึงคราวที่ต้องพูด…คำพูดของพ่อก็กลายเป็นประโยค ‘ปลดล็อก’ ความสมบูรณ์แบบของ ‘ฮีโร่’ และคืนความหมายของความเป็น ‘มนุษย์ธรรมดา’ ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน

มากไปกว่านั้นมันทำให้เขาตระหนักว่า เขาไม่จำเป็นเป็นต้องสืบทอดเจตจำนงของใคร แม้จะเป็นพ่อแม่โดยสายเลือดก็ตาม ตัวตนของเขามาจากสิ่งที่เขาเลือกทำหรือไม่ทำด้วยตัวเอง

“พ่อว่าลูกอาจจะให้ความสำคัญกับข้อความนั้นมากเกินกว่าที่คนอื่นคาดคิดเอาไว้มากเลยทีเดียว…

พ่อแม่ไม่ได้มีไว้เพื่อบอกลูกว่าเขาควรเป็นอะไร พ่อแม่ก็เพียงแค่ให้เครื่องมือเพื่อช่วยลูกให้สามารถคิดทุกอย่างได้ด้วยตัวของลูกเอง การตัดสินใจของเรา การกระทำของเรา นั่นต่างหากที่ทำให้เราเป็นตัวเรา”

เมื่อได้ฟังประโยคนี้ ซูเปอร์แมนจึงไม่เพียงแค่กลับมาสู่หนทางของเขา เพราะเขาเข้าใจแล้วว่าตัวตนของเขาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตีตราของคนอื่น แต่มันจะเผยออกมาผ่านการกระทำของเขาที่ยังคงเลือกยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องด้วยหัวใจไม่ยอมแพ้ เหมือนคำพูดที่เขากล่าวกับเล็กซ์ในตอนจบ

“ฉันก็เป็นมนุษย์เหมือนกับทุกคน ฉันรัก ฉันกลัวเป็น ฉันตื่นขึ้นมาทุกเช้า ถึงฉันจะไม่รู้ว่าต้องทำอะไร ฉันแค่ก้าวเดินไปทีละก้าว พยายามทำดีที่สุดเท่าที่ฉันทำได้ ฉันผิดพลาดตลอดเวลา แต่นั่นคือการเป็นมนุษย์ และนั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดของฉัน”

ไม่เพียงเท่านั้น คำพูดของโจนาธานยังนำผมกลับไปยังความประทับใจที่มีต่อภาพยนตร์ Guardians of the Galaxy Vol.2 ในฉากที่ยอนดู (มนุษย์ต่างดาวตัวสีฟ้า หัวหน้ากลุ่มราเวนเจอร์ ที่ลักพาตัวสตาร์ลอร์ดจากโลกมนุษย์และเลี้ยงดูเขาจนโต) พูดกับสตาร์ลอร์ดว่า “He may have been your father, boy, but he wasn’t your daddy.”  ซึ่งผมรู้สึกว่ามันกินใจและน่าจะนำมาใช้อธิบายความรู้สึกของโจนาธานที่มีต่อซูเปอร์แมนได้เป็นอย่างดี

ประโยคดังกล่าว ถ้าแปลเป็นไทยตามความเข้าใจของผมคือ “เขาอาจเป็นพ่อของลูก แต่เขาไม่ใช่คนที่เลี้ยงลูกมา” และหากมองให้ลึกลงไปในความหมายของ Father และ Daddy จะพบว่าทั้งสองคำนี้แตกต่างกันอย่างมาก โดย Father หมายถึงพ่อผู้ให้กำเนิด ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีบทบาทอะไรเลยก็ได้ในชีวิตลูก 

ส่วน Daddy อาจเป็นคนให้กำเนิดหรือไม่ก็ได้ เพราะพ่อในบริบทนี้คือการเป็นพ่อทางความรู้สึก พ่อที่อยู่เคียงข้าง โอบกอด มอบความรัก ดูแลเอาใจใส่ และสร้างตัวตนให้กับลูกด้วยหัวใจ ซึ่งทั้งยอนดูและโจนาธานต่างก็ทำหน้าที่แบบนั้นในฐานะพ่อ  

นอกจากนี้ ยังมีฉากที่ซูเปอร์แมนแสดงความเป็น Daddy เช่นกัน คือขณะที่เขาบินมาบอกลา ‘ลูอิส’ นางเอกของเรื่อง ก่อนจะตัดสินใจไปมอบตัวกับรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ออกหมายจับเขา (ผ่านการร่วมมือกับเล็กซ์) ลูอิสจึงถามเขาว่าทำไมต้องยอม และคำตอบอันเรียบง่ายของซูเปอร์แมน คือคำตอบที่ทำให้ผมน้ำตาซึม เนื่องจากว่ากลุ่มของเล็กซ์ได้จับ ‘คริปโต’ สุนัขของเขาไปเป็นตัวประกัน

“เขาอาจพาผมไปที่ที่จับหมาไว้ ผมไม่รู้จะหามันยังไง…ใช่ ถึงมันจะนิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ตอนนี้มันอยู่ข้างนอกตัวเดียว และมันอาจกำลังกลัวอยู่”

หลังจากชมภาพยนตร์จบพร้อมฉาก End Credit บนดวงจันทร์ที่ซูเปอร์แมนนั่งเคียงข้างเจ้าคริปโต และทอดสายตามายังโลกมนุษย์ ผมนึกถึงท่อนโปรดจากเพลง Superman (It’s not easy) อีกครั้ง และพบว่า

ซูเปอร์แมนไม่ใช่ ‘เทพเจ้าผู้ทรงพลัง’ อย่างที่คนทั้งโลกนิยาม แต่เขาคือมนุษย์คนหนึ่งที่ ‘พยายามค้นหาสิ่งพิเศษในตัวเอง’ อยู่ทุกวัน

และบางทีสิ่งที่พิเศษที่สุดนั้น อาจไม่ใช่พลังเหนือมนุษย์ แต่คือหัวใจที่ยังเชื่อในความรัก ความดี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์…ผู้เห็นคุณค่าในตัวเอง คุณค่าของทุกชีวิต และปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความรักอย่างไร้เงื่อนไข

Tags:

ภาพยนตร์superman

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Movie
    The Unbreakable Boy: เพราะชีวิตคือสิ่งล้ำค่า ไม่ว่ามันจะแตกต่าง หรือแตกสลาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Modern love Tokyo (2022): แม่ต้องปล่อยวางหลายเรื่อง แต่วันหนึ่งลูกจะภูมิใจในเราเองแหละ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    Monster: เรื่องโกหกที่เริ่มต้นจากความกลัวเพราะไม่อยากเป็นตัวประหลาด

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Lady Bird : ด้วยรักและเอาชนะ ระหว่างมนุษย์ลูกผู้อยากโผบินกับมนุษย์แม่ขี้โมโห

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Dear ParentsMovie
    Soul: การตามหาแพชชัน ความฝัน และบอกว่าไม่มีใครอยากกลายเป็นคนที่ Lost soul

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel