Skip to content
Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Myth/Life/CrisisLife classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy life
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)
Early childhoodEducation trend
14 November 2017

ภาวะประสาทหูเสื่อม: ถึงเวลาปกป้อง ‘หู’ และการได้ยินของลูกน้อย

เรื่อง The Potential

  • ภาวะประสาทหูเสื่อม ไม่ใช่อาการหูหนวก แต่คือภาวะที่ประสาทหูค่อยๆ เสื่อมลงจากการได้รับเสียงดังเกินสมควรและสะสมเป็นเวลานาน
  • ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ ยกให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการปกป้องการได้ยินแห่งชาติ
  • ประเด็นนี้จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ โดยเฉพาะครูในห้องเรียนเพื่อออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมต่อการป้องกันในระยะยาว

ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ‘หู’ นับเป็นอวัยวะที่ต้องได้รับการปกป้องระมัดระวังอย่างที่สุด และไม่ใช่แค่การดูแลทำความสะอาดหรือคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญว่าห้ามแหย่คอตตอนบัดเข้าไปทำความสะอาดในรูหู แต่เรากำลังพูดกันถึงเรื่อง…

ระดับเสียงเท่าใด ที่มีผลต่อภาวะประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน (Noise-induced Hearing Loss: NIHL) ในระยะยาว

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน คือภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะโลกสมัยใหม่ที่หูของเราต้องปรับตัวให้เคยชินกับระดับเสียงที่เข้มข้นและหวีดดังเกินกว่าระดับเสียงปกติ ไม่ว่าจะจากการทำถนน ทำแนวรถไฟฟ้า เสียงผู้คนตะโกนคุยกันข้ามโต๊ะทำงาน เสียงรายการโทรทัศน์ของคุณแม่ที่ดังแข่งกับเสียงเครื่องตัดหญ้าของคุณพ่อ ต่างๆ เหล่านี้คือตัวอย่างของสภาพแวดล้อมที่อึกทึกครึกโครมที่ (หู) เราเคยชิน

ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาระดับ ‘คำเตือนจากแพทย์’ แต่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) นับเป็นปัญหาระดับชาติ ถึงกับกำหนดให้เดือนตุลาคม 2016 เป็นเดือนแห่งการปกป้องการได้ยินแห่งชาติ หรือ National Protect Your Hearing Month

ข้อมูลจากเว็บไซต์ hearingloss.org  ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ตัวเลขโดยเฉพาะกลุ่มว่า 2 ใน 3 ของเด็กอเมริกัน 1,000 คน เกิดมาพร้อมกับปัญหาด้านการได้ยิน และ 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุ 6-19 ปี มีปัญหาด้านการได้ยินในระดับต่างๆ

Noisy Planet หนึ่งในโครงการของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักต่อเรื่องนี้ โดยเฉพาะการปกป้องสุขภาพหูของเด็กๆ เจนเนอเรชั่น Z อันมีหูฟังเชื่อมกับสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ข้างกาย

ดังเท่าไรจึงเรียกว่าดัง?

ในบทความ How Loud Is Too Lond? How Lone Is Too Long? โดยโครงการสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ อธิบายระดับเสียงที่คนหูปกติจะได้ยินไว้ดังนี้

  • 0 เดซิเบล คือเสียงที่คนจะได้ยิน (สำหรับคนหูปกติ)
  • 30 เดซิเบล เสียงกระซิบ เสียงแรกที่หูมนุษย์เริ่มจับใจความได้
  • 60 เดซิเบล เสียงระดับการสนทนา (ที่ควรจะเป็น) ทั่วไป
  • 85 เดซิเบล ‘ขึ้นไป’ คือเสียงจากหูฟังเครื่องเล่นเพลงปกติ
  • 105 เดซิเบล คือเสียงจากหูฟังเครื่องเล่นเพลงในระดับสูงสุด
  • 120 เดซิเบล เสียงไซเรนของรถพยาบาล

โดยระดับเสียงที่เริ่มอันตรายแล้วก็คือ 85 เดซิเดลขึ้นไป และขึ้นอยู่กับระยะห่างที่เรายืนอยู่กับจุดกำเนิดเสียง ทั้งความดัน (pressure) อันมีผลต่อความเข้มข้น หวีดแหลมทรงพลังของระดับเสียงนั้นๆ ด้วย

นอกจากปัจจัยเรื่องความดัง ระยะห่างระหว่างต้นกำเนิดเสียงและจุดที่ยืนแล้ว ยังเป็นเรื่องพันธุกรรม ที่ทำให้แต่ละคนทนความดังของเสียงได้ไม่เท่ากันอีกด้วย

เด็กๆ ต้องถูกปกป้องจากการรังควานของเสียงดังวุ่นวาย

ในบทความเรื่อง ‘Children Need to Be Taught to Protect Their Hearing’ (เด็กๆ จำเป็นต้องถูกปกป้องจากการได้ยิน) โดยชาริ เอเบิร์ทส (Shari Eberts) ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีภาวะประสาทหูเสื่อม เธอเป็นนักเขียนและคณะทำงานองค์กรเรื่องภาวะประสาทหูเสื่อมแห่งอเมริกา (Trustees of Hearing Loss Association of America)

เธอเขียนงานชิ้นนี้ขึ้นเพื่อแชร์ประสบการณ์และตั้งใจสื่อสารถึงผู้ปกครองและคุณครู เพื่อสร้างความตระหนักและป้องกันประเด็นการได้ยินของเด็กๆ ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพทางสมองและอวัยวะ รวมทั้งเป็นช่วงวัยสำคัญในการสร้างนิสัยส่วนตัว ซึ่งจะพัฒนาเป็นนิสัยและบุคลิกภาพระยะยาว

ในบทความนี้ เธออธิบายว่า ทำไมผู้ปกครองจึงควรปกป้อง และสร้างนิสัยแห่งการ ‘พูดค่อยๆ ฟังเบาๆ’ ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

แน่นอนว่านี่คือประเด็นสุขภาพ (หู) ในระยะยาว

เอเบิรทส์ยกผลสำรวจปี 2010 พบว่าชาวอเมริกันกว่า 50 ล้านคนประสบปัญหาด้านการได้ยิน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และพบว่าวัยรุ่นในกลุ่มตัวอย่างราว 1 ใน 5 มีประสบการณ์ทางการได้ยินเช่นเดียวกัน โดยรายละเอียดวิจัยนั้นชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขในช่วง 10 ปีก่อนหน้า พบว่าผู้มีแนวโน้มจะมีภาวะนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ

ประเด็นเรื่องปกป้องการได้ยิน จำเป็นที่จะต้องรณรงค์ในโรงเรียน

เช่นเดียวกับการให้ความรู้เรื่องเพศและปัญหาสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ที่เห็นได้ชัดว่าการรณรงค์นั้นได้ผล เอเบิร์ทส์และงานวิจัยชิ้นดังกล่าวแนะนำคล้ายกันว่า เรื่องนี้ควรยกให้เป็นประเด็นหลักที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ โดยเฉพาะครูในห้องเรียนเพื่อออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมต่อการป้องกันในระยะยาวต่อไป

ยิ่งเร็วยิ่งดี

การพูดเสียงดัง ฟังอะไรเสียงดัง ถือเป็นนิสัยอันเกิดจากการเลี้ยงดูให้เคยชินในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ ซึ่งการปลูกฝังให้เด็กๆ เข้าใจและมีนิสัยการใช้เสียงที่ปลอดภัยนั้น ยิ่งปลูกฝังเร็วก็ยิ่งดีทั้งต่อการสร้างนิสัยและสุขภาพหูด้วย

วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน

สุดท้ายเป็นเรื่องของการป้องกัน ซึ่งอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในเมืองหลวงของประเทศไทยที่ปัจจุบันมีการก่อสร้างและพัฒนาเมืองเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะสร้างและขุดถนน หรือการทำแนวรถไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหู ยังทำให้เราเคยชินกับเสียงดังจนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปได้

สิ่งที่อาจทำได้คือ ตระหนักในเรื่องนี้ และพยายามลดพฤติกรรมที่ต้องเข้าใกล้สถานที่อึกทึกครึกโครม สร้างสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นที่ปลอดภัยจากเสียงดังเกินเหตุ หรือเทคนิคง่ายๆ อย่างการใช้ที่อูดหู (earplugs) ก็เป็นตัวเลือกที่เข้าท่าไม่น้อย


อ้างอิง:
cdc.gov
noisyplanet.nidcd.nih.gov
psychologytoday.com
jamanetwork.com
hearingloss.org

Tags:

พ่อแม่การได้ยิน

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Juno: การรับมือกับท้องไม่พร้อม และการบอกสิ่งที่ตัวเองตัดสินใจ(ด้วยตัวเอง)กับครอบครัว

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    เล่าเรื่องอย่างใส่ใจใคร่ครวญ: พ่อแม่เข้าใจตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใจลูกมากเท่านั้น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    ถึงเวลาปลูก ‘ฟาร์มคิดสร้างสรรค์’ โลกต้องการเด็กตั้งคำถามมากกว่าทำตามคำสั่ง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    ไม่ผิดหรอกหากพ่อแม่จะกอดตัวเองบ้าง

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel