Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
Early childhood
19 April 2021

นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep3 : เรียนรู้โลกสีเทาจากนิทานขาว-ดำ ‘ฮันเซลกับเกรเทล’

เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • นิทานเรื่องนี้มีหลายประเด็นที่อาจสร้างความหวาดกลัวให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก หลายช่วงตอนที่มีการใช้ความรุนแรง รวมถึงการตัดสินถูกผิดดีชั่วอย่างชัดเจน ซึ่งไม่สอดคล้องวิธีการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของเด็กยุคใหม่
  • เรื่องราวที่พ่อแม่ไม่มีเงินเลยเอาลูกไปทิ้ง เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้เด็กวัยที่หวาดกลัวการพลัดพราก แม้เด็กโตเกิน 7 ขวบ จะสามารถรับรู้ความเป็นจริงได้มากขึ้น แต่ควรชวนคุยให้เด็กเห็นว่าพ่อแม่ก็เป็นคนธรรมดา บางคนอาจเห็นแก่ตัว บางคนคิดไม่รอบคอบ บางคนตัดสินใจผิดพลาด บางคนทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม 
  • ในเรื่องแม่มดและแม่เลี้ยงคือคนเลว ฮันเซล เกรเทล และพ่อเป็นคนดี ขีดเส้นแบ่งสีขาวกับสีดำชัดเจน ความดีความชั่วแยกกันเด็ดขาด อาจเหมาะสำหรับสอนเด็กเล็กเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ แต่เมื่อเด็กโตขึ้น จำเป็นต้องเข้าใจโลกรอบด้านมากขึ้น ว่าไม่มีใครเลวตลอดเวลา และไม่มีใครดีพร้อมไร้ที่ติ ทุกคนและทุกเรื่องราวล้วนเป็นสีเทาๆ มีทั้งข้อดีและข้อด้อยปะปนกันไป

ฮันเซลกับเกรเทลเป็นพี่น้องกัน ทั้งสองถูกพ่อนำไปปล่อยป่าด้วยความคิดของแม่เลี้ยงที่จะแก้ปัญหาขาดแคลนอาหาร  รอบแรก ฮันเซลได้ยินแม่เลี้ยงกับพ่อคุยกัน เลยเก็บหินโปรยตามทางระหว่างพ่อพาไปปล่อย และเดินตามก้อนหินกลับมาบ้านได้ รอบที่สอง เกรเทลโปรยขนมปังตามทาง พอนกมาจิกกินหมด สองคนเลยหลงป่า

สองพี่น้องเดินหลงไปเจอบ้านขนมหวานสวยงามน่าอร่อย ปรากฏว่าเป็นบ้านของแม่มด พี่น้องจึงถูกจับขังไว้เป็นอาหาร วันหนึ่ง แม่มดให้เกรเทลช่วยเตรียมเตาเพื่อจะต้มฮันเซล พอแม่มดเผลอเลยถูกเกรเทลผลักตกหม้อตาย สองพี่น้องช่วยกันขนทรัพย์สมบัติของแม่มดกลับบ้าน และอยู่กันสามคนพ่อลูกอย่างมีความสุข โดยที่แม่เลี้ยงได้ตายไปก่อนหน้านั้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

ฮันเซลกับเกรเทล เป็นหนึ่งในเทพนิยายเยอรมนีที่พี่น้องตระกูลกริมม์รวบรวมไว้เมื่อ ค.ศ. 1812 ต่อมามีการนำมาดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ ทั้งตีพิมพ์เป็นนิทาน จัดทำภาพยนตร์แอนิเมชัน รวมทั้งละครเวที ในมุมมองของ ‘หมอโอ๋’ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นิทานฮันเซลกับเกรเทลมีหลายประเด็นที่อาจสร้างความหวาดกลัวให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก และสำหรับเด็กโต มีข้อควรระวังในเรื่องทัศนคติ จำเป็นที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องชวนคุยเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจที่เหมาะสม

พ่อแม่ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่คือคนธรรมดา

สำหรับเด็กเล็ก เรื่องราวที่พ่อแม่ไม่มีเงินเลยเอาลูกไปทิ้ง เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้เด็กวัยที่หวาดกลัวการพลัดพราก คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องทำให้ลูกเชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะไม่ทำแบบนั้น เพื่อให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัย 

สำหรับเด็กโตเกิน 7 ขวบ สามารถรับรู้ความเป็นจริงได้มากขึ้น ควรชวนคุยให้เด็กเห็นว่าพ่อแม่ก็เป็นคนธรรมดา บางคนอาจเห็นแก่ตัว บางคนคิดไม่รอบคอบ บางคนตัดสินใจผิดพลาด บางคนทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม 

“เราอยู่ในสังคมที่สร้างพ่อแม่ให้เลิศเลอ เราบอกเสมอว่า พ่อแม่ทุกคนรักลูก ทำเพื่อลูก พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ ทำให้หลายคนมีความคาดหวัง แล้วก็ผิดหวัง หลายคนไม่ชอบพ่อแม่ ทำไมพ่อแม่ฉันไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ความเป็นจริงคือ พ่อแม่เป็นคนธรรมดา ซึ่งไม่มีใครดีพร้อม โดยเฉพาะในปัจจุบัน พ่อแม่จำนวนมากมีความไม่พร้อมหลายด้าน ถ้าลูกเข้าใจความเป็นมนุษย์ของพ่อแม่ เขาจะมีเมตตากับพ่อแม่ได้มากขึ้น” 

เมื่อโลกนี้ ไม่ได้มีแค่สีขาวกับดำ

ทุกสิ่งในนิทานฮันเซลกับเกรเทล แม่มดและแม่เลี้ยงคือคนเลว ฮันเซล เกรเทล และพ่อเป็นคนดี นิทานขีดเส้นแบ่งสีขาวกับสีดำชัดเจน ความดีความชั่วแยกกันเด็ดขาด อาจเหมาะสำหรับสอนเด็กเล็กเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ แต่เมื่อเด็กโตขึ้น จำเป็นต้องเข้าใจโลกรอบด้านมากขึ้น ว่าในความเป็นจริง ไม่มีใครเลวตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ไม่มีใครดีพร้อมไร้ที่ติ แต่ทุกคนและทุกเรื่องราวล้วนเป็นสีเทาๆ คือมีทั้งข้อดีและข้อด้อยปะปนกันไป

สำหรับนิทานที่เล่าเรื่องแบบตัดสินขาวและดำ ดีและชั่ว สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังคืออาจทำให้ลูกมีกรอบความคิดแบบมีมายาคติ ซึ่งการตัดสินโลกรอบตัวว่าไม่ขาวก็ดำ จะทำให้ขาดโอกาสในการทำความเข้าใจกับผู้คนและเรื่องราวตามความเป็นจริง เมื่อเห็นคนทำอะไรไม่ดี แล้วตัดสินว่าเขาเป็นคนไม่ดี ในที่สุดทุกคนจะกลายเป็นคนไม่ดี มีสีดำแปดเปื้อนกันไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง ถ้าวันหนึ่งทำสิ่งที่ไม่ดีก็อาจจะยอมรับตัวเองไม่ได้ ทำให้เป็นทุกข์ 

สิ่งที่ควรสร้างให้เด็กมากกว่าคือ แนวคิดที่เชื่อว่าทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีถูกมีผิด คนที่ใช้ได้ คือ คนที่พร้อมจะเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง

เตรียมตัวดี มีเปอร์เซ็นต์รอด

การที่ฮันเซลเก็บก้อนหินเอาไว้โปรยตามทางในวันที่พ่อพาไปปล่อยป่า ทำให้ในที่สุดแล้ว สองพี่น้องสามารถกลับบ้านได้โดยปลอดภัย เป็นสิ่งที่สามารถชี้ชวนให้เด็กๆ เห็นถึงข้อดีของการคิด วางแผน และเตรียมการล่วงหน้า ว่าจะทำให้สิ่งที่ตั้งใจไว้ประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม การคิดล่วงหน้าอาจจะผิดพลาด เหมือนอย่างที่เกรเทลใช้ขนมปังโรยตามทางแต่ลืมคิดไปว่าขนมปังจะกลายเป็นอาหารนก ดังนั้น บางครั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็จำเป็นด้วยเหมือนกัน

นอกจากนี้ ความเป็นทีมเวิร์คเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าสองคนพี่น้องช่วยกันคิดช่วยกันวางแผนเตรียมการด้วยกัน อาจช่วยลดช่องว่าง ป้องกันข้อผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งเย้ายวน แต่แฝงพิษภัย

บ้านขนมหวานของแม่มด สวยงามและน่ากินเป็นที่สุด ทำให้สองพี่น้องฮันเซลกับเกรเทลพากันเข้าไปหยิบกินจนถูกแม่มดจับตัวไปขังและขุนให้อ้วนเพื่อจะปรุงเป็นอาหาร หมายความว่าของบางอย่าง ถึงจะดูดีชวนให้หลงไหลเข้าไปใกล้ๆ เข้าไปสัมผัสคลุกคลี อาจกลายเป็นกับดักที่ล่อลวงให้ตายใจและมีอันตรายแอบแฝงอยู่  

เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นประเด็นที่ดี คุณพ่อคุณแม่สามารถชักชวนให้ลูกคิดถึงสิ่งที่ล่อตาล่อใจ แต่มีผลด้านลบ ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ ได้ยั้งคิดและระมัดระวังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ขนมอร่อย เกมออนไลน์ ฯลฯ

ทำดี อาจไม่มีรางวัล

ตอนท้าย พี่น้องฮันเซลกับเกรเทลฆ่าแม่มด แล้วนำทรัพย์สมบัติของแม่มดกลับบ้านไปด้วย สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่น่าจะชี้ชวนให้ลูกเห็นคือ การเป็นผู้ถูกกระทำหรือโดนรังแก ไม่ได้แปลว่าทำอะไรก็ไม่ผิด ฮันเซลกับเกรเทลถูกแม่มดจับตัวไปขังหวังจะกินให้อร่อย เมื่อสองคนรอดชีวิตมาได้เพราะฆ่าแม่มดตายไป (ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความรุนแรงนิทานเรื่องนี้) การได้กลับบ้านไปอยู่กับพ่อก็ดีมากแล้ว แต่การเอาทรัพย์สินของแม่มดไป แทนที่ฮันเซลกับเกรเทลจะเป็นคนดี สองพี่น้องก็จะกลายเป็นคนขโมยของ หรือถ้าข้าวของเหล่านั้น แม่มดไปขโมยจากคนอื่นมาอีกที ฮันเซลกับเกรเทลก็จะเข้าข่ายรับของโจร

ฮันเซลกับเกรเทลถือเป็นนิทานซึ่งมีเนื้อหาในหลายช่วงตอนที่มีการใช้ความรุนแรง การขู่ให้เกิดความหวาดกลัว รวมถึงการตัดสินถูกผิดดีชั่วอย่างชัดเจน ซึ่งไม่สอดคล้องวิธีการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของเด็กยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เนื้อหาของนิทานสองพี่น้องเพื่อชี้ชวนให้ลูกได้เห็นแง่มุมที่เป็นประโยชน์และเหมาะกับยุคร่วมสมัยได้เช่นกัน

แนวคำถามชวนลูกคิด

  • ลูกว่าเป็นไปได้ไหมที่พ่อแม่จะทำไม่ดีกับลูก อะไรที่ทำให้พ่อแม่ทำแบบนั้น สอนลูกถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ว่าพ่อแม่ก็เป็นคนที่มีความผิดพลาด
  • จริงมั้ยที่แม่เลี้ยงทุกคนใจร้าย ในเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่มดทำอะไรที่ถือเป็นเรื่องดี เกรเซล ฮันเซล ทำอะไรบ้างที่น่าจะไม่ถูกต้อง
  • ถ้าเป็นลูกจะใช้อะไรทำให้กลับบ้านได้ถูกทาง ถ้านกกินขนมปังถูกนกกินหมดแล้ว คิดว่าจะมีอะไรทำให้เรากลับบ้านได้ไหม เราสังเกตอะไรได้บ้างที่จะทำให้เราไม่หลงทาง
  • ถ้าลูกเป็นเกรเทล จะมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะรอดชีวิตได้โดยไม่ต้องฆ่าแม่มด ลูกคิดว่าการเอาสมบัติของแม่มดไปเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือเปล่า ทำไม
  • ลูกว่ามีอะไรบ้างที่ล่อใจ แต่อาจจะมีอันตรายแฝงอยู่ ถ้าเจอสิ่งเหล่านี้ เราจะทำอย่างไร

Tags:

ความรุนแรงพญ.จิราภรณ์ อรุณากูรเลี้ยงลูกด้วยนิทานนิทานเรื่องนี้ (ไม่) สอนให้รู้ว่าฮันเซลกับเกรเทล

Author:

illustrator

รัชดา ธราภาค

อดีตนักเรียนรัฐศาสตร์ ฝ่าคลื่นลมในงานสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ยุคแอนะล็อก จนถึงการสร้างงาน Interactive Story บนมือถือ ด้วยจุดยืนที่ย้ายได้ในทุกแพลตฟอร์มการสื่อสาร เพื่อส่งผ่านสาระประโยชน์สู่ผู้รับ

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Early childhood
    นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep4: เรียนเรื่องรักจากนิทาน ‘เงือกน้อยผจญภัย’

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhood
    นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep2 : ส่องความงาม-ความดีในนิทาน ‘สโนไวท์’

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhood
    ข้อคิดสะกิดใจในนิทาน ‘ซินเดอเรลลา’ สาวน้อยผู้ไม่เคยหยุดฝันและไม่ลังเลที่จะยืนยันสิทธิของตัวเอง

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Family Psychology
    อยากให้ลูกมีวินัยในตัวเอง แต่จะสร้างอย่างไรหากไม่มี ‘ตัวเอง’ ตั้งแต่ต้น?

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel