Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Family Psychology
27 November 2018

ลูกคือคนกำหนด ‘เป้าหมาย’ 8 เคล็ดลับง่ายๆ เพื่ออยู่ทีมเดียวกับลูก

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

“เป้าหมาย” คือสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อมีเป้าหมายแล้ว ‘ลงมือทำ’ จึงจะนำไปสู่การทุ่มเทแรงกายแรงใจ พลังงาน และความคิดสร้างสรรค์ หมกหมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะค้นหาเป้าหมายเจอ จนถึงป่านนี้ผู้ใหญ่บางคนก็ยังตามหาอยู่

พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ใกล้ชิด ทำหน้าที่เป็น ‘พี่เลี้ยง’ ช่วยเด็กๆ ค้นหาเป้าหมายได้ ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย แม้ผลสุดท้าย เป้าหมายอาจจะยังไม่ชัด แต่ที่ชัดเจนคือ ความเข้าใจเพราะเขยิบเข้าใกล้และฟังกันมากขึ้น

เคล็ดลับมีดังนี้

1.ไม่ครอบงำแต่รั้งเบาๆ ถอยหลังออกมาให้ลูกได้มีพื้นที่เป็นผู้นำตัวเอง
การบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการอาจได้ผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวคือเด็กหมดความมั่นใจ

2.พูดคุยกับลูกว่างานสำคัญกับพ่อแม่อย่างไร พ่อแม่ทำงานเพื่ออะไรและเพื่อใคร จะช่วยลดความไม่เข้าใจถึงความหมายที่ลึกซึ้งของการทำงาน สาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่เฉยเมยและดูถูกงานที่ทำ

3.ถามอย่างระมัดระวังและรู้จักฟัง สิ่งสำคัญในชีวิตของลูกคืออะไร? สิ่งไหนที่ลูกสนใจมากที่สุด? หรือ ลูกอยากถูกจดจำแบบไหน? คำถามที่ดีพอ จะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาคิดถึงเป้าหมายของตัวเอง

4.แสดงความคิดเห็นกันจนเป็นปกติ “ทำไม?” เป็นคำถามที่ขาดไม่ได้ยิ่งพูดคุยกันบ่อยเท่าไร พ่อแม่จะยิ่งเข้าใจว่าสิ่งไหนสำคัญต่อลูก

5.เป็น
ทีมเดียวกับลูก ให้โอกาส สนับสนุนและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน แม้ความสนใจของลูกจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอก็ตาม

6. คิดบวกและแบ่งปันความรู้ ปลูกฝังให้ลูกมองความยากเป็นเรื่องท้าทายที่แก้ไขได้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เด็กเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา

7.ปล่อยเด็กๆ แสดงฝีมือเองบ้าง พ่อแม่ต้องไว้ใจให้ลูกคิดและลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ พ่อแม่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์

8.ทำให้เด็กๆ เชื่อว่าสิ่งที่เขาทำสำคัญ มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวให้เด็กๆ รับผิดชอบ และบอกว่างานนั้นสำคัญและส่งผลต่อครอบครัวอย่างไร เมื่อทำสำเร็จเขาจะยิ่งมั่นใจ

อ่านรายละเอียดมากกว่านี้ คลิก ‘ตอนนี้’ และ ‘โตขึ้น’ อยากเป็นอะไร พ่อแม่ช่วยลูกค้นหาได้ด้วย 9 วิธีนี้

อ้างอิง:
วิลเลียม เดมอน (William Damon) ผู้อำนวยการศูนย์สแตนฟอร์ดเกี่ยวกับวัยรุ่น (Stanford Center on Adolescence) และ ผู้เขียนหนังสือ The Path to Purpose (เส้นทางไปสู่เป้าหมาย)

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)พ่อแม่

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Education trend
    โลกไม่สนใจว่าเรารู้อะไรแต่สนใจว่าเราทำอะไรกับสิ่งที่รู้: บันไดขั้นแรกสู่ YOUNG INNOVATOR

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family PsychologyLearning Theory
    4 SENSES เข้าใจวัยรุ่น : อะไรทำให้เขาอยากใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    3 สูตร(ไม่)สำเร็จของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะสำคัญของปัจจุบันและอนาคต

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    ‘น้อย พรู’ อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝัน PASSION คือเพลงและลูก

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Character building
    สุภาวดี หาญเมธี: สันดานดี สร้างได้ ด้วย CHARACTER BUILDING

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel