Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Growth & Fixed Mindset
3 October 2018

‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

เรื่อง

  • กล้า-เดชาพล เลิศสุรัตน์ เป็นหนึ่งในเยาวชนในโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ หนึ่งในผู้พัฒนาเครื่องรดน้ำเห็ดอัตโนมัติ Perfect KINOKO
  • กล้าเริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองชอบอย่างเรื่องของ IoT (Internet of Things) มาผสมกับความรู้ที่อยู่ใกล้ตัวอย่างการเพาะเห็ด และความรักในธรรมชาติของเขา
  • สมองของมนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในอารมณ์ที่มั่นคง และมีความเครียดเล็กน้อย ที่เกิดจากความท้าทาย
เรื่อง: วรุตม์ นิมิตยนต์

“ผมชอบงานด้านเน็ตเวิร์ค ได้แรงบันดาลใจมาจากพวกหนังแฮคเกอร์ แบบเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน”

‘กล้า’ เดชาพล เลิศสุรัตน์ ตอบคำถามว่าทำไมถึงเลือกเรียนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล้าคือหนึ่งในเยาวชนในโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ หนึ่งในผู้พัฒนาเครื่องรดน้ำเห็ดอัตโนมัติ Perfect KINOKO

“คุณครูมาชวนว่าอยากแข่ง NSC (การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย) ไหม เราก็เลยไปหาแนวคิดมาว่าอยากจะทำอะไรดี ก็ไปรู้จากคนใกล้ตัวที่ทำฟาร์มเห็ดอยู่ ส่วนตัวแล้วก็อยากทำเกี่ยวกับ IoT (Internet of Things) ก็เลยเสนอครูแล้วก็ทำเรื่องนี้”

สำหรับกล้า การเริ่มต้นยากมากเพราะเริ่มจากศูนย์ทั้งหมด ทั้งเรื่องเขียนโปรแกรมและการเพาะเลี้ยงเห็ด โดยเฉพาะเห็ด เพราะไม่ใช่แค่ปลูกเห็ด แต่รวมถึงการดูแล ทำความสะอาด ความสม่ำเสมอ ซึ่งต้องอาศัยทั้งวินัยและความรับผิดชอบ

“คนอื่นเขาอาจจะเริ่มจากเล็กๆ แล้วค่อยๆ ใหญ่ขึ้นใช่ไหม แต่อันนี้คือข้ามมาใหญ่เลย จะถอนตัวก็ยากมาก มาจนสุดทางแล้วก็ต้องทำให้สุด แล้วเราไม่ได้ทำคนเดียว ต้องดูแลเพื่อนๆ ด้วย” ความยากของกล้าเมื่อต้องเริ่มอะไรใหม่ ขณะเดียวกันก็ต้องเอาให้อยู่ทั้งเรื่องงานกับเรื่องเรียน

อีโก้ (Ego) สลายตัว

“พวกผมมีสี่คน ก็ต้องจัดการเวลา มีเพื่อนหนึ่งคนอยู่บางพระ ตอนเช้าเขาก็จะช่วยเก็บให้ เพราะเห็ดจะออกตอนแรกช่วงเช้า ส่วนอีกสามคนก็ต้องผลัดกันไป ก็ได้ครอบครัวไปส่ง ที่บ้านก็มีบ่นๆ บ้างว่ายังทำอีกเหรอ พอได้แล้ว แต่เราก็ไม่ได้สนใจมาก เพราะเขาไม่ได้มาทำกับเรา แต่ก็เข้าใจว่าเขาเป็นห่วง อยากให้เรียน แต่ผมเองก็ยังเรียนได้อยู่ เอาเข้าจริงเขาก็ไม่ได้ห้าม แค่เป็นห่วงเราเฉยๆ”

ส่วนการทำงานกับเพื่อนๆ เนื่องจากกล้าเองเป็นผู้ชายคนเดียวในกลุ่ม อีกทั้งยังอยู่คนละห้องกับคนอื่นด้วย (เพื่อนของกล้าอีก 3 คนอยู่ห้องเรียน Gifted ด้วยกัน) ซึ่งกล้าเองก็ยอมรับว่าตอนแรกมีปัญหามาก เพราะตัวเองมีอคติกับเพื่อน รู้สึกว่าคนพวกนี้ต้องคิดว่าตัวเองเก่ง ไม่ฟังความเห็นกล้าที่เป็นหัวหน้าทีม จนกระทั่งมีโอกาสได้พูดคุยเปิดใจกันในค่ายต่อกล้าให้เติบใหญ่

“ผมใช้วิธีเปิดใจรับ ตอนแรกคิดว่าพวกเขาอีโก้สูงแต่จริงๆ ไม่ใช่ ผมนี่แหละอีโก้สูงเอง เพื่อนๆ มีความคิดที่ดี ก็เข้าไปทำงานกับเขา ค่ายฯ ทำให้เราค้นพบตัวเองได้ หลังจากเรายอมรับตัวเราได้ เราก็รับตัวตนทุกคนได้ กลายเป็นคนไม่โกรธใคร เข้าใจคนอื่น ถึงบางทีเพื่อนจะเทงานใส่เราก็ตาม ก็ค่อยๆ ปรับตัวเข้าหาเขา”

เป้าหมายในฝัน

ทุกวันนี้กล้าเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่จริงๆ แล้วความฝันก่อนหน้านี้ของกล้าคือการเป็นพ่อครัว ทำอาหาร

“ตั้งแต่ ม.ต้น ผมตั้งใจจะเรียนทำอาหาร เพราะไม่อยากทำงานใต้ความกดดัน แข่งกับเวลา แต่เพิ่งมาเปลี่ยนความคิดได้ตอนอาจารย์ชวนทำโครงการฯ

“จริงๆ ความชอบผมมีหลายอย่าง ที่แน่ๆ คือปลูกต้นไม้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ให้ธรรมชาติดูแลตัวเอง อย่างผมเองก็ชอบให้สิ่งๆ นั้นดูแลตัวมันเองได้ ถ้าหากว่าเขียนโปรแกรมออกแบบระบบก็จะให้มันดูแลตัวของมันเองด้วยเหมือนกัน” กล้าย้ำในสิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถประยุกต์ให้เข้ากับโครงการที่ตัวเองทำได้

จนสำเร็จออกมาเป็นเครื่องรดน้ำเห็ดอัตโนมัติ ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง…

‘ทำ’ เป้าหมายให้เป็นจริง

เมื่อมีเป้าหมายแล้วก็ต้องไปให้ถึงจงได้ สเต็ปแรกคือ เข้าไปอยู่ในโรงเพาะเห็ดเลย

“ไปดูว่าทำไมมันชื้นแต่ก็ยังรดน้ำ ก็ไปเจอว่าโรงเห็ดมันร้อนเพราะเราตั้งกลางแจ้ง ลมพัดความชื้นออกไปหมด หลายคนก็แนะนำให้ย้ายที่ แต่เราก็ไม่อยากหนีปัญหา ทางเดียวที่ต้องทำคือทำให้เครื่องเราใช้งานได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม”

กล้าและเพื่อนๆ เลือกที่จะเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง พร้อมที่จะปรับแก้เมื่อเกิดปัญหา ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจ และแตกต่างกับเด็กหลายคนที่ไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัวว่าจะผิด

“คิดว่าเรื่องผิดมันมีอยู่แล้ว เรารอให้มันสำเร็จแล้วใช้งานจริงไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์จบลงที่ไหน ถ้าทำได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องกล้าเผยแพร่ไปก่อน ถ้ามีปัญหาก็รับมาแล้วแก้ เพื่อให้ไปถึงจุดร้อยเปอร์เซ็นต์ให้ได้ ไม่ใช่รอทำถึงร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วค่อยออกขาย”

เป้าหมายที่เกินคาด

กล้าบอกถึงความรู้สึกหลังจากได้ทำโครงการฯ ว่า “สนุกมากครับ ไม่คิดว่าจะมาไกลขนาดนี้ จากโครงงานเล็กๆ กลายมาเป็นนานาชาติ เพื่อนๆ เองก็ไม่นึกเหมือนกันว่าจะมาถึงสามปี

“ตอนเข้าโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ เริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่แค่เล่นๆ เพราะตอนนั้นมีคำถามว่า อยากจะทำให้ออกไปใช้ได้จริงไหม ผมก็อยาก แต่ไม่นึกว่าจะต้องมาทำเรื่องการตลาด เรื่องผู้ใช้งาน เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่โครงการธรรมดา แต่มันกำลังกลายเป็นของออกสู่ตลาด

“ตกใจมากว่าจะมีคนใช้ของเราไหม แล้วใครจะมาใช้อะไรแบบนี้”

กล้าคนใหม่

หลังจากผ่านช่วงเวลาที่ทำงานอย่างหนักมาสามปี กล้าเล่าให้ฟังถึงมุมมองของครูในโรงเรียนที่มองกล้าเปลี่ยนไป เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น การพูดจา วางตัว ที่ดีกว่าเดิม รวมถึงการทำงานที่จริงจัง และทุ่มเทมากขึ้น เพราะกล้าอยากให้งานสำเร็จ มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่เพื่อคะแนน แต่อยากเห็นผลของงานที่เกิดขึ้น

“เรามีความคล่องแคล่วในการแบ่งงานมาก เพราะเรามักสำรวจว่าเพื่อนถนัดอะไร มีศักยภาพแบบไหน ทำให้เราแบ่งคนไปทำงานได้ถูกที่ และด้วยความที่เคยทำมาก่อน เราก็เลยรู้ว่าควรทำอะไรบ้าง และงานที่ดีมันควรจะออกมาเป็นแบบไหน”

กล้าบอกเล่าทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม เพราะสุดท้ายสิ่งที่พวกเขาเริ่มต้น ด้วยความไม่คาดฝันว่ามันจะกลายมาเป็นงานที่ใหญ่ กินเวลาหลายปี และออกดอกผลส่งให้เขาสามารถใช้เป็นใบเบิกทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยและได้เรียนในคณะที่เขาตั้งใจไว้

ตลอดระยะเวลาที่นั่งคุยกับกล้า เราแทบไม่จำเป็นต้องให้คำถามอะไรมาก เหมือนสิ่งที่เขาทำมันอยู่ในตัวของเขาอยู่แล้ว กล้าสามารถพูด บอกเล่าได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะทุกอย่างผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง

ในส่วนของพัฒนาการทางสมอง กล้าทำให้เราเห็นได้ชัดเจนว่า การเปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้ลงมือทำงานของพวกเขาอย่างเต็มที่นั้นส่งผลชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองของพวกเขา ซึ่งแสดงออกผ่านทางพฤติกรรม การวางตัว การทำงาน ที่แตกต่างไปจากเด็กวัยรุ่นทั่วไป

เพราะการเรียนรู้แบบ active learning ที่ได้ลงมือทำจริง ทำให้พวกเขาใช้ศักยภาพของสมองทุกส่วน การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ผูกโยงกับสมองส่วน limbic ที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ซึ่งเติบโตเต็มที่ในช่วงของวัยรุ่น ให้เกิดเป็นพลังเพื่อให้พวกเขากล้าที่จะทดลองผิดถูก เพราะรู้ว่าปลายทางความสำเร็จนั้นมีเป้าหมายที่ท้าทายให้พวกเขารอไปพิชิตอยู่

ในทางกลับกัน หากเป้าหมายนั้นไม่ท้าทาย หรือยากจนเกินกว่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้สำเร็จ สมองของพวกเขาก็จะไม่กระตุ้นให้พวกเขาลงมือทำ ดังนั้นในฐานะคนจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือครอบครัวที่ดูแลเด็กวัยรุ่น เราจะทำอย่างไรให้พวกเขารู้สึกมั่นคงพอที่จะกล้าออกไปเผชิญกับเป้าหมาย และความท้าทายแบบไหนที่สร้างความเครียดเพื่อกระตุ้นพวกเขาในระดับที่พอดี

ถ้าหากเราสร้างมันได้ดีพอ เราก็จะได้เห็นการเติบโตของพวกเขาที่เต็มศักยภาพ พร้อมกับความเป็นไปได้ไม่รู้จบอย่างแน่นอน

Tags:

วัยรุ่นคาแรกเตอร์(character building)อาชีพโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่นวัตกรรมนวัตกร

Author:

Related Posts

  • Voice of New Gen
    รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative learningCharacter building
    OR HEALTH: ชุดปลูกต้นอ่อนข้าวสาลีอินทรีย์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์ผู้จากไปด้วยโรคมะเร็ง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Unique Teacher
    ‘ครูฝ้าย’ ครูผู้ชักใยและชวนเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตนอกห้องเรียนด้วย PROJECT BASED LEARNING

    เรื่อง

  • Growth & Fixed Mindset
    คิดว่า ‘ทำได้’ เพราะได้ลงมือทำ: สิ่งที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Voice of New Gen
    OUR DARKEST NIGHT เกมสายดาร์คของเด็กมัธยม บ่มจาก PASSION

    เรื่อง

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel