Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Family Psychology
11 May 2018

ถ้าไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก – ประโยคที่เด็กอยากได้ยินมากที่สุด

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • ในนามความรักและความหวังดี พ่อแม่มักจะส่งให้ลูกเรียนนั่นโน่นนี่ เพื่อมีวิชาติดตัวให้มากที่สุด
  • หลายครั้งลูกไม่ชอบ ไม่มีความสุข จะขอเลิกเรียนก็ไม่ได้ กลัวพ่อแม่เสียใจ หรือขออย่างไรคำตอบก็คือไม่ได้อยู่ดี
  • จะดีกว่ามากๆ ถ้าพ่อแม่ลงมาดูแล เอาใจใส่ และเปิดใจกว้าง มองว่าสิ่งที่ให้ลูกเรียนอยู่นี้ ทุกข์มากกว่าสุข
  • แล้วเป็นฝ่ายบอกลูกเองว่า “ถ้ามันไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก” แต่จะบอกตอนไหน บทความนี้มีคำตอบ

พ่อๆ แม่ๆ ทุกคนน่าจะเคยผ่านจุดนี้ จุดที่ลูกๆ เว้าวอน ร้องขอ เลิก ไม่เรียนนั่นโน่นนี่ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดูเลอค่าหรือมีประโยชน์แค่ไหนก็ตาม เช่น ว่ายน้ำ ฟุตบอล เปียโน บัลเล่ต์ จินตคณิต ญี่ปุ่น ไปจนถึงอานาปานสติแบบง่ายๆ (ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก – แหม ก็หนูไม่ชอบนี่นา)

เมื่อคำขอถูกปฏิเสธ เราจึงเห็นเด็กๆ หนีเรียน มุ่งเล่นเกม หรือเรียนไปงั้นๆ จบวันก็ส่งคืนครู บางรายขยับขั้นเป็นความไม่ชอบ เกลียดฝังใจไปเลย

เรื่องของเรื่องก็คือ เหตุผลของเด็ก = ข้ออ้างของผู้ใหญ่

เมื่อเหตุผลของเด็กโดนตีตกแทบจะทุกครั้ง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเมื่อมันไม่เวิร์ค เขามีสิทธิ์ที่จะลาออก (เหมือนผู้ใหญ่ลาออกจากงานนั่นแหละ) แต่สำหรับเด็ก เขาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ว่าเมื่อไหร่ถึงจะเลิกได้ เพื่อจะได้ไปเริ่มและลองสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจกว่า

ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่ใจกว้างพอหรือไม่ที่จะยอมรับและเอ่ยออกมาเองว่า “ถ้าไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก”

แต่จะบอกอย่างไร และบอกเมื่อไหร่  เรามีคำแนะนำอย่างเป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญ

เด็กๆ ควรเลิกก็ต่อเมื่อ…

ดร.แคเธอรีน เพิร์ลแมน (Catherine Pearlman) นักเขียน โค้ช และผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว กล่าวว่า สำหรับเด็กบางคน การได้เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นำมาซึ่งความกลัวและความกังวลระดับพายุถล่ม

“ความกลัวมีเสมอ มันไม่สำคัญว่าพวกเขาต้องการทำหรือเรียนสิ่งนั้นมากแค่ไหน หรือ มันมาจากความคิดริเริ่มของเด็กเองหรือเปล่า”

ความกังวลที่มีต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ทางสังคม หรือ ข้อเรียกร้องให้เด็กๆ ทำโน่นทำนี่ในกิจกรรม ยิ่งกลายเป็นหินก้อนใหญ่ยักษ์ที่หล่นทับลงมา

ถ้าเป็นเช่นนั้น “การเลิกหรือหนี” ของเด็กอมทุกข์คนหนึ่งจากหินก้อนใหญ่ อาจกลายมาเป็นวิธีหลักในการแก้ปัญหาของชีวิตเมื่อเติบโตต่อไป ถ้าเด็กคนนั้นไม่เคยถูกสอนให้รับมือกับความเสียใจ

เพื่อไม่ให้ปรากฏการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ควรทำคือ คอยดุนหลัง รับฟัง สนับสนุน ระหว่างการเรียนหรือทำกิจกรรม ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะเต็มไปด้วยความสุข ความกดดัน การชนะ ความแข็งแกร่ง ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะหลอมรวมกันกลายเป็นการรู้จักยืดหยุ่น – เกราะสำคัญของอนาคต

พวกเขาคือนักสู้

ไม่มีมนุษย์คนไหนอยากพ่ายแพ้ แต่สำหรับเด็กบางคน เป้าหมายที่ไม่ได้อยากจะเป็นเลิศหรือเป็นที่หนึ่งนั้น เป็นเหตุผลเพียงพอที่พวกเขาจะโบกธงขาว

“โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะถอยหรือเลิก ก็ต่อเมื่อสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่ได้รับความใส่ใจและคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ว่าควรไปต่อหรือเลิกดี”

เพิร์ลแมนยังบอกอีกว่า “เด็กจำนวนไม่น้อยติดกับอยู่ความพ่ายแพ้, ทำดีที่สุดไม่ได้ หรือหาคุณค่าในตัวเองไมได้สักที

“ไม่ว่าจะลำเอียง โดนดูถูก หรือเหยียดหยามเด็กๆ เหล่านี้ควรถูกผลักให้มีความสู้ มุ่งมั่น ฝ่าฟัน สถานการณ์จริงไปได้ – แล้วพวกเขาจึงจะเติบโตขึ้น” เพิร์ลแมนย้ำ

เมื่อทุกข์มากกว่า ก็หยุดเถอะ

“เด็กๆ ในชั้นเรียนดนตรี พวกเขาไม่ได้ born to be แต่พวกเขาถูกฝึกฝน” เป็นคำพูดของศาสตราจารย์โรเบิร์ต คูเตียตตา (Robert Cutietta) นักวิจัย นักเขียน และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการดนตรีและการศึกษา

“จากจุดเริ่มต้น พ่อแม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเตรียมใจ ในเวลาที่เด็กๆ ไม่ได้ชอบที่จะเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ อีกแล้ว” ด้วยการตั้งเป้าหมายที่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าและออกแบบชั่วโมงการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับกีฬา ข้อพึงปฏิบัติง่ายๆ มีอยู่ว่า อยู่ไปให้จบฤดูกาล หลังจากเด็กๆ ถูกดุนหลังให้อดทนขยันซ้อมจนรู้ทางเพื่อนร่วมทีม จากนั้นพวกเขาจะประเมินได้เองว่าจะไปต่อหรือหยุด

“ถ้าเด็กๆ ขอร้องที่จะเลิกเล่นหรือเลิกเรียนกิจกรรมนั้นๆ ที่พวกเขาใช้เวลาไปอย่างคุ้มค่าและมุ่งมั่น แต่สุดท้ายแล้วความสนอกสนใจกลับไม่ไปต่อ ก็ปล่อยพวกเขาไปเถอะ” เป็นคำแนะนำจากเพิร์ลแมน เพราะหลังจากนั้น สิ่งที่พวกเขาจะมีติดตัวคือประสบการณ์จากกิจกรรมที่ผ่านไป และระบบประสาทตั้งต้น (ในทุกครั้งที่เริ่มลองสิ่งใหม่ๆ) จะไม่ใช่แค่ “ทำเล่นๆ ” อีกต่อไป

“บางครั้งการเป็นส่วนหนึ่งของทีมหรือห้องเรียน ก่อให้เกิดความเครียดแก่เด็กหรือครอบครัวโดยไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อความทุกข์ล้ำหน้าความสนุกไป ก็หยุดเถอะ”

ก็แค่มันไม่เหมาะ

เด็กบางคนไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อ แต่ชอบที่จะนั่งเล่นหมากรุกมากกว่า และเมื่อเด็กและกิจกรรมไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งที่ได้กลับมาคือ ‘การรู้จักตัวเอง’ ซึ่งได้จากการหันหลังให้บางสิ่ง

“ข้อสังเกตคือ การยืนยันหรือยืนกราน คือเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จและความสุขอย่างแท้จริง” ประโยคนี้ปรากฏในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Psychological Science

“อย่างไรก็ตาม เมื่อใครก็ตาม เผชิญกับสถานการณ์ที่รู้ตัวเองว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของชีวิตแน่ๆ” ปฏิกิริยาตอบรับทางกายและใจ อาจเป็นการไม่เอาตัวผูกพันกับเป้าหมายนั้นๆ และหลายครั้งการยืนกรานหรือยืนยัน อาจจำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้นแบบไม่รู้ตัว

เพียงแค่พ่อแม่ตอบคำถามง่ายๆ ให้ได้ว่า

“กิจกรรมนั้น ทำให้เด็กๆ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือ หายไปเลย” โดยไม่โกหกหรือเข้าข้างตัวเอง

ที่มา:
When It Is And Isn’t OK To Let Your Kids Quit

Tags:

พ่อแม่ปฐมวัยวัยรุ่นจิตวิทยาความเข้าอกเข้าใจ(empathy)

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • How to enjoy life
    ณัฐวุฒิ เผ่าทวี: เศรษฐศาสตร์ความสุขในครอบครัว “ถ้าคนหนึ่งสุขที่สุด แล้วคนอื่นทุกข์อยู่หรือเปล่า”

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Family Psychology
    3 ขั้นตอนเช็คลูก ก่อนไปหาจิตแพทย์/นักจิตวิทยา

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Family Psychology
    คุยกับนักศิลปะบำบัดเรื่องซึมเศร้าในเด็ก กับข้อสังเกต ทำไมเด็กพูดเสียงดังและไม่มีใครฟังใคร?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • Life classroom
    PERFECTIONISM อย่าหวดวัยรุ่นด้วยความสมบูรณ์แบบอีกเลย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel