Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
21st Century skillsEducation trend
15 October 2018

โรงเรียนกำลังสอนวิชาในอดีต ทั้งๆ ที่อนาคตต้องการ 4 ทักษะนี้

เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • ผลสำรวจตลาดงานในอนาคต โดยสถาบัน McKinsey Global Institute บอกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ใน 750 สายอาชีพ มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น
  • การเอาตัวรอด-ความคิดสร้างสรรค์-ทักษะเรื่องดิจิทัล-ความสามัคคี ล้วนเป็นสิ่งที่โลกต้องการ แต่กลับไม่ได้ถูกสอนในโรงเรียน
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science ไม่ใช่แค่การเขียนโค้ดเท่านั้น แต่จะต้องฝึกคิดคำนวณ การออกแบบระบบอินเตอร์เฟส (เชื่อม2อุปกรณ์เข้าด้วยกัน) ฝึกวิเคราะห์ผลข้อมูล เรียนรู้เรื่องเครื่องจักร ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่เราเรียกกันว่า (AI) ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันในโลกนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป มีข้อยืนยันมากมายที่แสดงให้ว่าความต้องการในตลาดแรงงานเปลี่ยนและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญกับทิศทางของการทำงานในอนาคตที่อาจเปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าจริงแล้วๆ โลกของการศึกษายังไม่ได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับในเรื่องนี้มากเท่าไหร่

จากการวิเคราะห์ตลาดงานในอนาคต โดยสถาบัน McKinsey Global Institute พบว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ใน 750 สายอาชีพ มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติ โดยดูจากวิธีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จุดสำคัญคือเทคโนโลยีนั้นจะช่วยขยับขยายอาชีพในระดับอุตสาหกรรม รวมถึงเพิ่มทักษะและเรตของค่าจ้างได้หรือไม่

การสำรวจเช่นนี้ ทำให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติมีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้เกิดการเลิกจ้าง แต่จะนำพาไปสู่การคัดเลือกอาชีพรวมถึงการเกิดทักษะใหม่ๆ ขึ้นแทน

เตรียมรับมือกับคนรุ่นในอนาคตได้อย่างไร

เด็กวัยประถมที่จะเรียนจบมหาวิทยาลัยในช่วงปี 2030 พวกเขาจะทำงานถึงปี 2060 หรือมากกว่านั้น โดยไม่รู้ว่าความต้องการของตลาดแรงงาน จะเปลี่ยนตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยอีกหรือไม่ ?

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ากลับเข้าไปดูการเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ จะพบว่าเนื้อหายังล้าหลัง การสอนเด็กแบบเดิมๆ ให้อ่าน-เขียน-เรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ประวัติศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่ต่างจากที่สอนในปี 1918 

แม้จะให้ศูนย์การเรียนรู้หรือโรงเรียน หันมานำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในห้องเรียนมากขึ้น แต่ยังคงไม่มีการพูดถึง ‘เนื้อหา’ ที่ใช้สอนสักเท่าไร ทั้งๆ ที่ควรจะถูกให้ความสำคัญแลปรับแก้ไปพร้อมๆ กัน

การเอาตัวรอด-ความคิดสร้างสรรค์-ทักษะเรื่องดิจิทัล-ความสามัคคี ล้วนเป็นสิ่งที่โลกต้องการ แต่กลับไม่ได้ถูกสอนในโรงเรียน แม้จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการสร้างสื่อนำเสนอต่างๆ – แต่ไม่ใช่สร้างทักษะดิจิทัลอย่างแท้จริง

สิ่งที่สอนในวันนี้ ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในยุค 2030  

การเขียนด้วยลายมือจะหมดไป ไม่ต้องคำนวณโจทย์เลขที่ซับซ้อนด้วยการเขียนอีกแล้ว และไม่ต้องจำข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ด้วยตัวเองอีกต่อไป เพราะมีตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมอย่างระบบอินเทอร์เน็ต

ในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุก โรงเรียนจะต้องผลัก ‘วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science’ เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอนให้ได้ ไม่ใช่แค่การเขียนโค้ดเท่านั้น แต่จะต้องฝึกคิดคำนวณ การออกแบบระบบอินเตอร์เฟส (เชื่อม2อุปกรณ์เข้าด้วยกัน) ฝึกวิเคราะห์ผลข้อมูล เรียนรู้เรื่องเครื่องจักร ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ด้วย

ประโยชน์ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ นอกจากจะช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาได้แล้ว ยังส่งผลต่อการประกอบอาชีพเชิงเทคนิค ในทุกอาชีพและทุกระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแค่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น

นักเรียนจะชอบหรือไม่ชอบ ?

การสำรวจพบว่า วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิชาอันดับสองที่เด็กชอบมากที่สุด รองจากวิชาศิลปะ

ดังนั้นผู้นำด้านการศึกษาหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง น่าจะเริ่มพูดคุยกันได้แล้วว่า เราควรจะโละเนื้อหาที่ล้าหลัง เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับหลักสูตรใหม่ๆ ได้หรือยัง?

‘วิทยาการคอมพิวเตอร์’ ไม่ควรถูกอยู่แค่ในชมรมหลังเลิกเรียน ที่มีไว้ในใช้แข่งขันหุ่นยนต์หรือให้กลุ่มพวกแฮ็คคาธอน (Hackathon) แต่ควรจะยกให้อยู่การเรียนหลัก และนักเรียนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน

สิ่งที่โรงเรียนควรสอนคือความรู้ในอนาคตไม่ใช่อดีต

หลายประเทศเริ่มยอมรับวิทยาการคอมพิวเตอร์อยู่ในหลักสูตรระดับชาติแล้ว  อย่างใน 44 รัฐ ทั่วสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนนโยบายให้วิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของแกนหลักทางวิชาการ รวมถึง 25 ประเทศทั่วโลก ที่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ จนออกประกาศให้เพิ่มการสอนนี้ลงในหลักสูตรด้วย ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ อิตาลี มาเลเซีย สวีเดน และไทย

แม้การสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนอาจฟังดูน่ากลัว แต่ก็สร้างความหวังครั้งใหม่ขึ้น เนื่องจากได้เพิ่มแรงบันดาลใจให้ครูและนักเรียน แม้ว่าส่วนใหญ่ครูจะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ และหลายโรงเรียนก็ขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ปัญหาเหล่านี้จึงถูกมองเห็นและได้รับการแก้ไขมากขึ้น เหมือนกับที่ประเทศบราซิล ชิลี และไนจีเรีย กำลังเริ่มทำ

อนาคตของการทำงานอาจไม่แน่นอน แต่สิ่งที่แน่นอนคือ วิทยาการคอมพิวเตอร์จะมีความต้องการสูงขึ้น

ซึ่งนักเรียนทุกคนควรได้เรียนรู้มันในฐานะวิชาพื้นฐาน

อ้างอิง:
Why schools should teach the curriculum of the future, not the past

Tags:

ครูระบบการศึกษาคาแรกเตอร์(character building)AI4Cs

Author:

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Related Posts

  • Character building
    ENTREPRENEURSHIP: ไม่ใช่พ่อรวยสอนลูก แต่คือหลักสูตรผู้ประกอบการที่สอนให้ทำได้ ทำเป็น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    FIVE MINDS FOR THE FUTURE: ปลูกฝังจิต 5 แบบ เพื่อโลกศตวรรษที่ 21

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    อย่าให้ใครว่ามั่ว เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์ FAKE NEWS

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • 21st Century skills
    4CS สี่ทักษะต้องมีเพื่ออนาคต – สร้างสรรค์ แก้ปัญหา สื่อสาร ร่วมงานกับคนอื่นได้

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Unique Teacher
    ครูสอญอ: ผู้อำนวยการสร้างเยาวชนแห่งโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel