Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Education trend
24 May 2018

อยากให้เด็กชอบวิทย์และชอบอ่าน ต้องให้นักบินอวกาศเล่านิทานให้ฟัง

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • อยากให้เด็กๆ หันมาสนใจทั้งวิทยาศาสตร์และการอ่าน ก็ต้องชวนนักบินอวกาศมาอ่านนิทานให้ฟัง
  • นี่คือตัวอย่างการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ (STEM Education) เข้ากับการอ่านผ่านรูปแบบที่เข้าถึงเด็กได้ง่ายๆ
  • นอกจากความสนุกจากนิทาน ของแถมชิ้นใหญ่คือ การได้เห็นนักบินอวกาศลอยไปเล่าไปในบรรยากาศสถานีอวกาศนานาชาติจริงๆ เลยล่ะ

คุณกำลังประสบปัญหาลูกไม่ชอบฟังนิทานหรือทำท่าเบื่อหน่ายเวลาคุณอ่านหนังสือให้ฟังใช่ไหม?

ลองให้นักบินอวกาศผมชี้ฟู ลอยไปมาในสภาวะไร้น้ำหนักของยานอวกาศอ่านให้พวกเขาฟังสิ

อย่างเช่นเรื่องนี้

“…คุณย่าโรสคว้าโรซีมากอดไว้แน่น หอมเธอฟอดใหญ่ และเริ่มร้องไห้อย่างยินดี ‘หลานทำได้แล้ว ไชโย! เป็นความพยายามครั้งแรกที่สมบูรณ์แบบมากๆ ได้เวลาเริ่มครั้งต่อไปแล้วล่ะ’ หนูน้อยโรซีอับอายและงุนงง ‘แต่หนูทำพังนะคะ พังหมดเลย’ คุณย่าตอบว่า ‘ก็ใช่ มันพังหมดแล้ว แต่ก่อนที่จะพัง มันบินได้ใช่ไหมล่ะ ความล้มเหลวที่ยอดเยี่ยมในครั้งแรกจะนำไปสู่ความสำเร็จนะจ๊ะหลานรัก’ …”

แคธลีน รูบินส์ (Kathleen Rubins) นักบินอวกาศหญิงกำลังอ่านหนังสือเรื่อง Rosie Revere, Engineer เรื่องราวของเด็กหญิงโรซีขี้อาย ผู้ฝันอยากเป็นวิศวกร และกำลังพยายามเติมเต็มความฝันของคุณย่าโรสที่อยากบินขึ้นไปบนท้องฟ้า – รูบินส์ เป็นหนึ่งในทีมนักบินอวกาศของโครงการ Story Time from Space โครงการนี้เป็นของ มูลนิธิเพื่อการศึกษาอวกาศโลก (Global Space Education Foundation) ซึ่งได้รวบรวมนักบินอวกาศสุดเท่ที่กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่นอกโลก มาอ่านหนังสือเด็กยอดนิยมมากมายขณะลอยไปมาอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ

ทำไมต้องอ่านในอวกาศ?

แพทริเซีย ไทรบ์ (Patricia Tribe) อดีตผู้อำนวยการด้านการศึกษาแห่งศูนย์อวกาศฮุสตัน ในสังกัดขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) เป็นต้นคิดไอเดียนี้ เธอคิดถึงการรวมเรื่องของอวกาศและการอ่านเข้าด้วยกัน หลังจากได้ทำวิจัยเกี่ยวกับทักษะด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา เธอตัดสินใจผสมผสานแนวการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ (STEM Education) เข้ากับการอ่านในวิธีที่เข้าถึงเยาวชนได้ง่ายๆ

Story Time from Space เริ่มต้นด้วยการทดสอบนักบินโดย เบนจามิน อัลวิน ดรูว์ จูเนียร์ หรือที่คนอื่นๆ เรียกเขาว่า อัลวิน ดรูว์ นักบินอวกาศที่ร่วมเริ่มไอเดียนี้กับไทรบ์ เขาเป็นนักบินอวกาศคนแรกที่อ่านหนังสือในโครงการนี้ โดยเขาอ่านเรื่อง ‘He read Max Goes to the Moon’ ของ เจฟฟรีย์ เบนเนตต์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์และนักเขียน ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจสุดท้ายในยานอวกาศดิสคัฟเวอรี

“อะไรคือต้นแบบที่ดีในการกระตุ้นให้เด็กๆ สนใจวิทยาศาสตร์และการอ่าน” ไทรบ์บอก “คุณไม่ได้แค่กำลังดูหรือฟังเรื่องราวในหนังสือ แต่คุณกำลังเห็นสิ่งที่อยู่ภายในสถานีอวกาศนานาชาติจริงๆ เลยล่ะ”

ทีมงาน The Story Time from Space มีทั้งนักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา และอีกหลายวิชาชีพที่มีส่วนสำคัญในการเลือกหนังสือแต่ละเล่ม

พวกเขาต้องเลือกหนังสือที่เหมาะจะอ่านให้จบภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที มีการบูรณาการความรู้ และสำคัญที่สุดคือความถูกต้องของข้อมูลทุกอย่าง

“เราไม่อยากให้เด็กๆ ได้รับข้อมูลที่ผิดๆ ไปหรอกนะ” ไทรบ์กล่าว

บางครั้ง สมาชิกในทีมก็ได้รับหนังสือจากนักเขียนที่ต้องการให้หนังสือได้รับการพิจารณาด้วย ทางทีมงานจะมีรายการหนังสือมากมายที่น่าสนใจและได้รับการแนะนำ เป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการความรู้ในหัวข้อมากมาย ตั้งแต่ฟิสิกส์ วิศวกรรม จนถึงชีววิทยา – และแน่นอน เป็นหนังสือสำหรับเด็กทั้งหมด

เมื่อได้หนังสือที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ทางทีมก็จะพูดคุยปรึกษาคัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมและเหมาะกับกลุ่มอายุที่หลากหลาย

ค้นฟ้าหานักบินอวกาศมาเล่า

นอกจากจะใช้เวลาในการหาหนังสือที่ใช่แล้ว ตัวนักบินอวกาศที่จะมาอ่านก็ต้องผ่านการคัดเลือกเหมือนกัน ส่วนหนึ่งเป็นอาสาสมัครและอีกส่วนหนึ่งเป็นคนที่ได้รับเชิญมาอ่าน ด้วยภูมิหลังทางการศึกษาหรือความพิเศษอื่นๆ

ไทรบ์กล่าวว่า เมื่อถึงประเด็นของคนที่จะอ่านหนังสือแต่ละเล่ม ทีมงานของเธอพยายามอย่างหนักที่จะสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้น อย่างเช่น เธอคิดว่าสำคัญมากๆ ที่เรื่อง ‘Rosie Revere, Engineer’ จะต้องได้ผู้หญิงที่ทำงานในสถานีอวกาศนานาชาติมาอ่าน เช่นเดียวกับคนอ่าน ‘Max Goes to the Space Station’ ที่คนหนึ่งคือ ไมค์ ฮอปกินส์ นักบินอวกาศชาวอังกฤษ และ วากาตะ โคอิชิ นักบินอวกาศชาวญี่ปุ่น – เพราะเด็กๆ ที่จะได้ฟังมีหลากหลายเพศ วัย เชื้อชาติ และผู้รับหน้าที่อ่านก็เป็นเหมือนตัวแทนเด็กๆ เหล่านั้น

ตอนนี้ โครงการ The Story Time from Space Program กำลังขยายกิจกรรมมากขึ้น ทางทีมกำลังเดินหน้าเพื่อทำวิดีโอแสดงการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสำหรับเด็กๆ จากในสถานีอวกาศ การทดลองเหล่านั้นจะสอดคล้องกับโครงการและงานวิจัยที่พวกเขาตั้งใจแบ่งปันให้กับบรรดาครูผู้สอนและบรรณารักษ์อีกมากมายบนพื้นโลกด้วย

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่กำลังเดินทางไปหานักบินอวกาศนักอ่านเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ‘A Moon of My Own’ ของ เจนนิเฟอร์ รัสต์กี ‘The Rhino Who Swallowed A Storm’ ของ เลวาร์ เบอร์ตัน และ ซูซาน เชเฟอร์ เบอร์นาโด รวมถึง ‘Moustronaut’ ของนักบินอวกาศ มาร์ค เคลลี

เรียกได้ว่า Story Time from Space กำลังบอกและทำให้เด็กๆ ดูว่า การเรียนและการอ่านสามารถสร้างความบันเทิงสนุกสนานได้

“ทุกคนชอบคิดว่าอวกาศมันเท่ดี เพราะฉะนั้น วิธีอะไรจะจับใจผู้ชมและเด็กๆ ได้ดีไปกว่าอวกาศล่ะ” ไทรบ์บอก

ที่มา:
Your Kids Can Now Watch Astronauts Reading Stories From Space
FYI, You Can Watch Astronauts Read Popular Kids Books From Space

Tags:

STEMวิทยาศาสตร์นิทาน

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Creative learning
    ‘Creative Drama’ กิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่ชวนเด็กรู้จักตัวเองและพัฒนาสู่เวอร์ชั่นที่ดีขึ้น: ครูกล้วย-หรรษลักษณ์ จันทรประทิน

    เรื่อง บุญญิสา รัตนมณี ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    วิทย์นอกเวลา การเรียนรู้ที่เด็กออกแบบเอง จากกรุงเทพคริสเตียนสู่เวทีโลก: ครูชนันท์ เกียรติสิริสาสน์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 4

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • Life classroomVoice of New Gen
    นิศาชล คำลือ: ถึงอวกาศจะไม่มีอากาศ แต่ทำให้อยากหายใจเพื่อค้นหาดาวดวงต่อไป

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Everyone can be an Educator
    ถามตอบเรื่องควอนตัม: เราย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตอย่าง AVENGERS ได้จริงไหม

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel