Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
SpaceSocial Issues
7 June 2021

โมเดล ‘พื้นที่การเรียนรู้ Tailor-made’ หลากหลาย ยืดหยุ่น เด็กทุกคนเข้าถึงได้

เรื่อง รัชดา ธราภาค

  • พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) คือตัวจุดประกาย กระตุ้น สานคนที่คิดคล้ายๆ กัน แล้วเสริมพลังด้วยทุนประเดิมเล็กๆ น้อยๆ มีชุดความรู้ คู่มือ สื่อต่างๆ วิธีการทำงานแบบนี้คาดว่าจะเกิดสิ่งใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาได้จริง อยู่ในวิถีชีวิตของคน 
  • รายงานสถานการณ์เด็กปีล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ บอกว่าเด็กเล็กและเด็กโต ยังถูกเลี้ยงด้วยความรุนแรง ทั้งทางวาจา การควบคุม ลงมือลงไม้ เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีอีกหลายประเด็นที่บอกให้รู้ว่า องค์ความรู้ ทักษะ และวิธีการในการดูแลเด็กแต่ละวัย ยังไม่มีกลไกในการจัดการให้ไปถึงแต่ละบ้าน 
  • 4 โมเดลเพื่อพัฒนาเส้นทางการยกระดับเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่มีความเข้มแข็ง ทำงานครอบคลุม จัดบริการอย่างยั่งยืน คือ มีการจัดการเรียนรู้ให้คนในชุมชน ทำงานอย่างเป็นระบบ, สามารถสอนคนอื่นได้ด้วย, มี Business Model และเป็นศูนย์บ่มเพาะที่ให้บริการครบวงจร และสร้างรายได้ได้ด้วย
  • วิธีสำคัญคือเข้าไปโค้ช หรือจัดกิจกรรมให้พ่อแม่ โดยการให้คำแนะนำ หรือเป็นพี่เลี้ยงแบบ On site อาศัยการเยี่ยมบ้าน และเข้าไปหาครอบครัว

ภาพ : ปริสุทธิ์

พื้นที่การเรียนรู้ หรือ Learning Space ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในระยะที่ผ่านมา สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจและศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย “พื้นที่การเรียนรู้” ถูกให้ความหมาย และมีการขับเคลื่อนไปในทิศทางใด

The Potential คุยกับ ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีงานการสร้างให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้อยู่ในความสนใจ และอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดเป็นจริง

ขอเริ่มจากการอธิบายคำว่า “พื้นที่การเรียนรู้” เรากำลังพูดถึงอะไรกัน

คำว่าพื้นที่การเรียนรู้เป็นคำกว้างๆ ขึ้นกับว่าใครจะหยิบไปใช้ทำอะไร สำหรับ สสส. เราไม่ได้คิดว่าจะต้องสร้างพื้นที่การเรียนรู้ แต่ที่กลายมาเป็นโซลูชัน เราเริ่มที่สถานการณ์ของเด็กๆ ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่บอกว่าถ้าเกิดมาแล้วได้กอดแม่ ได้กินนมแม่เลย จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมั่นคง ในแต่ละช่วงวัย การกินอยู่ดูแลควรตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างเหมาะสม เรามีองค์ความรู้มากมายที่ถูกค้นพบในช่วง 10-20 ปีมานี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตและเรียนรู้ของเด็กที่เกิดมา และถ้าทำได้ดี เราจะเครียดหรือกังวลน้อยลงกับพฤติกรรมแปลกๆ ตอนที่เขาโตเป็นวัยรุ่น 

กลับมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่เราทำได้ดีคือ เกิดรอด ตายคลอดลดลง การคลอดในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เด็กเกิดมาแล้วได้รับการรับรองสถานะเกือบครบแล้ว เด็กเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มีศูนย์เด็กเล็ก 40,000-50,000 แห่งรองรับ และได้เข้าเรียน ป.1 แต่พอถึง ม.ต้น และ ม.ปลาย ตัวเลขลดลงเรื่อยๆ 

รายงานสถานการณ์เด็กปีล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ บอกว่าเด็กเล็กและเด็กโต ยังถูกเลี้ยงด้วยความรุนแรง ทั้งทางวาจา การควบคุม ลงมือลงไม้ เกิน 50 เปอร์เซ็นต์

สำรวจพบว่าความเชื่อเรื่องการเลี้ยงดูด้วยการลงโทษเป็นวิธีที่เชื่อกันว่าได้ผลดี และใช้กันอย่างแพร่หลาย มีอีกหลายประเด็นที่บอกให้รู้ว่า องค์ความรู้ ทักษะ และวิธีการในการดูแลเด็กในแต่ละช่วงวัย ยังไม่มีกลไกในการจัดการให้ไปถึงแต่ละบ้าน 

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

แล้วอะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จที่จะทำให้บ้านๆ หนึ่งดูแลเด็กได้อย่างถูกวิธี 

เราไม่ได้คิดเอง แต่มีผลวิจัยในหลายประเทศที่พบว่า วิธีสำคัญคือเข้าไปโค้ช หรือจัดกิจกรรมให้พ่อแม่ โดยการให้คำแนะนำ หรือเป็นพี่เลี้ยงแบบ On site ถ้าบริการยังต้องอาศัยการเดินทางออกมา ต้องใช้เวลา มักไม่ค่อยเกิด แต่ต้องอาศัยการเยี่ยมบ้าน ต้องเข้าไปหาครอบครัว หันไปดูในตำบลท้องถิ่น มีกำลังคนอยู่แค่นี้ ทุกคนมีหน้างานอื่น ภารกิจเยอะไปหมด

คือกำลังมองหาว่าใครจะเป็นคนนำความรู้ไปให้พ่อแม่ถึงที่บ้านได้บ้าง

ใช่ Stakeholder Analysis ว่า Player มีใครบ้าง ภาคธุรกิจเอกชนที่เข้าถึงประชาชนในทุกมิติผ่านสินค้าและบริการ เรามีกฎหมายส่งเสริมการทำซีเอสอาร์ หลายบริษัทก็สนใจงานด้านเด็กและครอบครัว หรือจะเป็นสถาบันการศึกษา หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เราอาจจะทำให้เกิดจิ๊กซอว์ตัวใหม่ที่มาเติมเต็มช่องว่างตรงนี้ ใครบ้างที่อยู่ติดชุมชน มีครอบครัว 80-100 ครัวเรือนที่กำลังดูแลเด็กอยู่ใกล้ๆ ซึ่งมีคนทำให้เห็นเป็นแรงบันดาลใจ มีหลายคนเปิดบ้านของตัวเองเป็นที่เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองถนัด เช่น เป็นคนรักการอ่าน วันเสาร์อาทิตย์ก็เปิดห้องสมุดที่บ้านของตัวเองให้เด็กๆ มาอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรม

พอมองทางฝั่งครอบครัว เขาก็อยากให้เกิดกิจกรรมเหล่านี้ใกล้บ้าน ขี่จักรยานไปได้ เรามีคนทำงานสร้างสรรค์อยู่เต็มไปหมด ถ้ามีคนทำ มีความต้องการ แล้วเราแมชชิ่งทรัพยากรกันได้ ขยับต่ออีกหน่อยให้เป็น Business Model ได้ไหม เมื่อเราลองสื่อสารแนวคิดนี้ออกไป ได้เสียงตอบรับกลับมาเรื่อยๆ ก็คิดว่าน่าจะมาถูกทาง แต่จะทำให้เกิดขึ้นจริง ระบบควรจะมีหน้าตาอย่างไร ใครควรจะเข้ามาบ้าง จะสร้างนิเวศการเรียนรู้ และการสนับสนุนให้ทำได้ในระยะยาวอย่างไร

ฟังดูน่าจะมีความหลากหลายสูงมาก เพราะไปอาศัยต้นทุนเดิมที่มีคนเคยทำ ซึ่งเขาก็ตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์และมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป จะทำงานกันอย่างไร

ก็จะมีความ Tailor-made สูงมาก สำเร็จรูปไม่ได้ แต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างที่ว่า ตอนแรกเรานึกถึงภาคธุรกิจที่เป็นแบรนด์ที่มีสาขาในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศด้วยซ้ำ ลองส่งคนไปคุย แต่สถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ นักธุรกิจก็ระมัดระวังสูง ก็มองคนทำงานในชุมชน ไม่ว่าเขาเริ่มจากจุดไหน เช่น เป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เคยอบรมให้ชาวบ้าน แล้วถ้าเป็นเด็กเล็กล่ะ เรารู้วิธี เราไปเพิ่มให้ได้

เหมือนยังไม่ฟันธง อยู่ระหว่างการสำรวจหาช่องทางที่เป็นไปได้

การไม่ฟันธงคือกลยุทธ์ เราต้องการเปิดทางเลือกให้ได้มากที่สุด พื้นที่การเรียนรู้คือคอนเซ็ปต์ ถ้าเข้าใจตรงกัน ผลลัพธ์ออกมาก็น่าจะตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราเคยเอาแนวคิดนี้คุยกับเพื่อนภาคี สำรวจดูว่าใครทำอะไรอยู่บ้าง พร้อมที่จะยกระดับเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่มีความเข้มแข็ง ทำงานได้ครอบคลุม จัดบริการได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่การรับทุนตลอดไปไหม ก็ได้มา 40-50 แห่ง เราก็จะเริ่มจากคลื่นลูกแรก แล้วก็เคาะมา 4 โมเดลเพื่อพัฒนาเส้นทางการยกระดับจากจุดที่เขาอยู่

โมเดล A มีการจัดการเรียนรู้ให้คนในชุมชนได้ โจทย์คือการยกระดับให้ทำงานอย่างเป็นระบบ มีฐานความรู้ทางวิชาการ ชี้วัดความสำเร็จได้ คุณยายจูงหลานมา 3 ขวบแล้วยังไม่พูดเลย จะมีวิธีการอย่างไรที่จะแก้ปัญหาให้คุณยายได้

โมเดล B นอกจากทำ A ได้แล้ว สามารถสอนคนอื่นได้ด้วย อยู่ตำบลนี้ ตำบลข้างๆ อยากทำบ้าง สอนได้ไหม มีหลักสูตร วิธีการ สอนให้ได้

โมเดล C ทำได้ทั้ง A และ B มีผลงานเป็นที่เลื่องลือ มี Business Model คือมีคนพร้อมควักกระเป๋าจ่าย ปิดเทอมพาลูกมา จ่ายค่าคอร์ส

โมเดล D เป็นศูนย์บ่มเพาะ ที่ให้บริการครบวงจร เพื่อทำให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ที่สามารถให้บริการอย่างยั่งยืน และสร้างรายได้ได้ด้วย

ตอนนี้ 40-50 แห่งกำลังเช็คว่าตัวเองอยู่โมเดลไหน แล้วจะพัฒนาตัวเองไปทางไหน ก็ต้องวิเคราะห์กันให้ดี

ในสมัชชาครอบครัวแห่งชาติเมื่อปีที่แล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พูดถึงพื้นที่การเรียนรู้ด้วย พูดเรื่องเดียวกันอยู่หรือเปล่า

พม. มีแผนส่งเสริมและพัฒนาเด็ก 5 ปี มีเขียนเรื่องพื้นที่สร้างสรรค์ แล้วตอนนี้มีการปรับศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวตามภูมิภาค 9 แห่งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ก็เริ่มมาแนวนี้ คิดว่ามีโอกาสสูงที่จะช่วยกันผลักดันให้ไปได้ไกลกว่านี้อีก พม.เองทำงานเรื่องคุณภาพคน และอยู่ในสถานะที่จะคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องชวนให้มาดูเรื่องระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของครอบครัว 

จะพูดแค่ว่าครอบครัวต้องเข้มแข็ง อยู่ดีๆ เกิดไม่ได้ ต้องดูว่าคนที่เป็นเสาหลักคือวัยแรงงาน อยู่ในภาคแรงงาน ภาคธุรกิจเศรษฐกิจก็ต้องเอื้อให้ครอบครัวทำหน้าที่ได้ดีขึ้นด้วย ต้องมองให้เห็นว่าใครอยู่ตรงไหน แล้วไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้

40-50 พื้นที่ภาคีของ สสส.ฟังดูคึกคักดี แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

ถ้าไม่เริ่มก็จะไม่เห็นรูปธรรมของความสำเร็จ เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม คนคิดตามไม่ออก ไม่เข้าใจ เลยต้องเริ่มทำให้เห็น และไม่ใช่หน้าที่ของ สสส.ที่จะต้องทำให้ 7,000 ตำบลทั่วประเทศ 

ถ้าเราห่วงสถานการณ์เรื่องพัฒนาการเด็กของเรายังล่าช้า โดยเฉพาะด้านภาษา การใช้ดิจิทัลโดยไม่รู้เท่าทัน เด็กยังเผชิญความรุนแรง เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่าง แล้วที่ผ่านมาก็ทำกันมาเยอะแล้ว ถึงจุดที่ต้องเลือกวิธี เราเลือกโดยการวิเคราะห์ให้เห็นทั้งนิเวศ เพื่อให้เห็นว่าต้องมาร่วมมือกัน แล้วมันจะเกิดได้

อะไรคือจุดสำคัญที่จะผลักดันให้งานส่งผลกระทบได้ในวงกว้าง

ต้องทำให้เห็นว่านี่คืออาชีพ อย่ามองเป็นบริการภาครัฐ ถ้าเป็นแบบนั้นเราก็จะมองหาว่าหน่วยงานไหนต้องทำ ภาครัฐมีฟังก์ชันของเขา แต่ตรงที่เป็นช่องว่างก็ต้องช่วยกันเติม ถ้าเป็นอาชีพ มีรายได้ ตอบโจทย์การอยู่รอดได้ เราไปกินกาแฟร้านหนึ่ง เห็นป้ายบอกว่าเสาร์อาทิตย์นี้จะมีเพลย์กรุ๊ปสำหรับเด็กๆ ค่าเข้าคนละ 500 บาท น่าสนใจ อยากมา พร้อมจ่าย นี่คืออาชีพที่อยู่ได้ คนที่รักงานแบบนี้ เขาทำมันไปได้เรื่อยๆ 

สิ่งที่จะทำให้เกิดอาชีพแบบนี้ได้ในชุมชน เคียงบ่าเคียงใหม่กับศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน เพื่อช่วยให้เข้าถึงเด็กได้มากขึ้น ช่วยเด็กได้ดีขึ้น ต้องการการสนับสนุน ถ้าเราอยากทำธุรกิจ เราเดินไปที่แบงก์ เอาแผนธุรกิจให้เขาดู กู้เงินมาทำ นั่นคือเรารับความเสี่ยงว่ามันจะไปรอดไหม จะมีเงินคืนธนาคารไหม ถ้าเราทำให้สิ่งนี้ง่ายขึ้น ด้วยการส่งเสริมอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดอาชีพใหม่ในชุมชน 

จะทำได้ไหม บางทีเหมือนพูดเล่น แต่พูดจริง คือคุณต้องมาพร้อมบ้านและที่ดินนะ เพราะเรากำล้งพูดถึงพื้นที่ทางกายภาพที่จับต้องได้จริง ถ้าเด็กๆ ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ในวันเสาร์อาทิตย์ เด็กในบ้านซึ่งยากจนที่สุดในหมู่บ้านก็ได้เข้าด้วย มันจะดีแค่ไหน แล้วใครคือคนที่ควรจ่าย ระบบสนับสนุนสำคัญมาก ไม่อยากบอกว่าเป็นข้อจำกัด แต่ถ้าเติมระบบสนับสนุนแบบนี้เข้าไปจะเกิดสิ่งที่ สสส.กำลังพูดถึง

อยากให้ใครมาเป็นผู้เล่นหลัก

เราไม่ฟันธงว่าต้องเป็นใครบ้าง คิดว่ามันต้องมีหลายๆ โมเดล ถ้าใครอยากเข้ามาร่วมจะยินดีมาก ถ้ายังไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นอย่างไร ไม่ต้องร่วมเยอะนะ มานิดเดียว มาสังเกตการณ์ก่อนก็ได้ ลงพื้นที่กับเรา ลองไปติดตามความก้าวหน้าของพื้นที่การเรียนรู้ว่าเขาทำอะไรได้บ้าง เขาทำให้ตำบลนี้ไม่มีเด็กที่พัฒนาการล่าช้าเลย ทำอย่างไร ตอนนี้เราเปิดทุกความเป็นไปได้ให้มากที่สุด มันอาจจะฟังดูเหมือนไม่ชัด เพราะเป็นช่วงเริ่มต้น ที่เราต้องการหาพาร์ตเนอร์ เราไม่จำเป็นต้องมีแผนชัดเป๊ะทุกรายละเอียด เราเป็นพวกแหย่ๆ เหมือนเราเห็นลำธารแล้วอยากข้าม เราก็ลองเอาขาแหย่ๆ ดูก่อน น่าจะไหวไหม ถ้าเราไม่ลองก็คงไม่ได้เริ่ม 

สสส. วางบทบาทตัวเองไว้อย่างไร

ด้วยกำลังอันน้อยนิด งบประมาณของเราเทียบไม่ได้เลยกับหนึ่งกรม เราทำได้แค่เล็กๆ ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง สร้างแรงบันดาลใจ แต่เราต้องถอดสิ่งที่เราทำออกมา เพื่อออกแบบให้เป็นระบบสนับสนุนที่ใหญ่ขึ้น แล้วคนที่จะมาเป็นผู้เล่นหลักในการสนันสนุนให้เกิดภาพใหญ่ขึ้นให้ได้

คีย์เวิร์ดคือ จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง สาน คือเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกัน 

พื้นที่การเรียนรู้คือตัวจุดประกาย กระตุ้น สานคนที่คิดคล้ายๆ กัน แล้วเสริมพลังด้วยทุนประเดิมเล็กๆ น้อยๆ เรามีชุดความรู้ คู่มือ สื่อต่างๆ ด้วยวิธีการทำงานแบบนี้คาดว่าจะเกิดสิ่งใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาได้จริง อยู่ในวิถีชีวิตของคน 

ถ้ากลายเป็นวิถีชีวิตเมื่อไร คำว่าสุขภาวะจะเกิด แต่ถ้ามันเกิดๆ ดับๆ เป็นไฟไหม้ฟาง ก็ไม่เห็นผล เลยพยายามคิดโซลูชันที่จะใกล้ชิดชีวิตประจำวันของคนให้มากที่สุด ส่วนจะยั่งยืนอย่างไรก็คือต้องทำงานกับหน่วยงานหลัก

Tags:

spaceLearning Spaceพื้นที่การเรียนรู้ Tailor-made

Author:

illustrator

รัชดา ธราภาค

อดีตนักเรียนรัฐศาสตร์ ฝ่าคลื่นลมในงานสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ยุคแอนะล็อก จนถึงการสร้างงาน Interactive Story บนมือถือ ด้วยจุดยืนที่ย้ายได้ในทุกแพลตฟอร์มการสื่อสาร เพื่อส่งผ่านสาระประโยชน์สู่ผู้รับ

Related Posts

  • Movie
    โหมโรง: ชีวิตก็เหมือนเสียงระนาด เรียนรู้จังหวะและเรียงร้อยให้ไพเราะในทางของตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • SpaceLife Long Learning
    TK Park พื้นที่ลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ ที่ชวนทุกคนมาอ่าน คิด และลงมือทำ: กิตติรัตน์ ปิติพานิช ผอ.สถาบันอุทยานการเรียนรู้

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Space
    Space Inspirium:  แหล่งการเรียนรู้ที่ชวนคนทุกวัยท่องอวกาศไปด้วยกัน

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Creative learning
    ทลายกำแพงห้องเรียน กับ 5 พื้นที่เรียนรู้รอบเขาใหญ่ เมื่อระบบการศึกษาแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์

    เรื่อง สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

  • Everyone can be an Educator
    สวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้: บทบาทใหม่ไร้สคริปต์ของ ‘ย่านิต-ภัทรจารีย์ นักสร้างสรรค์’ ที่ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้แบบ Active Learning จากเรื่องใกล้ตัวและความเลอะเทอะ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel