Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Social Issues
3 June 2019

HOW WE POST โกรธแต่กดเลิฟ

เรื่อง ภาพ SHHHH

“ถ้าอยากเข้าใจวัยรุ่น ให้ไปลองเล่นทวิตเตอร์นะครับ แต่ให้เล่นสักพักหนึ่งแล้วคุณจะเห็นเลย ที่ชัดที่สุดคือ เคยมีคนกล่าวไว้ว่า เฟซบุ๊ค คือ ‘คนรู้จัก ที่คุยกันไม่รู้เรื่อง’ ส่วนทวิตเตอร์ คือ ‘คนไม่รู้จัก ที่คุยกันรู้เรื่อง’ ”

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร Blognone กล่าวไว้ช่วงหนึ่งในเวทีเสวนา WHY WE POST: เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต 

ประเด็นสำคัญของเวทีนี้คือทำความเข้าใจการใช้โซเชียลมีเดียของวัยรุ่น เช่น ทำไมโซเชียลมีเดียถึงมีพลังแห่งการสร้างตัวตน ทำไม IG’s story ที่ทำลายตัวเองภายใน 24 ชั่วโมงถึงยอดนิยม

“ผมพยายามทำความเข้าใจ แต่ย้อนคิดตอนที่เราเรียน เวลาเบื่อๆ เราก็วาดรูปใส่กระดาษแล้วปาใส่เพื่อน เพื่อนก็วาดแล้วปากลับมา เสร็จแล้วเราจะเก็บกระดาษเหล่านั้นไว้ไหม? นี่อาจเป็นคำอธิบาย Snapchat หรือ IG’s story ก็คือการสื่อตัวตนโดยไม่ต้องการให้มันคงอยู่ถาวร”

นอกจากนี้ อิสริยะอธิบายเรื่องการใช้แพลตฟอร์มของวัยรุ่นสมัยนี้ว่าแต่ละคนไม่ได้ใช้แค่แพลตฟอร์มเดียว และแต่ละแพลตฟอร์ม ก็ยังมีได้ตั้งหลายแอคเคาท์ เช่น แอคเคาท์หลุม กรุ๊ปไลน์ย่อย

ไม่แปลกที่วัยรุ่นคนเดียวจะมีหลายแอคเคาท์ เอาไว้แสดงออกต่างกันแม้ในเรื่องเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแอคเคาท์แบบเปิดเผยตัวตนก็พร้อมจะกดรักให้กับทุกเรื่อง เลิฟทุกคนรอบข้าง แต่ถ้าเป็นแอคหลุมแบบ anonymous ก็พร้อมจะตั้งการ์ด ฟาดฟัน พลาดปุ๊บเหยียบซ้ำ ขุดด้านมืดของตัวเองมาถล่มด่าไม่ยั้ง  – ไม่เป็นไรนี่ ไม่มีใครรู้จักฉัน

แต่นั่นแหละ…โลกใบที่สอง (หรือสาม สี่ ห้า) ของฉัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ WHY WE POST: เพราะโซเชียลมีเดียฉาบฉวยหรือช่องว่างระหว่างวัยทำให้ไม่เข้าใจกัน

Tags:

โซเชียลมีเดียวัยรุ่น

Author:

Illustrator:

illustrator

SHHHH

Related Posts

  • Voice of New Gen
    จากติ่งเกาหลีสู่ Active Citizen: ลำโพงขนาดใหญ่ผู้ขับเคลื่อนประเด็นสังคมและการเมือง

    เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    SEXTING คือ SEX+TEXT ไม่ใช่เรื่องเซ็กส์ แต่คือพัฒนาการ

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • How to get along with teenager
    ทำไมลูกหายใจเข้าออกเป็น ‘IG’ (INSTAGRAM)

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • How to get along with teenager
    อินสตาแกรม 101: รู้ไว้ให้ ‘ลูก’ ใช้เป็น

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • How to get along with teenager
    วัยรุ่นยุคก้มหน้า “ถ้าเราเงยขึ้นมา พ่อแม่จะคุยกับเราไหมล่ะ”

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel