Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Healing the trauma
16 November 2023

ความสัมพันธ์ที่ทำร้ายทารุณ

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • บางครั้งเราจำเป็นต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกทำร้ายทารุณ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผูกพันกับคนที่มีพฤติกรรมเป็นโทษต่อเรา หรือทำร้ายเราทางกายหรือจิตใจ
  • เด็กแต่ละคนตอบสนองต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกัน บางคนอาจจะเก็บไว้ มาแสดงอารมณ​์ออกไป ซึ่งผลที่ตามมานั้นอาจทำให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ชินกับการกดความโกรธไว้ในใจ
  • ขั้นตอนสำคัญของการเยียวยาและออกมาหากต้องการก็คือ ยอมรับให้ได้ก่อนว่าพฤติกรรมนั้นๆ มันทำร้ายหรือเป็นโทษกับเราจริงๆ และเลิกหลอกตัวเองว่าทุกอย่างโอเค

1.

ความผูกพันอันไม่น่าไว้วางใจ

เคยไหม? ที่เกิดรู้สึกผูกพันกับใครบางคนอย่างเข้มข้น และยังรู้สึก ‘คุ้นๆ’  ‘ฉันเคยไปที่นี่มาแล้วในอดีตและมันยังไม่จบ’ สัญชาตญาณบรรพกาลถูกกระตุ้น 

ในขณะเดียวกันก็รู้แต่แรกหรือทีหลังว่ามีความทารุณอยู่ แต่.. ก็ถูกดูดเข้าไปเหมือนคนโดนของ ถูกสะกดโดยจอมขมังเวทย์ ราวกับคนชอบดูหนังผีสยดสยองและจิตวิตยาเขย่าขวัญแม้มันรบกวนใจ

แล้วเราก็ผูกพันกับคนที่มีพฤติกรรมเป็นโทษต่อเรา หรือทำร้ายเราทางกายหรือจิตใจ..

2.  

ผูกพันกับคนที่ทำร้ายทารุณ

 ในความผูกพันลักษณะดังกล่าว ฝ่ายหนึ่งจะซ้ำวงจรความเสน่หาและความรุนแรงอย่างแปรปรวนและถืออำนาจบงการมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอีกฝ่ายก็ยอมจำนน ฝ่ายหลังมักพยายามเอาใจ ปกป้องหรือหาเหตุผลแก้ตัวให้ฝ่ายที่ทำไม่ดีกับตัวเอง, ซ่อนความต้องการและความรู้สึกของตัวเพราะถ้าพูดออกไปจะโดนเล่นงาน ฯลฯ ซึ่งความผูกพันที่มีลักษณะเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเชิงโรแมนติกเสมอไป 

กระจกและการเวียนสลับบท

อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ได้เรียนรู้มากนักหากลดทอนว่าอีกฝ่ายเท่านั้นกระทำทารุณส่วนเราก็แค่ถูกกระทำ หากเราผ่านการเยียวยามาและเข้มแข็งพอจะมองแล้ว อีกฝ่ายสามารถเป็น ‘กระจก’ ส่องหลายพฤติกรรมลบๆ แบบเดียวกันที่เราก็เคยทำ อีกทั้งทำให้เห็นส่วนที่ยังไม่ได้เยียวยาของตัวเอง  การถูกทำร้ายและการทำร้ายนั้นปฏิสัมพันธ์กันอยู่ ซึ่งหากบทบาทนั้นสลับไปมาได้ นั่นแปลว่าหลายครั้งเราก็อาจทำร้ายทารุณอีกฝ่ายเหมือนกัน เราสามารถเพิ่มความตระหนักรู้และเห็นความย้อนแย้งในสิ่งทั้งปวงรวมถึงในตัวเอง ที่สุดแล้วก็ไม่อาจยึดถือว่าเรื่องเล่าใดเรื่องเล่าหนึ่งเป็นคำตอบเดียวถาวร

ความสัมพันธ์ของเด็กกับผู้ดูแลซึ่งเด็กต้องพึ่ง

แต่หากจะมองว่ามีใครคนหนึ่งมีพฤติกรรมทำร้ายเป็นหลัก (ในที่นี้ขอเน้นเฉพาะทางจิตใจก่อน) คนที่เสี่ยงจะผูกพันกับคนที่ทำร้ายเขา ก็คือคนที่เคยถูกทำร้ายทารุณลักษณะนั้นๆ ในอดีตซึ่งมักเป็นวัยเด็ก (หรืออีกมุมหนึ่ง เด็กไม่ได้ถูกทำร้ายแต่ก็รู้สึกบาดเจ็บและด้อยค่าตนเองไปแล้ว และพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เจตนาทำร้าย เช่น พ่อแม่จำเป็นต้องทิ้งเด็กตั้งแต่แรกเกิดหรือทอดทิ้งเด็กในโอกาสต่างๆ ที่เด็กกำลังต้องการเพราะจำเป็น)  

ทว่าบางกรณีพ่อแม่อารมณ์ร้อนฉับไวในการระเบิดอารมณ์ใส่เด็กเป็นอาจิณเมื่อไม่ได้ดั่งใจ, พรั่งพรูถ้อยคำลดทอดคุณค่า, คอยหักล้างความเป็นจริงที่เด็กรับรู้ถ้าหากมันจะไปกระทบตัวตนของพ่อแม่ ฯลฯ 

เด็กแต่ละคนตอบสนองต่อเหตุการณ์ทำนองเดียวกันไม่เหมือนกัน หนึ่งในผลลัพธ์ที่เป็นไปได้จากสถานการณ์ลักษณะนี้ก็คือ เด็กสร้างความชอบธรรมให้พฤติกรรมที่เป็นโทษกับตัวเองซึ่งกระทำโดยคนที่เด็กรักและต้องพึ่งพา เด็กโทษตัวเองแทน สัญญาณเตือนภัยและการตอบโต้จะทำงานอย่างไรหากอันตรายมาจากคนที่ดูแลเด็ก? เด็กอาจไม่เคยรู้สึกดีพอ หวาดระแวงว่าจะถูกทำโทษ ชินกับการทำให้ความทุกข์ของตัวเป็นเรื่องเล็กและความจริงของตัวไม่มีความหมาย อีกทั้งคอยปรับพฤติกรรมคำพูดให้ถูกใจพ่อแม่และคนรอบข้าง 

ผู้ใหญ่กับการสานสัมพันธ์ที่ทำร้ายทารุณ

เด็กคนนั้นโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ชินกับการกดความโกรธ ปกป้องอาณาเขตตัวเองได้ยาก และละเลยสัญญาณเตือนภัยแม้จะสัมผัสเค้าลาง โดยเฉพาะเมื่อมันคุ้นมาก และที่ผ่านมาก็เอาแต่บอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไร” “ความรู้สึกคนอื่นสำคัญกว่าของเรา” 

ในความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก หากเขาได้รับการทุ่มเทกระหน่ำรักในตอนต้นจากคนที่มีพฤติกรรมทารุณแต่เขาคุ้นกับพฤติกรรมและยังไม่ได้ทำงานกับแผลเก่า มันก็ง่ายที่จะถูกดึงดูด (ส่วนความสัมพันธ์ที่นำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดีกว่าก็ดันไม่น่าสนใจ) อาจถึงขั้นรู้สึกว่าความสัมพันธ์ที่ถูกด้อยค่า ถูกปั่นให้สงสัยในความรับรู้ของตัวเอง (gaslighted) ถูกแยกให้โดดเดี่ยวทำให้ถูกบงการโดยอีกฝ่ายโดยง่ายนั้น เป็นเคมีที่เข้ากันอย่างอัศจรรย์ เป็นจิตวิญญาณส่วนที่ขาดหาย หลงเชื่อว่าความรักดำรงอยู่ในการถูกข่มเหงและในความโมโหโทโสจากความผิดที่ไม่ได้ก่อ หมกมุ่นกับคนที่ไม่เสถียรเหมือนต้องเดินบนเปลือกไข่ที่จะถูกทำโทษตลอดเวลา ฯลฯ  

ความสัมพันธ์อันทารุณในแวงวงทางจิตใจ

หากผู้ที่มีบาดแผลในวัยเด็กไปซ้ำรอยความสัมพันธ์ที่มีการทำร้ายทารุณกับคนในแวดวงแนวหมอดูคนทรง, สำนักจิตวิญญาณอุดมการณ์ ‘ดีงาม’  ในเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์และสิเน่หาอื่นๆ เรื่องราวก็จะยิ่งซับซ้อนขึ้น บรรดาผู้รอดอาจถูกต่อว่าแทนทั้งที่ยังต้องพยายามเยียวยาตนเองอย่างหนักและมักแก้ต่างให้กับผู้ทำทารุณ และ/หรือกระทำสิ่งที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิดต่อตนด้วยซ้ำไป 

เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ผู้สนใจศึกษาเพิ่มจากสื่อต่างๆ ได้เอง หนังสือซึ่งพยายามไม่ตัดสินฝ่ายใดเลยที่แนะนำคือ The Wisdom of Imperfections มีประเด็นน่าสนใจ เช่น 

● ความต้องการ(ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่)เป็นคนโปรด/วงในของครูบาอาจารย์ เจ้าลัทธิต่างๆ เป็นเสมือนความหิวโหยความรักจากพ่อแม่อย่างหนึ่ง

● ผู้มีลำดับขั้นสูงใช้อำนาจเหนือ(ซึ่งอาจไม่รู้ตัวว่าใช้)ในทางที่เป็นโทษในที่ลับต่อผู้ศรัทธาบางคน และอาจปั่นให้ผู้ศรัทธาสงสัยความรับรู้ของตนเอง แต่ผู้ศรัทธาอาจเป็นแพะรับบาปแทน 

● ความเชื่อทาง ‘จิตวิญญาณ’ บางทีก็ถูกนำมาชดเชยคุณค่าในตัวที่ผู้ศรัทธารู้สึกขาด หรือความเชื่อกลายเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงความป่วยไข้ร่วมกันของผู้มีศรัทธา(แม้คนเราหาปัญญาได้จากสิ่งที่ถูกเรียกว่าป่วย) 

● การนำอำนาจกลับมาที่ตนเองของผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณ

3.

ตื่นๆ! ยอมรับก่อนว่ามีบางอย่างที่เป็นโทษ ซึ่งไม่ใช่การติดอยู่ในบทเหยื่อ

ไม่ว่าบริบทจะเป็นเช่นไร เราอาจตระหนักว่าได้พยายามใช้ความสัมพันธ์ที่มีการทำร้ายมาแก้ไขอดีตที่พ่อแม่ หรือใครสักคนเคยกระทำหรืองดเว้นการกระทำบางอย่างกับเรา

อีกทั้ง เราสามารถทำความเข้าใจ เห็นใจและให้อภัยอีกฝ่ายได้ 

แต่.. ไม่ว่าอีกฝ่ายจะมีพฤติกรรมทารุณต่อเรา เพราะเขาเองก็เคยถูกพ่อแม่/ผู้ดูแลทำแบบนั้นมาก่อนหรืออะไรก็ตาม ขั้นตอนสำคัญของการเยียวยาและออกมาหากต้องการก็คือ ยอมรับให้ได้ก่อนว่าพฤติกรรมนั้นๆ มันทำร้ายหรือเป็นโทษกับเราจริงๆ และเลิกหลอกตัวเองว่าทุกอย่างโอเค 

เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานการณ์แบบเดิมต่อไปหรอกนะ 

อ้างอิง

The Wisdom of Imperfections โดย Rob Preece

Healing Trauma in a Toxic Culture with Dr. Gabor Maté | Being Well Podcast

How to be a Cult Leader สารคดีซึ่งมีฉายใน Netflix 
How to Tell if You’re in a Trauma Bonding Relationship: An unhealthy relationship characterized by cycles of ‘love-bombing” and abuse โดย Melissa Porrey LPC, NCC

No Such Thing as a Good Cult with Mark Vicente Part 1 | Navigating Narcissism with Dr. Ramani WATCH THIS! To learn how to break the trauma bond with a narcissist หมายเหตุ* หากต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมแบบแรงชัดจัดเต็มให้ดูเนื้อหาของ Dr.Ramani Suryakantham Durvasula แต่หากต้องการข้อมูลที่นุ่มนวลขึ้นให้ค้นหาชื่อ Dr.Gabor Maté 

Tags:

การเลี้ยงดูสุขภาพจิตพ่อแม่ความรุนแรงการเยียวยา

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Social Issue
    ยุติการบูลลี่ เริ่มต้นที่ทัศนคติของผู้ใหญ่: พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    All The Bright Places: พ่อไม่รู้หรอกว่าผลลัพธ์ของการใช้กำลังวันนั้นมันแย่แค่ไหน 

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhoodFamily Psychology
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.8 ‘Perfectionism’ เมื่อลูกคาดหวังว่าตัวเองต้องสมบูรณ์แบบ

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Dear ParentsBook
    Toxic Parents: ยังไม่ต้องให้อภัยพ่อแม่ก็ได้ เผชิญหน้ากับความรู้สึกตัวเองก่อน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    พ่อแม่ห้ามด้วยความเป็นห่วงแต่ลูกตีความว่าถูกตำหนิ และอีกหลายความขัดแย้งในบ้าน อ่านวิธีคลี่คลายที่นี่

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel