Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
platonic
Relationship
23 May 2024

เพื่อนสนิทในที่ทำงานมีจริงไหม? ทำความเข้าใจมิตรภาพในที่ทำงานผ่านแนวคิด Platonic Love

เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Platonic Love คือความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันโดยปราศจากความรู้สึกเชิงโรแมนติก โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในที่ทำงาน การมีความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิทนี้ก็มีประโยชน์มากมาย
  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Platonic Love เป็นไปในทิศทางบวก คือ เกิดความสำเร็จในระดับบุคคลและทีม การทำงานมีประสิทธิภาพสูงในระดับบุคคลและทีม และได้ทีมที่แน่นแฟ้น
  • แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาองค์กร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อนุญาตให้มี Platonic Love หรือแม้กระทั่งส่งเสริม Platonic Love ระหว่างสมาชิกภายในองค์กร

“เราเป็นเพื่อนสนิทกับคนในที่ทำงานได้มั้ย?”

คำถามลักษณะนี้พบได้บ่อยมากในกระทู้ต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต บ้างก็ว่าได้ บ้างก็ว่าไม่ได้ ฝั่งที่ว่าได้บอกว่าการมีเพื่อนสนิทจะสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองไม่เคร่งเครียด ส่วนฝั่งที่ว่าไม่ได้ก็บอกว่าคนในที่ทำงานหาคนจริงใจยาก เขาอาจจะแค่แกล้งสนิทหลอกๆ เพื่อหวังผลประโยชน์ก็ได้

เพื่อนสนิทตามแนวคิดทางจิตวิทยาเรียกว่า Platonic Love ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่คนสองคนมีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันโดยปราศจากความรู้สึกเชิงโรแมนติก โดยความสัมพันธ์ลักษณะนี้ก็มีประโยชน์มากมาย เช่น ได้รับการสนับสนุนทางสังคม (Social Support) และได้พัฒนาทักษะการล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้ (Resilience)

ดังนั้นการจะมีเพื่อนสนิทหรือมิตรภาพแบบ Platonic ในที่ทำงานก็คงจะเป็นเรื่องดี ยิ่งถ้าเป็นการทำงานภายใต้ความกดดันสูง ในบทความนี้อาจไม่ได้ตอบคำถามว่าเราจะเป็นเพื่อนสนิทกับคนในที่ทำงานได้หรือไม่ แต่จะพาไปดูว่าการมีเพื่อนสนิทแบบ Platonic Love ในที่ทำงานเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะส่งผลอย่างไรต่อการทำงาน

งานวิจัยว่าด้วย Platonic Love ในที่ทำงาน

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นดุษฎีนิพนธ์ (งานศึกษาวิจัยเพื่อจบปริญญาเอก) ชื่อว่า ‘Love is Work: Work-Based Platonic Love Theory’ จัดทำโดย Margaret Gillette (2018) ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาบุคคลและองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้คนที่ทำงานใน Silicon Valley ของรัฐแคลิฟอร์เนียรักกันแบบ Platonic ในที่ทำงานได้อย่างไร และพวกเขารับรู้ถึงผลกระทบอะไรบ้างจากความรักนี้

Gillette กล่าวว่าตัวเองเคยประสบกับ Platonic Love ในที่ทำงานมาก่อนและอยากรู้ว่าคนอื่นจะมีประสบการณ์ในลักษณะนี้เหมือนกันด้วยหรือไม่ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการศึกษาความรักในองค์กรมักเกี่ยวข้องความเป็นผู้นำ (Leadership) หรือคนจากระดับตำแหน่งที่ต่างกัน โดยมองข้ามความรักแบบเพื่อนของคนภายในองค์กร

ด้วยเหตุนี้ Gillette จึงได้ใช้การเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 17 คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ Silicon Valley โดยคละตำแหน่งงานกัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า Platonic Love ในบริบทการทำงานในองค์กรเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และบุคคลเหล่านั้นรับรู้ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าอย่างไร

ปัจจัยก่อกำเนิด Platonic Love ในที่ทำงาน

จากการวิเคราะห์ข้อมูล Gillette ได้สรุปผลออกมาผ่านการเปรียบเทียบเป็นหม้ออัดแรงดัน (Pressure Cooker) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 อย่าง คือ สภาพแวดล้อม (Environment), อินพุต (Input), ตัวเร่ง (Catalyst), เอาต์พุต (Output) และผลกระทบ (Effects)

1.   สภาพแวดล้อม (Environment)

จากการเก็บข้อมูลปรากฏสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความกดดันสูง เช่น มีความเร่งรีบ ต้องการคนทำงานมาก ต้องการงานคุณภาพสูง ต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น ด้วยความกดดันสูงเช่นนี้จึงใช้การเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมเป็นหม้ออัดแรงดันใบนี้

2. อินพุต (Input)

สิ่งที่ต้องใส่เข้าไปในหม้อใบนี้คือการตอบสนองต่อเพื่อนร่วมงานหรือทีม ซึ่งมักเป็นการตอบสนองที่แรงกล้า (High-intensity Response) ได้แก่ ความไม่ชอบ ความขัดแย้ง และความชื่นชม ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ให้สัมภาษณ์รายงานว่าความสัมพันธ์นี้เริ่มต้นด้วยอารมณ์เชิงลบหรืออารมณ์รุนแรง แต่เมื่อโฟกัสไปที่งานและได้ทำงานร่วมกันก็สามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่มีต่อกันได้

3. ตัวเร่ง (Catalyst)

แรงที่เข้ามาเร่งให้เกิด Platonic Love คือ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความยากลำบาก ความท้าทาย งานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน โดยในภาพหม้ออัดแรงดัน ตัวเร่งในที่นี้คือการหมุนปุ่มเพื่อเพิ่มความร้อน

การมีประสบการณ์ผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากร่วมกันเป็นหนึ่งในสัญญาณของ Platonic Love ในเรื่องของ ‘ความใกล้ชิด’ (Closeness) ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์หลายคนก็รายงานว่า Platonic Love เกิดขึ้นหลังจากที่ผ่านสถานการณ์เหล่านี้ หรือบางคนก็บอกว่าเกิดขึ้นในทันทีที่ผ่านสถานการณ์เหล่านี้

4. เอาต์พุต (Output)

ผลผลิตที่จะได้จากหม้ออัดแรงดันใบนี้คือ การประสบกับ Platonic Love โดยผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทั้งหมดไม่ได้อธิบายผลผลิตนี้ว่าเป็น ‘ความรัก’ (Love) แต่จะใช้คำอื่นแทน เช่น การแคร์กัน (Caring), ความเคารพ (Respect), ความรักแบบครอบครัว (Familial Love), ความรักในทีมตัวเอง (Team Love)

เหตุที่ไม่ใช้คำว่า ‘ความรัก’ (Love) เพราะว่าความรักดูเป็นสิ่งต้องห้าม (Taboo) ในที่ทำงาน โดยเห็นได้จากปฏิกิริยาของผู้ให้สัมภาษณ์ว่ามีความไม่สบายใจในการอธิบาย เช่น เบือนหน้าหนี กระวนกระวาย ตึงเครียดขึ้น ฯลฯ

นอกจากนี้ Gillette ยังเสนอว่าเป็นเพราะความรักในที่ทำงานอาจเชื่อมโยงกับการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) โดยเห็นได้จากการเคลื่อนไหว #MeToo ในช่วงเวลานั้นที่มีคนมากมายออกมาเปิดเผยว่าถูกคุกคามทางเพศจากคนดังใน Hollywood และสร้างแรงกระเพื่อมไปสู่การตระหนักถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวในระดับโลก

5. ผลกระทบ (Effects)

ผู้ให้สัมภาษณ์รายงานว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Platonic Love เป็นไปในทิศทางบวก คือ เกิดความสำเร็จในระดับบุคคลและทีม, การทำงานมีประสิทธิภาพสูงในระดับบุคคลและทีม และก็ได้ทีมที่แน่นแฟ้น โดยในภาพจะเปรียบเป็นไอน้ำที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหม้ออัดแรงดัน

ความสำเร็จเกิดมาจากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำงาน ทั้งยังมีผู้ให้สัมภาษณ์บางคนรายงานว่าแม้จะไม่ได้ทำงานร่วมกันแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงให้ความช่วยเหลือกันและกันต่อไป นอกจากนี้ มีผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วนรายงานว่าความสัมพันธ์ลักษณะนี้ทำให้พวกเขาได้ให้และรับฟีดแบ็กที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและนำไปสู่ความสำเร็จ

ผู้ให้สัมภาษณ์รายงานว่า ในทีมที่มี Platonic Love เมื่อทำงานเสร็จและงานออกมาดีก็อยากทำงานด้วยกันต่อไป ทำให้เกิดเป็นทีมที่แน่นแฟ้นและพร้อมทำงานร่วมกันแม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ยากลำบาก เพราะ Plantonic Love เปรียบเสมือนกับสิ่งที่ป้องกันไม่ให้ทีมแตกเป็นเสี่ยงๆ (Shatterproof)

การนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

Gillette เสนอว่าข้อค้นพบที่ได้จากงานนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพ (Practitioner) นำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในทรัพยากรบุคคล (Human Resource: HR) และการพัฒนาองค์กร (Organization Development: OD) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อนุญาตให้มี Platonic Love หรือแม้กระทั่งส่งเสริม Platonic Love ระหว่างสมาชิกภายในองค์กร

อย่างไรก็ตาม Gillette ย้ำว่าแม้ในแนวคิดจะมีความยากลำบากเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเพิ่มความยากลำบากเข้าไป ในการทำงานปกติเราต้องประสบกับความยากลำบากอยู่แล้ว การมีแบบจำลองที่ทำให้รับรู้ถึงความเป็นไปได้ในสถานการณ์ของตัวเองจะช่วยให้บุคคลและทีมผ่านความยากลำบากไปได้

สรุปคือ การมี Platonic Love ในที่ทำงานสร้างประโยชน์ให้เรามากมาย แม้ว่าอาจจะยังตอบคำถามไม่ได้ว่าเพื่อนสนิทในที่ทำงานมีจริงหรือไม่ แต่การมีเพื่อนสนิทที่คอยรักและห่วงใยกันในที่ทำงานก็เป็นเรื่องดีที่จะทำให้การทำงานของเราดำเนินไปได้อย่างราบรื่นทั้งทางกายและทางใจ

อ้างอิง

กันต์กนิษฐ์ มิตรภักดี. (2564) #MeToo แฮชแท็กที่เปลี่ยนข่าวฉาวของฮาร์วีย์ ไวน์สตีนให้เป็นการเคลื่อนไหวของผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศทั่วโลก.

Gillette, M. (2018). Love is Work: Work-Based Platonic Love Theory [Doctoral dissertation, Alliant International University]. 

Tags:

ความสัมพันธ์ความรักPlatonic Loveที่ทำงานองค์กร

Author:

illustrator

ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Relationship
    Breadcrumbing: เลิกกั๊กแล้วรักได้มั้ย? ความสัมพันธ์ที่มีแต่ความหวังลมๆ แล้งๆ ไม่พัฒนาไปไหน

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Book
    Normal People: จะรวยหรือจน…ทุกคนล้วนเป็นคนธรรมดา

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Relationship
    ‘หึง’ ก็เพราะรัก? ‘หวง’ ก็เพราะห่วง? เข้าใจธรรมชาติของอารมณ์หึงหวงก่อนทำลายความสัมพันธ์

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    Platonic Love: ความรักที่ไม่จำเป็นต้องตกหลุมรัก ไม่ครอบครองและไม่มีวันเลิกรา

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Relationship
    ทำความเข้าใจความรักกับการเมืองด้วย Balance theory

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel