Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Myth/Life/Crisis
23 April 2021

นาฬิกาและเค้กแต่งงานของมิส ฮาวิชแฮม: บาดแผลที่หยุดเวลาเอาไว้และภาพทุกข์ในใจที่ถูกฉายซ้ำ

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • เพราะความมั่นใจที่คนอื่นอาจมองว่ามีมากเกินไป กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาถูกเกลียดชัง สุดท้ายจำต้องเปลี่ยนบุคลิกให้เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่แสดงออก หรือเพราะความสดใสที่มีกลายเป็นบ่อเกิดของความไม่ชอบใจจากคนรอบข้าง สุดท้ายต้องลบความสดใสนั้นออกไปเพื่อให้มีเพื่อน
  • การเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้น บางคนเลือกที่จะพยายามไม่เป็นสิ่งนั้นๆ (ที่เชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้โดนแกล้งหรือหมั่นไส้) หรือบางคนก็ติดอยู่ในห้วงเวลานั้นไม่สามารถเดินต่อไปได้ อย่างเช่น มิส ฮาร์วิชแฮม (ตัวละครจาก Great Expectations) ที่นาฬิกาชีวิตเธอหยุดลงตั้งแต่ถูกคนรักทิ้งไปในวันแต่งงาน
  • ‘ถ้ามีทุกข์ให้เดินทางข้ามน้ำและทิ้งทุกข์ลงในทะเล’ เวลาที่เรายังแก้ปัญหาที่รบกวนจิตใจไม่ได้ การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ ก็เหมือนกับการฉายภาพปัญหาและวิธีแก้แบบเดิมๆ วนไปวนมา การออกไปข้างนอก ปรับเปลี่ยนวงจรชีวิตใหม่ เพื่อให้เราได้เปลี่ยนความรับรู้ (perception) ใหม่ อาจเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เราหลุดพ้นจากวงจรแห่งความทุกข์

ใน Great Expectations นวนิยายของนักเขียนชาวอังกฤษเลื่องชื่อ นามว่า ชาร์ลส์ ดิกเคนส์ สะดุดตาสตรีนางหนึ่ง ด้วยเพราะลักษณะชอบกลของเธอซึ่งแฝงด้วยความคับแค้น เศร้าโศกขมขื่น และสูญเสีย

มิส ฮาร์วิชแฮม ที่ดูเหี่ยวเฉาปรากฏตัวในชุดเจ้าสาวซึ่งหม่นหมองพอกันกับเธอ ณ ห้องหับไร้แสงตะวันในคฤหาสน์ บรรยากาศอับลมอันหนักอึ้ง เชื้อรา และฝุ่นคลี่คลุมทุกสิ่งทุกอย่างในห้องที่ดูจะเคยงดงาม และสิ่งที่โดดเด่นอย่างยิ่งในห้องนั้นเห็นจะเป็นโต๊ะยาวอันคลุมด้วยผ้าปูเหมือนกำลังเตรียมจัดงานเลี้ยง ตรงกลางมีวงวัตถุแหยะๆ มุงด้วยหยากไย่ซึ่งกลายเป็นหอประชุมของแมงมุมร่างกระดำกระด่าง นั่นคือเค้กแต่งงานอันเคยเป็นดั่งคำมั่นสัญญาของความสัมพันธ์และชีวิตใหม่ที่น่าจะรื่นรมย์ ทว่าบัดนี้กลับสะท้อนเพียงภาพวิญญาณของใครคนหนึ่งที่ผุพังเสื่อมสลาย กาลเวลาเสมือนว่าหยุดลงที่คฤหาสน์หลังนั้น

มิส ฮาร์วิชแฮม (ซึ่งเสียงคล้ายๆ Have a shame ซึ่ง shame สามารถแปลว่า ความละอายใจ ความอับอายขายหน้า) เป็นลูกสาวของชนชั้นสูงซึ่งเป็นเจ้าของกิจการโรงเบียร์อันเฟื่องฟู เธอมีน้องชายต่างมารดาชื่อ อาร์เธอร์ ซึ่งเป็นลูกของคนครัวกับมิสเตอร์ ฮาร์วิชแฮม พ่อของเธอ

อาร์เธอร์ชิงชังมิส ฮาร์วิชแฮม และโดยทุจริต อาร์เธอร์สมคบคิดกับคอมพ์ซัน (Compeyson) บุรุษผู้ดูสูงส่งแต่ภายนอก หลอกลวงมิส ฮาร์วิชแฮม ด้วยความเท็จว่าคอมพ์ซันรักและจะแต่งงานกับเธอ ทว่าในท้ายที่สุดคอมพ์ซันก็ทอดทิ้งเธอในวันแต่งงาน ด้วยการหลอกลวงนี้ เขาได้ไปซึ่งทรัพย์สินเงินทองส่วนหนึ่งของมิส ฮาร์วิชแฮม และนำกำไรไปแบ่งปันกันกับอาร์เธอร์   

ในวันวิวาห์ล่ม มิส ฮาร์วิชแฮมตระหนักว่าคอมพ์ซันได้สลัดเธอทิ้งแล้วในขณะที่ยังสวมรองเท้าไว้ได้เพียงข้างเดียว เธอได้หยุดนาฬิกาทุกเรือนในคฤหาสน์ของตนเองไว้ ณ จุดเวลาที่เธอรู้ข่าวร้าย และไม่ว่ากี่ปีผ่านไป เธอก็ยังคงใส่ชุดแต่งงานกับรองเท้าข้างเดียวเช่นนั้นเสมอมา 

บาดแผลที่หยุดเวลาเอาไว้

มิส ฮาร์วิชแฮมหยุดนาฬิกาทุกเรือนในคฤหาสน์ของเธอไว้ที่จุดเวลาหนึ่งในวันแต่งงานซึ่งเธอได้รู้ว่าถูกคนรักทรยศ 

บาดแผลทำให้นาฬิกาภายในของเราหยุดลงได้เช่นนั้นจริงๆ เหมือนเวลามีอะไรมาสะกิดแผลเก่าที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา การตอบสนองทางอารมณ์ต่อความเจ็บปวดของเราก็มักจะมีรูปแบบไม่ต่างจากในอดีตตอนที่เรื่องราวเกิดขึ้นเท่าใดนัก พลังงานทางจิตของเราถูกบิดให้เบี้ยวเป็นเสี้ยวส่วนและถูกกั้นกักไว้ในอดีตจึงไม่ไหลลื่น

นอกจากนี้ เรื่องราวที่ทำให้เจ็บปวดในวันวานยังสามารถทำให้เราใช้วิธีรับมือ (coping) แบบเดิมๆ แม้จะเราโตขึ้นและการกระทำเช่นนี้จะไม่มีประโยชน์แล้วก็ตาม ยกตัวอย่าง เด็กมากมายที่ถูกชิงชังรังแกด้วยเหตุผลต่างๆ ที่จริงๆ ก็ไม่มีเหตุผล เช่น เพราะก๋ากั่นมั่นใจเกินไปหรือเพราะสุภาพเรียบร้อยเกินไป เพราะสดใสเกินไปหรือหม่นหมองเกินไป เพราะผอมเกินไปหรือเจ้าเนื้อเกินไป ฯลฯ ด้วยความเจ็บปวด วิธีการรับมืออย่างหนึ่งก็คือ พวกเขาพยายามจะไม่เป็นสิ่งนั้นๆ (ที่เชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้โดนแกล้งหรือหมั่นไส้) และวิธีการรับมือดังกล่าวก็ “หยุดอยู่ที่เดิม” แม้กระทั่งในยามที่เขาเป็นผู้ใหญ่มาหลายทศวรรษกันแล้ว กระทั่งวันหนึ่งพวกเขาก็ได้ยินเสียงเพรียกให้เปลี่ยนแปลง

เช่น คนที่พยายามถ่อมตัวมาตลอดอย่างที่แทบจะลบให้ตัวเองหายไปจากซีนเลย ด้วยรู้สึกเจ็บจากการถูกเกลียดชังเพราะเคยมั่นใจเกินไปในวัยเด็ก วันหนึ่งก็พบว่าตัวเองต้องกลับมามั่นหน้าบ้าง ไม่เช่นนั้นงานบางอย่างก็จะไม่สำเร็จและไม่สามารถรับมือกับบุคคลบางประเภทได้ อีกตัวอย่าง หญิงสาวคนหนึ่งเคยถูกเพื่อนๆ ไม่ชอบในตอนวัยรุ่น โดยเธอเชื่อว่าต้นเหตุเป็นเพราะความสดใสของเธอ เธอจึงทำตัวไม่สดใสเพื่อให้มีเพื่อน แต่วันหนึ่งเธอในวัยผู้ใหญ่ก็รู้ตัวว่าจำเป็นต้องนำความสดใสที่ทิ้งไปกลับคืนมา เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างพ้นไปจากวงจรความหดหู่ทึมเทา

หลายคนในวัยประมาณ 20 ปลายถึง 30 กว่าๆ มาเล่าให้ฟังว่าพวกเขาได้กลับไปยังสถานที่ในวัยเด็กซึ่งเรื่องราวรบกวนจิตใจเคยเกิดขึ้นตรงนั้น ได้ยินข้อความซ้ำๆ ว่าพวกเขา “ได้ตัวเองกลับคืนมา” เพราะพวกเขาได้ไป “รวมร่าง” กับคนที่ตัวเองเคยทอดทิ้งไป ณ สถานที่แห่งนั้น และนับแต่วันรวมร่าง พวกเขาก็รู้สึกสดชื่นและมีพลังขึ้นอย่างยิ่ง

ที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะพวกเราหลายคนในวัยผู้ใหญ่สามารถมองเรื่องเดิมด้วยมุมมองใหม่ (reframe) และมีแนวโน้มรับรู้เหตุการณ์เก่าๆ ได้หลากหลายมิติกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม บางกรณีการทำเช่นนี้ก็อาจทำให้บอบช้ำซ้ำรอยเดิมหรือเป็นเหยื่อซ้ำ ดังนั้น หากผู้มีบาดแผลอยู่ในกระบวนการบำบัด ในบางกรณีนักบำบัดอาจให้เราจินตนาการถึงภาพในอดีต โดยสำคัญอย่างยิ่งที่ต้อง “ปักหมุดอยู่กับตัวตนปัจจุบัน” ร่วมกับมีเสียงนำของนักจิตบำบัดหรือคนที่สามารถเป็นไกด์การเดินทางภายในให้เราก็ได้ การกลับไปที่เก่าจึงใช้ได้กับแค่บางคนในบางสถานการณ์เท่านั้น

ภาพในใจที่ถูกฉายซ้ำ  

มิส ฮาร์วิชแฮม หญิงผู้มีชีวิตพรั่งพร้อมคนหนึ่งถูกทอดทิ้งไปในวันแต่งงาน สิ่งที่หลงเหลือ คือ ความบาดเจ็บทางจิตใจ ใครก็ตามที่มีแผลใจน่าจะเข้าใจถึงความรู้สึกต่างๆ อันไม่สอดคล้องลงรอย อีกทั้งความรู้สึกถึงตัวเองที่แตกแยกเป็นเสี้ยวส่วนและไร้ความเต็ม เมื่อบาดแผลทางจิตใจยังไม่ได้ถูกเยียวยา เหตุการณ์ที่ทำให้โลกภายในแตกสลายก็อาจถูกฉายซ้ำไปมา เหมือนที่มิส ฮาร์วิชแฮม ใส่เสื้อผ้าและรองเท้าข้างเดียวเหมือนเดิม ปล่อยเค้กแต่งงานให้เน่าทิ้งอยู่ที่เดิม ฉากในคฤหาสน์ดูเหมือนถูกเซ็ตไว้แบบเดิมเพื่อย้ำภาพวันวิวาห์ล่มวันแล้ววันเล่า มิส ฮาร์วิชแฮม ไม่สามารถหลุดออกจากภาพอันปวดร้าวนั้นได้ 

พวกเราเองก็อาจมีบางห้วงเวลาที่เผชิญกับสิ่งกระตุ้นซึ่งดึงเอาความสะเทือนอารมณ์จากเหตุการณ์ในอดีตออกมา หรือแม้แต่เมื่อมีปัญหารบกวนจิตใจธรรมดาๆ ที่ไม่ฉกรรจ์ถึงเพียงนั้นเกิดขึ้น เมื่อจิตใจเรายังไม่คลี่คลายหรือยังแก้ปัญหาบางอย่างไม่ได้ เราก็อาจมีภาพบางอย่างวนไปวนมาในใจเหมือนกัน 

เช่น เราจะฉายภาพอันปวดร้าวหรือภาพปัญหาเดิมๆ วิ่งวนดุจแผ่นเสียงตกร่องที่เล่นท่อนเดิมซ้ำอยู่อย่างนั้น กระทั่งแวบที่ตระหนักว่าเรากำลังฉายภาพซ้ำๆ ของอดีตลงในความคิดปัจจุบัน ภาพนั้นถึงมลายลงได้ หรือบางทีการฉายภาพซ้ำก็ถี่น้อยลงหรือหายไปเมื่อเราย้ายไปอยู่ในสถานที่ซึ่งไม่คุ้นชิน  

เดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้น

ดังนั้น หนึ่งในการโพรเซสบาดแผลในจิตใจหรือแม้แต่เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจทั่วไปที่ไม่สาหัสอะไรเลย จึงสามารถไปยังที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงหรือพื้นที่ที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย

เคยได้ยินผู้อาวุโสท่านหนึ่งบอกว่าถ้ามีทุกข์ให้เดินทางข้ามน้ำและทิ้งทุกข์ลงในทะเล อีกทั้งมีรุ่นน้องเคยมาถามว่า พี่เชื่อไหมเวลาหมอดูบอกว่าเดินทางไปต่างประเทศสักพักแล้ววิกฤตชีวิตจะดีขึ้น ส่วนตัวนั้นวิเคราะห์ในอีกแง่มากกว่า นั่นคือการออกจาก routine เดิมๆ เพิ่มความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนความรับรู้ (perception) เหมือนอย่างที่เล่ามาข้างต้นว่าเวลาเรายังแก้ปัญหารบกวนจิตใจไม่ได้ บางทีคนเราจะฉายภาพปัญหาและวิธีแก้แบบเดิมๆ วนไปวนมา โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับบุคคลและสถานที่เกิดเหตุ ภาพเก่าก็ยิ่งจะถูกฉายซ้ำในใจได้มากเป็นพิเศษ   

เพื่อนหลายคนบอกเล่าว่า เวลาอยู่ในวงจรลบแบบเดิมๆ นั้น การเดินทางช่วยให้ออกจากวงจรไปได้ก็จริง แต่บ้างก็บอกว่าแก้ได้แค่ชั่วคราวและส่วนใหญ่ก็บอกว่าต้องออกไปอยู่ที่อื่นแบบมีระยะเวลาสักหน่อย ส่วนบางคนที่เดินทางด้านในมามาก บางทีก็เกิดปิ๊งแวบขึ้นมาแบบสายฟ้าฟาดเพียงแค่เดินผ่านคนแปลกหน้าขากลับบ้าน หรือกับบางคน แม้จะออกไปนอกพื้นที่คุ้นเคยหลายครั้งหลายคราและพบปะพูดคุยกับคนแปลกหน้ามากมาย แต่ก็ไม่ช่วยให้หลุดจากวงจรทุกข์อะไรเลย ทว่าอย่างไรเสีย มันก็ไม่เสียหายที่จะลองออกผจญโลกอื่น

อีกกรณี เราไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปภายนอกจริงๆ แต่เราทำสถานที่ประจำของเราให้แปลกตาออกไป เช่น จัดห้องนอนใหม่ ย้ายโต๊ะทำงานไปทิศอื่น ทาสีใหม่ ขนของออกไปทำให้ห้องโล่งขึ้น ลองเปิดหน้าตาบานที่ไม่ค่อยได้เปิดทิ้งไว้บ้าง ปลูกต้นไม้เพิ่ม เอาน้ำมันหอมระเหยมาวางข้างเตียง ฯลฯ อันนี้ก็ช่วยเปลี่ยนโลกภายในได้เหมือนกัน

เราจึงยังมีความหวังได้เสมอว่า นาฬิกาจะสามารถกลับมาเดินอีกครั้ง ส่วนเค้กเน่าที่เต็มไปด้วยหยากไย่และดวงราก็ถูกเก็บกวาดออกไปได้ แต่ถ้าหากยังไม่หลุดจากวังวนก็เป็นเรื่องธรรมดาอีกเช่นกัน เราก็แค่ต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นปุถุชน 

อ้างอิง
Great Expectation โดย Charles Dickens
The Impact of Unresolved Trauma on Relationships โดย Robert Johnson 

Tags:

Myth Life Crisisการเยียวยา

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Movie
    A Beautiful Day in the Neighborhood: เมื่อความแหลกสลายในอดีตมาครอบงำจิตใจ จงปลดปล่อยตัวเองจากความโกรธ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Life classroom
    การถูกล่วงเกินทางเพศ การไม่กล้าบอกกล่าว และความสามารถของชุมชนในการรับฟัง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกผิด

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    Swan Lake 1: เงามืดในตัวเองที่เราไม่ยอมรับรู้ ซึ่งไปปรากฏในการเสพติดความสัมพันธ์

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel