Skip to content
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
  • Creative Learning
    Unique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an Educator
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
21st Century skills
29 August 2018

10 ทักษะมนุษย์ต้องมี และ AI ก็ทำไม่ได้ในปี 2020

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

เมื่อโลกล่วงเข้าสู่ปี 2020 งานบางอย่างกลายเป็นตำนาน และคนหลายล้านรู้สึกไม่เข้าพวก ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ‘การศึกษา’ จะเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือความท้าทายเหล่านี้ เพราะเศรษฐกิจในอนาคต(และตอนนี้)ถูกขับเคลื่อนด้วยความรู้

ติดตรงปัญหาสำคัญที่ยังแก้ไม่ได้ คือ การศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังสอนให้เอาไปใช้ในศตวรรษที่ 20 อยู่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นสูงแค่ไหนก็ตาม คือไม่สอนให้แตกต่าง และเป็นการสอนแบบบนลงล่าง ขณะที่นวัตกรรมต่างๆ เริ่มจากรากหญ้าและคนตัวเล็กๆ

เช่น นักการศึกษาควรได้รับอนุญาตให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ถ้าพวกเขาจะล้ม ก็ล้มได้เร็วแต่ก็ลุกขึ้นได้เร็วเช่นกัน  ในทางกลับกันก็ต้องได้รางวัลเมื่อคิดไอเดียดีๆ ที่สร้างความแตกต่าง

ดังนั้นทุกๆ ห้องเรียน ทุกๆ เลคเชอร์ และ ทุกๆ มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องหา ‘วิธีแก้’ ให้ตรงกับปัญหา และที่สำคัญที่สุด คือ ตรงตามความต้องการของผู้เรียน

เนื้อหาไม่ได้จำกัดอยู่แค่ text book อีกต่อไป มีการเรียนรู้หลายรูปแบบและหลายวิธีที่ให้ได้มาซึ่งความรู้

เครื่องมือการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องสอดรับและสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้แบบ interactive ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

เพื่อให้เกิด 10 ทักษะเหล่านี้  ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่มนุษย์ควรต้องมีภายในปี 2020  และ AI ทำไม่ได้

1.แก้ปัญหาซับซ้อนได้ (Complex Problem Solving)
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นและกระทบยังหลายๆ ส่วนงาน ซึ่ง AI ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ เมื่อนั้นมนุษย์ต้องเข้ามาแก้ปัญหาโดยย้อนไปดูถึงต้นทาง ซึ่งเรียกร้องความสร้างสรรค์และความละเอียดอ่อน

2.คิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

ผู้ที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลดิบๆ และตีความออกมาใหม่ให้น่าสนใจ จะเป็นที่ต้องการในตลาดที่ซับซ้อนและทำงานแบบ co-working

3.มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative)

ความคิดสร้างสรรค์เรียกร้องสัญชาตญาณในการคิดนอกกรอบและการสุ่มเลือก ‘สูง’ ในระดับที่ AI ทำไม่ได้ ทำไมนักดนตรีถึงอิมโพรไวซ์ได้โดยการหลุดคีย์ – นี่เป็นตัวอย่างที่ดี

4.บริหารจัดการบุคคล (People Management)

หุ่นยนต์อาจวิเคราะห์และคำนวณได้อย่างยอดเยี่ยม แต่มันก็ไม่สามารถมาแทนสิ่งที่เรียกว่า ‘ภาวะการเป็นผู้นำ’ และความสามารถในการจัดการอย่างมนุษย์ได้

5.ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี (Coordinating with others)

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมที่ยอดเยี่ยม เป็นคุณสมบัติแรกๆ ที่ผู้ประกอบการและนายจ้างต้องการ

6.มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

ความฉลาดทางอารมณ์ต่างๆ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ,ความอยากรู้อยากเห็น จะกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าจ้างบุคลากรระดับผู้บริหารขึ้นไปในอนาคต

7.ตัดสินใจและประเมินได้ดี (Judgment and Decision Making)

ความสามารถในการย่อยข้อมูลมหาศาล แล้วแปลงให้เป็นรูปแบบใหม่ น่าสนใจ รวมไปถึงการตัดสินใจที่เชื่อถือได้คือทักษะที่เป็นประโยชน์ในสังคมอุดมข้อมูลในอนาคต

8.มีการบริการที่ดี (Service Orientation)

คนที่รู้ถึงความสำคัญของการนำเสนอ ‘คุณค่า’ ให้ลูกค้า ผ่านรูปแบบการบริการและความช่วยเหลือต่างๆ จะเป็นที่ต้องการ

9.ต่อรองเป็น (Negotiation)

ความสามารถในการต่อรองกับกลุ่มธุรกิจหรือบุคคล จะทำให้การแก้ปัญหาลงท้ายแบบวินวิน ในฐานะทักษะที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอดของอุตสาหกรรมที่ต้องตั้งรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

10.มีความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility)

ความสามารถในการสลับ/เปลี่ยน/โยก บุคลากรที่แตกต่างกัน ให้ถูกหรือตรงกับความท้าทายในมือ จะเป็นสิ่งสำคัญในการควบรวมหลายธุรกิจหรืออุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.weforum.org

Tags:

พัฒนาการพ่อแม่ครูคาแรกเตอร์(character building)AIDisruption21st Century skills

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Learning Theory
    พลังเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่ปรากฎใน DNA ของเด็กทุกคน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Education trend
    การศึกษาไม่ได้ล้มเหลวแค่ล้าหลัง: PASSION และ PURPOSE หัวใจสำคัญของการศึกษาใน INNOVATION ERA

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    10 ทักษะผู้นำของคนในวงการไซเบอร์ ที่โลกอนาคตต้องการ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    “ศรีจันทร์ยังเกิดใหม่ได้ คนรุ่นต่อไปก็ต้องอยู่กับ AI ได้” รวิศ หาญอุตสาหะ

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Creative learning
    CODERDOJO : โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยที่สนุกกับคำว่า ‘ERROR’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel