Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Adolescent Brain
25 June 2018

พรากลูกจากพ่อแม่ สร้าง ‘ความเครียดที่เป็นพิษ’ และทำลายสมองตลอดชีวิต

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

แม้ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งยกเลิกการแยกผู้อพยพเด็กออกจากครอบครัวในศูนย์ผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายไปแล้ว แต่มาตรการ ‘ความอดทนเป็นศูนย์’ (Zero Tolerance Policy) ต่อการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายก็ยังเดินหน้าต่อ และรัฐบาลก็ยังไม่มีแผนจะนำเด็กที่ถูกพรากแล้วกลับคืนสู่ครอบครัว

เจ้าหน้าที่หลายคนยืนยันว่า เด็กกลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของรัฐบาลกลางระหว่างรอกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง

บาดแผลในจิตใจของเด็กๆ กว่า 2,300 คนที่ถูกแยกจากพ่อแม่ไปแล้วจึงยิ่งเหวอะหวะลึกลงไปทุกที

การถูกพรากจากพ่อแม่เป็นประสบการณ์ที่ทิ้งบาดแผลทางจิตใจให้กับเด็กๆ อย่างมาก และจากผลงานวิจัยของสมาคมจิตแพทย์โลก (World Psychiatric Association) ชี้ให้เห็นว่า บาดแผลนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจไปอย่างถาวร

คอลลีน คราฟต์ (Colleen Kraft) ผู้อำนวยการสมาคมกุมารแพทย์ (American Academy of Pediatrics) ได้กล่าวว่า บาดแผลทางใจนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสมองเด็กๆ เหล่านี้ และส่งผลต่อพัฒนาการในระยะยาวของพวกเขาด้วย

ความเครียดเป็นพิษ

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา คราฟต์ และเพื่อนร่วมงานบางคนได้รับอนุญาตให้เข้าไปในค่ายกักกันเด็กๆ ผู้อพยพที่กำกับดูแลโดยสำนักผู้ลี้ภัยและตั้งถิ่นฐานใหม่แห่งอเมริกา (U.S. Office of Refugee Resettlement)

เธออธิบายสิ่งที่เห็นว่า เป็นห้องที่เต็มไปด้วยเด็กทารกที่ “เงียบสนิท” ยกเว้นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลัง “ร้องไห้สะอึกสะอื้น กรีดร้องคร่ำครวญ และทุบกำปั้นลงบนเสื่อ”

เจ้าหน้าที่พยายามใช้หนังสือกับของเล่นทำให้เธอสงบลง แต่เจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานในศูนย์แห่งนี้ถูกสั่งว่าไม่ให้อุ้มหรือสัมผัสเด็ก

“เด็กหญิงคนนี้คงหยุดร้องไห้หากแม่เธออยู่ตรงนั้น แต่เราไม่สามารถพาแม่มาหาเธอได้” คราฟต์ บอก

เธออธิบายว่า บาดแผลนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสมองของเด็กในอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมันเกิดขึ้นในช่วงแรกของวัยเด็ก การแยกจากพ่อแม่จะยิ่งเร่งให้สมองหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมามากขึ้น ปกติแล้วพ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กๆ ผ่านพ้นความเครียดนี้ไปได้ – แต่คงเป็นไปไม่ได้เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ที่นั่นกับลูกๆ ของพวกเขาเอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยามองว่า การแยกเด็กๆ ออกจากพ่อแม่สร้าง ‘ความเครียดที่เป็นพิษ’ ขึ้น เช่นเดียวกับการรับประสบการณ์เลวร้ายรุนแรงหรือมีอาการบาดเจ็บเรื้อรังเป็นเวลานาน หัวใจของเด็กๆ จะเต้นเร็วขึ้นและร่างกายจะปล่อยคอร์ติซอล (ฮอร์โมนกลุ่ม steroid ที่ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด) และอะดรีนาลีนออกมาในระดับที่สูงกว่าปกติ ซึ่งทั้งสองตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ใช้รับมือกับความเครียด และความเครียดที่เป็นพิษจะทำให้ฮอร์โมนเหล่านี้อยู่ได้นานขึ้น

สภาวิทยาศาสตร์ด้านพัฒนาการเด็กแห่งชาติ (National Scientific Council on the Developing Child) ระบุว่า ยิ่งฮอร์โมนชนิดนี้อยู่นานก็ยิ่งสามารถหยุดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและเปลี่ยนโครงสร้างการพัฒนาสมอง ทำลายสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้และสร้างความทรงจำได้

บาดแผลวัยเด็ก ฝากรอยไปถึงวัยผู้ใหญ่

สมองจะพัฒนาอย่างรวดเร็วก่อนอายุ 3 ขวบ ระบบประสาทบางอย่างสามารถเชื่อมต่อได้อย่างแข็งแรงและบางอย่างก็ถูกกำจัดออกไป โดยปกติแล้ว ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับทักษะการเรียนรู้ การเล่น และการเข้าสังคมของเด็กๆ จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในวัยทารก

แต่ คราฟต์ อธิบายว่า ในเด็กๆ ที่ความเครียดเกิดขึ้นต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ระบบประสาทที่แข็งแกร่งที่สุดจะไปอยู่ที่ความกลัว ความก้าวร้าว และความวิตกกังวลไม่จบสิ้น

คราฟต์ บอกว่า เด็กจำนวนมากในกลุ่มนี้ “ไม่พัฒนาทักษะการพูด ทักษะการเรียนรู้และการเข้าสังคม ไม่พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามที่ควรจะเป็น กลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้ามากๆ ทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ระบบประสาท และแน่นอน สภาพจิตใจด้วย”

รูปแบบที่ถูกหล่อหลอมในวัยเด็กนั้นจะคงอยู่ไปจนคุณเป็นผู้ใหญ่ และเปลี่ยนไปได้ยาก เพราะบาดแผลเหล่านี้ยังคงทิ้งเชื้อไว้ให้ลุกลามอยู่ในพื้นที่ร่างกายและจิตใจ เมื่อเด็กๆ ใช้ชีวิตภายใต้ความเครียด พวกเขาก็จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพแย่กว่าคนอื่น

ต่อให้เด็กๆ ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้กลับไปอยู่ในอ้อมกอดของครอบครัว แต่ก็ไม่อาจช่วยเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการถูกพรากออกไปได้แล้ว

เจมส์ กอร์ดอน ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารของศูนย์เวชศาสตร์ทางกายและจิต (The Center for Mind-Body Medicine) บอกว่า “เพราะการถูกพรากออกไปทำให้เด็กๆ รับรู้ว่าตัวเองอ่อนแออย่างมากเมื่ออยู่ในสถานการณ์นอกเหนือการควบคุม ทั้งของตัวเองและพ่อแม่ และระดับของความอ่อนแอที่พวกเขารับรู้ก็จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขา”

ความวิตกกังวลในการแยกจากในวัยเด็กจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย พวกเขาอาจผูกตัวติดอยู่กับพ่อแม่อย่างหนัก เมื่อเติบโตขึ้น พวกเขาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่รับมือกับการแยกจากและความเครียดไม่ได้เลย – กอร์ดอน บอก

“คำตอบไม่ได้อยู่จิตแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเป็นการทำความเข้าใจว่านี่เป็นปัญหาของชุมชน ไม่ว่าจะเด็กหรือพ่อแม่ที่ต้องได้รับการเยียวยาอย่างดีที่สุด”

ที่มา:
Separating Kids From Their Families Can Permanently Damage Their Brains
How the Stress of Family Separation May Permanently Damage Migrant Children

Tags:

จิตวิทยาปม(trauma)พัฒนาการทางอารมณ์Adverse Childhood Experiences(ACE)

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Relationship
    ทำไมเราถึงชอบเป็นผู้ให้และลำบากใจที่จะเป็นผู้รับ? ชวนมอง “การให้” ที่อนุญาตให้ผู้อื่นเป็นผู้ให้บ้าง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ MACKCHA

  • Life classroom
    VISION QUEST: กระโจนเข้าป่า หลอมรวมกับตัวตนที่หลงลืม

    เรื่องและภาพ กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Healing the trauma
    ปมฝังลึกที่หลงลืมไป อาจไม่เคยสูญหายและยังมีผลกับเราอยู่?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Family Psychology
    เคยเป็นลูกแบบไหน ก็จะเป็นแม่แบบนั้น

    เรื่อง ญาดา สันติสุขสกุล

  • Family Psychology
    THEY ARE WHAT YOU TEACH ลูกพ่อแม่ชอบสั่ง ไม่ชอบสอน

    เรื่องและภาพ SHHHH

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel