Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
How to enjoy life
6 July 2023

ลากอม (Lagom): ความพอดีแบบสวีเดนที่มาแตะไหล่ให้เราพอใจกับสิ่งที่มี

เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • ‘ลากอม’ คือศัพท์ที่มาจากเรื่องเล่าของชาวไวกิ้งที่อยู่ในสวีเดนสมัยโบราณ โดยมีรากความคิดในการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง คิดถึงการกระทำของตัวเองที่จะไปส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอีกที
  • นอกจากความหมายอันเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งแล้ว อาจอยู่ที่ความหลากหลายในการนำไปใช้ โดยไม่เกี่ยงเพศ อายุ ฐานะ อาชีพ รสนิยม ซึ่งเรานำลากอมไปประยุกต์ใช้ได้ ‘ทุกเรื่อง’ ในชีวิตของคนเรา
  • ในโลกที่เต็มไปด้วยการไขว่คว้าไม่สิ้นสุด ลากอมจะมาแตะไหล่เตือนสติให้เราหยุดเบรกและซาบซึ้งกับสิ่งที่มี พอใจกับความพอดีที่มีอยู่แล้ว

เคยไหม? หลายครั้งที่เราทำอะไรแบบไม่มากจนเกินเบอร์และก็ไม่น้อยจนเกินไป ไม่ว่าจะทำงานแบบบาลานซ์หรือกินให้อิ่มแต่พอเหมาะ…มันกลับให้ความรู้สึกที่ดีที่ช่างลงตัวเสียจริงๆ ความรู้สึกที่ช่างพอดีลงตัวนี้คือหัวใจของ ‘ลากอม’ (Lagom) แนวคิดการใช้ชีวิตในแบบ ‘พอดี๊พอดี’ ของชาวสวีเดน ที่ถ้าเราเข้าใจถึงแก่นแล้ว…สามารถปรับใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตเลยก็ยังได้!!

การยื่นส่งไวน์ที่นำมาสู่ลากอม

รากศัพท์ของ ‘ลากอม’ มาจากเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของสวีเดน ในสมัยโบราณที่มีชาวไวกิ้งเป็นผู้ที่ตั้งรกรากอยู่อาศัยในดินแดนที่ครอบคลุมถึงประเทศสวีเดนในปัจจุบัน ชาวไวกิ้งเหล่านั้นจะพูดคำว่า ‘ลากอม’ เวลา ‘ยื่นส่งไวน์’ ขนาดใหญ่ให้สมาชิกดื่มกินกันรอบวงโต๊ะอาหาร โดยแต่ละคนจะดื่มในปริมาณพอดีเพื่อให้ ‘พอเหลือ’ สำหรับคนอื่น 

ลากอมจึงมีรากความคิดในการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง คิดถึงการกระทำของตัวเองที่จะไปส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอีกที 

นอกจากนี้ เพราะความพอดี แต่ละคนจึงดื่มไวน์ในปริมาณที่ไม่เยอะจนเกินไปทำให้ไม่เมา กลายเป็นแค่อาการ ‘กรึ่มๆ’ ทุกคนยังสามารถพูดคุยสนทนากันอย่างมีสติได้ เพราะแนวคิดลากอม…ทุกอย่างจึงดูเหมือน วิน-วิน กับทุกฝ่าย

เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบัน ลากอมก็ได้หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดและวัฒนธรรมชาวสวีเดนส่วนใหญ่ไปแล้ว ถึงกับมีวลีสั้นๆ ที่พูดว่า ‘Lagom är bäst’ (The right amount is best) ซึ่งหมายถึงว่า “ความพอดีนั้นดีที่สุด”

คาแรกเตอร์ที่น่าสนใจของลากอม

เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน ความหมายของลากอมไม่ได้จำกัดแค่การยื่นส่งไวน์ในวงโต๊ะอาหารอีกต่อไป แต่คำๆ นี้แผ่ขยายความงดงามไปสู่ ‘ความพอดี’ ที่ช่างลงตัว ถ้าเราพิจารณาจะพบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม ล้วนดีที่สุดเมื่อมันมีความพอดี 

มันคือความรู้สึกเชิงอารมณ์ที่ยากจะพรรณาออกมาเป็นคำพูด แต่เราอาจอุทานในใจทำนองว่า “…เพราะพอดีจึงดีต่อใจ”

ลากอมจะไม่มุ่งหาความสุดโต่ง ไม่ดันแท่นบาร์จนถึงลิมิต แต่จะแสวงหาการประนีประนอม มีทั้งการเหยียบคันเร่งและแตะเบรคผ่อนสลับกันไป จะว่าไปแล้ว มีความคล้ายกับแนวคิด ‘ทางสายกลาง’ ของพุทธศาสนาไม่น้อย ไม่หย่อนเกินไป และ ไม่ตึงเกินไป

ถ้าใครกำลังหาคีย์เวิร์ดจำขึ้นใจให้กับความเป็นลากอม ขอให้จำ 3 คำนี้ง่ายๆ

  • ดีพอแล้ว (Good enough)
  • ความพอดีเหมาะสม (Just right) ไม่มากไป-ไม่น้อยไป
  • ความสมดุลบาลานซ์ (Balance) ระหว่างหลายสิ่ง ไม่เทน้ำหนักไปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

สะท้อนไปยังสถาปัตยกรรมบ้านเมืองของสวีเดน แทบทุกเมืองมีความสวยน่ารัก แต่ไม่ภูมิฐานโอ่อ่าเว่อร์วัง หรือวัฒนธรรมการทานอาหารที่เน้นความเรียบง่ายและโภชนาการโดยไม่ซีเรียสกับความหรูหราของจานชามภาชนะและพิธีรีตองอันชวนประหม่า หรืองานสังคมเวลาชวนเพื่อนฝูงมาปาร์ตี้ทำอาหารกินกันที่บ้าน เจ้าภาพจะไม่ได้จัดงานที่มีแต่ของแพงหรูหรา ทั้งกังวลว่าอีกฝ่ายจะเก้อเขินรึเปล่า ป้องกันอาการอิจฉาริษยา และคิดเผื่อล่วงหน้า ว่าถ้าโอกาสหน้าอีกฝ่ายเป็นคนชวนไปบ้างล่ะ? อาจจะกังวลใจรึเปล่าที่จัดได้ไม่หรูพอ? ซึ่งนำไปสู่ความฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ ลากอมมีอิทธิพลต่อความคิดชาวสวีเดนขนาดนี้เลยนะ!

ชาวสวีเดนมีรสนิยมไม่หรูหราจนเกินไป เรียบหรูแต่พองาม สังเกตได้ว่าชาวสวีเดนเป็นหนึ่งในชาติที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่เวลาเราพูดถึงความหรูหรา-มั่งคั่ง-โออ่า ชาวสวีเดนจะไม่ได้เด้งขึ้นมาในหัวแรกๆ หรืออาจไม่ได้ติดโผเลยด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่พวกเขามีศักยภาพในการซื้อหาครอบครองของแพงๆ ได้มากกว่าหลายชาติในโลกด้วยซ้ำ

ทั้งนี้เราต้องเข้าใจบริบทสังคมสวีเดนด้วยว่าเป็น ‘สังคมแห่งความเท่าเทียม’ ทั้งในด้านเพศหรือฐานะความเป็นอยู่ ซึ่งหล่อหลอมจนเกิดแนวคิดลากอมขึ้นมาได้ ส่วนหนึ่งผู้คนส่วนใหญ่อยู่ดีกินมากพอ ส่วนหนึ่งรัฐต้องมีสวัสดิการรองรับ

เมื่อชีวิตคนหนึ่งคนมีความมั่นคง มีความสงบทางจิตใจมากพอเป็นพื้นฐานแล้ว ลากอมจึงเกิดขึ้นได้ในสเกลระดับทั้งสังคม

โอบกอดลากอมเข้ามาในชีวิต

ความน่าสนใจที่สุดของแนวคิดลากอม นอกจากความหมายอันเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งแล้ว อาจอยู่ที่ความหลากหลายในการนำไปใช้ โดยไม่เกี่ยงเพศ อายุ ฐานะ อาชีพ รสนิยม จะว่าไปแล้ว เรานำลากอมไปประยุกต์ใช้ได้ ‘ทุกเรื่อง’ ในชีวิตของคนเราจริงๆ

ศิลปะการจัดบ้าน

ลากอมนำพาความไฮบริดของหลากหลายสไตล์การแต่งบ้านเข้าไว้ด้วยกัน มันไม่ใช่ความมินิมอลอันราบเรียบว่างเปล่า และก็ไม่ใช่ความแม็กซิมอลอันหรูหรารุงรัง แต่จะอยู่กึ่งกลาง จัดวางวัสดุหลบเข้ามุมไม่เกะกะ แต่ก็เผื่อให้มีพื้นที่โล่งอยู่บ้าง หรือจัดแสงแดดให้บ้านสว่าง แต่ก็ใช้ผ้าม่านกรองแสงไม่ให้สว่างจ้าจนเกินไปเพราะแสงยูวีเข้ามาทำร้ายผิวพรรณได้

การออกกำลังกาย

เรานำลากอมมาใช้ออกกำลังกายแบบทางสายกลางได้โดยตรง ตั้งแต่การเลือกรูปแบบประเภทกีฬาที่ไม่หักโหมอันตรายจนเกินไปและไม่ซอฟต์จนเกินไป เราสามารถวิ่งคาร์ดิโอให้เหนื่อยแบบกำลังดีเพื่อให้หัวใจแข็งแรง ยกเวทให้ปวดเมื่อยกำลังดีเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และใช้เวลาออกแบบกำลังดีเพื่อไม่ให้กระทบการดำเนินชีวิตเรื่องอื่น

การทำงานหาเงิน 

เรื่องนี้ชัดเจนมากๆ ชาวสวีเดนให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างงาน-ชีวิต (Work-Life Balance) สูงมาก ใครที่อยู่ออฟฟิศถึงดึกดื่น ไม่ได้ถูกมองอย่างชื่นชม แต่จะถูกตั้งข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพการทำงานและการบริหารจัดการเวลาว่าไม่ดีพอรึเปล่า

ลากอมไม่ได้ปฏิเสธการแข่งขัน แต่แข่งเท่าที่จำเป็น เท่าที่สุขภาพร่างกายเราไหว โดยจะไม่แลกสุขภาพกับเงิน ในมุมกลับกัน ถ้าทำงานน้อยลง ได้เงินน้อยลง แต่ได้สุขภาพคืนมา พร้อมกับความเครียดความกดดันที่ลดลงและมีเวลากับคนรักมากขึ้น…คุณจะโอเครึเปล่า? ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง เพราะแต่ละคนมีบริบทต่างกัน จึงมีจุดที่รู้สึกพอดีต่างกันไป

เวลาเราคิดถึงความพอดี มันจุดประกายให้คิดถึงความ ‘จำเป็น’ ตามมาด้วยแบบเลี่ยงไม่ได้ เราอาจตั้งคำถามว่าสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามา มันจำเป็นต้องมากไปกว่าเดิมอย่างงั้นเหรอ? หรือเราสามารถมีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่โดยไม่ต้องมีมากขึ้นได้รึเปล่าถ้าสิ่งที่มีมันดีพอหรือมากพอแล้ว?

ความมั่งคั่งร่ำรวย

ลากอมเหมาะเจาะกับยุคบริโภคนิยม (Consumerism) ที่อาจจะสุดโต่งไปหน่อย ไม่เคยตั้งคำถามถึงความอยาก ไม่เคยหยุดคิดว่าแค่ไหนถึงพอ และเพิกเฉยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในสังคมที่คนส่วนใหญ่อยากร่ำรวยมีเงินทอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เราใช้ลากอมจี้ถามต่อไปได้ว่า แล้วต้องมีเงินมากแค่ไหนถึงเรียกว่า ‘รวย’? ในทางการเงินไม่มีเพดานของความมั่งคั่งร่ำรวยเพราะมันไต่ระดับขึ้นไปได้เรื่อยๆ โอเคไม่เป็นไร แล้วในแง่ค่าใช้จ่ายในชีวิตหรือทางจิตใจของเราล่ะ? แค่ไหนที่ตัวเรารู้สึกว่ามันดีมากพอ-มากพอแล้ว-สุขพอแล้ว? นี่เป็นคำถามสำคัญในชีวิตที่ไม่มีใครตอบได้นอกจากตัวของพวกเราเองแต่ละคน

ในโลกที่เต็มไปด้วยสปีด การไขว่คว้าไม่สิ้นสุด และการตักตวงที่ต้องมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น …ดูเหมือนว่าลากอมจะมาแตะไหล่เตือนสติให้เราหยุดเบรกและซาบซึ้งกับสิ่งที่มี พอใจกับความพอดีที่มีพออยู่แล้วโดยไม่ต้องดิ้นรนอะไรไปมากกว่านี้อีก อาจจะไม่มียุคไหนอีกแล้วที่ลากอมจะทรงพลังกับมนุษย์เรามากเท่ายุคนี้

อ้างอิง

https://scandification.com/what-is-lagom-the-meaning-of-swedish-lagom/

https://www.health.com/condition/stress/swedish-lagom-tips-for-balanced-happy-life

https://bigthink.com/thinking/swedish-philosophy-lagom-just-enough/

https://www.forbes.com/sites/davidnikel/2019/03/06/move-over-hygge-why-lagom-is-the-scandinavian-lifestyle-concept-we-really-need/?sh=2b4ec8cb3e10

Tags:

สวีเดนWork-Life Balanceความสมดุลความพอเพียงความสุขความพอดีการใช้ชีวิตลากอม

Author:

illustrator

ปริพนธ์ นำพบสันติ

ชอบขบคิดในหัวและหาคำอธิบายให้กับสิ่งรอบตัว

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • Book
    ชีวิตที่ดีงามควร ‘หนักอึ้ง’ หรือ ‘เบาหวิว’: ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • How to enjoy life
    เซโรโทนิน-ออกซิโทซิน-โดพามีน: สูตร(ไม่)ลับ ปรับไลฟ์สไตล์โอบรับความสุขด้วยวิทยาศาสตร์

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Book
    ชวนอ่าน 7 เล่ม รับปี 2024: ปรับ Mindset เพื่อเข้าใกล้ความสำเร็จในแบบของตัวเอง

    เรื่อง พิรญาณ์ บุลสถาพร

  • How to enjoy life
    Joie de Vivre: เพลินใจกับสิ่งรอบตัว ปลดปล่อยแผนการสุดรัดกุม ใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะแบบชาวฝรั่งเศส

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Life classroom
    ‘อนุญาตให้ตัวเองผิดหวังได้แต่อย่านาน’ ไดอารี่ชีวิตสาวน้อยคิดบวก ธันย์- ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel