Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Book
21 June 2023

‘ขอโทษ’ คำพูดติดปากจากบาดแผลที่พ่อแม่ทำให้รู้สึกผิดเสมอ: คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด

เรื่อง อัฒภาค

  • หนังสือ ‘คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด การผจญภัยทางจิตวิทยา’ เขียนโดย Robert de Board แปลเป็นภาษาไทยโดย อรดา ลีลานุช (สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์) บอกเล่าเรื่องราวของคุณคางคกที่เกิดอาการซึมเศร้าและหมดแพสชันในการใช้ชีวิต ทำให้เพื่อนๆ ตัดสินใจพาเขาไปพบกับคุณนกกระสาซึ่งเป็นนักจิตบำบัด
  • ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาผู้อ่านเข้าไปในเหตุการณ์การบำบัดของคุณคางคก เพื่อเสาะหาต้นเหตุของปัญหาสุขภาพจิตซึ่งหลายสิ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์และวิถีชีวิตของเขาอย่างคาดไม่ถึง

มีใครบางคนบอกผมว่า “ตอนคุยกัน ทำไมถึงต้องพูดคำว่าขอโทษบ่อยๆ ด้วย” 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมได้ยินประโยคนี้จากคนใกล้ตัว และเกือบทุกครั้งที่ถูกทักด้วยประโยคข้างต้น ผมก็มักพูดประโยคถัดไปแบบอัตโนมัติ “อ้าวเหรอ งั้นขอโทษด้วยนะ” 

ถ้าให้ผมวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวเอง ผมคงมองว่า ‘ขอโทษ’ น่าจะเป็นคำพูดติดปากอย่างหนึ่งของผมเพื่อแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนในระหว่างการสนทนา   

แม้จะวิเคราะห์ตัวเองแบบนี้ แต่ลึกๆ ผมเองก็ไม่มั่นใจสักนิดว่าสิ่งนี้จะสามารถอธิบายพฤติกรรมของผมได้จริงๆ จนกระทั่งผมได้อ่านหนังสือเรื่อง คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด ซึ่งบังเอิญเหลือเกินว่าตัวเอกของเรื่องอย่างคุณคางคกก็ชอบพูดคำว่าคำขอโทษทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด

หนังสือคุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด บอกเล่าเรื่องราวของคุณคางคกที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจนเพื่อนๆ ต้องบังคับให้เขาไปพบนกกระสาที่เป็นนักจิตบำบัดเพื่อดูแลสุขภาพใจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งวิธีการบำบัดส่วนมากจะมุ่งเน้นไปที่การตั้งคำถามของนกกระสา เพื่อให้คุณคางคกค่อยๆ ย้อนกลับไปสำรวจอารมณ์ ความรู้สึก รวมถึงภูมิหลัง เพื่อค้นหาสาเหตุของความทุกข์ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน  

ก่อนที่เพื่อนจะมาพบคุณคางคกในสภาพที่เหี่ยวเฉาไร้พลัง คุณคางคกยอมรับว่าเคยคิดอยากฆ่าตัวตายมาแล้วครั้งหนึ่ง เขาบอกกับนกกระสาว่าเขารู้สึกตัวเองไร้ค่าและเป็นสัตว์ที่แสนงี่เง่าในสายตาของเพื่อน แถมเพื่อนยังดูไม่ค่อยสนใจอยากรู้เรื่องราวของเขาเวลาที่เขาเริ่มจะเปิดปากเล่าพร้อมกับกล่าวหาว่าคุณคางคกเป็นแค่พวกคุยโวไปเรื่อย

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับคุณคางคกเป็นประจำ จนเขารู้สึกว่าตัวเองงี่เง่าไร้ค่าอย่างที่เพื่อนว่าจริงๆ เขาจึงพยายามทำตัวเองให้เป็นที่ ‘ยอมรับ’ ของเพื่อนๆ แม้สิ่งนั้นจะขัดใจตัวเองแค่ไหนก็ตาม

“ผมทำอย่างที่เคยทำมาตลอด ผมจะไม่สบายใจถ้าคนอื่นไม่พอใจผม เพราะอย่างนั้นผมจึงพยายามทำให้พวกเขาสงบลงและคลายความโมโห ผมสัญญาว่าจะทำแทบทุกวิถีทางเพื่อให้พวกเขากลับมาชอบผมอีกครั้ง ผมก็เลยยอมรับว่าผมงี่เง่ามากและสัญญาว่าจะปรับปรุงความประพฤติของตัวเอง” 

ในบรรดาเพื่อนของคุณคางคก ผมรู้สึกว่า ‘แบดเจอร์’ ดูจะมีอิทธิพลกับเขามากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นสัตว์ตัวโตที่ดูน่ากลัวแล้ว  การพบแบดเจอร์มักทำให้คุณคางคกนึกถึงพ่อผู้ล่วงลับ เพราะนอกจากเขาจะเป็นเพื่อนของพ่อแล้ว แบดเจอร์ยังมีพฤติกรรมคล้ายกับพ่อคือการชอบหาเรื่องมาต่อว่าคุณคางคกให้เสียน้ำตาเป็นประจำ

“แบดเจอร์ดุด่าผมเต็มที่ทีเดียวตามที่คาดไว้ ผมยังจำคำพูดของเขาได้แม่น ‘คางคก เจ้าสัตว์ตัวเล็กที่ร้ายกาจ สร้างแต่ปัญหา แกไม่ละอายใจบ้างหรือไง พ่อของแกจะว่ายังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้น!’ ผมเสียใจมากที่เขาไม่พอใจจนผมร้องไห้ออกมาและพูดอะไรไม่ออกเลย จากนั้นแบดเจอร์ก็บอกว่าปล่อยอดีตให้เป็นเรื่องของอดีตไป”

สำหรับผม ประโยคนี้คือกุญแจสำคัญที่ช่วยไขความสงสัยว่าแท้จริงแล้ว การกระทำของเพื่อนเป็นเพียงปัจจัยที่กระตุ้นถึงความทรงจำเลวร้ายในอดีตระหว่างคุณคางคกกับพ่อให้กลับมาหลอกหลอนเขาอีกครั้ง 

“ปัจจัยสำคัญที่สุดคือพ่อแม่ พวกเขามีผลกระทบต่อจิตสำนึกของเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม แทบทุกสิ่งที่เด็กทารกทำเป็นเหตุให้เกิดการตอบสนองบางอย่างจากแม่หรือพ่อ และการตอบสนองเหล่านั้นก็มีอิทธิพลต่อตัวเด็กอย่างเต็มที่…

พ่อแม่ส่วนใหญ่พยายามทำให้ดีที่สุด และน้อยคนนักจะต้องการอย่างอื่นนอกเหนือจากสิ่งดีๆ สำหรับลูกของตน แต่พ่อแม่ก็เป็นเพียงมนุษย์เท่านั้น นอกจากจะถ่ายทอดพันธุกรรมของตัวเองแล้ว พวกเขายังส่งต่อความเชื่อและพฤติกรรมให้ลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ส่วนเด็กก็ต้องเรียนรู้ที่จะรับมือและป้องกันตัวเองจากผลที่ตามมา” นกกระสากล่าว

ประเด็นถัดมาคือผมรู้สึกว่าพ่อของผมกับพ่อของคุณคางคกมีลักษณะนิสัยเหมือนกันทุกประการ ทั้งการเป็นจอมเผด็จการในบ้านที่ดุ เข้มงวด และขี้โมโห ทำให้คุณคางคกในวัยเด็กต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวงจนเป็นที่มาของการพูดคำว่าขอโทษในทุกครั้งก่อนที่จะคุยกับพ่อเพราะพ่อมักหาเรื่องมาต่อว่าเขาเสมอ

“ผมจำได้ว่าพ่อมักดุผมเสมอ พ่อส่งสายตาไม่พอใจและพูดว่า ‘ทีโอฟิลัส ฉันต้องบอกแกอีกกี่ครั้ง อย่างทำอย่างนั้น!’ พ่อตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์ผมเป็นประจำ ผมค่อยๆ เริ่มยอมรับว่าพ่อถูกเสมอ ส่วนผมก็ผิดเสมอ ดังนั้นจึงดูมีเหตุผลที่พ่อจะดุด่าผม

ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยและชวนเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน พ่อมักหาเรื่องตำหนิผม ขณะที่แม่ทำให้ผมอับอายขายหน้าซ้ำอีก ครั้งหนึ่งแม่ถามผมต่อหน้าเพื่อนๆ ว่าวันนั้นผมใส่กางเกงในที่สะอาดหรือเปล่า! ตอนนี้ผมก็หัวเราะได้อยู่หรอก แต่ผมรับประกันกับคุณได้เลยว่าตอนนั้นมันไม่ตลกสักนิด

เมื่อนึกถึงวันเก่าๆ เหล่านั้น ผมจะนึกถึงความโกรธของพ่อแม่ ไม่ใช่ความโกรธของตัวเอง ผมถูกบอกให้ทำนั่นนี่อยู่เสมอ พ่อมักโกรธเวลาที่ผมประพฤติตัวไม่ดี” คางคกกล่าว

ผมรู้สึกสงสารคุณคางคกเพราะผมตระหนักดีว่าเด็กทุกคนล้วนอยากเป็นที่รักและทำให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่น่าเสียใจที่พ่อของคุณคางคกอาจไม่เข้าใจในความจริงข้อนี้ ทำให้เขาสร้างบาดแผลในใจลูกโดยไม่รู้เลยว่าวันหนึ่งแผลนั้นจะลามไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในอนาคต

“สิ่งที่น่าประหลาดใจคือการตระหนักว่าพฤติกรรมของเราในวัยผู้ใหญ่นั้นถูกเรียนรู้จากวัยเด็กมากแค่ไหน แต่เมื่อคุณไตร่ตรองดู มันก็ชัดเจนพอควร ความรู้สึกที่รุนแรงที่สุดที่เรามีตอนเป็นเด็กจะกลายเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นประจำในวัยผู้ใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้ บางทีมันอาจเป็นความหมายของประโยคที่กวีเขียนไว้ว่า ‘เด็กน้อยคือบิดาของชายหนุ่ม’” นกกระสากล่าว

สิ่งที่ผมสนใจคือเมื่อคุณคางคกทราบอย่างแน่ชัดว่าอาการซึมเศร้าของตัวเองมาจากความรู้สึกอันแสนเจ็บปวดที่พ่อสร้างไว้ในวัยเด็ก เขากลับรู้สึกดีขึ้นที่อย่างน้อยตัวเองก็ทราบที่มาของความทุกข์ระทมในจิตใจ

“ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าพ่อแม่มีอำนาจเหนือลูกๆ มากขนาดนี้ พวกเขาควบคุมทุกอย่างได้ จะรักหรือจะปฏิเสธลูกก็ได้ จะกอดหรือทำร้ายก็ได้ การที่คุณจะมีพ่อแม่แบบไหนก็เหมือนกับการซื้อลอตเตอรี่ดีๆ นี่เอง” คางคกกล่าว

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความจริงข้อนี้ทำให้คุณคางคกรู้สึก ‘โกรธ’ พ่อที่ล่วงลับไปแล้ว แต่เขาก็ไม่รู้จะจัดการกับไฟแห่งความโกรธหรือหาวิธีเอาคืนพ่อแม่ยังไงให้สาสมกับความผิดที่ทำ ในที่สุดเขาก็ขอคำชี้แนะจากนกกระสา ซึ่งคำตอบของนกกระสานั้นทั้งสั้นและสั่นสะเทือนความรู้สึกของผมอย่างมาก

“ถ้าอย่างนั้นก็มีสิ่งเดียวที่คุณทำได้ ยกโทษให้พวกเขา”

สำหรับผมการให้อภัยถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยากที่สุด โดยเฉพาะหากสิ่งนั้นมีอิทธิพลไปในทางที่เลวร้ายและส่งผลกระทบมาถึงความเป็นตัวผมในปัจจุบัน 

ในกรณีของผม แน่นอนว่าผมรักพ่อและผมรู้ว่าเขาก็รักผมเช่นกัน แต่จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้ว่านิสัยติดขอโทษนั้นไม่ได้เกิดจากการที่ผมอ่อนแอมาแต่แรก แต่มาจากการที่พ่อสร้างบาดแผลให้ผมรู้สึกผิดอยู่เสมอซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนผมค่อยๆ หมดความมั่นใจในตัวเอง

ผมลองโทรศัพท์ไปหาใครบางคนที่พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาผมอย่างเป็นกลาง เธอบอกผมว่าแทนที่ผมจะแบกความรู้สึกหนักอึ้งไว้เพื่อรอให้พ่อมาขอโทษหรือเอาคืนในสิ่งที่พ่อเคยทำไว้ในอดีตเหมือนที่ผ่านมา สิ่งที่ผมทำได้เลยคือการกลับมาเก็บกวาดขยะในใจตัวเอง

“จิตใจมันก็เหมือนห้องๆ หนึ่งของเราที่ถูกพ่อเอาขยะเข้ามาทิ้งเต็มไปหมด เราอาจจะบ่นก็ได้ว่าพ่อผิดที่มาทำให้ห้องของเรารก แต่คำถามคือพ่อจะมาช่วยเราเก็บขยะจริงๆ เหรอ เพราะถ้าช่วยเขาคงเก็บไปตั้งนานแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราในฐานะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในห้องนี้จะเลือกได้ก็คือการอยู่กับขยะนั้นต่อไป หรือจะลงมือเก็บกวาดขยะเหล่านั้นด้วยตัวเอง” เธอกล่าว

แม้คำตอบจากเสียงปลายสายจะฟังแล้วเจ็บปวดเพราะไม่ว่าผมจะเลือกทางไหนสุดท้ายผมก็ต้องเป็นคนที่น่าสงสารอยู่ดี แต่อย่างน้อยผมก็รู้สึกดีใจที่มีใครคนหนึ่งที่ให้คำแนะนำผมอย่างตั้งใจ ปลอบประโลมอย่างรู้จังหวะ และพร้อมส่งเสียงเชียร์ให้ผมใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขไม่ว่าผมจะเลือกอยู่กับขยะเหล่านั้นต่อไปหรือไม่ก็ตาม

Tags:

หนังสือโรคซึมเศร้าจิตใจการใช้ชีวิตคุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด การผจญภัยทางจิตวิทยา’สุขภาพจิต

Author:

illustrator

อัฒภาค

Related Posts

  • Book
    ชีวิตที่ดีงามควร ‘หนักอึ้ง’ หรือ ‘เบาหวิว’: ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    มหัศจรรย์ห้องสมุดเที่ยงคืน: ชีวิตมีไว้เพื่อใช้ มิใช่แค่เพื่อค้นหาความหมาย

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Adolescent Brain
    เพราะสมองหรือเพราะใจ? ทำไมวัยรุ่นถึงเป็นซึมเศร้า ทำความเข้าใจผ่านปัจจัยสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    นิกเซน (Niksen): ละทิ้งความคาดหวังและอยู่กับปัจจุบันขณะ ศิลปะของการไม่ทำอะไรของชาวดัตซ์

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Book
    นักบินรบ : การค้นพบความหวัง ในสมรภูมิที่สิ้นหวัง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel