Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Relationship
12 July 2021

Gaslighting : ‘การปั่นหัว’ หนึ่งในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษและบั่นทอน

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • “คิดมากเกินไปหรือป่าว เรื่องแค่นี้เอง” “ที่ผมนอกใจคุณก็เพราะคุณทำตัวไม่ดีเอง” “ลูกอย่ามาโกรธพ่อนะ นี่คือคนให้กำเนิดนะ”… คุณเคยเจอกับคำพูดแนวๆ นี้หรือไม่ หากเคยได้ยินแปลว่าคุณอาจกำลังถูกปั่นหัว (Gaslighting)
  • การปั่น (Gaslighting) ใช้เรียกพฤติกรรมของคนคนหนึ่งที่พยายามเบี่ยงเบน ความคิด หรือความรู้สึกของอีกฝ่าย เพื่อทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่มั่นใจ แม้จะรู้สึกว่ามีบางอย่างตงิดใจ สงสัย แต่ไม่กล้าฟันธง ความคิดถูกสั่นคลอน และสุดท้ายคิดว่าตนเองเป็นคนผิดแทน
  • พฤติกรรมนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบการทารุณกรรมทางจิตวิทยา (Psychological Abuse) และหากเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ใดบ่อย เช่น เพื่อน พี่น้อง ครอบครัว คู่รัก ย่อมเป็นหนึ่งในสัญญาณของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship) ที่ทำให้ความสัมพันธ์นั้นเต็มไปด้วยความสงสัย เคลือบแคลง กังวล ไม่มั่นใจ นานวันเข้าก็อาจด้านชากับความรู้สึกตัวเอง และย่อมเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบจากคนที่ไม่หวังดี

หนึ่งในความเจ็บปวดที่สุดของความเป็นมนุษย์ คือ การที่คนคนนั้นไม่สามารถใช้ชีวิตตามเสียงหัวใจที่บอกเขาได้ เขาอาจกำลังสงสัยกับความคิด ความรู้สึกตัวเองว่ามันจริงหรือเปล่าที่ฉันคิดแบบนี้ จนต้องคอยถามความเห็นคนอื่นเสมอว่า สิ่งที่เขารู้สึกมันสมเหตุสมผลไหม 

เมื่อไม่สามารถเชื่อใจตนเองได้ก็ยากที่จะรู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย เพราะต้องคอยระแวดระวังสงสัยสิ่งที่ตนเองรู้สึกเสมอ

“คิดมากเกินไปหรือป่าว เรื่องแค่นี้เอง”

“เรื่องเล็กน้อย อย่าหยิบมาเป็นประเด็นได้ไหม”

“ที่ผมนอกใจคุณก็เพราะคุณทำตัวไม่ดีเอง”

“ที่พ่อแม่บังคับก็เพราะเรารักลูกไง”

“ลูกอย่ามาโกรธพ่อนะ นี่คือคนให้กำเนิดนะ”

“ไม่จริง! แม่ไม่เคยพูดแบบนั้น มั่วหรือป่าว”

คุ้นๆ กับประโยคตัวอย่างข้างต้นหรือป่าวครับ ?

หากคุ้นอาจแปลว่าคุณอาจเคยถูกปั่นหัว หรือ Gaslighting

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังถูกปั่น

  • รู้สึกสงสัยและกังวลในความคิดและความรู้สึกของตัวเอง
  • รู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามันคืออะไร
  • กังวลว่าตัวเองคิดมากเกินไปหรือป่าว
  • รู้สึกกลัวที่จะต้องสื่อสารหรือออกความคิดเห็นกับอีกฝ่ายอยู่บ่อยครั้ง
  • หมดความเชื่อมั่น หมดหวังในตัวเอง และอาจมีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวลด้วย
  • สงสัยว่าอะไรคือความจริง
  • ขอโทษเยอะเกินไป ทั้งที่ก็ยังไม่รู้ว่าผิดจริงหรือไม่
  • อีกฝ่ายพยายามเบี่ยงเบนเพื่อหลีกหนีความผิด
  • อีกฝ่ายทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เฉยเมยเพื่อให้เราสับสนกับตัวเอง

Gaslight แปลว่า ตะเกียง เป็นคำเปรียบเปรยที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ที่คนหนึ่งพยายามปั่น เบี่ยงเบน ความคิด หรือความรู้สึกของอีกฝ่าย อาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ การปั่นนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่มั่นใจ แม้จะรู้สึกว่ามีบางอย่างตงิดแต่ก็ยังคงสงสัยและไม่กล้าฟันธงความคิดอยู่ดี เพราะเสียงข้างในสั่นคลอนจากการที่ถูกปั่นหัวมาต่อเนื่อง  

การปั่นเป็นหนึ่งในรูปแบบการทารุณกรรมทางจิตวิทยา (Psychological Abuse) และหากเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ใดบ่อย เช่น เพื่อน พี่น้อง ครอบครัว คู่รัก ย่อมเป็นหนึ่งในสัญญาณของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship) ที่ทำให้ความสัมพันธ์นั้นเต็มไปด้วยความสงสัย เคลือบแคลง กังวล ไม่มั่นใจ นานวันเข้าก็อาจด้านชากับความรู้สึกตัวเอง และย่อมเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบจากคนที่ไม่หวังดี

การปั่น (Gaslighting) เป็นการทำร้ายทางจิตใจที่รุนแรงและเจ็บปวด แม้สังคมจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเจ็บปวดทางใจมากเท่าความเจ็บทางกาย แต่งานทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองแทบจะไม่สามารถแยกความเจ็บปวดทางกายและทางใจได้ 

พูดง่ายๆ ความเจ็บปวดทางใจก็อาจมีความรุนแรงเท่าๆ กับความเจ็บปวดทางร่างกายได้ เพียงแค่ไม่ได้เห็นชัด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นไม่ได้เจ็บปวด การปั่น การใช้คำพูดที่รุนแรง การส่อเสียด จึงควรได้รับความสนใจว่าเป็นหนึ่งในความเจ็บปวดที่สำคัญ  

การปั่นเป็นพฤติกรรมที่มักเกี่ยวข้องกับอำนาจ ความรู้สึกเหนือกว่า หลายครั้งคนที่ปั่นก็ทำไปเพื่อให้ตัวเองมีอำนาจในการควบคุมหรือบงการ (Manipulation) อีกฝ่ายให้จำยอมต่อความจริงที่เขากำลังมอบ ไม่ว่าคนปั่นจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และยิ่งคนปั่นมีอำนาจทางร่างกายหรือจิตใจที่เหนือกว่าก็ยิ่งจะทำให้การปั่นเป็นไปได้ง่ายขึ้นด้วย

เมื่อโดนปั่นหัวเป็นเวลานาน มีแนวโน้มที่ความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-Esteem) จะลดลงเรื่อยๆ หากมีกรณีที่อีกฝ่ายผิด แต่เขากลับโวยวายว่าเราน่ะคิดมากเกินไป เขาไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย แม้จะมีหลักฐานอยู่คาตา แต่ก็มีแนวโน้มที่เราจะสรุปกับตัวเองว่าเรานั้นคิดมากไปตามที่อีกฝ่ายบอก นี่คือความน่ากลัวของการปั่น (Gaslighting) ที่ทำให้เรามองเห็นความจริงบิดเบือนไป

นึกให้เห็นภาพชัดอาจเป็นสถานการณ์ที่ภรรยาจับได้ว่าสามีนอกใจแล้วเขาก็บอกเธอว่า “ที่ผมต้องนอกใจก็เป็นเพราะคุณนั่นแหละที่ไม่ดูแลผม” หากภรรยาไม่ยืดหยัดในความผิดของสามี และเชื่อมั่นในตัวเองมากพอ คำพูดนี้อาจทำให้เธอรู้สึกสับสน และอาจกลับมารู้สึกแย่กับตัวเองที่เป็นสาเหตุให้สามีทำพฤติกรรมแบบนั้น การปั่นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการบ่ายเบี่ยงความผิดจากสามีไปที่ภรรยาที่มักเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

หรืออาจเป็นเหตุการณ์ที่ลูกโกรธที่แม่บังคับลูกให้ไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่แม่ชอบทั้งที่ลูกไม่ได้ต้องการจะเรียนเลย ลูกเคยพยายามอธิบายให้แม่รู้แล้วว่าสาขานี้ไม่ใช่ความชอบลูก ลูกมีอีกที่ที่ลูกชอบ แต่ทุกครั้งแม่ก็จะตอบกลับไปด้วยประโยคทวงบุญคุณว่า “นี่ฉันเป็นแม่แกนะ ฉันน่ะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แกอยู่แล้ว”

จากบริบทนี้แม้แม่จะไม่ได้ตั้งใจจะปั่นลูกให้สับสนกับความต้องการตัวเอง แต่ก็เห็นได้ว่าลูกมีแนวโน้มที่จะรู้สึกแย่ที่ตัวเองมีความต้องการเช่นนั้น แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง แล้วอาจเกิดความรู้สึกโทษตัวเองว่า “ที่ฉันไม่อยากเรียนวิชานี้ เพราะฉันไม่เห็นบุญคุณของแม่” หากลูกไม่ได้ฟังเสียงหัวใจและมองสถานการณ์อย่างเป็นกลางมากพอก็อาจตกหลุมพรางของการปั่นนี้

การปั่นเกิดขึ้นเป็นปกติในทุกความสัมพันธ์ แม้บางครั้งเราจะไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการปั่นมีผลเสียต่อผู้ถูกกระทำอย่างมาก ผู้พูดอาจจะไม่ได้สนใจคำพูดตัวเองนัก แต่สำหรับคนถูกปั่นบ่อยๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ ได้ จากการที่ไม่สามารถเชื่อความคิด ความรู้สึกตัวเองได้ หรือพูดอีกอย่างคือ คนที่ถูกปั่นอาจไม่สามารถเชื่อมโยงกับตัวเองได้ (Disconnect from Authentic Self) การเชื่อมโยงหมายถึง การรับรู้ ยอมรับความรู้สึก ความคิดของตัวเอง หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน เวลาเขาเจอเหตุการณ์ที่ผิด เช่น คนรักทำร้ายเขา จากที่เขาสมควรจะวิ่งหนีเพราะเหตุการณ์อันเลวร้าย เขาก็อาจจำยอมอยู่ในความสัมพันธ์นั้นเพราะไม่เชื่อมั่นในสัญชาตญาณตัวเองมากพอ

หากอ่านแล้วรู้สึกว่าคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ไม่ว่าจะเป็นคนกระทำ หรือถูกกระทำ

นี่เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ที่จะทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวด แม้มันจะไม่ใช่ความเจ็บปวดที่รวดร้าว แต่มันจะค่อยๆ บั่นทอนความเป็นตัวคุณทีละนิดทีละน้อย

วิธีรับมือกับการปั่น 101 (Gaslighting)

  1. หัวใจสำคัญของการป้องกันการปั่นหัว คือ การเชื่อมั่นในความคิด ความรู้สึกตัวเอง (ไม่ใช่ยึดถือ) จังหวะที่คุณถูกปั่นหัว คุณอาจรู้สึกกังวล ประหม่าอย่างมาก ให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้กลับมามีสติอยู่กับตัวเอง เพราะอีกฝ่ายจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อทำให้คุณสับสน ไม่เชื่อมั่นในตัวเองเพื่อที่เขาจะสามารถควบคุมคุณได้ และคุณก็อาจเดินออกจากตรงนั้นก่อน อย่าพึ่งคุยกับเขา หยุดฟังเสียงคนอื่น แล้วกลับมาถาม ‘แค่ตัวเอง’ ว่าสิ่งที่คุณรู้สึกมันจริงไหม ถ้ามันจริงแม้ร้อยคนจะบอกว่ามันไม่จริงมันไม่สมเหตุสมผล แต่สำหรับความรู้สึกส่วนใหญ่มักจะสมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว
  2. สิ่งที่ต้องระวัง คือ หากคุณเริ่มฝึกที่จะฟังเสียงตัวเองและต่อต้านคนที่ติดนิสัยการปั่นหัว ด้วยความที่เขารู้สึกเหมือนจะสูญเสียอำนาจ และความเคยชินเดิมไป อาจทำให้เขาปั่นคุณแรงขึ้น ให้เตรียมใจรับมือตรงจุดนี้ให้ดี จุดนี้เขาจะมีความกลัวที่คุณจะเปลี่ยนไป ยิ่งกลัวเท่าไหร่ก็ยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ตอนนี้คือจุดชี้วัดเลยให้ใจแข็งมากๆ อาจคิดสถานการณ์ไว้ล่วงหน้าก็ได้ว่าถ้าเขาทำแบบนี้คุณจะตอบกลับอย่างไร จำลองสถานการณ์ในหัวเลย พอเจอของจริงจะได้ไม่ประหม่าและรู้ว่าต้องตอบโต้อย่างไร 
  3. ตระหนักถึงความจริง พิจารณาหลักฐานที่เรามีอยู่ว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นความจริงไหม อย่างกรณีที่แม่มาบอกเราว่า “ฉันทำทุกอย่างเพื่อแกนะ” อย่าพึ่งปล่อยให้บุญคุณมาหักล้างความคิด หรือทำให้คุณรู้สึกผิดหากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คีย์เวิร์ดคือ ถามตัวเองว่าเสียงข้างในบอกว่าอย่างไร
  4. หากรู้สึกไม่มั่นใจตัวเองจริงๆ ลองหาคนที่ไว้ใจที่เขากล้าบอกความจริง แล้วเล่าเหตุการณ์ให้เขาช่วยออกความคิดเห็นในการตัดสินใจ บางครั้งการเผชิญหน้ากับคนที่ชอบปั่นหัวเพียงลำพังก็เป็นเรื่องยาก การหาใครสักคนเป็นที่พึ่งข้างกายจะช่วยให้เรามองเห็นความจริง และมีจุดยืนกับความจริงที่มั่นคงขึ้น คนนั้นอาจเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือจิตแพทย์ก็ได้

ความสัมพันธ์ใดก็ตามที่ต้องคอยนั่งกังวลสอบถามตัวเองจนเกินความปกติ เฉกเช่นการปั่น เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ที่ต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ แล้วหาทางแก้ไขหรือออกจากความสัมพันธ์นั้นหากรู้สึกรับมือไม่ไหว

การปั่นเป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีแนวโน้มหลงตัวเอง (Narcissist) และกลุ่มคนที่มักจะตกเป็นเหยื่อวังวนนี้ คือ คนที่มีแนวโน้มเป็นคนที่ชอบพึ่งพาคนอื่น (Codependent) และเช่นเคย อยากเป็นกำลังใจให้ค่อยเป็นค่อยไปกับตัวเองนะครับ การที่มีใครทำไม่ดีกับคุณ ไม่ได้แปลว่าคุณแย่เลย คุณแค่กำลังเจอคนที่อาจไม่ควรค่าที่จะอยู่กับคุณ ซึ่งก็อาจไม่ใช่ความผิดเขาเหมือนกัน เพราะคนที่ปั่นหรือชอบควบคุมคนอื่นก็อาจมีความรู้สึกเบื้องลึกของความไม่ปลอดภัย ไม่แน่นอน กลัวบางอย่างเป็นอย่างมาก จนทำให้เขาต้องพยายามควบคุมสิ่งภายนอกเพื่อให้ข้างในใจเขารู้สึกปลอดภัยขึ้นมา (ชั่วคราว) แต่ก็นั่นแหละครับ วันนี้มันยากลำบาก แต่อีกหน่อยถ้าผ่านไปแล้ว คุณจะรู้สึกเหมือนปลดปล่อยเป็นอิสระเลยแหละ

ขอให้วันนี้เชื่อมั่นในตัวเองครับ 🙂

Tags:

relationshipการปั่น (Gaslighting)แบบแผนความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship)

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Relationship
    ทำไมการมีจุดยืนที่ชัดเจนจึงสำคัญต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดี ? (Healthy Boundary)

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dear ParentsMovie
    Ginny & Georgia : คนรักใหม่ของแม่ กับ การมีหรือไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจชีวิตของเรา

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    ลูกไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ (พ่อแม่ก็เช่นกัน)

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • แมงมุมเพื่อนรัก : สายใยแห่งมิตรภาพ ความตาย และการไถ่บาป

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Relationship
    ท่ามกลางผู้คนมากมาย ทำไมกลับเหงาได้ขนาดนี้?

    เรื่อง ธนัชพร ภูติยานันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel