Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Early childhoodLearning Theory
13 August 2020

เด็กจะเล่นอย่างไรให้สนุกเเละคลายความเศร้าในใจได้ โดยมีผู้ใหญ่เป็นนักสังเกตการณ์

เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • การเล่นช่วยให้เด็กจัดการกับความเศร้า ความกังวล ความสูญเสียได้ เเละยังเป็นเครื่องมือให้เด็กเผชิญหน้ากับความกลัวเเละเข้าใจความรู้สึก เพราะระหว่างการเล่น เด็กสามารถควบคุมการเล่นในสถานการณ์ที่พวกเขาเป็นคนกำหนดได้เองเเละยังเพิ่มความสามารถในการมีส่วนร่วมในการคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป  ซึ่งช่วยผ่อนคลายความกลัวในใจของเด็กได้
  • ผู้ใหญ่เป็นนักสังเกตการณ์โดยไม่เข้าไปสอดเเทรกหรือจัดการ ยกเว้นเป็นการเเนะนำการเล่น เพราะความจริงเเล้วเด็กคือคนนำการเล่นที่ดีที่สุด เเละเข้าไปเเนะนำการเล่นรูปเเบบอื่น เมื่อเห็นว่าการเล่นเเบบเดิมทำให้เด็กกังวลหรือไม่ได้เป็นการเล่นที่เขาต้องการ

ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวายทั้งเรื่องการเเพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เเละการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมกันในกรณี Black Live Matter ที่ทั้งหมดเกิดขึ้นรวดเดียวในปี 2020 ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่เครียด เหตุการณ์เดียวกันนี้ทำให้เด็กๆ รู้สึกเจ็บปวดเเละเกิดความกลัวเช่นกัน เเต่พวกเขาสามารถขจัดความรู้สึกเหล่านั้นผ่านการเล่นได้เพราะพวกเขาจะเเสดงความคิดความรู้สึกต่อเหตุการณ์ผ่านการเล่นของพวกเขา โดยมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุน

ปล่อยให้เด็กเล่นตามที่เขาอยากเล่น

ผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง คนที่ใกล้ชิดกับเด็ก หรือคุณครูที่โรงเรียนควรปล่อยให้พวกเขาเล่นในสิ่งที่เขาอยากเล่น โดยไม่ตัดสินหรือเเสดงความกังวลว่าสิ่งที่เขาเล่นจะพาพวกเขาไปสู่ความเศร้า เพราะในช่วงเวลาที่เขาได้อยู่กับตัวเองจะทำให้พวกเขาทบทวนเเละพัฒนาตนเอง

โดยความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก วิเวียน กัสซิน พาลีย์ (Vivian Gussin Paley) คุณครูอนุบาลเเละเจ้าของรางวัล Genius Grant ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับบุคคลที่มีริเริ่มเเละสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จากการเป็นนักเขียนของหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก เธอพูดถึงการเล่นของเด็กในหนังสือหลายเล่มว่า เด็กจะเลือกเล่นตามอารมณ์ จะทำให้พวกเขาเข้าใจตนเองมากกว่าการเล่นในรูปเเบบอื่นๆ

รวมถึงเซธ อรอนสัน (Seth Aronson) นักจิตวิทยาเเละและผู้อำนวยการหลักสูตรการฝึกอบรมและที่ปรึกษาของสถาบันจิตเวชศาสตร์ William Alanson White ในนิวยอร์ก มองว่า 

การเล่นจะช่วยให้เด็กจัดการกับความเศร้า ความกังวล เเละความสูญเสียได้ เเละยังเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เด็กเผชิญหน้ากับความกลัว เเละเข้าใจความรู้สึก เพราะระหว่างการเล่น เด็กสามารถควบคุมการเล่นในสถานการณ์ที่พวกเขาเป็นคนกำหนดได้เองเเละยังเพิ่มความสามารถในการมีส่วนร่วมในการคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป  ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความกลัวในใจของเด็กได้

อย่างไรก็ตาม ในโลกของความจริงมีความกลัวเเละปมภายในใจเด็กในหลายรูปแบบ การเล่นจะช่วยเเทนที่เเละสร้างพื้นที่ในการเเสดงความรู้สึกเหล่านั้น

นอกจากนี้อรอนสันยังบอกว่า พลังของการเล่นคือการนำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้มาเติมเต็มสิ่งเด็กยากจะเผชิญ ตัวอย่างเช่น เด็กที่สูญเสียคุณยายมักจะบอกว่าคุณยายอยู่นห้องเเละเล่นกับเขา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ การที่ผู้ใหญ่ไม่ทำอะไรจะช่วยให้เด็กสบายใจมากขึ้นเเละช่วยเด็กเข้าใจความสูญเสีย

เล่นอย่างมีประสิทธิภาพ

เอริกา คริสตากิ (Erika Christaki) อดีตอาจารย์ใน Yale Child Study Center เเละเจ้าของหนังสือ The Importance of Being Little: What Young Children Really Need from Grownups กล่าวว่า เเรงกระตุ้นในการเล่นไม่ต่างจากวิวัฒนาการของคนเพราะไม่สามารถลัดวงจรได้ เเละยังบอกอีกว่า ผู้ใหญ่คือคนสำคัญในการวางรากฐานให้กับเด็ก ๆ หรือที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “การเล่นที่มีประสิทธิภาพ” (Productive play) ซึ่งเป็นการเล่นที่จะช่วยเสริมทักษะด้านอารมณ์เเละการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของพวกเขา โดยคริสตากิเสนอเเนวทางว่าผู้ใหญ่สามารถเป็นคนสนับสนุนการเล่นของเด็ก

สิ่งเเรกคือการเข้าถึงเเบบ P.A.C.E เป็นวิธีการเล่นที่จะช่วยผู้ใหญ่ที่อยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กๆ เเละเพิ่มความสามารถของพวกเขาด้วยตัวเลือกที่เหมาะสม เช่น การถามว่าเขาอยากร้องเพลงอะไรหรืออยากกินอะไร รวมถึงทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย ประกอบด้วย 4 ข้อ ตามตัวย่อของ 4 ตัวอักษร คือ

P: Playfulness การเล่น

การสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจในการสื่อสารกับเด็ก เช่น การใช้น้ำเสียง การสร้างองค์ประกอบของความสนุกในชีวิตเเต่ละวันรวมถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กไม่สบายใจ เพื่อสร้างความสนุกสนานเเละทำให้เด็กมีความรู้สึกร่วม ซึ่งจะช่วยเด็กเปิดรับประสบการณ์ในชีวิตของพวกเขา

A: Acceptance การยอมรับ

การยอมรับในความคิด ความฝัน เเรงบันดาลใจ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้พฤติกรรมของเด็ก เเละเป็นการยอมรับโดยไม่ได้ตัดสินหรือประเมินไปก่อนเพราะความคิดของเด็กไม่มีผิดหรือถูก

C: Curiosity ความอยากรู้

การช่วยให้เด็กอยากรู้เเละรับรู้ในความรู้สึกของตนเองที่สะท้อนผ่านพฤติกรรมของพวกเขาที่ทำให้เด็กเข้าใจว่าผู้ปกครองหรือนักจิตวิทยาเข้าใจความหมายของสิ่งที่พวกเขาทำ

E: Emphaty การเอาใจใส่

การเอาใจใส่จะทำให้เด็กรู้สึกถึงความเห็นอกเห็นใจเเละทำให้เด็กรู้ว่าความรู้สึกของพวกเขาเป็นเรื่องสำคัญเเละพร้อมจะอยู่เคียงข้างเขาในวันที่มีปัญหารวมถึงพร้อมจะให้ความสบายใจเเละจะไม่ทิ้งเขาในวันที่เขาต้องการผู้ใหญ่มากที่สุด

ดังนั้น ผู้ใหญ่ควรคิดว่าเด็กกำลังควบคุมอารมณ์เครียดภายในตัวเขา พวกเขาต้องการพลังเเละอิสระ เพื่อให้เขารู้สึกถึงความปลอดภัยเเละการดูเเลเอาใจใส่ จึงควรจะสร้างตัวเลือกที่เหมาะสมให้เขาเป็นคนเลือกสิ่งที่เขาอยากทำเอง

ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ไม่ต้องกังวลว่าคำพูดของพ่อเเม่จะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดี เพราะตามธรรมชาติของเด็ก เขาจะมองหาสิ่งที่ตรงกับความสนใจของตัวเองรือบางครั้งอาจจะลงมือทำเลย เพราะพวกเขารู้ว่าสิ่งไหนเหมาะสมกับตัวเขาเเละเข้าใจอารมณ์ของตัวเองมากที่สุด

อย่าทำให้เด็กอับอาย

นอกจากนี้บางครั้งการเล่นของเด็กเป็นการกระตุ้นความไม่สบายใจภายในใจของผู้ใหญ่ที่มองว่า การเล่นของเด็กเป็นเรื่องเเปลกเกินไป ถือเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ผู้ใหญ่ไม่ได้เเสดงความรู้สึกว่าการเล่นของเด็กเป็นเรื่องที่น่าอับอายหรือเป็นสิ่งที่ผิด

เพราะการเล่นเป็นเรื่องของเเต่ละบุคคล เเนนซี่ คริสสัน เพจ (Nancy Carisson-Paige) อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขจัดปมผ่านการเล่นของเด็กประจำมหาวิทยาลัยเลสลีย์ (Lesley University) ในเมืองเเคมบริดจ์เเละมัสชาชูเซต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า องค์ประกอบของเด็กประกอบด้วย 3 อย่างคือ อารมณ์ ความคิด เเละร่างกาย

ข้อเสนอต่อมาของคริสตากิ คือ การสร้างสรรค์เงื่อนไขในการค้นหาจินตนาการคือ การส่งเสริมเด็กที่จะเล่นตามสิ่งที่เขาต้องการ เเละเเนะนำให้ใช้ของเล่นที่สามารถเล่นได้หลายเเบบ (multi-use toys) เช่น บล็อคหรือตุ๊กตาไม้ เเละเริ่มกิจกรรมในสิ่งที่เขาอยากทำ การเล่นแบบนี้จะช่วยให้เขาปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ในใจได้อย่างไร? อาจคิดตามอย่างนี้ว่า ถ้าให้เด็กเล่นตุ๊กตาโมเดลตัวละครซุปเปอร์เเมน พวกเขาก็จะเลือกเล่นตามเรื่องราวของซุปเปอร์เเมน เเต่ถ้าพวกเขาเล่นตุ๊กตาโมเดลเเบบไร้หน้า พวกเขาจะเล่นตามความรู้สึกเเละอารมณ์ รวมถึงเด็กๆ จะเจอกับความตื่นเต้น ความเศร้าเเละความสับสน ซึ่งการเล่นในลักษณะนี้จะเป็นการเล่นที่มีประสิทธิภาพ เพราะการเล่นจะสะท้อนประสบการณ์เเละจินตนาการ

ผู้ใหญ่ คือ นักสังเกตการณ์เล่น

รวมถึงการดูรูปแบบการเล่นที่ไม่เหมาะกับเด็ก คือ ในเหตุการณ์ที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักหรือเด็กขาดการเล่น ซึ่งกลายเป็นข้อกังวล หมายความว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรสอดแทรกหรือเข้าไปจัดการกับการเล่นของเด็ก

ผู้ใหญ่ควรเป็นนักสังเกตการณ์ เว้นเเต่เป็นการเเนะนำวิธีการเล่นให้กับเด็ก เเละควรจะทำให้เด็กเป็นผู้นำในการเล่น เเละมองท่าทางเเละพฤติกรรมเเละฟังคำพูดของเขา หรือผู้ใหญ่อาจจะลองถามวิธีการจากเด็กก็ได้ เพื่อให้เขาสามารถควบคุมการมีส่วนร่วมในการเล่นของผู้ใหญ่ได้ เพราะความจริงเเล้ว เด็กคือครูที่ดีที่สุดว่าเราจะเล่นเเบบไหน ด้วยวิธีการไหน 

เเต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการเล่นทำให้เด็กรู้สึกกังวล หรือว่าไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นตามที่เขาต้องการหรือซ้ำเดิม อาจเป็นสัญญาณว่าการเล่นในลักษณะนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ความชอบหรือความต้องการของเด็กคนนั้น เเล้วผู้ใหญ่เองควรจะเเนะนำองค์ประกอบเเละการนำเสนอที่น่าสนใจ

“การมองหาความเปลี่ยนเเปลงในการเล่นของเด็ก เพราะถ้ายังคงเล่นเเบบเดิมเเล้วทำให้เกิดเหตุการณ์เเละผลลัพธ์เเบบเดิมๆ ทุกครั้ง หมายความว่าการเเทรกเเซงหรือความสนใจนั้น ผู้ใหญ่ควรเข้าไปเเนะนำ”

“เด็กต้องการที่จะมีความรู้สึกมั่นคงผ่านพื้นที่การเล่นตามจินตนาการ” โดยพื้นที่เหล่านั้นผู้ใหญ่สามารถจัดพื้นที่ปลอดภัยท่ามกลางเหตุการณ์บ้านเมืองในปี 2020 ดังนั้นผู้ใหญ่ควรระมัดระวังการจัดสมดุลในการจัดพื้นที่ระหว่างอิสระในการที่จะเเสวงหาความซับซ้อนจากเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเองเเละระยะเวลาในการเล่น

อ้างอิง
How Children Process Grief and Loss Through Play
The Importance of Play
MacArthur Fellows Program
What is mean by PACE

Tags:

ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)ความสงสัยใคร่รู้(Curiosity)PACEการเล่น

Author:

illustrator

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

นักศึกษาปีสุดท้ายที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี เชื่อว่าซีรีส์คือพื้นที่การเรียนรู้ที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ สนใจเรื่องระบบการศึกษา อยากเล่าเรื่องให้สนุกเเบบฉบับของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

เพชรลัดดา แก้วจีน

นักวาดภาพประกอบอิสระ มีความสนใจปรากฏการณ์ต่างๆในสังคม ชอบสังเกตผู้คน เขียนบันทึก และอ่านหนังสือ ยามว่างมักใช้เวลาไปกับการดริปกาแฟและเล่นกับแมว

Related Posts

  • How to enjoy life
    เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu):  ไปให้เห็นกับตา ค้นหาความจริงและไม่ด่วนตัดสิน

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Early childhoodLearning Theory
    ‘การเล่น’ คืองานที่เด็กทุกคนต้องได้ทำอย่างสุดความสามารถ

    เรื่องและภาพ สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน – ประโยชน์ 9 ข้อและ ‘พ่อมีอยู่จริง’ ของการเล่นบทบาทสมมุติ

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • Character building
    CQ: CURIOSITY QUOTIENT ความอยากรู้อยากเห็นที่นำไปสู่การเรียนรู้และอยู่รอด

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • RelationshipTransformative learning
    ‘ณัฐฬส วังวิญญู’ โปรดใช้วิจารณญาณในการฟัง-ถาม-เข้าใจอย่างลึกซึ้ง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel