Skip to content
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Education trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skills
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
21st Century skills
18 August 2018

ชีวิตง่ายขึ้น เมื่อตัดสินใจได้เฉียบ เข้าใจได้ขาด

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • การคิดเชิงวิพากษ์ อาจฟังดูยาก แต่เป็นสิ่งที่เราใช้งานแทบทุกวัน
  • ความสงสัยใคร่รู้และความอยากรู้อยากเห็น จะช่วยให้การคิดเชิงวิพากษ์เฉียบขาดยิ่งขึ้น
  • แน่นอน ฝึกได้ตั้งแต่เด็กๆ ไม่ต้องเสียค่าเรียนราคาแพง พ่อแม่หรือคนที่บ้านก็สอนได้

จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราใช้ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) อยู่ทุกวันทั้งเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เพื่อให้เข้าใจผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตัวเอง หรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว

ลองนึกดูดี ๆ ถึงการวางแผนเส้นทางเพื่อเดินทางไปยังที่ ๆ ไม่เคยไป วันที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางเพื่อเดินทางไปทำงาน หรือแม้แต่กิจกรรมยามว่างอย่างการต่อจิ๊กซอว์ เล่นเกม หรือดูรายการเกมโชว์ที่ต้องใช้ความคิด หลาย ๆ ครั้ง ผู้ใหญ่ยังมองบางเรื่องที่เอ่ยมาข้างต้นว่า…เป็นเรื่องยาก

ความคิดเชิงวิพากษ์ในที่นี้ เป็นมากกว่าการคิดอย่างชัดเจนและมีเหตุผล แต่รวมถึงการคิดอย่างอิสระ เป็นการคิดที่รวบรวมหลักการและความคิดเห็นจากประสบการณ์หรือข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปด้วยตัวเอง โดยไม่เอาความกดดันหรือข้อกังวลจากผู้อื่นมาเกี่ยวข้อง การคิดเชิงวิพากษ์จึงเป็นแบบแผนในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงความคิดภายในบุคคล แต่ยังเคารพมุมมองและความคิดของผู้อื่น

บทความเรื่อง ความสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์ในเด็ก หรือ The important of critical thinking for young children โดย ไคลีย์ ไรน์มาโนวิสซ์ (Kylie Rymanowicz) นักการศึกษา การศึกษาปฐมวัย จาก Michigan State University บอกว่า การคิดเชิงวิพากษ์เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ผู้ปกครองต้องช่วยปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ มีความกล้าตัดสินใจ และคิดแก้ปัญหาได้อย่างเฉียบขาด คุณลักษณะนี้จะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ท่ามกลางสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พวกเขาจะตัดสินใจและจัดการกับตัวเอง หรือแม้แต่ความคาดหวังของคนรอบข้างได้ โดยไม่ตกอยู่ในความพะวงหรือความลังเลสงสัย

เอเลน กาลินสกีย์ (Ellen Galinsky) ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Families and Work Institute (FWI) อธิบายถึงการสอนเด็กให้มีความคิดเชิงวิพากษ์ ไว้ในหนังสือ “Mind in the Making: The seven essential life skills every child needs” ว่า ความสงสัยใคร่รู้ หรือ ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะนี้ต้องเริ่มจากการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ (แตกต่างกันตามแต่ละช่วงวัย) เช่น จากการเล่านิทานของพ่อแม่ จากการเรียนในห้องเรียน จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ วิดีโอหรือบทความต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้รับข้อมูลที่เปิดกว้าง ได้วิเคราะห์สิ่งที่รับรู้ และมีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจด้วยตัวเอง

กระบวนการทำงานของสมองเมื่อรับข้อมูลเข้ามา ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกส่งเข้าไปเก็บยังคลังข้อมูลหรือ ‘ห้องสมุดในสมอง’ ผ่านการกลั่นกรองเพื่อเลือกสรรว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นสิ่งที่เคยรับรู้มาก่อนแล้ว เป็นข้อมูลใหม่ หรือเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือข้อค้นพบใหม่ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ข้อมูลหรือความเชื่อเดิม

จะว่าไปการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษอะไร แต่เป็นคุณลักษณะที่หลายครั้งไม่ได้ถูกนำมาใช้เพราะโดนปิดกั้นจากการเลี้ยงดูและจากเงื่อนไขทางสังคม สถาบันวิจัย Michigan State University ( MSU ) Extension เสนอ 5 เคล็ดลับในการช่วยให้เด็กเรียนรู้และฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ไว้ ได้แก่

หนึ่ง กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น

เห็นได้ว่าความอยากรู้อยากเห็น และการคิดเชิงวิพากษ์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาไปด้วยกันได้ คำถามหาเหตุผลด้วยความอยากรู้ว่า “ทำไม?” อาจเป็นคำถามที่ทำให้พ่อแม่หลายคนขยาด แต่แทนที่จะตอบคำถาม ซึ่งหลายคำถามพ่อแม่เองก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ผู้ปกครองสามารถตั้งคำถามกลับเพื่อให้เด็กสร้างสมมุติฐาน คิดทฤษฎีและทดลองหาคำตอบด้วยตัวเอง กระตุ้นให้เด็กสำรวจและตั้งคำถามต่อ เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์ว่าพวกเขาสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป

หรือแม้แต่การสอนในห้องเรียน ครูสามารถตั้งคำถามให้นักเรียนระดมความคิด แล้วเขียนคำตอบที่เป็นไปได้ลงในกระดาษเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง แล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน

สอง เรียนรู้จากผู้อื่น

ผู้ปกครองต้องช่วยกระตุ้นให้เด็กคิดอย่างลึกซึ้ง โดยการปลูกฝังให้เด็กมีความรักในการเรียนรู้ เมื่อเด็กมีความปรารถนาหรือความกระตือรือร้นอยากทำความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวเกิดขึ้นได้อย่างไร พวกเขาจะเริ่มตั้งคำถามอื่นๆ ตามมา ซึ่งจะนำไปสู่การคิดวิเคราะห์เพื่อกลั่นกรองข้อมูลต่อไป

สาม ช่วยเด็กๆ ประเมินข้อมูล

เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย บางเรื่องเป็นเรื่องที่ตั้งใจค้นคว้าหาคำตอบ แต่หลายๆ เรื่องเป็นเรื่องที่ต่อให้ไม่อยากรู้ก็ต้องรู้ ดังนั้นการรับข้อมูลที่มีอยู่อย่างท่วมท้นจึงต้องมีการประเมิน เพื่อพิจารณาว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นความจริงหรือไม่ มีความสำคัญหรือน่าเชื่อถือหรือไม่
ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้ได้ ด้วยการชวนลูกตั้งคำถามถึงที่มาของข้อมูล ชวนคิดว่าข้อมูลที่รู้มานั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับความรู้เดิมที่พวกเขามีอยู่ และให้พวกเขาประเมินว่าสิ่งที่ได้รับรู้มานั้นมีความสำคัญหรือไม่ เพราะอะไร คำตอบไม่มีถูกผิดเพราะสิ่งที่ต้องการคือ การให้เด็กได้ลองคิดประเมินข้อมูลด้วยตัวเอง

สี่ ส่งเสริมให้เด็กทำในสิ่งที่เขาสนใจ

ในวัยเด็ก เมื่อพวกเขาสนใจเกี่ยวกับอะไรสักอย่าง พวกเขาจะมีความพยายามมุ่งมั่นหาคำตอบ ขั้นตอนการพยายามค้นหาคำตอบเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ สำหรับผู้ปกครอง เช่น เด็กอาจมีความสนใจเรื่องรถบรรทุกหรือพาหนะ หรือมีความสนใจเรื่องแมลง ซึ่งผู้ปกครองมองว่าไม่น่าจะเป็นประโยชน์ ผู้ปกครองอาจจะชอบหรือไม่ชอบ หรือเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองต้องสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจและอยากทำ

ห้า สอนทักษะการแก้ปัญหา

เมื่อต้องจัดการกับปัญหาหรือข้อขัดแย้ง เราจำเป็นต้องใช้การคิดเชิงวิพากษ์เข้ามาจัดการ เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ การคิดเชิงวิพากษ์จึงต้องอาศัยการฝึกฝน เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง เด็กจะสามารถตอบสนองต่อปัญหาหรือข้อขัดแย้งได้อย่างมีสติ ประเมินได้ว่าควรเริ่มจัดการจากส่วนไหนก่อนและหลังตามความสำคัญ

แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่มีทางอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกโตขึ้น ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ไปสู่วัยทำงาน กระทั่งมีครอบครัวเป็นของตัวเอง ตลอดเส้นทางการเติบโตทุกคนต้องเจอสถานการณ์หลากหลายให้ต้องตัดสินใจ แม้ไม่สามารถการันตีผลลัพธ์จากการตัดสินใจได้ แต่คุณลักษณะการคิดเชิงวิพากษ์ จะช่วยให้ตัดสินใจด้วยความเข้าใจ จากการคิดวิเคราะห์ผ่านข้อมูล ประสบการณ์และจากความเคลื่อนไหวในสังคมรอบตัว ลดความสุ่มเสี่ยงจากการโดนชี้นำหรือชักจูงไปในทางที่ผิด

ที่มา: The importance of critical thinking for young children
12 Solid Strategies for Teaching Critical Thinking Skills

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsการคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • Creative learningCharacter building
    สามหนุ่มอาชีวะนักพัฒนา เจ้าของ WIMC อุปกรณ์ตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Creative learning
    มีชัยพัฒนา: โรงเรียนนี้นักเรียนเป็นใหญ่

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • Education trend
    การศึกษาไม่ได้ล้มเหลวแค่ล้าหลัง: PASSION และ PURPOSE หัวใจสำคัญของการศึกษาใน INNOVATION ERA

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Character building
    ENTREPRENEURSHIP: ไม่ใช่พ่อรวยสอนลูก แต่คือหลักสูตรผู้ประกอบการที่สอนให้ทำได้ ทำเป็น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่าเข้าใจไหมและไม่รีบเฉลยคำตอบ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel