Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Family Psychology
15 October 2018

ไม่ผิดหรอกหากพ่อแม่จะกอดตัวเองบ้าง

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • ไม่มีใครทำถูกไปทุกเรื่อง คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็เช่นกัน
  • แต่เมื่อถีงวันแย่ๆ เช่น รถติด ลูกสอบตก ผิดสัญญากับลูก เผลอเสียงดังหรือกระทั่งระเบิดความโกรธใส่ลูก… ก็คนเป็นพ่อเป็นแม่นี่แหละที่กลับไปโบยตีตัวเองทุกครั้งเพราะความเป็น ‘มนุษย์’ ของตัวเอง
  • รู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจตัวเองบ้าง – ไม่เพียงดีต่อพ่อแม่ แต่จิตใจของลูกๆ จะแข็งแกร่งและอบอุ่น

“ต่อให้ทำดีแค่ไหน ฉันก็เป็นพ่อแม่ที่แย่สุดๆ อยู่ดี” – ครั้งสุดท้ายที่โบยตีตัวเองด้วยความรู้สึกล้มเหลวแบบนี้คือเมื่อไหร่

อาจเป็นตอนคุณเจอวันแย่ๆ ที่ทำงาน รถติด ลูกสอบตก ผิดสัญญากับลูก เผลอเสียงดังหรือกระทั่งระเบิดความโกรธใส่ลูก แล้วแอบไปโมโหร้องไห้เกรี้ยวกราดใส่ตัวเองซ้ำๆ

บ่อยครั้งที่เราต่างพยายามเป็นพ่อแม่สุดเพอร์เฟ็คต์ให้ลูกเห็น แต่ท้ายสุดแล้ว ตัวอย่างที่ ‘จริง’ ที่สุดต่างหากคือสิ่งที่เราจะมอบให้ลูกได้ และอาการเครียดจัดไม่เคยช่วยให้ใครหรืออะไรดีขึ้น

เด็กๆ จับอารมณ์ได้

“เด็กๆ จะอ่อนไหวเป็นพิเศษกับอารมณ์ของพ่อแม่” สเตฟานี สมิธ (Stephanie Smith) นักจิตวิทยาคลินิก กล่าว “ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่ไม่ควรแสดงอารมณ์ออกมา แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือวิธีจัดการอารมณ์ตัวเองให้เด็กๆ เห็น”

ความเครียดที่ไม่ได้รับการผ่อนคลายจะส่งผลต่อวิธีปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ และความรู้สึกของพวกเขา ทั้งยังสร้างนิสัยไม่ดีในครอบครัวได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะคุณหมดเรี่ยวแรงจะลุกขึ้นทำอาหาร

ทีมนักวิจัยพบว่า เด็กที่พ่อแม่รู้สึกเครียดจะกินอาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อย ออกกำลังกายน้อยลง และมีโอกาสอ้วนมากขึ้น

สถานการณ์จะดีขึ้นทันทีเมื่อคุณพยายามสงบจิตใจตัวเองลง เด็กๆ เองก็จะเรียนรู้วิธีรับมือความเครียดด้วยการเฝ้าดูพ่อแม่ หากคุณคลายเครียดด้วยการใช้อาหาร จอทีวี หรือพฤติกรรมไม่ดีต่างๆ คุณกำลังสื่อสารกับลูกว่านี่คือวิธีผ่อนคลายที่ดีที่สุด และเขาก็จะเลียนแบบคุณทันที

ยิ่งเห็นใจตัวเอง ยิ่งเลี้ยงลูกดีขึ้น

คริสติน เนฟฟ์ (Kristin Neff) ศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมและการพัฒนามนุษย์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ผู้หยิบเรื่อง การเมตตาตนเอง (Self-Compassion) ขึ้นมาพูดเป็นครั้งแรก บอกว่า

“ความเห็นอกเห็นใจตนเองจะมอบดินแดนแสนสงบ เป็นที่หลบภัยจากทะเลที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของการตัดสินใจไม่ว่าจะในแง่บวกหรือลบก็ตาม”

ผลการศึกษาหนึ่งพบว่า ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ พ่อแม่ที่มีความเห็นใจตัวเองจะมีแนวโน้มระดับความเครียดและอาการซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มที่พ่อแม่เข้มงวดและลงโทษตัวเองเสมอ ผลการศึกษาพ่อแม่ของเด็กที่มีภาวะออทิสติกในปี 2015 ระบุว่า ความเห็นใจตนเองเชื่อมโยงกับความพึงพอใจ ความหวัง และการเอาชนะเป้าหมายในชีวิตได้อีกครั้ง ส่วนผลการศึกษาอีกชิ้นพบว่า การเห็นอกเห็นใจตัวเองสามารถเป็นโล่ป้องกันตัวเองจากความรู้สึกแง่ลบของคนอื่นต่อการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่มีภาวะออทิสติก

ผลการศึกษาใหม่จาก เอมี มิทเชลล์ (Amy E. Mitchell) เกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจตัวเองของแม่และผลต่อทารก พบว่า แม่ที่คุ้นเคยกับความคิดว่าตนไม่ได้โดดเดี่ยวและมีน้ำใจให้ตัวเองอยู่เสมอ จะรู้สึกเห็นอกเห็นใจตัวเองมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแม่ที่ไม่เคยได้ลองทำ และพวกเธอต่างรู้สึกเครียดน้อยลง มีความสุขกับการให้นมลูกมากกว่าด้วย

5 วิธีใจดีกับตัวเองได้ทุกวัน

ผลการศึกษาหลายชิ้นเห็นตรงกันว่า การเมตตาตัวเองเป็นขุมพลังป้องกันแรงกระแทกจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน โดยทำได้ภายใน 3 ขั้นตอน คือ ชื่นชมตัวเองให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ฝึกส่งความปรารถนาดีให้คนรอบข้าง และนึกภาพคนสำคัญของคุณเมื่อต้องการแรงหนุน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือแม้แต่เพื่อนรักของคุณเอง

นอกจากนี้ เรายังมีอีก 5 วิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ทั้งวัน ลองดูนะ

• พักยืดเส้นยืดสาย เผลอๆ ลูกคุณอาจร่วมวงแล้วค้นท่ายืดตัวแบบใหม่ให้คุณลองด้วยก็ได้
• ทาโลชั่น พูดขอบคุณร่างกายในระหว่างทา ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้กับการดูแลตัวเองได้ทุกแบบแม้กระทั่งการแปรงฟัน อาศัยจังหวะนี้บอกลูกด้วยก็ได้ว่าคุณกำลังใจดีกับร่างกายด้วยการดูแลมันอย่างดี
• ดื่มน้ำสะอาด ร่างกายที่ตึงเครียดต้องการน้ำไปปลอบประโลม – อันนี้คุณก็รู้อยู่แล้วนี่นา
• แหงนหน้ามองฟ้า แล้วหายใจลึกๆ เด็กๆ จะรับรู้ว่าธรรมชาติช่วยทำให้คุณรู้สึกสงบลง
• เขียนไดอารีหรือวาดรูปเล่น วิธีนี้คุณยังชวนลูกๆ มาเขียนหรือวาดอยู่ข้างกันได้ด้วย

อย่าลืมว่า เด็กๆ กำลังเฝ้ามองคุณอยู่ ไม่ใช่เรื่องแย่หากจะบอกให้ลูกรู้ว่าคุณต้องการเวลาอยู่คนเดียวเพื่ออ่านหนังสือหรือออกไปวิ่งเพื่อผ่อนคลายตัวเอง

“เพราะนั่นคือการแสดงให้ลูกเห็นว่า ทุกคนต่างต้องพบเจอเรื่องเลวร้ายและมันก็จะดีขึ้น” เจมี โฮวาร์ด นักจิตวิทยาคลินิก จากสถาบัน Child Mind Institute บอก

อ้างอิง:
How Your Stress Affects Your Kids
Greater Good Magazine

Tags:

พ่อแม่จิตวิทยาการจัดการอารมณ์

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Family Psychology
    พ่อแม่ห้ามด้วยความเป็นห่วงแต่ลูกตีความว่าถูกตำหนิ และอีกหลายความขัดแย้งในบ้าน อ่านวิธีคลี่คลายที่นี่

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • How to enjoy lifeBook
    DESIGNING YOUR LIFE: ปัญหาที่แก้ไม่ได้ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นสถานการณ์ไม่ต่างกับ ‘แรงโน้มถ่วง’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Relationship
    HURTING YOURSELF = HURTING YOUR KID แม่เจ็บ ลูกยิ่งเจ็บ

    เรื่อง The Potential ภาพ SHHHH

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    สมองวัยรุ่น เมื่อต้องรับมือกับความผิดหวัง อกหัก!

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    รักที่จะรัก: เมื่อลูกๆ มีความรัก พ่อแม่จะทำอย่างไรดี?

    เรื่อง The Potential

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel