Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Character building
2 August 2018

CQ: CURIOSITY QUOTIENT ความอยากรู้อยากเห็นที่นำไปสู่การเรียนรู้และอยู่รอด

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • “อันนั้นคืออะไรคะ” “ทำไมอันนี้ต้องเป็นอย่างนี้ครับ” คำถามซ้ำๆ หลายๆ รอบของลูก พ่อแม่อาจมองว่าน่ารำคาญแต่ถ้าเข้าใจลูกสักนิด ก็จะรู้ว่าเด็กๆ กำลังเรียนรู้
  • ‘ความอยากรู้อยากเห็น’ หรือ CQ เป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยสร้างความมั่นใจและลดความกลัวจากการไม่รู้ 
  • โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลมากมายและง่ายดาย แต่จะตัดทอนปฏิสัมพันธ์ในชีวิตจริงออกไป ถ้าพ่อแม่ คุณครูอดทน และพาเด็กไปค้นหาคำตอบด้วยตัวเด็กเอง เขาจะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับความมั่นใจและรักการเรียนรู้

โลกยุคปัจจุบัน การหาคำตอบให้กับสิ่งที่สงสัยทำได้ง่ายเหลือเกิน เรามีอินเทอร์เน็ตเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ข้อมูลที่เชื่อถือได้ทุกแขนงสามารถสืบเสาะได้ง่ายนิดเดียวหากรู้จักกลั่นกรองหาข้อเท็จจริง นั่นเป็นวิวัฒนาการที่ดีที่เกิดขึ้น เราไม่จำเป็นต้องออกไปถามหาจากครู อาจารย์ หรือผู้รู้ แต่อีกด้านหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ถูกบั่นทอนลงไป

เราใช้เวลาสื่อสารกับวัตถุอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ระบบตอบโต้ด้วยเสียงใน iPhone อย่าง ‘Siri’ หรือ ใน Amazon TV อย่าง ‘Alexa’ นับไปนับมาเราให้เวลาอยู่กับวัตถุพวกนี้มากกว่าคนรอบตัวเสียด้วยซ้ำ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองมองข้ามไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดูลูกที่จะเติบโตขึ้นมาในเจเนอเรชั่นที่รอบตัวเต็มไปด้วยวัตถุดึงดูดความสนใจแบบนี้

โทมัส ชาโมร์โร-พรีมูซิค (Tomas Chamorro-Premuzic) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาธุรกิจ University College London และ Columbia University รวมทั้งเป็นคณะทำงาน Harvard’s Entrepreneurial Finance Lab เขียนบทความเรื่อง ‘Curiosity is as Important as Intelligence’ หรือ ‘ความสงสัยใคร่รู้สำคัญเท่ากับความฉลาด’ ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review นิตยสารที่มีความน่าเชื่อถือและมีชื่อเสียง จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า มีคุณลักษณะทางจิตวิทยาที่สำคัญ 3 อย่างที่ช่วยให้มนุษย์อยู่รอดในสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ได้ ได้แก่

ไอคิว (IQ: Intellectual Quotient) ความฉลาดทางปัญญา ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เสาะหามาได้

อีคิว (EQ: Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ สองอย่างแรกเป็นคุณลักษณะที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ

ซีคิว (CQ: Curiosity Quotient) ความอยากรู้อยากเห็น ที่เปิดโอกาสให้ตัวเองเรียนรู้จากผู้อื่นและโลกภายนอก

ชาโมร์โร-พรีมูซิค บอกว่า คนที่มีซีคิวสูงเป็นคนชอบถามคำถาม ชอบพูดคุยเพื่อสร้างสัมพันธ์กับผู้คน ชอบเปิดประสบการณ์ใหม่ เห็นความแปลกใหม่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เลยเบื่อง่ายหากต้องทำอะไรซ้ำซากจำเจ ทำให้ชอบคิด มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถคิดแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ แตกต่างจากไอคิวที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจองค์ความรู้และหลักการต่างๆ แต่ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

แล้วผู้ปกครองจะช่วยสร้างซีคิวให้ลูกได้อย่างไร?

การเลี้ยงดูให้เด็กเติบโตขึ้นมาโดยไม่ถูกปิดกั้นความคิด…ช่วยได้  

วิธีการแสดงออกถึงความสงสัยใคร่รู้อย่างหนึ่งของเด็ก คือ ‘การตั้งคำถาม’ โดยเฉพาะกับคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู การถามซึ่งๆ หน้าหรือตัวต่อตัว นอกจากทำให้ได้รับความรู้ใหม่ที่ตอบข้อข้องใจแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เพราะต้อง ‘ฟัง’ ความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น

ความเข้าใจนี้ทำให้เราสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ไม่ยาก และยังทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่สนิทสนมใกล้ชิดกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เราอยู่กับสภาพแวดล้อมที่พร้อมมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามากำจัดความสงสัยใคร่รู้ของเราอยู่เสมอ นี่คือสิ่งที่ต้องพึงระวัง เช่น พ่อแม่มักรู้สึกรำคาญหรือขี้เกียจตอบคำถาม เมื่อลูกถามเยอะ ถามไม่หยุด โรงเรียนเข้มงวดให้เด็กทำตามระเบียบ เชื่อฟังครูมากกว่าเปิดโอกาสให้นักเรียนพูดคุยสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้นักเรียนไม่กล้ายกมือถามหรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เพราะกลัวถามออกไปแล้วครูบอกว่าผิด กลัวถามคำถามโง่ๆ หรือกลัวถามไปแล้วโดนดุ เป็นต้น

ดังนั้น ความสงสัยใคร่รู้ จึงเป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่า และควรค่าแก่การปลูกฝังและดูแลให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความกลัวจากการไม่รู้ ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า

“I have no special talents. I am only passionately curious.”

“ฉันไม่มีพรสวรรค์พิเศษ ฉันมีแต่ความอยากรู้อยากเห็น”

อยากส่งเสริมให้ลูกเป็นคนช่างสงสัย พ่อแม่ควรเริ่มจากตรงไหนดี?

จูลี สคาเกล (Julie Scagell) นักเขียน ถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงลูกของตัวเองลงในคอลัมน์ On Parenting หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ถึง 5 วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่มีความสนใจใคร่รู้ว่า

หนึ่ง คำถามสั้นๆ เมื่อเด็กเริ่มพูดได้ เช่น “อะไร อะไร?” หรือแม้แต่คำถามตลอด 10 นาทีระหว่างทางขับรถ เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจ แต่เคล็ดไม่ลับที่สคาเกล บอกไว้อย่างแรกคือ อย่าเพิ่งตอบคำถามในทันที แต่ควรแนะนำช่องทางหรือวิธีการให้ลูกหาคำตอบด้วยตัวเองอย่างเหมาะสมตามอายุ เช่น ให้เข้าห้องสมุด ให้ไปสอบถามจากผู้รู้ ใช้อินเทอร์เน็ต หรือดูสารคดีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถาม

สอง ตอบคำถามด้วยคำถาม ครั้งหนึ่งลูกชายของเธอ ถามขึ้นว่า “เถ้าจากภูเขาไฟเผาไหม้มนุษย์อย่างเราได้ไหม?”

“แล้วลูกคิดว่าได้ไหม” สคาเกล ถามกลับ

“ผมคิดว่าได้ เราไม่ควรสร้างบ้านใกล้ภูเขาไฟ เว้นเสียแต่ว่าเราจะมีพลาสเตอร์ปิดแผลกล่องใหญ่ๆ อยู่ในบ้าน” ลูกชายตอบ ซึ่งเป็นคำตอบที่เธอมองว่าสมเหตุสมผลตามช่วงวัยของลูกชาย

สาม เปลี่ยนเรื่องเล่าก่อนนอน เปลี่ยนพล็อตเรื่อง สลับตัวละครหรือสลับเหตุการณ์ แล้วถามความคิดเห็น เพื่อให้ลูกจินตนาการเรื่องราวหรือตอนจบด้วยตัวเอง

สี่ การจะได้อีกสิ่งหนึ่งต้องทำสิ่งหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ ยกตัวอย่าง หากลูกขอค่าขนมเพิ่มสำหรับซื้อเสื้อผ้า ขอนอนตื่นสายหรือนอนดึกกว่าเดิม ให้โจทย์ลูกไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วให้ลองวิเคราะห์ว่า คุณลักษณะอะไรทำให้พวกเขามีชีวิตแบบนั้น เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ เส้นทางการเติบโตในชีวิตด้วยตัวเอง

ห้า เล่นเกม “อยากเป็นหรือทำอะไร ระหว่าง…กับ…?” เช่น อยากเป็นอะไรระหว่างสไปเดอร์แมนกับแบทแมน? อยากนอนอยู่ท่ามกลางฝนหรือหิมะที่กำลังตกลงมา? อยากอาศัยอยู่ในประเทศที่หนาวหรือร้อน? แล้วถามหาเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบนี้ เพื่อให้ลูกได้ฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล

ไม่ว่าโลกใบนี้จะมีความซับซ้อนมากขนาดไหน ถ้าเรามีคุณลักษณะที่เหมาะต่อการใช้ชีวิตในแต่ยุคสมัย หรือในแต่ละช่วงเวลา ความซับซ้อนก็กลายเป็นความเรียบง่ายได้ พ่อแม่สามารถเปลี่ยนชั่วโมงคำถามของลูกให้เป็นความสนุกสนานเหมือนอยู่ในสนามเด็กเล่นได้หากรู้วิธีการ

การเปลี่ยนความกลัวของลูกให้เป็นความกล้า ทำให้ได้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ แถมยังทำให้การตอบคำถามแบบ non-stop กลายเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายสำหรับผู้ปกครองมากกว่ามาหงุดหงิด หรือรำคาญใจเมื่อไร้คำตอบ ที่สำคัญเป็นการเปิดพื้นที่ให้ความสนใจใคร่รู้ของลูกได้เติบโต เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านอื่นๆ ในชีวิตต่อไป

ที่มา: Curiosity Is as Important as Intelligence
“Let’s Find Out!”: Three Tips for Raising Curious Kids
Curiosity is the number one trait of awesome people
Five ways parents can encourage kids to be curious

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsความสงสัยใคร่รู้(Curiosity)

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • Creative learningCharacter building
    OR HEALTH: ชุดปลูกต้นอ่อนข้าวสาลีอินทรีย์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์ผู้จากไปด้วยโรคมะเร็ง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Social Issues
    ล้าหลัง เชื่องช้า แต่อย่าเฉยชา ความหวังที่ยังไม่หมดของระบบการศึกษา

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Grit
    S.M.A.R.T GOAL ตั้งเป้าหมายให้ชัด ใกล้ ใช่ และจริง – ไม่ล้มเหลวแน่นอน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Character building
    เรากลายเป็นคนที่ ‘ไม่ตั้งคำถาม’ ไปตั้งแต่เมื่อไรกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel