Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Movie
6 October 2023

Gran Turismo: ล้มกี่ครั้งไม่สำคัญเท่าลุกอย่างไรให้ไปต่อได้

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Gran Turismo เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ นักแข่งรถชาวเวลส์ที่เริ่มต้นความฝันด้วยการเป็นเกมเมอร์ ก่อนโชคชะตาจะนำพาเขาไปสู่เส้นทางการเป็นนักแข่งรถอาชีพ
  • ถ้าไม่นับความเร้าใจของการแข่งรถ เนื้อหาของภาพยนตร์จะมุ่งเน้นไปที่การพิสูจน์ตัวเองและเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามารุมเร้ายานน์ ไล่ตั้งแต่ปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างเขากับพ่อ การฝึกฝนอย่างไม่ย่อท้อ รวมถึงสภาพจิตใจที่ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ

[บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์]

ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนย่อมมีความฝัน แต่น่าเสียดายที่หลายครั้งความฝันของเด็กมักถูกดับฝันด้วยมือของบุคคลที่เขารักที่สุดอย่างพ่อแม่

แน่นอนว่าในมุมของพ่อแม่ ถ้าความฝันของลูกตรงตามจริตของตัวเองหรือค่านิยมในสังคมโดยที่พ่อแม่พอมีทุนทรัพย์ในการสนับสนุน เชื่อว่าความฝันของลูกคงพอจะมีเค้าลางแห่งความจริง แต่ถ้าความฝันของลูกต่างออกไป ผลลัพธ์ก็จะกลับกลายเป็นการดับฝันเพื่อให้ลูกตื่นมาอยู่กับโลกแห่งความจริงในนามของความรักความหวังดี

อย่างไรก็ตาม ในจำนวนของเด็กๆ หลายคนที่ถูกพ่อแม่บอยคอตความฝัน จะมีเพียงบางคนเท่านั้นที่กล้าเสี่ยงออกจากเซฟโซนเพื่อตามล่าหาความฝันจนสำเร็จและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก เหมือนกับ ‘ยานน์ มาร์เด็นโบโรห์’ ตัวละครหลักจากภาพยนตร์ Gran Turismo ที่สร้างจากเรื่องจริงของเกมเมอร์ผู้หลงใหลเกมรถแข่งที่โชคชะตาลิขิตให้เขากลายมาเป็นนักแข่งรถอาชีพจริงๆ

รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเด็กคนหนึ่งคือความภาคภูมิใจจากพ่อแม่

ยานน์ เป็นหนุ่มชาวเวลส์วัย 19 ปี ที่เลือกไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้ใช้เวลากับสิ่งที่เขารักที่สุด นั่นคือการเล่มเกม Gran Turismo หรือ GT เกมแข่งรถอันดับหนึ่งตลอดกาลของค่าย Play Station ซึ่งเรื่องนี้ทำให้พ่อกับแม่ของยานน์ปวดหัวกับอนาคตของลูกคนโต โดยเฉพาะพ่อที่มองไม่เห็นความสำคัญของเกม ทั้งยังกล่อมให้ยานน์เดินตามเส้นทางนักฟุตบอลอาชีพเหมือนกับที่พ่อเคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับสโมสรดังอย่าง ‘คาร์ดิฟฟ์ซิตี้’ 

ประเด็นแรกที่อยากพูดถึงคือความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยนักระหว่างยานน์กับพ่อ เพราะอดีตนักฟุตบอลอย่างพ่อปรารถนาให้ลูกชายทั้งสองคนเจริญรอยตามเขา ซึ่งลูกชายคนเล็กก็เชื่อฟังและเดินตามพ่อในเส้นทางนั้นจนได้ทุนนักกีฬาฟุตบอลจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ต่างกับยานน์ที่ทั้งไม่ชอบฟุตบอล ไม่ยอมเรียนต่อมหาวิทยาลัย แถมยังใช้ชีวิตกลางวันไปกับการขายเสื้อผ้าสตรีและใช้ชีวิตกลางคืนในห้องนอนไปกับเกม GT ที่เขาหลงใหล

เมื่อลูกชายคนโตใช้ชีวิตได้ไม่ถูกใจผู้เป็นพ่อ พ่อจึงอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบเขากับน้องชายที่เปรียบเสมือนความภาคภูมิใจของครอบครัว

“ลูกรู้ไหมว่าในที่สุดลูกก็จะต้องออกจากห้อง ลูกสามารถเรียนรู้เรื่องการฝึกฟุตบอลจากน้องชาย แล้วลูกจะมีอนาคตที่ดี”

นอกจากการเปรียบเทียบของพ่อจะสร้างบาดแผลเล็กๆ ในใจของยานน์ การเอาความชอบของตัวเองเป็นบรรทัดฐานของพ่อยังลามไปถึงน้องชายที่มักกดดันเขาถึงเรื่องอนาคต และแม้ยานน์จะเถียงพ่อถึงเรื่องที่พ่อสอนให้เขาทำในสิ่งที่ตัวเองรัก แต่พ่อกลับบอกให้เขาทำมันภายใต้อาณาจักรแห่งความจริง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพ่อไม่คิดจะสนใจถามว่ายานน์ชอบอะไร รวมถึงมองว่ายานน์กำลังทำสิ่งที่เพ้อฝันไปวันๆ

ผมเข้าใจความรู้สึกของพ่อที่ต้องการให้ยานน์เลิกหมกมุ่นอยู่กับเกมทั้งวันทั้งคืน เพราะผู้ใหญ่มักคิดว่าเกมเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ที่ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นแถมยังเสียเวลาชีวิตไปวันๆ อย่างไรก็ตามพ่อน่าจะมีวิธีพูดที่ดีกว่านี้ โดยเฉพาะการสื่อสารเชิง ‘เปรียบเทียบ’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะคนเราต่างมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน และไม่ควรนำความคิดของตัวเองมาตัดสินชีวิตของคนอื่น

ประเด็นถัดมาคือต่อให้การเล่นเกมจะดูต่อยอดเป็นอาชีพได้ลำบาก แต่ยานน์เองค่อนข้างมีแพสชันที่ชัดเจนตั้งแต่อายุห้าขวบคือความฝันที่จะเป็นนักแข่งรถให้ได้ในวันหนึ่ง ดังนั้นสำหรับเขา GT จึงเป็นหนทางเดียวที่เขาจะได้ใกล้ชิดกับความฝันนั้น เพราะถึงจะไม่มีเงินไปเรียนแข่งรถในโลกแห่งความจริง แต่สิ่งที่เขาได้จากการเล่นเกมๆ นี้คือความรู้เรื่องรถยนต์ เขาจึงตั้งเป้าว่าอยากจะทำงานด้านการบำรุงรักษาและดูแลอะไหล่รถยนต์ 

สำหรับการเล่นเกมนั้น ในมุมของใครหลายคนอาจมองเป็นเรื่องของความสนุกสนานผ่อนคลาย ต่างกับยานน์ที่มองไปไกลกว่านั้น เพราะมันได้สอนให้เขารู้จักวิธีการปรับแต่งรถแข่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ แถมตอนแข่งเขายังสามารถคิดค้น ‘สูตรการวิ่ง’ เพื่อแซงเอาชนะคู่แข่งในแบบที่ใครก็คาดไม่ถึง  

เหนืออื่นใด ยานน์เป็นตัวอย่างของคนที่เปี่ยมด้วย Grit หรือพลังแห่งความหลงใหลและเพียรพยายามในสิ่งที่รักอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจุดนี้ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้เขาพัฒนาทักษะในเกม GT จนทำคะแนนติดอันดับสูงสุด ประกอบกับช่วงเวลานั้นค่ายรถยนต์ Nissan ประกาศจับมือกับสถาบัน GT Academy ในการนำสุดยอดเกมเมอร์มาปั้นเป็นนักแข่งรถอาชีพตัวจริงเสียงจริงทำให้ยานน์กับเหล่าเกมเมอร์ที่ถูกคัดเลือกจากทั่วโลกถูกเชิญมาอบรมที่สถาบัน GT เพื่อเฟ้นหาหนึ่งเดียวที่จะได้เซ็นสัญญากับทีม Nissan ต่อไป 

อย่างไรก็ตาม ผมขออนุญาตเชื่อมโยงกลับไปยังประเด็นเรื่องครอบครัวเล็กน้อย เพราะหลังจากที่ยานน์ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของสถาบัน สิ่งแรกที่เขาทำคือการรีบโทรศัพท์หาพ่อแม่ เแม่จึงบอกว่าเธอรู้สึกภูมิใจในตัวยานน์มากแค่ไหน และคำตอบของยานน์ที่ว่า “นั่นมีความหมายกับผมมากจริงๆ” ก็สะท้อนและตอกย้ำว่า ที่สุดแล้วคนเป็นลูกต่างอยากได้การยอมรับจากพ่อแม่ด้วยกันทั้งนั้น 

คนที่เก่งที่สุดคือคนที่รับมือตัวเองได้ในทุกสถานการณ์

หลังจากที่ยานน์ได้เป็นนักแข่งรถอาชีพ เขายังคงฝึกฝนอย่างหนัก ทว่าสิ่งที่เขาอาจไม่เคยฝึกคือเรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะการรับมือกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น เมื่อเขาก้าวเข้าสู่การเป็นนักแข่งรถอาชีพ  

ผมเชื่อว่าต่อให้ไม่ใช่แฟนๆ ในวงการรถแข่ง ก็น่าจะเคยได้ยินข่าวอุบัติเหตุในสนามบ่อยครั้ง เพียงแต่กรณีของยานน์ถือว่าเลวร้ายกว่านั้น เพราะอุบัติเหตุของเขาได้คร่าชีวิตผู้ชมในสนามคนหนึ่ง

ถึงจะเป็นอุบัติเหตุ แต่ยังไงการทำให้คนตายนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากจะทำใจ ซึ่งในฐานะต้นเหตุของเรื่อง ยานน์ถึงกับซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก และสูญเสียความมั่นใจในการขับรถเป็นเวลานาน แถมยังขังตัวเองไม่พบเจอใคร กระทั่ง ‘แจ็ค ซอลเทอร์’ โค้ชทีมนิสสันและอดีตนักแข่งรถอาชีพชื่อดังได้เข้ามาปลอบใจลูกศิษย์คนโปรด 

วิธีการเรียกสติของโค้ชแจ็คคือการขับรถพายานน์ไปยังสถานที่เกิดเหตุ พร้อมนำบาดแผลในอดีตจากการที่ตัวเขาเองก็เคยเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตมาก่อนมาสอนใจศิษย์รัก เพื่อไม่ให้ยานน์นำเรื่องนี้มาปิดกั้นเส้นทางแห่งความฝันของตัวเอง

“ตอนนั้นพวกเขาบอกว่าไม่ใช่ความผิดของฉัน แต่ฉันไม่เคยลุกขึ้นมาแข่งอีกเลย ฉันประสาทเสียไปแล้ว ยิ่งกว่านั้นฉันสูญเสียโอกาสที่จะค้นพบว่าฉันเก่งแค่ไหน ฉันออกจากวงการและอยู่กับสิ่งนี้มาทั้งชีวิต หากนายต้องถอนตัว คงไม่มีใครตำหนินายหรอกเพราะคนส่วนใหญ่ก็คงทำแบบนั้น แต่ฉันรู้สึกว่านายไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ฉันหมายความว่านายสามารถเป็นนักแข่งรถที่ดีที่สุด 

นายจงกลับไปสู่เส้นทางเส้นทางของนายและทำมันเดี๋ยวนี้ เพราะถ้านายไม่ทำ นายจะไม่มีวันได้ทำมันอีก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ได้บ่งชี้ถึงตัวตนของนาย แต่อยู่ที่นายจะรับมือกับมันยังไงต่างหาก”

ในมุมของผม ประโยคนี้คือประโยคทองของภาพยนตร์ที่ตอกย้ำว่าทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น เพียงแค่อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นกักขังเราไว้กับอดีต นอกจากนี้หากเรายังไม่อาจ ‘ล้มแล้วลุก’เพราะจิตใจยังไม่พร้อมจะมูฟออน การเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากใครสักคนที่พร้อมรับฟังก็น่าจะช่วยให้เราก้าวผ่านวันคืนอันโหดร้ายได้ดีกว่าที่คิด

Gran Turismo (GT) คือเกมแข่งรถอันดับหนึ่งของเครื่องเล่น Play Station ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกด้วยยอดขายมากกว่า 90 ล้านชุด จุดเด่นของจีทีคือการจำลองบรรยากาศการแข่งรถที่สมจริงที่สุดทั้งเรื่องประสบการณ์ในการขับขี่ การเลือกรถยนต์ตามยี่ห้อโปรด การปรับแต่งตัวรถและเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ อย่างอิสระ และฉากสนามแข่งระดับโลกที่สมจริง ฯลฯ โดยยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ ถือเป็นหนึ่งในนักแข่งรถที่โด่งดังที่สุดของ GT ACADEMY สถาบันที่เปลี่ยนเกมเมอร์ชั้นนำให้กลายเป็นนักแข่งรถอาชีพตัวจริง

Tags:

ครอบครัวชีวิตTraumaGran Turismoภาพยนตร์

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Movie
    Ghostlight: การสูญเสียจะตามหลอกหลอนจนกว่าจะถึงเวลาเผชิญหน้ากับมัน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Perfect Days: เพราะวันที่ดีคือวันที่ได้ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง 

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Life classroom
    เดินตามฝันในวันที่ครอบครัวอาจไม่เข้าใจ ทางยูเทิร์นของเด็กวิทย์สู่อาร์ตทอยดีไซเนอร์ : ศิรินญา ปึงสุวรรณ (Poriin)

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Matilda The Musical: เมื่อโลกไม่เข้าข้าง เราต้องยืนหยัดเพื่อตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel