Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Education trend
25 May 2021

Global Citizenship Education: เราจะสอนให้นักเรียนเป็นพลเมืองโลกได้อย่างไร

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ อัคคเดช ดลสุข

  • ในห้วงเวลานี้ผู้คนบนโลกกำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ การกดขี่ และความไม่เป็นธรรมในหลากหลายพื้นที่ การศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมองสังคมที่ไปไกลกว่าแค่พรมแดนรัฐชาติ 
  • แนวคิดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก หรือ Global Citizenship Education (GCE) การส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนรู้ มีส่วนร่วม และเชื่อมโยงตัวเองกับประเด็นโลกในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา
  • การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก เป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ในทุกวิชา โดยวางอยู่บนกรอบสำคัญที่ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้และความเข้าใจ 2) ทักษะ และ 3) คุณค่าและทัศนคติ
  • บทบาทครูผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผล การแสดงความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นที่ในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย และสนับสนุนให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะทางดิจิทอล (Digital skill) และการรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) ที่สำคัญต้องนำเอาประเด็นที่เกิดขึ้นจริงในโลกหรือในชีวิตของนักเรียนมาออกแบบบทเรียนด้วย  

เราอยากเห็นโลกนี้เป็นอย่างไร?

คำถามจากชั้นเรียนในช่วงวัยเด็กที่ชวนให้ผมจินตนาการหาคำตอบ ผมจำไม่ได้ว่าคำตอบของผมเป็นอย่างไรในตอนนั้น แต่ทว่าคำถามนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมได้เริ่มหันมามองผู้คนที่ไกลกว่าสังคมที่ตัวเองอาศัยอยู่ นั่นก็คือสังคมโลก  

ในปัจจุบันเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในโลกศตวรรษที่ 21ซึ่งเต็มไปด้วยความท้าทายและปัญหาที่ซับซ้อนบนร่องรอยในยุคสมัยก่อนหน้า เราอาจเคยเห็นภาพข่าวผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องหนีตายจากสงครามในบ้านเกิด การปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐต่อผู้เห็นต่างทางการเมืองในหลายประเทศ การลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวของคนจำนวนมากทั่วโลกเพื่อเรียกร้องให้รัฐสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม การรณรงค์เรียกร้องเพื่อยุติเหยียดเชื้อชาติและสีผิว หรือแม้กระทั่งการมาของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่ยิ่งตอกย้ำว่าความเหลื่อมล้ำของผู้คนในพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้หายไปในโลกสมัยใหม่  

หากเรามองสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนจากเส้นแบ่งพรมแดน เราก็อาจรู้สึกว่าเหตุการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเรื่องของผู้คนในสังคมอื่น เราอาจเป็นเพียงผู้เฝ้ามองหรือคนที่ผ่านมารับรู้และผ่านไป แต่ในทางกลับกัน หากเราลองลบเส้นแบ่งพรมแดนเหล่านั้นออก หรือมองเห็นผู้คนในฐานะ ‘เพื่อนมนุษย์’ นั่นก็อาจทำให้สังคมในสายตาของเราขยายกว้างขึ้น มันเป็นสังคมโลก มีผู้คนที่หลากหลายอยู่ร่วมกับเรา สำหรับผมแล้วมุมมองแบบนี้คือสำนึกการเป็นพลเมืองโลก และช่วยให้เรามีคำถาม ความคิด และความรู้สึกที่เชื่อมโยงถึงกัน 

หากวันใดวันหนึ่ง เพื่อนมนุษย์จากอีกซีกโลกหนึ่งต้องหนีตายจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือเราได้ยินข่าวผู้คนในบางประเทศถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ย่อมต้องมีคำถามว่าตัวเราจะเข้าไปมีส่วนรวมต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง 

ดังนั้น หากเรามองโลกด้วยมุมมองแบบที่สอง คำถามต่อมาที่จะเกิดขึ้นก็คือ การศึกษาควรรับมือกับความท้าทายในการสร้างมนุษย์เพื่อเป็นพลเมืองโลกอย่างไร

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก

ที่ผ่านมาแนวคิดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก หรือ Global Citizenship Education (GCE) ได้ถูกพูดถึงในระดับนานาชาติมาโดยตลอด โดยมี UNESCO เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน แนวคิด GCE คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนรู้ มีส่วนร่วม และเชื่อมโยงตัวเองกับประเด็นโลกในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา กล่าวได้ว่าในด้านหนึ่ง GCE เป็นการสร้างสำนึกการเป็นพลเมืองโลกผ่านความรู้ความเข้าใจ และอีกด้านหนึ่งคือส่งเสริมให้เขามีส่วนรวมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก โดยตระหนักเสมอว่าเราล้วนมีพันธะในการสร้างโลกและอนาคตที่ดีกว่าเดิม   

Henry Giroux นักการศึกษาชาวอเมริกัน ได้ให้มุมองที่น่าสนใจว่า

ในห้วงเวลานี้ผู้คนบนโลกกำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ การกดขี่ และความไม่เป็นธรรมในหลากหลายพื้นที่ การศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมองสังคมที่ไปไกลกว่าแค่พรมแดนรัฐชาติ 

พร้อมกันนี้ต้องสร้างให้ผู้เรียนมีความกล้าหาญในการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองบนหลักการประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่เพียงปัญหาในชาติตัวเองเท่านั้น โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้คิด มองเห็น และตระหนักถึงเรื่องราวที่ไม่ธรรมในชีวิตประจำวันเชื่อมโยงกับประเด็นโลก อาจกล่าวได้ว่า GCE ได้มุ่งสร้างพลเมืองที่เป็นมากกว่าการรู้และปฎิบัติตามกฎหมาย เพราะบางครั้งสิ่งเหล่านี้เองก็อาจทำให้เกิดการแบ่งแยกกีดกัด ความไม่ยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การสร้างพลเมืองโลกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าตั้งคำถาม และท้าทายกับระเบียบ กฎหมาย และโครงสร้างของสังคมที่เขามองเห็นว่าไม่เป็นธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นจนไปถึงระดับสังคมโลก  

เราจะสอนให้นักเรียนเป็นพลเมืองโลกได้อย่างไร

หากเป้าหมาย คือ การทำให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการเป็นพลเมืองและเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง Oxfam องค์กรที่ทำงานด้านพลเมืองโลก ได้เสนอว่า การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก เป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ในทุกวิชา โดยวางอยู่บนกรอบสำคัญที่ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้และความเข้าใจ 2) ทักษะ และ 3) คุณค่าและทัศนคติ ดังต่อไปนี้

ความรู้และความเข้าใจ(Knowledge and understanding) ทักษะ(Skills) คุณค่าและทัศนคติ(Values and attitudes)
ความยุติธรรมทางสังคมและความเสมอภาค Social justice and equityการคิดเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์Critical and creative thinkingความรู้สึกของตัวตนและความนับถือตนเองSense of identity and self – esteem
อัตลักษณ์และความหลากหลายIdentity and diversityความเข้าอกเข้าใจEmpathyความมุ่งต่อความยุติธรรมทางสังคมและความเสมอภาคCommitment to social justice and equity
โลกภิวัฒน์และการพึ่งพาอาศัยกันGlobalization and interdependenceการตระหนักรู้ในตนเองและการสะท้อนSelf – awareness and reflectionเคารพผู้คนและสิทธิมนุษยชนRespect for people and human rights
การพัฒนาที่ยั่งยืนSustainable developmentการสื่อสารCommunicationความหลากหลายของคุณค่าvalue diversity
สันติภาพและความขัดแย้งPeace and conflictความร่วมมือและการแก้ไขความขัดแย้งcooperation and conflict resolutionการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการมุ่งมันสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนConcern for environment and commitment to sustainable development
สิทธิมนุษยชนHuman rightsความสามารถที่จะจัดการความซับซ้อนและความไม่แน่นอนability to manage complexity and uncertaintyการเข้าไปเป็นมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งcommitment to participation and inclusion
อำนาจและการปกครองPower and governanceการกระทำที่อยู่บนข้อมูลและการไตร่ตรองinformed and reflective actionความเชื่อว่าผู้คนสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้Belief that people can bring about change

ทั้งนี้ การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านจะเกิดขึ้นได้ บทบาทครูผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผล การแสดงความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นที่ในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย และสนับสนุนให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะทางดิจิทอล (Digital skill) และการรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ที่สำคัญต้องนำเอาประเด็นที่เกิดขึ้นจริงในโลกหรือในชีวิตของนักเรียนมาออกแบบบทเรียนด้วย ครูผู้สอนอาจใช้วิธีการแบบโสเครตีส (Socratic method) การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning) หรือการเรียนรู้ผ่านปรากฏการณ์ (Phenomenon Based Learning) มาเป็นแนวทางหลักในการจัดการเรียนรู้แบบข้ามรายวิชาหรืออยู่ในรายวิชา ตัวอย่างเช่น  

  • วิชาคณิตศาสตร์ : นำตารางอันดับฟุตบอล (FIFA  ranking) หรือตารางเหรียญแข่งขันโอลิมปิคมาพูดคุยกับนักเรียนว่า ทำไมบางประเทศถึงมีโอกาสชนะมากกว่าประเทศอื่น หรือแท้จริงมันมีความไม่เป็นธรรมซ่อนอยู่
  • วิชาวิทยาศาสตร์  : สำรวจดูภาวะโลกร้อนว่าส่งผลกระทบต่อผู้คนในพื้นที่ต่างๆของโลกอย่างไร รวมไปถึงส่งเสริมให้นักเรียนได้วิเคราะห์สาเหตุ และฝึกใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ คาดการณ์อนาคตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • วิชาภาษาอังกฤษ  : สำรวจดูว่าภาษาพูดถูกใช้สื่อสารเพื่อท้าทายความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างไร จากนักต่อสู้คนสำคัญของโลก เช่น เนลสัน เมนดาลา เป็นต้น  
  • วิชาสังคมศึกษา : วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการอพยพของผู้คนไปยังพื้นที่ต่างๆ การอพยพเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม หรือปัญหาในมิติอื่นๆ อย่างไรบ้าง

สุดท้ายนี้ หากเราอยากเห็นโลกที่ยุติธรรม เท่าเทียม และเคารพคุณค่าที่แตกต่างกันของมนุษย์ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่ให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น พร้อมๆ กับลงมือสร้างสังคมโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม ท่ามกลางปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อน

อ้างอิง
หนังสือ โลภาวิวัฒน์ :ความรู้ฉบับพกพา(ฉบับปรับปรุงเนื้อหาใหม่) เขียนโดย Manfred B.Steger และแปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
GLOBAL CITIZENSHIP GUIDES
WHAT IS GLOBAL CITIZENSHIP
Global Citizenship Guides
Global citizenship education 
Critical Citizenship Education Through Geography
Critical Pedagogy and Global Citizenship Education

Tags:

พลเมืองประชาธิปไตยอรรถพล ประภาสโนบลGlobal Citizenship Education

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Illustrator:

illustrator

อัคคเดช ดลสุข

Related Posts

  • Social Issues
    การเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษา โอกาสสำคัญในการเปิดพื้นที่การเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย: ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร

    เรื่อง ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร

  • Learning Theory
    อยากเห็นเด็กๆ โตเป็นพลเมืองที่ดี การเมืองต้องเป็นเรื่องที่พูดได้ เถียงได้ในห้องเรียน

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ PHAR

  • Learning Theory
    พื้นที่ที่ 5 (THE 5TH SPACE) สำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อค้นพบศักยภาพและเปลี่ยนแปลงสังคม

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ มานิตา บุญยงค์

  • Learning Theory
    ห้องเรียนเผด็จการ สังคมก็เผด็จการ ‘ประชาธิปไตย’ จึงต้องเริ่มต้นในห้องเรียน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนาทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Learning Theory
    สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel