Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Early childhoodBook
6 October 2018

เลี้ยงลูกด้วยเสียงดนตรี: เพลงสร้างจินตนาการและพัฒนาสมองได้จริง

เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • ดนตรีช่วยทำให้สมองสองซีก ทำงานเชื่อมโยงกันได้ดี เพราะเสียงเพลงและจังหวะที่เหมาะสม จะกระตุ้นให้เกิดคลื่นสมอง ที่ช่วยเรียบเรียงความคิด การใช้เหตุผลความคิดสร้างสรรค์ การทบทวนความจำต่างๆ ได้
  • ดนตรีเป็นเสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก มีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หากเลือกใช้ดนตรีที่เหมาะสมก็จะช่วยพัฒนาระบบต่างๆ ภายในสมองของลูกให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น
  • ดนตรีมีส่วนช่วยทำให้เด็กฉลาดได้จริง เพราะการฟังและการเล่นดนตรีมีผลต่อกระบวนการคิดทั้งระยะสั้น-ระยะยาว

ทำไมในยุคนี้ เราถึงเห็นเด็กตัวเล็กๆ เริ่มเรียนดนตรีกันเยอะขึ้น

โดยเฉพาะเปียโน ที่เป็นเครื่องดนตรียอดฮิต ที่พ่อแม่มักส่งให้ลูกไปเรียนตั้งแต่พวกเขายังเป็นเด็กน้อย

แล้วการเรียนดนตรีมันมีประโยชน์อย่างไร ทำไมจึงเป็นหนึ่งในวิชาที่ลูกควรจะได้เรียน?

หนังสือ เลี้ยงลูกด้วยเสียงดนตรี เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสิการ เหล่าวานิช จะช่วยไขคำตอบให้ทุกคนเข้าใจว่า เสียงดนตรีช่วยสร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างไร

ลูกชอบเสียงร้องเพลงของแม่มากกว่าเสียงพูด

พัฒนาการด้านการฟัง เป็นพัฒนาการลำดับแรกสุดของเด็ก ลูกสามารถฟังทุกๆ เสียงที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยจะตอบสนองผ่านทางร่างกาย โดยพัฒนาการจะเพิ่มขึ้นตามแต่ละช่วงวัยไป ซึ่งการได้ยินของลูกจะเริ่มต้นตั้งแต่เขายังเป็นตัวอ่อน (fetus) อายุ 16 สัปดาห์ในท้องแม่ โดยระบบในการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะและประสาทส่วนกลางทำงานเชื่อมต่อกันในช่วงวัย 25 สัปดาห์ ดังนั้นในช่วงเวลานี้คุณแม่จะสามารถสื่อสารกับลูกได้ โดยวิธีการสื่อสารนั้นจำเป็นต้องสอดคล้องกับพัฒนาการด้านการรับรู้ของพวกเขาด้วย

เด็กวัยทารกจะมีความพึงพอใจในเสียงดนตรีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาสามารถรับรู้ระดับเสียงสูงๆ ต่ำๆ หรือในทางดนตรีเรียกว่า pitch ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ รวมถึงสามารถแยกแยะเสียงพูด-เสียงร้องเพลงของแม่ออกจากเสียงผู้หญิงคนอื่นได้

โดยที่ลูกจะตอบสนองต่อเสียงต่างๆ ได้ตั้งแต่ช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด หากได้รับการกระตุ้นทางการได้ยินอยู่เสมอ ผ่านการฟังดนตรีตั้งแต่อยู่ในท้อง จะทำให้เขามีการตอบสนองต่อเสียงได้ดีขึ้น เมื่อเวลาแม่ปลอบหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง จะทำให้เขารู้สึกสงบและผ่อนคลาย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ‘ลูกชอบเสียงร้องเพลงของแม่มากกว่าเสียงพูด’

เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมความสามารถทางดนตรีและภาษา

ดนตรีและภาษา สองสิ่งนี้ล้วนมี ‘เสียง’ เป็นองค์ประกอบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระดับเสียง ความถี่ เวลา และน้ำเสียง เด็กตั้งแต่วัยทารก เมื่อเกิดมาเขาจะมาพร้อมความรู้สึกที่ไวต่อเสียงทั้งดนตรีและเสียงพูดติดตัวออกมา และมีความสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

  • แยกความต่างของระดับเสียงและจังหวะได้
  • จดจำการเคลื่อนที่ของแนวทำนองเพลงกับระดับเสียงในการพูด
  • รับรู้องค์ประกอบของเสียงในประโยคเพลงและประโยคคำพูด
  • จดจำเสียงดนตรีและคำพูด
  • สามารถออกเสียงได้

ดนตรีช่วยพัฒนาสมองได้

สมองของเด็กเรียนรู้ได้ดีมากกว่าผู้ใหญ่หลายพันเท่า โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี สมองจะมีความตื่นตัวในการทำงานอย่างมาก จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะเร่งพัฒนาการและการเจริญเติบโต จากการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

นอกจากพันธุกรรมแล้ว พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองได้ เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น โภชนาการ การเคลื่อนไหว ความรัก ความท้าทาย และ ‘ศิลปะ-ดนตรี’

“ดนตรีเป็นเสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก มีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หากเลือกใช้ดนตรีที่เหมาะสมก็จะช่วยพัฒนาระบบต่างๆ ภายในสมองของลูกให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น”

ดนตรีช่วยทำให้สมองสองซีกทำงานเชื่อมโยงกันได้ดี เพราะเสียงเพลงและจังหวะที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดคลื่นสมอง ที่ช่วยเรียบเรียงความคิด การใช้เหตุผลความคิดสร้างสรรค์ การทบทวนความจำต่างๆ ได้

เมื่อมีการกระตุ้นสมองส่วนการได้ยิน (Auditory area) จากการได้ยินดนตรีมากเท่าใด ก็จะยิ่งช่วยให้กลุ่มใยประสาท (Corpus callosum) ทำหน้าที่เชื่อมข้อมูลของสมองซีกซ้าย-ขวา ได้สื่อสารและทำงานร่วมกัน

เสียงเปียโนกระตุ้นสมอง

ใครจะรู้ว่าเสียงเปียโนที่ออกมาจากปลายนิ้วของลูกๆ กำลังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้สมองทั้งสองซีกของพวกเขาทำงานอย่างพร้อมกัน เริ่มจากสมองซีกซ้ายที่มีหน้าที่สั่งการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว กระตุ้นให้ต้องคิดวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเล่น

ในขณะที่เล่นเปียโนอยู่นั้น สมองจะสร้างเส้นใยประสาทในการคิดเชื่อมโยงภาพของนิ้วมือที่ขยับไปมาบนคีย์กับเสียงที่เกิดขึ้น เพิ่มการเรียนรู้ได้มากขึ้น และหลังจากการวิเคราะห์แล้ว สมองซีกขวาจะทำหน้าที่ควบคุมในส่วนของอารมณ์ สร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ ให้สื่อสารบทเพลงออกมาให้ได้อย่างไพเราะ

การเล่นดนตรีทำให้ลูก ‘ฉลาด’ ได้จริง

การที่สมองสองซีกเชื่อมโยงกันได้ดี ทำให้การสื่อสารส่งผ่านข้อมูลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จากงานวิจัยเรื่อง ‘Music and Cognitive Abilities’ ของ E. Glenn Schellenberg (2005) ตอบคำถามเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า ดนตรีมีส่วนช่วยทำให้เด็กฉลาดได้จริง เพราะการฟังและการเล่นดนตรีมีผลต่อกระบวนการคิดทั้งระยะสั้น-ระยะยาว

การฟังดนตรีช่วยกระตุ้นความสนใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการฟังตามประสบการณ์ของผู้ฟัง แต่จะส่งผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น หากต้องการประโยชน์ในระยะยาวต้องลงมือเรียนรู้ ให้ลูกเล่นดนตรีด้วยตัวเอง เพราะความฉลาดเกิดได้ในกระบวนการเรียนรู้ และการฝึกที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ดังนั้นอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี ควรหาหรือส่งเสริมกิจกรรมให้ลูกได้เรียนรู้ตรงกับช่วงเวลาที่สมองแต่ละซีกกำลังพัฒนา ในช่วง 3 ปีแรก อาจเน้นที่สมองซีกขวาก่อน หลังจากนั้นคำนึงถึงการพัฒนาสมองทั้งสองซีกให้ทำงานไปพร้อมกันอย่างสมดุล เพราะการเลือกมุ่งเน้นพัฒนาสมองไปด้านใดด้านเดียว ไม่ได้แปลว่าลูกจะเก่งด้านนั้นไปเลย แต่จะทำให้สมองทำงานอย่างไม่สมบูรณ์

และเสียงดนตรีก็เป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะทำให้ลูกได้พัฒนาทักษะร่างกายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในอนาคต

Tags:

พ่อแม่ปฐมวัยคาแรกเตอร์(character building)หนังสือดนตรี

Author:

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Related Posts

  • How to enjoy life
    สอนให้เด็กรู้ว่าอารมณ์ไม่ใช่ผู้ร้าย เรียนรู้และเข้าใจตัวเองผ่านดนตรี: กฤษดา หุ่นเจริญ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ชุติมา ซุ้นเจริญ

  • Family Psychology
    5 วิธี ปราบอสูรร้ายในตัวเด็กให้หายไปตลอดกาล

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่นBook
    บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน: แค่คำว่า ‘กาลครั้งหนึ่ง’ ก็เปลี่ยนโลกได้

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Character building
    ภาวะผู้นำ ลักษณะนิสัยดีที่พ่อแม่ร่วมสร้าง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    คาแรกเตอร์ดี ลูกมีได้ ไม่ต้องจ่าย เรียนได้กับพ่อแม่

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel