Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
Early childhood
29 March 2021

นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep2 : ส่องความงาม-ความดีในนิทาน ‘สโนไวท์’

เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • ราชินีเป็นคนสวย แต่เพราะเอาแต่เปรียบเทียบ แข่งขัน กับคนอื่น ไม่พอใจตัวเอง อยากเหนือกว่าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นทุกข์ ความงามแบบไม่ต้องเป็นที่หนึ่งในโลกหล้า ไม่ต้องเป็นที่สุดในปฐพี แต่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ตัวเองเป็น ทำให้เป็นสุขกว่า
  • ความสวยงามดีงามในนิทานสโนไวท์ที่เด็กๆ น่าจะได้เรียนรู้ผ่านการชวนคุยชวนคิดของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือเรื่องของความงามที่กระจกวิเศษบานไหนก็ไม่อาจสะท้อนได้ เพราะเป็นคุณค่าที่อยู่ภายใน และกระจกวิเศษที่สุด ก็คือตัวของเราเองที่จะส่องให้เห็นคุณค่าของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอฟังคำเยินยอ หรือไปแก่งแย่งแข่งขันกับใครๆ

สโนไวท์ เจ้าหญิงแสนสวยนิสัยดี เธอถูกราชินีใจร้ายผู้เป็นแม่เลี้ยงใช้งานหนักด้วยความชิงชังระคนกริ่งเกรงว่าสโนไวท์จะเติบโตและสวยงามกว่า ราชินีใจร้ายเฝ้าแต่ถามกระจกวิเศษอยู่ทุกวัน

“กระจกวิเศษบอกข้าเถิด ใครงามเลิศในปฐพี” 

วันหนึ่ง กระจกไม่ตอบว่า “ก็พระนางน่ะสิ” เหมือนทุกครั้ง แต่กลับบอกว่า คนที่สวยสุดๆ คือ ‘สโนไวท์’ ต่างหาก ราชินีโกรธจนตัวสั่น สั่งนายพรานให้เอาสโนไวท์ไปฆ่าทิ้ง นายพรานสงสารเลยพาเธอไปปล่อยป่า

สโนไวท์หลงป่าไปขออาศัยกับคนแคระทั้งเจ็ด พอราชินีรู้ว่าเธอยังไม่ตาย เลยปลอมตัวเป็นหญิงชรานำแอปเปิลพิษมาให้กิน พร้อมด้วยคำสาปว่าต่อเมื่อได้รับจุมพิตจากเจ้าชาย สโนไวท์จึงจะฟื้นคืนกลับมาดังเดิม 

เมื่อข่าวรู้ถึงเจ้าชายจึงออกตามหาจนได้พบสโนไวท์ ก่อนจะพาเจ้าหญิงคนงามขึ้นหลังม้าควบกลับวังและครองรักกันอย่างมีความสุข

มีหลายแง่มุมในนิทานเรื่องนี้ ที่ ‘หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน’ ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำผู้ปกครองให้ชวนเด็กๆ ได้คิดและเรียนรู้

ไม่ต้องงามเลิศในปฐพี แต่มีดีในตัวเอง

ราชินีเป็นคนสวย แต่เพราะเอาแต่เปรียบเทียบ แข่งขัน กับคนอื่น ไม่พอใจตัวเอง อยากเหนือกว่าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นทุกข์ ความงามแบบไม่ต้องเป็นที่หนึ่งในโลกหล้า ไม่ต้องเป็นที่สุดในปฐพี แต่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ตัวเองเป็น ทำให้เป็นสุขกว่า

นอกจากนี้ ความงามมีหลายแบบ แต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน ไม่มีประโยชน์ที่จะเอาคุณค่าของเราไปฝากไว้กับการตัดสินของคนอื่น ถ้าไปถามกระจกบานอื่น อาจบอกว่าราชินีสวยกว่าสโนไวท์ หรือกระจกบางบานอาจจะเห็นว่าซินเดอเรลลาสวยที่สุด (ได้ฟังแบบนี้สโนไวท์อาจกลายเป็นเจ้าหญิงใจร้ายรายถัดไป)

ยิ่งไปกว่านั้น ความสวยงามไม่ใช่แค่เรื่องหน้าตา สำคัญกว่าคือคุณค่าจากภายใน เช่น การเป็นคนใจดี เอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือคนอื่น เป็นความงามที่กระจกมองไม่เห็น แต่คนอื่นสัมผัสได้ และเราก็รับรู้ได้ด้วยตัวเอง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ การเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น แม้จะด้วยความหวังดีอยากให้ลูกคิดแข่งขัน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งฮึดสู้ แต่เด็กส่วนใหญ่เมื่อถูกเปรียบเทียบ จะหมดพลังที่จะพัฒนาตัวเองต่อ เพราะคิดแต่ว่าตัวเองไม่เก่งพอ ไม่ดีพออยู่ตลอดเวลา และจะกลายเป็นความคิดที่ติดตัวไปจนโต 

ส่วนเด็กที่ฮึดสู้ ก็เป็นการสู้เพราะแรงกดดัน สู้แบบตั้งคำถามกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าฉันดีพอหรือยัง ฉันดีกว่าคนอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าคิดแบบนี้ ความรู้สึกดีจะเกิดได้ก็ต้องด้วยการเปรียบเทียบกับคนอื่นเท่านั้น การฮึดสู้จึงเป็นการมุ่งเอาชนะแบบไร้ตัวตน ไม่ใช่การยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น

ในความเหมือน มีความต่าง

คนแคระทั้ง 7 ด็อค, กรัมปี้, แฮปปี้, สนีซซี่, สลีปปี้, โดปี้, และแบชฟูล ถึงจะตัวเล็กๆ เหมือนกัน แต่แต่ละคนไม่เหมือนกัน หน้าตาดูดีๆ แล้วก็แตกต่างกัน นิสัยใจคอ ความชอบ ไม่มีใครเหมือนกันสักคน เราจึงไม่ควรเหมารวม กลุ่มคนที่เราเห็นว่าเขาดูเหมือนๆ กันไปหมด จริงๆ แล้วไม่เหมือนกัน คนพิการแต่ละประเภท ไม่เหมือนกัน คนพิการประเภทเดียวกัน แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คนที่รูปร่างหน้าตาคล้ายจะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน ใช้ภาษาเหมือนกันๆ ที่จริง ทุกคนมีความแตกต่าง มนุษย์เราแต่ละคนมีความแตกต่างในตัวเอง

เชื่อมั่นความดี รู้ทันความชั่ว

นายพรานถูกราชินีใจโหดสั่งให้นำสโนไวท์ไปฆ่า แต่เพราะนายพรานเห็นว่าเจ้าหญิงสโนไวท์เป็นคนดีจึงปล่อยเจ้าหญิงให้หนีไป แล้วหลอกเจ้านายว่าทำตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ความดีของสโนโวท์เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความดีที่นายพรานมีอยู่ในตัว ทำให้สโนไวท์รอดชีวิตได้แทนที่จะถูกฆ่าตาย

มนุษย์ทุกคนมีความดีในจิตใจ แม้เขาจะดูเหมือนเป็นคนไม่ดี ทำสิ่งที่ไม่ดีในบางครั้ง แต่ไม่มีใครคิดชั่วทำชั่วตลอดเวลา หรือตลอดทั้งชีวิต ฉะนั้น อย่าลืมที่จะมองให้เห็นถึงความดีที่มีอยู่ในตัวคนทุกคน 

ถึงเราจะเห็นความดีในตัวทุกคน แต่ถ้าโลกสวยเกินเหตุ เราก็อาจต้องเผชิญกับภัยอันตรายหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่คิดร้าย หรือหวังผลประโยชน์ เหมือนอย่างที่สโนไวท์หลงเชื่อหญิงชราเลยถูกหลอกให้กินแอปเปิ้ลพิษจนสลบไป

สโนไวท์ทำผิดอะไรหรือเปล่า?

เจ้าหญิงสโนไวท์แสนจะเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์สวยนิสัยดีมีน้ำใจ แต่ทำไมยังถูกแม่เลี้ยงเกลียดชัง สิ่งที่น่าจะทำความเข้าใจกับลูกก็คือ ในโลกนี้ มีทั้งคนที่รักเราและเกลียดเราเป็นเรื่องธรรมดา ถึงเราจะเป็นที่รักของคนมากมาย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะมีใครสักคน หรือหลายคนไม่ชอบขี้หน้าเรา 

สิ่งที่ควรทำคือการกลับมาสำรวจตัวเอง เราทำอะไรไม่ดี ทำให้ใครไม่ชอบหรือเปล่า ถ้าเจอข้อบกพร่องก็ต้องปรับปรุงตัวเอง แต่ถ้าทบทวนดูแล้ว ไม่มี เราทำดีอยู่แล้วก็ควรทำต่อไป เขาเกลียดเราอาจเป็นปัญหาของเขาที่เราแก้ไขให้ไม่ได้ เช่น สโนไวท์สวยเกินไปเลยถูกแม่เลี้ยงหมั่นไส้ สโนไวท์นิสัยดีทำให้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของทุกคน แม่เลี้ยงจึงอิจฉาริษยา ถ้าเรื่องราวเป็นแบบนี้ก็ต้องเข้าใจและทำใจ เพราะความคิดของคนอื่น เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

ที่สุดแล้ว ความสวยงามดีงามในนิทานสโนไวท์ที่เด็กๆ น่าจะได้เรียนรู้ผ่านการชวนคุยชวนคิดของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือเรื่องของความงามที่กระจกวิเศษบานไหนก็ไม่อาจสะท้อนได้ เพราะเป็นคุณค่าที่อยู่ภายใน และกระจกวิเศษที่สุด ก็คือตัวของเราเองที่จะส่องให้เห็นคุณค่าของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอฟังคำเยินยอ หรือไปแก่งแย่งแข่งขันกับใครๆ

แนวคำถามชวนลูกคิด

  • จริงหรือเปล่าว่าถ้าเราไม่สวยแล้วจะไม่มีใครรัก คนสวยจะเป็นที่รักของทุกคนจริงไหม สวยอย่างเดียวพอไหมที่จะทำให้ทุกคนมาหลงรัก หนูคิดว่าอะไรคือข้อดีที่สุดของตัวเอง 
  • คนแคระแต่ละคนมีนิสัยอย่างไร มีความถนัดอย่างไร 
  • ถ้าวันหนึ่งมีคนคิดไม่ดีกับเรา เราจะทำอย่างไรดี
  • ฯลฯ

Tags:

การเห็นคุณค่าในตัวเอง(Self-esteem)พญ.จิราภรณ์ อรุณากูรเลี้ยงลูกด้วยนิทานนิทานเรื่องนี้ (ไม่) สอนให้รู้ว่าสโนไวท์

Author:

illustrator

รัชดา ธราภาค

อดีตนักเรียนรัฐศาสตร์ ฝ่าคลื่นลมในงานสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ยุคแอนะล็อก จนถึงการสร้างงาน Interactive Story บนมือถือ ด้วยจุดยืนที่ย้ายได้ในทุกแพลตฟอร์มการสื่อสาร เพื่อส่งผ่านสาระประโยชน์สู่ผู้รับ

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    ดอเรียน เกรย์: ภาพที่เห็น ภาพที่จำ และภาพคนในครอบครัวที่เราวาดขึ้นเองได้

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Early childhood
    นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep4: เรียนเรื่องรักจากนิทาน ‘เงือกน้อยผจญภัย’

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhood
    นิทานเรื่องนี้(ไม่)สอนให้รู้ว่า ep3 : เรียนรู้โลกสีเทาจากนิทานขาว-ดำ ‘ฮันเซลกับเกรเทล’

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhood
    ข้อคิดสะกิดใจในนิทาน ‘ซินเดอเรลลา’ สาวน้อยผู้ไม่เคยหยุดฝันและไม่ลังเลที่จะยืนยันสิทธิของตัวเอง

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • How to get along with teenager
    จิตวิทยาวัยรุ่นเรื่องการยอมรับนับถือตัวเอง กับ หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ จิตติมา หลักบุญ

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel