Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Education trend
21 May 2020

เครื่องมือช่วยเด็กคุยกับตัวเอง คลี่คลายความเครียด โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน

เรื่อง The Potential ภาพ มานิตา บุญยงค์

การเปิดเทอมปีการศึกษา 2563 กลายเป็นวาระใหญ่ที่มีหลายประเด็นต้องทำงาน ตั้งแต่การจัดแผนการเรียนรู้อย่างไร ควรเปิดโรงเรียนเต็มที่เมื่อไร จะมีเรียนออนไลน์ไหม ขนาดไหน เครื่องมือการเรียนออนไลน์พร้อมหรือไม่ และอื่นๆ 

เด็กๆ กำลังเจอกับความเครียดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งปัญหาทางการเงินของครอบครัว ความเครียดที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน ความกังวลเรื่องการศึกษาต่อ กังวลว่าคนใกล้ตัวจะติดไวรัส และ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่แค่นักเรียน ครูและครอบครัวครูก็เครียดไม่แพ้กัน การต้องอยู่กับความไม่แน่นอน ประชุมเพื่อคาดการณ์และเตรียมแผนการสอน และวาระส่วนตัวของแต่ละคน พูดได้ว่าสั่นสะเทือนตามกันไปหมด 

เพื่อช่วยครูคลี่คลายความเครียดนักเรียน เราชวน คุณนีท เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาโรงเรียน พูดคุยว่าความเครียดในนักเรียนหน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องสนใจ และ เครื่องมือให้ครูนำไปใช้คลี่คลายความเครียดของนักเรียนได้ง่ายๆ ไม่ว่าครูคนนั้นจะติดตัวแดงในสายตานักเรียน (เพราะอาจเข้มงวด แต่ซ่อนความหวังดีเอาไว้) หรืออันที่จริงก็สำหรับครูทุกคนที่อยากช่วยนักเรียน ‘จำนวนมาก’ คลี่คลายความเครียด เพราะใครก็รู้ว่า ครูหนึ่งคนต้องดูแลนักเรียนหลายชีวิตแค่ไหน อ่านได้ที่นี่

คุณนีทมีข้อเสนอที่น่าสนใจ และ ปรับไปใช้ง่ายๆ นั่นคือ การทำ mini talk กับนักเรียน และ ใช้เครื่องมือ ข-อ-อ-ก รับมือกับความเครียดนักเรียน (และความเครียดของครูด้วยกันเองด้วย)

Mini talk

เพราะเข้าใจว่าครูหนึ่งท่านดูแลเด็กหลายคน และเราต่างรู้กันว่าเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่นไม่ได้อยากเข้าหาครูขนาดนั้น โดยเฉพาะครูที่ดูดุ เฮี้ยว เจ้าระเบียบ เด็กอาจตั้งแง่และไม่เปิดใจได้ แต่ในกรณีที่ครูอยากช่วยนักเรียนคลี่คลาย การทำ mini talk คนละ 3 นาที โดยทำติดต่อกันอย่างน้อย 4 อาทิตย์ จะช่วยคลี่คลายและอาจสังเกตเห็นสิ่งที่อยู่ในใจผ่านลักษณะท่าทางของเด็ก น้ำเสียงของเด็ก วิธีการพูดคุยของเด็ก ระหว่างทำ mini talk ได้ 

“อาทิตย์แรกอาจเป็นคำถามแค่ ปิดเทอมที่ผ่านมาเป็นยังไง กินข้าวครบมื้อมั้ย เบื่อมั้ย ได้ออกจากบ้านบ้างมั้ย? แค่นี้ก็ได้นะคะ คำถามว่า ‘กินข้าวครบมื้อมั้ย’ มันไม่ได้ยิงตรงๆ ว่า เศรษฐกิจที่บ้านเป็นยังไง แต่ก็ได้เห็นว่า เขาสุขสบายดีรึเปล่า ค่อยๆ ถามตะล่อมๆ ไปแบบนี้ อาทิตย์แรกเด็กอาจไม่เล่าให้ฟังทั้งหมดหรอก เพราะมันคือครั้งแรกเนอะ แต่ก็ค่อยๆ ถามไปเรื่อยๆ นีทคิดว่าพอสักอาทิตย์ที่สามที่สี่ เราอาจชวนเด็กคุยได้ลึกขึ้น” 

ที่สำคัญที่คุณนีทย้ำคือ อย่าพยายามรีบตัดบทไปตัดสินเขา เป็นไปได้ว่าเรื่องที่เด็กเล่านั้นครูอาจไม่เห็นด้วย แต่ให้ตั้งหลักว่า เรากำลังอยากรับฟังเพื่อคลี่คลายบางอย่าง และถ้าอยากส่งมอบความคิดของตัวเองจริงๆ ให้ใช้วิธีตั้งคำถาม 

“เช่น สมมติเด็กบอกว่า อยู่ที่บ้านเบื่อมาก เพราะอยากช้อปปิ้ง ในใจเราอาจรู้สึกไม่เห็นด้วยก็ได้นะ แต่ถ้าเราตั้งหลักว่าอยากแก้ปัญหา ก็ต้องมุ่งไปที่ทางนี้ เพราะเด็กพูดเรื่องนี้มา คุยเรื่องอื่นไม่ได้  เราอาจจะถามเด็กว่า ‘เครียดเพราะไม่ได้ช้อปปิ้งใช่มั้ย แล้วอะไรที่จะทำให้หายเครียดได้ ช้อปปิ้งออนไลน์ได้มั้ย?’ ซึ่งเด็กอาจจะตอบ“yes” ก็ได้ แต่ถ้าเรามีทัศนคติส่วนตัวอยากให้เด็กประหยัด เราอาจชวนคุยก็ได้ว่า ‘แล้วถ้าซื้อออนไลน์ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ทำไงดี ไปลองที่ร้านดีกว่ามั้ย?’ คือต้องมีศิลปะนิดนึง คุยไปคุยมา เด็กอาจตัดสินใจรอเปิดเมือง แล้วออกไปซื้อที่ร้านโดยตรงก็ได้ ดังนั้นจุดประสงค์หลักของเราต้องชัด คืออยากคลี่คลายความเครียดให้เด็ก และช่วยเด็กแก้ปัญหา ซึ่งจากเรื่องที่เล่ามา การไม่ได้ช้อปปิ้งนี้ได้ถูกแก้ไขแล้ว คือเขาได้เห็นวิธีการว่า ได้ทั้งช้อปปิ้งออนไลน์ หรือ อดทนไปซื้อตอนร้านเปิดก็ได้”

เครื่องมือ ‘ข-อ-อ-ก’

สำหรับคุณครูที่อยากช่วยคลี่คลาย แต่คิดว่าการทำ mini talk เป็นไปได้ยาก หรือส่วนตัวไม่ถนัดพูดคุยให้คำปรึกษา เครื่องมือนี้เป็นชาร์จในการจัดการอารมณ์ ให้เด็กๆ ทำด้วยตัวเองได้ หรือ ครูอาจใช้ ‘ข-อ-อ-ก’ ใน mini talk อาทิตย์ที่ 3 หรือ 4 ก็ได้ 

วิธีการคือ 

  • ข : เข้าใจความเครียดของตัวเอง โดยให้ลิสต์ว่า ‘วันนี้’ เรารู้สึกเครียดเรื่องอะไร โดยให้ลิสต์มาทุกความเครียดที่นึกขึ้นได้ ไม่จำกัดจำนวน 
  • อ : อะไรคือความเครียดที่แท้จริง? ข้อนี้คือการตัดช้อยส์ออก จากข้อแรก ให้มาดูว่าความเครียดข้อไหนคือเรื่องที่เราเครียดจริงๆ อันไหนไม่เครียดก็ตัดออก หรือ ให้คะแนนความเครียด (rating) นั้นไว้ก็ได้ เช่น เราเครียดเรื่องนี้มากระดับ 5 เลยนะ 

    โดย ทุกๆ ความเครียดที่เหลืออยู่ในข้อ ‘อ : อะไรคือความเครียดที่แท้จริง?’ ให้อธิบายด้วยว่า ทำไมถึงเครียดข้อนี้ คุณนีทย้ำว่า ให้ ‘ร่ายยาว’ อธิบายความเครียดของเราไปเลย เช่น เครียดเรื่องการเรียนออนไลน์ระดับ 5 เลย เพราะที่บ้านอินเทอร์เน็ตไม่ดี แถมมีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวต้องแบ่งใช้กับพี่ชาย ไม่รู้ว่าจะสลับเรียนกับพี่ชายยังไง 
  • อ : โอเวอร์มั้ย? อย่างที่เรารับรู้กันดี บางทีเราชอบตีฟุ้งความเครียดเกินสิ่งที่มันเป็นจริงๆ คุณนีทบอกว่าที่ใช้คำว่า ‘โอเวอร์’ ก็เพราะอยากให้เด็กกลับมามองความเครียดตามความจริงมากขึ้น โดยในข้อนี้ ให้กลับไปดูลิสต์ความเครียดในข้อ ‘อ : อะไรคือความเครียดที่แท้จริง?’ แล้วตั้งคำถามว่า เราไฮไลต์มันจนโอเวอร์ไปมั้ย? เราอาจลองถามตัวเองจริงๆ ว่า “เออ เรื่องมันคอขาดบาดตายเลยหรอ? มันจะไม่มีวิธีการแก้เลยหรอ? หรือจริงๆ มันแก้ได้? มันยาก แย่ เยอะขนาดนั้น จริงๆ หรอ?

    หลักๆ ของข้อนี้คือ การดึงสติ เพื่อไปสู่เครื่องมือตัวสุดท้าย
  • ก : แก้ไข เมื่อประเมินเสร็จ ก็มาดูว่าจะแก้ยังไง ถ้าแก้ไม่ได้ก็อาจมาคุยกับครูหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น นีทว่าถ้าทำชอยส์ได้มันดีนะ คือหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธี แล้วค่อยมาเลือกว่า วิธีใดดีที่สุด 

หากทำ mini talk ครูอาจช่วยตั้งคำถามให้เด็ก ช่วยดึงสติ และร่วมมือกับเด็กเพื่อคิดวิธีการแก้ปัญหา นีทว่าทุกปัญหามันมีทางออก แต่บางทีเรายังหาไม่เจอ 

“เครื่องมือ ‘ข-อ-อ-ก’ ครูก็ใช้ได้เหมือนกันนะ มันเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ประเมินตัวเองทีละข้อแล้วหาทางแก้ ชั้นเครียดอะไรบ้าง โอเวอร์ไปมั้ย หาทางแก้ได้รึเปล่า” 

Tags:

เทคนิคการสอนวิชาภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ครูแนะแนว

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

มานิตา บุญยงค์

กราฟิกดีไซน์เนอร์ที่รักการวาดรูปเป็นชีวิตจิตใจ ฝากติดตามผลงานที่ IG : mntttk ด้วยนะคะ

Related Posts

  • Creative learning
    ‘งานบ้าน งานสวน งานครัว’ วิชาเรียนของเด็กๆ โรงเรียนบ้านกระถุนในช่วงโควิด – 19 ที่ยังคงได้ทักษะชีวิตและสมรรถนะที่จำเป็น

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Creative learning
    ลดภาระงาน เลือกทักษะที่สอดคล้องกับชีวิตเด็ก : หลักการจัดการเรียนรู้ในช่วงโควิด – 19 ของ ‘โรงเรียนบ้านปะทาย’

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • โจทย์ไม่เยอะแต่ท้าทาย เป้าหมายคือสมรรถนะ : การจัดการเรียนรู้ระดับประถม ‘ครูยิ้ม – ศิริมา โพธิจักร์’

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Education trend
    Hybrid Learning : เทรนด์การเรียนรู้แบบผสมผสานตอบโจทย์สถานการณ์โควิด-19

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    หากโควิดบังคับให้ครูเปลี่ยน จะสอนออนไลน์ยังไงให้ป็อปและยังมีปฏิสัมพันธ์กับศิษย์อยู่?

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ มานิตา บุญยงค์

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel