Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
How to enjoy life
6 April 2020

อนุญาตให้ตัวเอง ‘รู้สึกเท่าที่รู้สึก’ 5 วิธีจัดการตัวเอง หาความสงบให้เจอในแก่นกลางความไม่แน่นอน

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พิมพ์พาพ์ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • บทความจากนักจิตวิทยาคลินิกที่จะมาชวนทุกคนหายใจช้าๆ เฝ้ามองความรู้สึกและอยู่กับมันให้ไหวในชั่วขณะแห่งความไม่แน่นอนนี้ ผ่าน 5 วิธีจัดการตัวเอง หาความสงบให้เจอในแก่นกลางความไม่แน่นอน
  • “ในฐานะที่เราต่างลงเรือลำเดียวกันแล้ว รู้สึกอย่างที่รู้สึก เปลี่ยนความคับข้องใจให้เป็นการกระทำ สมดุลตัวเองด้วยการหาข่าวดีๆ อ่าน พักหายใจช้าๆ ในเวลาที่เรารู้สึก ‘ไม่ไหวแล้ว’ สำคัญที่สุด เชื่อมโยงตัวเองกับผู้คนและคนที่เรารัก แม้เราจะถูกครอบงำด้วยข่าวร้ายรายวัน แต่เรื่องราวในนั้นยังเต็มไปด้วยฮีโร่ เสียงหัวเราะ และความรัก”

เรียบเรียงจากบทความเรื่อง How to Cope During Unsettling Times:  5 ways to find peace in the midst of uncertainty. (วิธีรับมือกับช่วงเวลาที่คาดเดาไม่ได้: 5 วิธีค้นหาความสงบในแก่นกลางความไม่แน่นอน) โดย ดร. เอลเลน เฮนดริกสัน (Ellen Hendriksen, Ph.D.) นักจิตวิทยาคลินิกแห่งศูนย์ให้บริการด้านวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน เชี่ยวชาญด้านกลุ่มอาการวิตกกังวล ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ข่าวจิตวิทยา Psychology Today

จากสถานการณ์โคโรน่าไวรัสระบาดทั่วโลก การดำเนินชีวิตของแต่ละคนต้องเปลี่ยนอย่างไม่เคยจินตนาการไว้ รายรับที่เคยมั่นคงเหมือนเลือนลอยหายไป หน่วยแพทย์ที่ปัจจุบันเราเรียกพวกเขาว่า ‘แนวหน้า’ (fron lines) กำลังเผชิญกับอารมณ์ท่วมท้นล้นจม ผู้ปกครองหลายคนต้องจัดสรรเวลา บทบาท และการยอมรับกับข้อเท็จจริงใหม่เมื่อต้องกลับมาทำงานที่บ้านขณะที่เด็กๆ ก็ออกไปไหนไม่ได้เช่นกัน

ปัญหาใหญ่ขณะนี้คือ ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าโคโรน่าไวรัสจะทิ้งอะไรไว้ให้เรารับมือหลังจากนี้ – ปฏิบัติการทางการแพทย์ สังคม เศรษฐกิจ? ไม่มีใคร(กล้าและอยาก)คาดการณ์ ซึ่งความรู้สึก ‘คาดการณ์ไม่ได้’ ‘ควบคุมไม่ได้’ นี้เอง ที่ทำให้เราวิตกกังวล

ทำอย่างไรดี เราจะยืนหยัด เข้าใจ สุขุมเยือกเย็นในโมงยางที่วางใจกับอะไรไม่ได้เลยเช่นในเวลานี้?

อย่างแรก ให้วางใจว่าความกังวลที่เกิดขึ้นนี้ คือความปกติธรรมดา

เวลาที่พาดหัวข่าวให้ความรู้สึกเหมือนเรื่องราวในภาพยนตร์ คอนเทเจี้ยน (Contagion (2554)) – เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส) หรือ วอล-อี (Wall-E (2008)) ว่าด้วยหุ่นยนต์ตัวสุดท้ายที่ถูกทิ้งไว้บนโลก นำเสนอโลกอนาคตในแบบเลวร้าย เช่นนี้… เป็นธรรมดาที่เรารู้สึกเหมือนใกล้จะเป็นบ้า

แต่ก่อนที่คุณจะหลีกหนีไปหาหลุมหลบภัยหรือปิดหน้าต่างไม่รับรู้สิ่งใดอีก ขอให้คุณอ่าน 5 วิธีข้างล่าง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกดีขึ้นในช่วงเวลาที่โลกกดดันและส่งพลังลบให้กับคุณ

รู้สึก ว่ากำลังรู้สึกอะไร

ทำความเข้าใจว่าคุณกำลังรู้สึกอะไรและพยายามทำให้มันปรากฎตัวขึ้นมา อ้างอิงจากวิธีของรายการ Mister Rogers (ชื่อรายการ และ นักจัดรายการ (ชื่อเดียวกัน) รายการโทรทัศน์เด็กสัญชาติอเมริกันที่โด่งดังมากๆ กว่า 40 ปี 1961-2001) อ่านเรื่องของเขาที่นี่) ที่บอกว่า ทุกความรู้สึกไม่ว่าจะโกรธ ตื่นกลัว วิตกกังวล เศร้าลึก หวาดกลัว ควรที่จะ ‘พูดถึง’ และ ‘จัดการ’ มันได้

จะทำอย่างนั้น เราต้องซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเอง มองเห็นมัน จากนั้นจึงสื่อสารมัน แบ่งปันความรู้สึก และจะช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่

ให้สิ่งที่เรา ‘รู้สึก’ พาเราสู่จุดของการ ‘ช่วยเหลือ’

ยกตัวอย่างความรู้สึก ‘เศร้า’ อย่างที่รู้สึกเมื่อเห็นรถตู้เย็นจอดเรียงรายหน้าโรงพยาบาลในนิวยอร์กเพื่อใช้เป็นที่เก็บศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 หรือภาพผู้ป่วยที่ถูกกักตัวไม่ให้เยี่ยมญาติ แต่ในความโหดร้ายของ ‘ความรู้สึกเศร้า’ คือ อีกอณูหนึ่งของความเศร้าก็เป็นตัวขับให้เราใจเย็น เข้าอกเข้าใจ และเอื้ออาทรต่อกัน

หรือจะเป็น ‘ความโกรธ’ รู้สึกโกรธให้พอและใช้ความโกรธขับเคลื่อนให้เราทำอะไรสักอย่าง เช่น ความโกรธทำให้คนออกมาเลือกตั้ง ทำให้คนลุกไปจัดการเมื่อรู้สึกว่ากำลังสูญเสียโอกาส เสียสิทธิ์ หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามหวัง

ไม่ว่าคุณกำลังรู้สึกอะไร ปล่อยให้มันเติบโตและเปลี่ยนมันเป็นพลังเพื่อ ‘ทำอะไร’ สักอย่าง ในสถานการณ์แบบนี้ คุณอาจใช้ความรู้สึกเหล่านั้นเปลี่ยนเวลา แรงงาน และเงินของคุณเพื่อกระทำบางอย่างได้ เช่น รวมทีมกับเพื่อนบริจาคอาหารให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบในชุมชน ดูแลผู้สูงอายุใกล้บ้านผ่านสื่อสารออนไลน์ หรือถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินที่ยังมั่นคงอยู่ อาจจะบริจาคเงิน ช่วยสมทบทุนกับองค์กรต่างๆ หรือเรื่องเล็กน้อยอย่างให้ทิปเพิ่มกับคนที่ทำงานบริการที่ยังต้องทำอยู่ในโมงยามนี้ ใครจะรู้ การกระทำเล็กน้อยของเราบางอย่างอาจช่วยขจัดความรู้สึกสิ้นหวังในใจคนอื่นและอาจเสริมแรงใจให้เขาอดทนได้ไหว …ก็ได้

กล่าวโดยสรุปคือ แทนที่จะเมินเฉย ไม่รับรู้ หรือไม่ปล่อยให้ตัวเองจ่อมจมกับบางความรู้สึก รับรู้มันเถอะ สู้ไปกับคลื่นอารมณ์เหล่านี้และช่วยเหลือคนอื่นหากทำได้

เสพสื่ออย่างชาญฉลาด

หาจุดสมดุลระหว่างการดูข่าว(ที่ถูกฝีด)ตลอดวัน กับ ปิดมันซะและออกจากหน้าจอ คนไข้ของฉันคนหนึ่งเล่าระหว่างการบำบัดออนไลน์ว่า เขาเหมือนกำลังถูกดึงให้จมไปกับความรู้สึกวิตกกังวลหวาดกลัว เพราะกลัวมาก เขาถึงขนาดไล่จดบันทึกทุกวันและทำตารางยอดคนไข้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ปรากฎในเมือง เขาทำเพื่ออยากรู้สึก ‘ควบคุม’ มันได้และเท่าทันรายงานของสื่อมวลชน แต่กลายเป็นว่ามันยิ่งทำให้ความวิตกกังวลพุ่งสูงขึ้นเกินรับมือ

ข้อตกลงที่ทำร่วมกับคนไข้รายนี้คือ ลดการเสพข่าวของเขาลงครึ่งหนึ่งและให้เลิกนับจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ผลลัพธ์คือ แม้เขาจะยังติดตามข่าวและประกาศสำคัญๆ แต่ความกังวลอย่างท่วมท้นนั้นลดลง

เหมือนกันกับคุณ ถ้าคุณรู้สึกว่า ‘รู้สึกมากเกินไป’ หลังเสพข่าวไม่ว่าจะจากหน้าจอหรือที่ไหนก็ตาม ควบคุมเวลาในการรับข้อมูลของตัวเอง หรือเปลี่ยนไปรับข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่นที่นำเสนอข่าวเบาๆ บ้าง

มาตรวัดว่าคุณรับสารจากโซเชียลมีเดียมากเกินไปหรือเปล่า ให้ลองถามตัวเองหลังจากปิดโทรศัพท์หรือหลังปิดรับข่าวสารว่ารู้สึกอย่างไร ลดการเสพแล้วดีขึ้นมั้ยหรือว่าแย่กว่าเดิม? หรือ หากบอกว่าเวลาออนไลน์แล้วสนุกกว่า ก็เป็นไปได้ที่ Tik Tok หรือ คลิปสั้นใน instagram ช่วยให้คุณหัวเราะและ ‘มูฟออน’ สู่การวางแผนประชุมครั้งต่อไปใน Zoom …ก็เป็นได้

เอาเป็นว่า จุดประสงค์คืออยากให้คุณหาสมดุลในการเสพข่าวและชีวิตในโลกออนไลน์ อย่างงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ขอให้ผู้เข้าร่วม 500 คน เลิกเล่นเฟซบุ๊คเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ ขณะที่อีก 500 คนให้ออนไลน์ได้ตามปกติ พบว่ากลุ่มที่เลิกเล่นเฟซบุ๊กบอกว่าพวกเขาสุขสงบขึ้น อารมณ์และสภาวะข้างในสดใสขึ้นด้วย

ตามหาข่าวดี

ประเด็นนี้ต้องอธิบายถึงการทำงานในอุตสาหกรรมข่าว การที่องค์กรสื่อจะอยู่รอดได้ในปัจจุบันต้องพึ่งพิงเม็ดเงินจากอุตสาหกรรมโฆษณา เพื่อให้เกิดการ ‘คลิก’ เข้าชมเว็บข่าวนั้นๆ ให้มากขึ้น (เพื่อเงินจากโฆษณาจะมากขึ้นตาม) สื่อมวลชนส่วนใหญ่ต้องรายงานข่าวเรียกอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งหรือความทุกข์เศร้า และทุกคนก็ชอบข่าวแบบนั้นมากกว่าข่าวดี

อ้างอิงเรื่องราวของนักจิตวิทยารู้คิด สตีเฟน พินเกอร์ (Stephen Pinker) บนเวที TED talk ปี 2018 ให้ข้อมูลว่า ณ ช่วงเวลานั้นมีประชากรกว่า 137,000 ที่หลุดพ้นจากเส้นความยากจนได้ แต่ไม่มีสำนักข่าวไหนรายงานข่าวดีชิ้นนี้ พินเกอร์ยังรายงานต่อไปว่าช่วงเวลานั้น กราฟความรุนแรง ความรู้ของผู้คน ความยากจน และตัวเลขการถูกฆ่านั้นดีขึ้นมากอย่างมีนัย แต่เช่นกัน เราไม่เห็นการรายงานจากสื่อมวลชน

เพราะข่าวดีไม่ได้ทำให้เรารู้สึกท่วมท้นมากเท่าการอ่านข่าวร้าย แต่ในช่วงเวลาอย่างนี้ การอ่าน ฟัง เปิดรับข่าวดี เป็นหนทางเยียวยาและเรียกศรัทธาของเรากลับมาได้

เชื่อมโยงตัวเองกับผู้คน กับเพื่อนของเรา

รายงานจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตตที่ทำงานกับผู้เข้าร่วมทดลอง 400 คน เพื่อดูว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญที่สุด องค์ประกอบที่ผู้เข้าร่วมกลุ่มนี้บอกคล้ายกัน นั่นคือ …ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างคนในกลุ่ม

พวกเขาบอกว่าการได้พบเพื่อนทำให้เขามี ‘ความสุข’ มากกว่ารู้สึก ‘มีความหมาย’ ไม่เหมือนการใช้เวลากับครอบครัว ที่เป็นช่วงเวลาที่มี ‘ความหมาย’ ก็จริงแต่ไม่ได้รู้สึกถึง ‘ความสุข’ เข้มข้นชัดเจน แต่ในภาพรวมสรุปว่า ‘ความสัมพันธ์เชื่อมโยง’ คือกุญแจสำคัญในการเข้าถึงความรู้สึกปลอดภัย

แต่ไม่ต้องกังวล! คุณไม่ต้องกัดฟันทนเพื่อวิดีโอแชทกับเพื่อนตลอดเวลา พูดให้ถึงที่สุด ไม่จำเป็นต้องวิดีโอคอลเลยก็ได้ แค่ส่งเมสเสจหรือโทรหาคนที่คุณรักและผูกพันเท่านี้ก็เพียงพอ และหากคุณรู้สึกคิดถึงเพื่อนสมัยเรียนหรือที่ทำงานเก่าซึ่งห่างหายไปนาน ให้ช่วงเวลาแบบนี้เป็นโอกาสดีที่จะโทรหาไปสอบถามสารทุกข์สุขดิบเสียเลย

ในฐานะที่เราต่างลงเรือลำเดียวกันแล้ว รู้สึกอย่างที่รู้สึก เปลี่ยนความคับข้องใจให้เป็นการกระทำ สมดุลตัวเองด้วยการหาข่าวดีๆ อ่าน พักหายใจช้าๆ ในเวลาที่เรารู้สึก ‘ไม่ไหวแล้ว’ สำคัญที่สุด เชื่อมโยงตัวเองกับผู้คนและคนที่เรารัก แม้เราจะถูกครอบงำด้วยข่าวร้ายรายวัน แต่เรื่องราวในนั้นยังเต็มไปด้วยฮีโร่ เสียงหัวเราะ และความรัก

ที่มา: psychologytoday.com

Tags:

spiritualไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Illustrator:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Related Posts

  • Creative learning
    ‘ใบงานบูรณาการ’ โรงเรียนบ้านเขาจีน : เมื่อครูช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ร่วมในโจทย์เดียว ลดภาระผู้เรียนและผู้ปกครอง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Early childhood
    ‘ให้อิสระกับลูก ปล่อยให้เขาทำผิดบ้าง’ 6 แนวทางการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ที่ไม่ซ้ำเติมความเครียดในครอบครัว

    เรื่อง The Potential ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    เปลี่ยนสถานการณ์รอบตัวให้เป็นห้องเรียนรู้แสนสนุก กับครอบครัวเพอร์เฟกท์ฮาร์โมนี

    เรื่องและภาพ วิรตี ทะพิงค์แก

  • Everyone can be an Educator
    มุมมองใหม่ในการรู้จักตัวเอง ผ่านการดูไพ่ทาโรต์

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Social Issues
    NEW NORMAL ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel