Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Transformative learning
28 February 2023

4 ไอเท็มที่ครูอาจจำเป็นต้องมี ในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บัตรลดอคติ สิ่งของของฉัน สีของวัฒนธรรม และไพ่ความหลากหลาย คือ 4 ไอเทมจำเป็นที่ใช้จัดการเรียนรู้ในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม โดยครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนของตัวเองได้
  • ‘บัตรลดอคติ’ เป็นสื่อกลางเพื่อบอกว่าบางครั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างก็มีอคติ เช่น เรามักจะเลือกคุยกับคนที่มีบางอย่างคล้ายกับเรา ซึ่งอาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้ฟังมุมมองที่ต่างไป
  • นักการศึกษาพหุวัฒนธรรมเห็นว่า บทเรียนและชั้นเรียนจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพาให้นักเรียนตั้งคำถามถึงความปกติ ความคุ้นชินที่ถูกส่งต่อมา ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นกำลังผลิตซ้ำสังคมแบบใด และเราจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ย้อนกลับไปในภาคเรียนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสลงเรียนรายวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education) สำหรับหลักสูตรปริญญาโท ความน่าสนใจของวิชานี้ คือนอกจากจะให้มุมมองสำคัญตามที่ผมเคยเขียนเล่าไปในบทความ ‘ทำไมครูควรมีมุมมองพหุวัฒนธรรมศึกษา’ ยังมีสิ่งเล็กๆ แต่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ ‘ไอเท็ม’ จากอาจารย์ผู้สอน ซึ่งช่วยให้เห็นภาพชั้นเรียนที่วางอยู่บนแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาได้ชัดเจนขึ้น 

ห้องเรียนที่มีมุมมองเชิงพหุวัฒนธรรมนั้นมีหน้าตาแบบไหน วิธีการเรียนรู้เป็นอย่างไร ข้อเขียนนี้จึงเป็นภาคต่อที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ ผ่าน 4 ไอเท็มที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนของตัวเองได้

ไอเท็มที่ 1 ‘บัตรลดอคติ’

มนุษย์อย่างเราๆ มีอคติอยู่เสมอ หลายครั้งในชั้นเรียน ครูมักเชื่อว่าตัวเองให้ความสำคัญกับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีความลำเอียง ไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือเพ่งเล็งใครเป็นไปพิเศษ แต่งานศึกษาจำนวนหนึ่งกลับบอกกับเราว่าห้องเรียนนั้นมีอคติเกิดขึ้นเสมอ ทั้งในมิติเรื่องเพศ ชนชั้น และอื่นๆ (อ่านเพิ่มเติมใน ‘ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา’) ที่อาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อคติเหล่านั้นอาจแสดงออกผ่านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กกลุ่มเดิมๆ ที่มักถูกให้ความสำคัญ สนใจ หรือตอกย้ำ ด้วยเหตุผลบางอย่าง เช่น เด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมทางลบ เป็นต้น  

ตลอดการเรียนในวิชานี้ อาจารย์จะเน้นให้นักศึกษาได้พูดคุยแลกเปลี่ยน จับคู่ และแชร์ความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราได้พูดสิ่งที่คิดและรับรู้มุมมองของเพื่อนร่วมชั้น ผมจำได้ว่าในช่วงแรกของการเรียน การจับคู่พูดคุยจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่ดูธรรมดา เช่น เลือกคนที่นั่งอยู่ข้างๆ เรา เลือกคนที่เรายังไม่เคยคุยด้วย ฯลฯ แต่เมื่อเข้าสู่กลางเทอม อาจารย์เข้ามาพร้อมกับบัตรกระดาษ ซึ่งผมขอเรียกมันว่า ‘บัตรลดอคติ’ ที่กลายเป็นไอเท็มหลักของการจับคู่หรือจับกลุ่มพูดคุย 

บัตรแต่ละใบจะบอกสีของสติกเกอร์ และจำนวน (ดูตามภาพ) ซึ่งแต่ละคาบก็จะสับเปลี่ยนไป คนที่เราจะได้พูดคุยด้วยจึงวางอยู่บนเงื่อนไขระหว่างสีกับสี หรือ จำนวนกับจำนวน ตัวอย่างเช่น คนที่ได้สีแดงจับคู่กัน คนที่ได้จำนวนสามจับคู่กัน หรือในกลุ่มบัตรจำนวน 3 ขอให้คนได้สีเข้มที่สุดเป็นคนแชร์ข้อสรุปให้เพื่อนคู่อื่นฟัง 

บัตรลดอคติคือไอเท็มที่อาจารย์ใช้เป็นสื่อกลางเพื่อบอกกับทุกคนว่าบางครั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างก็มีอคติ เช่น เรามักจะเลือกคุยกับคนที่มีบางอย่างคล้ายกับเรา คนที่ดูมีความสามารถ หรือคนที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจ ซึ่งอาจเป็นคนเดิมๆ ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้ฟังมุมมองที่ต่างไป 

วิธีนี้ช่วยให้การถูกเลือกปฏิบัติลดลง มากไปกว่านั้น สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือการหมุนเวียนให้แต่ละคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ทำให้อำนาจในการพูดไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง

ไอเท็มที่ 2 ‘สิ่งของของฉัน’ 

เป็นธรรมเนียมของการเรียนในวิชานี้ ทุกครั้งก่อนเริ่มบทเรียน ใครคนใดคนหนึ่งของชั้นเรียนจะต้องออกมาเล่าเรื่องราวของตัวเองจาก ‘สิ่งของ’ ที่ตัวเองติดไว้บนแผนที่ขนาดใหญ่ที่ผนังห้อง โจทย์สำคัญคือการบอกเล่าว่าเรามาจากส่วนไหนของโลกใบนี้ และทำไมเราถึงเลือกนำสิ่งนั้นมาติดไว้ มันเกี่ยวข้องกับตัวตนของเรา หรือสัมพันธ์กับสังคมที่เราอยู่มาอย่างไร ผมได้สัมผัสเรื่องราวของเพื่อนๆ ที่ต่างกันออกไป บางคนเลือกหยิบภาพถ่ายมาบอกเล่าถึงความรู้สึกของการเติบโตท่ามกลางการเป็นคนส่วนน้อยในสังคม ขณะที่บางคนเลือกหนังสือที่เล่าถึงความสัมพันธ์ที่เขามีต่อครอบครัวหรือคนรัก รวมไปถึงเรื่องเล่าของความเจ็บปวดจากการดำรงอยู่อย่างไร้เสรีภาพ ก็ได้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านสิ่งของและแผนที่บนผนังด้วยเช่นกัน

ใจความสำคัญของการบอกเล่าตัวตนผ่านสิ่งของในมุมมองของพหุวัฒนธรรรมศึกษา ผมมองว่าเป็นการศึกษา (pedagogy) แบบหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นว่าตัวตนของเราท่ามกลางคนอื่นๆ ถูกประกอบสร้างขึ้นมาอย่างไร ภายใต้ระบบวัฒนธรรมและโครงสร้างอำนาจ และในขณะเดียวกันเราได้ให้ความหมาย ยอมรับ หรือท้าทายระบบและโครงสร้างเหล่านั้นอย่างไร  

ไอเท็มที่ 3 ‘สีของวัฒนธรรม’

ครั้งหนึ่ง อาจารย์สุ่มแจกสติกเกอร์สีให้ทุกคนติดบนหน้าผาก ซึ่งแต่ละสีจะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมหนึ่งๆ ใครได้รับสติกเกอร์สีอะไรก็จะต้องอ่านข้อมูลวัฒธรรมของสีนั้น ว่ามีข้อปฏิบัติ ข้อห้ามอย่างไรบ้าง รวมถึงมีทัศนคติต่อวัฒนธรรมสีอื่นๆ อย่างไร 

จากนั้นสมาชิกในชั้นเรียนก็เริ่มแสดงบทบาทสมมติด้วยการเดินไปหาเพื่อนคนอื่นในห้อง และปฏิสัมพันธ์กันโดยไม่มีการใช้เสียง ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมสีชมพู (Pink culture) จะสื่อสารด้วยการสัมผัสโดยใช้นิ้วทั้ง 4 ยกเว้นหัวแม่มือ และมองเห็นตัวเองด้อยกว่าคนในวัฒนธรรมสีดำ (Black culture) ขณะที่วัฒนธรรมสีน้ำเงิน (Blue culture) จะรู้สึกผิดต่อวัฒนธรรมสีชมพู โดยต้องพยายามแสดงออกให้ทุกคนในวัฒนธรรมอื่นเห็นว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร และมักจะทักทายด้วยการคล้องแขน แต่ห้ามใช้แขนหรือมือซ้าย

กิจกรรมนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเริ่มแรกที่ทำให้เราตระหนักถึงวัฒนธรรมของผู้คนที่แตกต่างไปจากเรา เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจ (ซึ่งเป็นมุมมองแบบพหุวัฒนธรรมสายเสรีนิยม) แต่หากมองให้ลึกลงไปผ่านมุมมองพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ เครื่องมือนี้กำลังชวนเราคิดไปมากกว่านั้น แท้จริงวัฒนธรรมต่างๆ กำลังดำรงอยู่ด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจบางอย่างที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำไมคนในวัฒนธรรมหนึ่งถึงรู้สึกด้อยกว่าหรือมองเห็นตัวเองสูงกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง? วิธีคิดหรือความรู้สึกเช่นนั้นถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร? และมันทำงานอย่างไรต่อสังคม? วัฒนธรรมเหล่านั้นทำให้เกิดการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติหรือไม่?

ไอเท็มที่ 4 ไพ่ความหลากหลาย

หลังจบกิจกรรมหนึ่งที่ต้องใช้ไพ่เป็นสื่อกลาง อาจารย์ได้แชร์เรื่องราวของ Maayan เด็กหญิงซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับกติกาสากลของไพ่ได้อย่างน่าสนใจ “ทำไมไพ่คิงจึงมีค่ามากกว่าควีนเสมอ” “ทุกเพศเท่าเทียมกัน แล้วทำไมไพ่ควีนถึงมีค่าน้อยกว่า” คำถามเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นให้เธอพยายามสร้างระบบไพ่แบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นระบบการเล่นที่เธอมองว่ายุติธรรมกว่า เพราะเป็นไพ่ที่ทุกเพศเท่าเทียมกัน 

ที่ผ่านมาเรามักคุ้นเคยกันกันดีกับไพ่ที่ประกอบด้วยชายและหญิง โดยเฉพาะไพ่คิงที่ถูกนำเสนอเป็นภาพของผู้ชายและอยู่ในลำดับชั้นอำนาจสูงสุดจากการให้นัยยะแต้ม และกลายเป็นสิ่งที่ถูกทำให้คุ้นชินจนเราไม่ทันได้สังเกต 

นักการศึกษาพหุวัฒนธรรมจึงเห็นว่า บทเรียนและชั้นเรียนจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพาให้นักเรียนตั้งคำถามถึงความปกติ ความสามัญธรรมดา ความคุ้นชินที่ถูกส่งต่อมา ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นกำลังผลิตซ้ำสังคมแบบใด และเราจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร 

อย่างไรก็ตาม 4 ไอเท็มข้างต้นจะไม่มีความหมายเลย หากเรามองมันเป็นเพียงเทคนิควิธีการเพื่อเพิ่มลูกเล่นและความน่าสนใจให้บทเรียน แต่มันจะมีความหมายอย่างยิ่งเมื่อเราใฝ่ฝันถึงสังคมที่เป็นธรรม และสร้างมันขึ้นมาจากบทเรียนของเรา

อ้างอิง

ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา

https://thepotential.org/knowledge/multicultural-education/

Israeli teen revamps classic playing cards to represent gender equality

https://www.jpost.com/israel-news/israeli-girl-revamps-classic-playing-cards-to-represent-gender-equality-627520

Tags:

พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)ครูการเรียนรู้อคติการตั้งคำถามนักเรียนห้องเรียน

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูสังคมเจนใหม่ หนึ่งในสมาชิก ‘กลุ่มพลเรียน’ ที่อยากสอนให้เด็กๆ กล้าตั้งคำถาม และมองเห็นว่า การคิดต่างไม่ใช่เรื่องผิด

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ สิริเชษฐ์ พรมรอด

  • Unique Teacher
    ‘ครูงอกงามจากเด็ก’ พรสวรรค์ ศิริวัฒน์: ครูเกษียณผู้ใช้จิตศึกษาและ PBL เปลี่ยนมายเซ็ตให้ทั้งครูและเด็กเป็นนักเรียนรู้

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Transformative learning
    ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    ทำอย่างไรให้ห้องเรียนน่าเบื่อน้อยลง?

    เรื่อง ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    ‘ครูคือคนที่สร้างความแตกต่าง’ ความทรงจำ ตัวตน และจุดยืนการสอน

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel