Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Healing the trauma
21 August 2018

เราต่างมีภูเขาน้ำแข็งอยู่ภายใน กลไกป้องกันตัวเองของเราเป็นแบบไหนกัน

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir 1916-1988) นักเขียน ครู และนักจิตบำบัดอเมริกัน ผู้บุกเบิกแนวคิดจิตบำบัดครอบครัว เสนอกรอบคิดอันโด่งดัง หนึ่งในนั้นคือ แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง (The Iceberg Model)

ซาเทียร์เห็นว่า ‘รอยแผล’ ของแต่ละคนอาจแตกต่าง มีได้หลายรอยแผล และผู้ที่ทำให้เกิดรอยแผลไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง แต่มาจากตัวละครหลากหลายที่กระทำต่อกันเป็นลูกโซ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ฝากรอยแผลไว้รอยใหญ่และหนักแน่นที่สุด คือ ‘สมาชิก’ ในครอบครัว โดยเฉพาะ พ่อ แม่ และปัญหาจากความสัมพันธ์ของคนทั้งสอง

และ ‘รอยแผล’ นี่เองที่สร้าง ที่สร้างวิธีคิด พฤติกรรม และที่สำคัญคือ ‘กลไกป้องกันตัวเอง (Coping Stance)’

‘กลไกป้องกันตัวเอง’ หรือรูปแบบพฤติกรรมที่มักแสดงเมื่อเจอกับปัญหา ต้องเผชิญกับความเครียด กลไกป้องกันตัวของแต่ละคนมักมีสารตั้งต้นจากประสบการณ์ในวัยเด็กหรือที่ได้รับจากครอบครัว แบ่งได้เป็น 5 พฤติกรรมใหญ่ โดยอธิบายผ่านความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเอง(self), คนอื่น (other) และบริบท (context)

Blaming : กลไก ‘ตำหนิ’ สนใจบริบทและตัวเอง ไม่สนใจคนอื่น

ตำหนิไว้ก่อน ใช้การตำหนิปิดบังความกลัว ยึดว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อถือคือสิ่งถูก เป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง หลายครั้งนำไปสู่ความหวาดระแวงผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้ที่มักป้องกันตัวเองด้วยการตำหนิ จะสนใจเนื้อหาและสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเชื่อ มักมีปัญหาทางสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจ

Placating : กลไก ‘เอาใจ’ สนใจบริบทและคนอื่น ไม่สนใจตัวเอง

เป็น Mr. Yes man มักยอมทำตามสิ่งที่ผู้อื่นร้องขอโดยไม่สนใจความรู้สึกตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ การปฏิเสธ หรือความรู้สึกบาดหมางระหว่างกัน เคารพคนอื่น แต่ไม่เคารพตัวเอง ผู้ที่มีกลไก ‘เอาใจ’ มักมีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ไมเกรน ท้องผูก

Super­reasonable : กลไก ‘มนุษย์เหตุผล’ สนใจบริบท ไม่สนใจตัวเองและคนอื่น

บางตำราเรียกว่า ‘มนุษย์คอมพิวเตอร์’ สนใจที่เนื้อหาและความถูกต้องเป็นหลัก รู้และเข้าใจหลักการอย่างถ่องแท้ ไม่ทำงานด้วยความรู้สึก คนมักจะมองคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ว่า เย็นชา เจ้าหลักการ ปัญหาสุขภาพมักเผชิญกับอาการเยื่อเมือกแห้ง เช่น ตาแห้ง เนื้อเยื่อในช่องปากแห้ง

Irrelevant : กลไก ‘เฉไฉ’ สนใจทั้งตัวเอง ผู้อื่น และบริบท

เราอาจพบว่าเขาคือนักเอ็นเตอร์เทน มีบุคลิกสนุกสนานเฮฮาและเข้าไปอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ทุกวง ดึงดูดความสนใจของตัวเองและคนอื่นให้หลุดออกจากความเครียดได้เก่ง บทสนทนามักเป็นเรื่องทั่วไปแต่ไม่จับยึดที่แก่นเรื่อง บางครั้งดูกระวนกระวาย หรือมีปฏิกิริยาล้นเกิน เช่น มักเป่าปาก กระพริบตาถี่ ร้องเพลง หลุกหลิก หรือไม่ก็เพิกเฉยต่อสถานการณ์เคร่งเครียดไปเลย

Congruence : สอดคล้องกลมกลืน ไม่ต้องใช้กลไกป้องกันตัวใดๆ เลย

เป็นภาวะที่ยอมรับ สมดุล เชื่อมโยง ยอมรับ หรือรู้สึกสงบอยู่ในภาวะนั้นๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ซาเทียร์ : เข้าใจตัวเอง ศิษย์ เพื่อน ผ่านที่มาครอบครัวและแบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)จิตวิทยาปม(trauma)ซาเทียร์The Iceberg Model

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Life classroom
    VISION QUEST: กระโจนเข้าป่า หลอมรวมกับตัวตนที่หลงลืม

    เรื่องและภาพ กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Family PsychologyBook
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family PsychologyHow to enjoy life
    SAND TRAY THERAPY: ปลดล็อคเรื่องเศร้าที่เล่ายากด้วยการบำบัดในถาดทราย

    เรื่อง

  • Family Psychology
    บำบัดจิตใจปั่นป่วนของพ่อแม่ ด้วยทฤษฎีระบบครอบครัวภายใน (IFS)

    เรื่อง ญาดา สันติสุขสกุล

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel