Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Family Psychology
13 August 2018

พี่หนูเท่สุดๆ : ตัวตนเติบโตผ่านการเป็นพี่ใหญ่

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • พลิกวิกฤติพี่อิจฉาน้องให้กลายเป็นโอกาสเรียนรู้และเติบโตจากการเป็นพี่ใหญ่ ให้คอยดูแลน้อง
  • และรู้หรือไม่ น้องๆ เลียนแบบพี่มากกว่าพ่อแม่เสียอีก
  • บทความนี้จะแนะนำวิธีเปลี่ยนความกังวลของเด็กๆ ให้เป็นความตื่นเต้น ภูมิใจ และกระตือรือร้นที่จะได้เป็นพี่กันตั้งแต่เนิ่นๆ

ถึงการเป็นพี่คนโตจะมาพร้อมกับเรื่องสุดช้ำใจว่าทำไมต้องเกิดมาก่อนด้วย เพราะเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่พ่อแม่กลับดุน้องน้อยกว่าที่เคยดุคุณอีก แต่เฮ้ … เป็นพี่คนโตก็มีข้อดีนะ ทั้งออกคำสั่งได้ เสื้อผ้าในตู้ก็ไม่ได้มีแต่ของส่งต่อ แถมยังได้ทวีตเรื่องฮาๆ แบบพี่เหล่านี้ได้ด้วย

ลองดูว่ามีทวีตเรื่องของพี่คนไหนโดนใจคุณบ้าง

  • คิดเล่นๆ: เป็นพี่คนโตนี่ถือเป็นคำชมนะ คิดดูสิ พ่อแม่ตัดสินใจว่าเธอน่ะสุดแสนมหัศจรรย์ แล้วก็อยากมีเธอเพิ่มอีกคน (@amyvandyken)
  • ลูกสาววัย 9 ขวบเพิ่งพูดถึงน้องชายสองคนว่าเป็น “ภาคต่อ” ของเธอ (@kierstenwhite)
  • รู้ว่าตัวเองเป็นพี่คนโตก็ตอนที่น้องสาวดีกรีปริญญาพยาบาลโทรมาหาเพื่อขอคำแนะนำเรื่องการแพทย์ 🙂 (@shannonstacey)
  • น้องชายเริ่มถึงวัยมีแฟนแล้ว ส่วนผมก็ต้องขับรถพาพวกมันไปทุกที่เลย #OldestChildProbs (@TierraJolene)
  • จริงๆ ฉันไม่เคยคิดว่าจะมีวันไหนที่ถือน้ำปั่นโดยไม่มีน้องสี่คนมาล้อมรอบแล้วขอชิม #Oldestchildlife (@gracechitwood)
  • บางครั้งการเป็นพี่คนโตก็คือพ่อแม่คนที่สองหรือสามนั่นแหละ LOL (@Quincy)

พี่ = พ่อแม่คนที่สอง

เด็กๆ เลียนแบบพี่มากกว่าพ่อแม่เสียอีก

ในงานวิจัยปี 2004 ริชาร์ด เรนด์ (Richard Rende) ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบราวน์ พบว่า พี่น้องอาจมีอิทธิพลที่สำคัญต่อเด็กๆ – แต่โชคร้ายนิดหน่อยตรงที่การศึกษานี้พุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดยเปรียบเทียบจากครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่และครอบครัวที่มีพี่คนโตสูบด้วย ผลก็คือพี่คนโตมีผลต่อน้องมากกว่าพ่อแม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ เรนด์ ก็มั่นใจว่า พฤติกรรมดีๆ ของพี่คนโตติดต่อถึงน้องได้พอๆ กับพฤติกรรมไม่ดี

เช่นเดียวกับอีกผลการศึกษาในปี 2014 ที่แสดงให้เห็นว่า

พี่สามารถผลักดันให้น้องประสบความสำเร็จด้านการศึกษาได้ ด้วยการเป็นต้นแบบด้านบวกตอนช่วยน้องทำการบ้านหรือให้คำแนะนำเรื่องการเรียน

ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนด้านการศึกษากับลูกคนโตจะยิ่งส่งผลดีในต่อลูกคนต่อไปได้เช่นกัน

นอกจากเลียนแบบแล้ว ยังมีความเชื่อมโยงบางอย่างที่น่าสนใจ โดยในงานวิจัยในปี 2009 ของ แพทริเซีย อีสต์ (Patricia East) นักจิตวิทยาสาขาวิทยาพัฒนาการ ที่ UC San Diego School of Medicine ซึ่งสนใจด้านความสัมพันธ์พี่น้องและครอบครัว  พบว่า ผู้หญิงที่มีพี่สาวตั้งท้องจะมีโอกาสตั้งท้องมากกว่าคนที่ไม่มีพี่สาวหรือพี่สาวไม่ได้ท้องถึง 5 เท่า โดย อีสต์ เริ่มวิจัยหัวข้อนี้หลังจากพบว่ามักมีพี่สาวน้องสาวที่ตั้งท้องและไปคลินิกสูตินรีเวชด้วยกัน

เตรียมลูกให้พร้อมเป็นพี่

หน้าที่อันยิ่งใหญ่มาพร้อมความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง – ไม่ใช่สไปเดอร์แมน แต่เป็นเส้นทางสู่การเป็นพี่ของเด็กๆ เพราะแม้พวกเขายังเป็นหนูน้อยของพ่อแม่ แต่หน้าที่ของพี่จะเป็นความรับผิดชอบและเป็นแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในชีวิต

วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้พ่อแม่เปลี่ยนความกังวลของเด็กๆ เป็นความตื่นเต้น ภูมิใจ และกระตือรือร้นที่จะได้เป็นพี่กันเสียแต่เนิ่นๆ ลองเอาไปทำดูนะ

  • สร้างสถานการณ์สมมติ เช่น ลองแทนตัวสัตว์หรือตุ๊กตาที่พวกเขาเล่นว่า น้องสาว น้องชาย และให้พวกเขาเรียนรู้การแบ่งปัน การเล่น และการสื่อสารกับน้อง ก่อนที่น้องจริงๆ จะมาถึง
  • บอกชื่อน้อง ถ้าเลือกชื่อให้ทารกแล้ว อย่าลืมบอกลูกคนโตและให้ชื่อนั้นอยู่ในทุกการพูดคุยถึงน้องที่กำลังจะมาถึง
  • โชว์รูปน้องให้ดู แม้ว่าจะเป็นรูปอัลตราซาวด์ก็ตาม
  • ตอบทุกคำถาม เด็กๆ มีกองทัพคำถามมาถล่มใส่คุณแน่ๆ หน้าที่ของคุณคือใจเย็นและตอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งแต่ความโกลาหลในสองสามเดือนแรก ทั้งการนอน การกิน ขนาดตัวของทารกที่ยังเล็กเกินจะเล่นแรงๆ ได้ ถ้าพวกเขาโตพอแล้วก็ลองให้ช่วยดูแลน้อง เป็นวิธีที่ดีในการสร้างความรักระหว่างพี่น้องให้เกิดขึ้น
  • จัดห้องหรือเตียงให้เสร็จก่อนมีน้อง ถ้าลูกต้องย้ายห้องหรือเปลี่ยนเตียง ทำให้เสร็จก่อนคลอด เพื่อให้เขารู้สึกสบายใจและมีความสุขกับสภาพแวดล้อมใหม่ก่อนน้องจะมาถึง
  • ทำทุกอย่างเหมือนเดิม กิจวัตรประจำวันที่เหมือนเดิมจะทำให้เด็กๆ รู้สึกปลอดภัยและมั่นคง ซึ่งช่วยให้พวกเขารับมือกับน้องคนใหม่ได้ง่ายขึ้น
  • ให้เด็กๆ เป็นผู้ช่วย ถ้าพวกเขาอยากช่วย จงมอบหน้าที่ที่พวกเขาจะทำได้ อาจเป็นการหยิบผ้าอ้อมให้คุณ หรือให้เลือกหนึ่งชุดสำหรับทารกจากสองชุดที่คุณเตรียมไว้แล้ว
  • ทำให้เด็กๆ รู้ว่ายังรักและห่วงใยเหมือนเดิม บางครั้งเด็กๆ ก็รู้สึกเหมือนถูกทิ้งในเวลาที่ความสนใจทั้งหมดอยู่ที่ทารก เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องทำให้พวกเขารู้ว่าพ่อแม่ยังรักมากเหมือนเดิม ในช่วงตั้งท้องและหลังคลอดใหม่ๆ อย่าลืมแบ่งเวลาที่จะมีแค่คุณกับลูกคนอื่นๆ ด้วยนะ

ที่มา: https://www.huffpost.com
https://www.curosity.com
https://pathways.org

Tags:

การเติบโตพ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Creative learning
    เจ้าหญิงคาราเต้: ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน และต้องมีไว้เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจ

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Family Psychology
    ‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Life classroom
    ทรอย ซีวาน: เพราะผมรักในเสียงเพลง ดนตรี และการเป็นเกย์

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Character building
    สังคมแบบนี้ เด็กๆ ถึงจะ ‘อยู่ดีและมีความสุข’

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Transformative learning
    เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel