Skip to content
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
Life classroom
26 September 2018

ครูหวังดี แต่นักเรียนเสียใจ: BULLY ที่ไม่รู้ตัวของครู

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • สำหรับเด็กประถม ครูค่อนข้างมีอิทธิพลต่อเด็ก ครูคือดวงอาทิตย์ให้เราโคจรทุกวันๆ ทุกคำพูดครูจึงมีความหมาย
  • บางทีความหวังดีของครู อาจสร้างปมในใจเด็กได้ หากไม่ระวังและไม่ละเอียดอ่อนพอ
  • Bully แปลว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เจ็บ ทำซ้ำๆ เปลี่ยนวิธีตามสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม
ภาพ: Museum Siam

“ครูว่าเธอเรียนเก่งนะ แต่สู้พี่เธอไม่ได้” ฟังเผินๆ เหมือนจะชม แต่เอ๊ะ! นี่ชมจริงหรือเปล่า ในฐานะนักเรียนคงต้องกลับมาคิดอีกหลายตลบว่าจริงๆ แล้วเราเรียนเก่งหรือไม่เก่ง หรือเราเก่งแต่พี่เก่งกว่า แล้วถ้าพี่เก่งกว่า เราจะเรียกว่าเก่งได้ไหม คิดไปคิดมาจนอาจทำให้นักเรียนคนนั้นไม่มีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกด้อย จนกลายมาเป็นปมหนึ่งในชีวิต

ตัวอย่างข้างต้นไม่ได้กล่าวโทษว่าครูผิด เพราะครูอาจพูดไปโดยไม่มีเจตนาให้นักเรียนเสียใจ และอาจหวังดีเพื่อให้เด็กๆ พัฒนาตัวเองด้วยซ้ำ โดยไม่ทันฉุกคิดว่า ไม่ว่าสำหรับเด็กแล้วมันคือ ‘การรังแกเด็กที่ไม่รู้ตัวของครู’

จึงเป็นที่มาของงานเสวนา ‘ครูรุ่นใหม่ไม่ Bully: ว่าด้วยการกลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยามความหลากหลายทางเพศ’ ณ ห้องนิทรรศการ 1 มิวเซียมสยาม (ท่าเตียน) หนึ่งในกิจกรรมประกอบนิทรรศการหมุนเวียน ชุด ‘ชาย หญิง สิ่งสมมุติ’ ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ โดยมี ชนน์ชนก พลสิงห์ นักจัดการความรู้อาวุโสและภัณฑารักษ์นิทรรศการมิวเซียมสยาม นำบรรยายในหัวข้อ ‘การรังแกที่ไม่รู้ตัวของครู ว่าด้วยการจัดแสดงจากนิทรรศการชายหญิงสิ่งสมมุติ’

ชนน์ชนก พลสิงห์

ที่ผ่านมา มิวเซียมสยามมักจะจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเป็นไทย แต่เพราะเหตุใดจึงจัดนิทรรศการว่าด้วยเรื่องเพศ?

ก่อนหน้านี้มิวเซียมสยามเคยจัดนิทรรศการหัวข้อ ‘ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน’ หนึ่งในประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ชายฆ่าตัวตายจำนวนมากกว่าผู้หญิง จึงเกิดคำถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ gender (เพศ) หรือไม่อย่างไร ชนน์ชนกอธิบายว่า คำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์คือ ผู้ชายมีความรู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองต้องแบกรับผิดชอบมากกว่าผู้หญิงในฐานะช้างเท้าหน้า พอเกิดวิกฤติขึ้นมา ทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าต้องลงโทษตัวเองบางอย่างเพื่อให้หายรู้สึกผิด

ในมุมมองเฟมินิสต์ (สตรีนิยม) มักมองว่าผู้ชายเป็นฝ่ายกระทำ แต่ในมุมมองของผู้ชายเอง ผู้ชายก็มีโครงสร้างบางอย่างที่ถูกสังคมคาดหวัง ถูกสังคมกดทับ ชนน์ชนกเชื่อว่า “ถ้าเราไม่ได้เป็นชาย เราไม่ได้เป็นหญิง ถ้าเราไม่ได้เป็นสตรีข้ามเพศ เราไม่มีทางที่จะเข้าใจกันและกันได้”

มิวเซียมสยามจึงจัดนิทรรศการเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สังคม ในกระบวนการจัดทำจึงเรียกรับข้าวของหรือเรื่องราวต่างๆ ทาง gender ที่เกิดขึ้นในสังคม

“ตลอด 4 เดือนที่เราได้รับข้าวของหลายอย่าง สะท้อนให้เห็นว่าสังคมกระทำอย่างไรกับคนที่เป็น LGBT ความเป็นชาย ความเป็นหญิงที่เกิดขึ้น จากนิทรรศการครั้งนี้ทำให้เห็นการกระทำอีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งที่โรงเรียน สถาบันทางการศึกษาและครูทำกับเด็กๆ”

หนึ่งในข้าวของหลายอย่างที่ได้มาคือ ‘สมุดพก’

“สำหรับเด็กคนหนึ่งสมุดพกมีอำนาจมาก เพราะบอกทั้งเกรด วันลา สาย ขาด บอกพฤติกรรมทุกอย่าง ภายใต้ข้อความสี่ห้าบรรทัดที่ครูคัดแล้วว่าจะเขียน” สมุดพกที่ชนน์ชนกนำเสนอเป็นของเด็กผู้ชาย ป.6 คนหนึ่งซึ่งครูเขียนเอาไว้ว่า “เรียบร้อยมากจนเกือบเหมือนผู้หญิง”

เจ้าของสมุดพกบอกว่า นี่เป็นจุดหนึ่งที่ครูพูดถึงเรื่องเพศของเขา เขารู้สึกว่าครูพยายามยัดเยียดเพศให้กับเด็ก ในความคิดของเขาคือ ทำไมความเป็นชายทุกคนต้องมาดแมน

“เราอาจเป็นผู้ชายนิ่งๆ ก็ได้ มันไม่จำเป็นต้องมี stereotype ของเพศชาย สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เขาต้องปรับตัว เช่น เขาต้องแสดงออกว่าเขามีความเป็นชายมากขึ้น สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ การพยายามบอกคนอื่นว่าตัวเองชอบผู้หญิงคนหนึ่ง เพื่อสื่อสารไปยังสังคมว่า ฉันไม่ได้เป็นแบบผู้หญิงนะ เพราะว่าฉันชอบผู้หญิง”

จากสมุดพกเล่มนี้ ชนน์ชนกจึงตั้งคำถามว่า ครูกระทำ ‘สิ่งนี้’ ภายใต้ความหวังดีหรือไม่

“สมมุติเรามองในฐานะคนนอก ถ้าเราเจอนักเรียนคนหนึ่งที่เรียบร้อยมาก วัตถุประสงค์ในการสื่อสารกับผู้ปกครองคืออะไร คุณอาจจะอยู่ในหน้าที่ที่อยากสอดส่องดูแลเด็ก รายงานความประพฤติบางอย่างเกี่ยวกับเด็ก ครูไม่ได้ประสงค์ร้ายหรอก ทำไปเพราะความหวังดี แต่ในความหวังดีของครูอาจทำร้ายเด็ก สำหรับตัวเราเองไม่ได้มองว่าครูผิดหรือถูก เจ้าของสมุดพกก็ไม่ได้ผิด เพราะว่ามันทำให้เขารู้สึกแบบนั้น ส่วนครูเอง ก็ต้องระมัดระวัง”

โดยเฉพาะเด็กวัยประถมปลาย ครูค่อนข้างมีอิทธิพลต่อเด็ก หลายคนเชื่อครูมากกว่าพ่อแม่ และทุกคำของครูมีความหมาย

“เพราะไม่คิดว่าครูรังแกหรือทำร้ายเด็ก แต่อยากให้ละเอียดอ่อนกว่านี้ แล้วจะทำให้ทุกคนมีความสุขได้” ชนม์ชนกเผยความตั้งใจ

รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยาม

หลังจากได้ฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแล้ว บางทีครูอาจไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง หรือทำให้เด็กเสียใจ การทำความเข้าใจว่าการกลั่นแกล้งคืออะไร น่าจะดีต่อทุกๆ ฝ่าย ผ่านการบรรยายในหัวข้อ ‘รังแก กลั่นแกล้ง ล้อเลียน เหยียดหยามคืออะไร : ความหมายของการ Bully ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว’  โดย ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ นักวิชาการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ให้คำจำกัดความของคำว่า bully ว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาในเจ็บ ทำซ้ำๆ เปลี่ยนวิธีตามสถานการณ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กลั่นแกล้ง ล้อเลียน และเหยียดหยาม

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์

กลั่นแกล้ง: มีการกระทำ เปลี่ยนวิธีตามเหยื่อหรือสถานการณ์ มีเจตนาให้เจ็บ (รู้ตัว)

ล้อเลียน: มีเจตนาให้ตัวเองสนุก (รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) มีการกระทำหรือคำพูด มีเจตนาให้เจ็บ (รู้ตัว) กระทำซ้ำ หรืออาจจะเลิกทำ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอับอาย และทำลายความภาคภูมิใจในตนเอง การล้อเลียน จึงเป็นการทำร้ายจิตใจรูปแบบหนึ่งที่ลดคุณค่าในตัวผู้ฟัง

เหยียดหยาม: มีเจตนาให้ตัวเองสนุก (รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) มีการกระทำหรือคำพูด มีเจตนาให้เจ็บ (รู้ตัว) กระทำซ้ำ หรืออาจจะเลิกทำ เป้าหมายคือ พูดให้ด้อย พูดให้อาย พูดให้สะใจ

ทำไมถึงแกล้ง

  • ผู้แกล้งเชื่อว่าผู้ถูกแกล้งสมควรได้รับการกลั่นแกล้ง
  • ผู้แกล้งต้องการแก้เบื่อ
  • ผู้แกล้งต้องการสร้างแรงกดดันให้กับเพื่อน
  • ผู้แกล้งคิดว่าใครๆ ก็ทำกัน
  • ผู้แกล้งมีความกระหายในอำนาจ
  • ผู้แกล้งคิดว่าไม่มีทางถูกจับได้ หรือถูกทำโทษ
  • ผู้แกล้งขาดความเห็นอกเห็นใจ

ความรู้สึกของคนถูกแกล้ง

  • รู้สึกถูกครอบงำ
  • รู้สึกอ่อนแอ และไร้อำนาจ
  • รู้สึกอับอาย ขายหน้า
  • รู้สึกไม่พอใจในตัวเอง
  • รู้สึกโกรธและแค้น
  • รู้สึกไม่สนใจในชีวิต
  • รู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยก
  • รู้สึกไม่อยากไปโรงเรียน
  • รู้สึกกังวลและหดหู่
  • รู้สึกป่วย
  • รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

ควรทำอย่างไรเมื่อถูกแกล้ง: เมื่อถูกแกล้งให้ตอบกลับด้วยสีหน้าและน้ำเสียงที่จริงจังว่า

  • ถ้าแกล้งชั้นอีกทีล่ะก็ เจอดีแน่
  • อย่าทำให้ชั้นขายหน้าไปกว่านี้เลยนะ
  • หยุดแกล้งชั้นสักทีนะ!!!!

วิมลทิพย์ กล่าวว่า “การกลั่นแกล้งเหมือนกับการปรบมือ จะเกิดเสียงดังก็ต่อเมื่อสองฝั่งมาตบกัน คนแกล้งหวังว่าการแกล้งของตนเองจะทำให้อีกฝ่ายเจ็บร้อน ญี่ปุ่นแก้ไขปัญหานี้โดยการทำให้เด็กที่ถูกแกล้งเข้มแข็ง ชิลล์ ไม่เจ็บร้อน สงบ หรืออาจไปบอกครูด้วยอาการที่สงบ วิธีนี้ได้ผลเมื่อคนที่ถูกแกล้งไม่เจ็บร้อน คนแกล้งก็จะไม่สนุก เพราะมันผิดธรรมชาติของการแกล้ง แกล้งครั้งสองครั้งก็เลิก เพราะไร้ซึ่งความสนุกแล้ว”

ถ้าฝ่ายถูกแกล้งคุมสถานการณ์ได้ดี เหนือชั้น จะเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ คือยกยกระดับความแข็งแกร่งในใจคน ไม่ไปให้ราคากับเรื่องที่ไม่ควรให้ราคา

ขณะเดียวกันคนแกล้งก็ต้องถูกจัดการเหมือนกัน วิมลทิพย์ เสนอว่า “ครูต้องมองเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน พอจำแนกคนออกมาได้ เราก็จะจัดการได้ที่ต้นทาง เช่น เด็กคนนี้จริงๆ ไม่ได้เป็นคนก้าวร้าว แต่ทำไมถึงแกล้งเพื่อนจัง พอเราดึงเขาออกมาเราก็จะรู้ว่าจริงๆ แล้วเขาไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราจะเห็นปัจจัยอื่นๆ เช่น จากครอบครัว ที่บ้าน เมื่อเห็นภาพที่ชัดเจน ก็นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น”

“หน้าที่ของครูคือต้องทำให้เด็กที่ถูกแกล้ง แข็งแกร่ง อีกหน้าที่หนึ่งคือต้องทำความเข้าใจกับเด็กที่แกล้งด้วย เพื่อแก้ปัญหาการ bully ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ” วิมลทิพย์ทิ้งท้าย

Tags:

ครูงานเสวนากลั่นแกล้ง(bully)เพศ

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • Voice of New Gen
    TEDXYOUTH 2019 #NOW PLAYING: ตัวแทนเสียงเด็กไทยที่ไม่ถูก PAUSE

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Social Issues
    “คุณมาโรงเรียนทำไม?” คำถามจากครูขอสอน คำตอบอันดับ 1 ไม่ใช่ความรู้และวุฒิการศึกษา

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Learning Theory
    เรากลับมาเรียนเพศศึกษาในห้องได้หรือยัง เมื่อเรื่องยุติตั้งครรภ์อยู่ในหนังสือเรียนชั้น ม.3

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Learning Theory
    SEX EDUCATION ควรรู้ของเด็กวัย 5-8 ปี

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Education trend
    ครูก็คือครู อย่าเอาหน้าที่ของพ่อแม่มาแบกไว้บนไหล่

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel