Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Early childhoodFamily Psychology
22 January 2021

พัฒนาการความสัมพันธ์ 4 ขั้นในเด็กแรกเกิด เมื่อความสัมพันธ์ใน ‘วัยแรกเกิด’ มีผลไปตลอดชีวิต

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ทฤษฏี ‘พันธะทางอารมณ์’ (Emotional bonding) โดยจอห์น โบลบี เชื่อว่าพันธะทางอารมณ์แรกที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อแม่ลูก จะส่งผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ของลูกที่มีกับคนอื่นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์กับคนรักของเขา 
  • พัฒนาการความสัมพันธ์ในเด็กทารกแบ่งได้เป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นก่อนสร้างความสัมพันธ์ (Pre-Attachment Stage), ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูหลักกับผู้เลี้ยงดูรอง (Indiscriminate Attachment), ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้า (Discriminate Attachment) และ ขั้นสร้างความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ (Multiple Attachments)
  • ในทารกวัย 3 เดือน ไปจนถึง 7 เดือน จะเริ่มแสดงความต้องการที่มีต่อผู้เลี้ยงดูที่แตกต่างกัน เขารับรู้ได้ว่าใครเป็นผู้เลี้ยงดูหลัก ใครเป็นผู้เลี้ยงดูรอง วัดจากใครเข้ามาดูแลตอบสนองและใช้เวลาอยู่กับเขามากที่สุด วัยนี้ยังคงไม่แยกแยะว่าใครเป็นคนแปลกหน้า ใครเป็นพ่อหรือแม่เขา แต่เขาจะติดคนที่อยู่กับเขามากที่สุด หากเด็กวัยนี้อยู่กับใครมากที่สุด ความสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขึ้นจะแนบแน่นกับบุคคลดังกล่าว

หลายคนพบว่าความรักความสัมพันธ์ที่เรามีในวันนี้ ต่างมีผล (กระทบ) มาจากตัวอย่างความสัมพันธ์ของพ่อแม่ในวัยเด็ก หรือความรักความสัมพันธ์ที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อเรา 

ยังมีคำอธิบายที่ลึกลงไปกว่านั้นอีกว่า ทุกความสัมพันธ์ (ไม่เฉพาะคู่รัก) ที่เรามีกับใครอื่น มีต้นตอมาจากชีวิตแรกเกิด (1 – 18 เดือน) ทฤษฏีนั้นเรียกว่า ‘พันธะทางอารมณ์’ (Emotional bonding) โดยจอห์น โบลบี (ผู้เป็นที่รู้จักในแง่ผู้สร้างทฤษฎีความผูกพัน Attachment Theory) 

Emotional bonding เชื่อว่าพันธะทางอารมณ์แรกที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อแม่ลูก จะส่งผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ของลูกที่มีกับคนอื่นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์กับคนรักของเขา 

ความสัมพันธ์แรกที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เลี้ยงดูกับเด็กทารกช่วยเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดของเด็กทารกมากขึ้น โดยสัญชาตญาณของเด็กทารกที่เกิดมาจึงพยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู (โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นพ่อหรือแม่) ด้วยการเกาะติดและแสดงออกถึงความต้องการให้เลี้ยงดู เช่น การร้องไห้ให้อุ้ม ให้มาสัมผัส ให้นม และอื่นๆ

นักวิจัย Rudolph Schaffer และ Peggy Emerson (1964) ได้ศึกษาเด็กทารกจำนวน 60 คน ผ่านการเข้าไปสังเกตการณ์พฤติกรรมของเด็กทารกทุกคน ทุกๆ 4 สัปดาห์/ครั้ง ตลอด 1 ปีแรกของชีวิต และอีกครั้งหลังจากเด็กๆ ทุกคนอายุครบ 18 เดือน จากการสังเกตการณ์ระยะยาวครั้งนี้ ทำให้พบว่า เด็กๆ มีพัฒนาการความสัมพันธ์แบ่งเป็น 4 ขั้นด้วยกัน 

  1. ขั้นก่อนสร้างความสัมพันธ์ (Pre-Attachment Stage)
  2. ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูหลักกับผู้เลี้ยงดูรอง (Indiscriminate Attachment)
  3. ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้า (Discriminate Attachment)
  4. ขั้นสร้างความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ (Multiple Attachments)

ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนสร้างความสัมพันธ์ (Pre-Attachment Stage)

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัย 3 เดือน เขาจะไม่แสดงความต้องการสร้างความสัมพันธ์แบบเฉพาะเจาะจงกับผู้เลี้ยงดูคนไหน ไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่ เป็นใครก็ได้ที่เข้ามาอุ้มและดูแล เขาจะไม่ต่อต้านใดๆ เด็กวัยนี้จะแสดงออกผ่านการร้องไห้หรือส่งเสียงร้องอ้อแอ้ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้เลี้ยงดูให้มาดูแลเขาใกล้ๆ และตอบสนองเขา ซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการความสนใจแทบจะตลอดเวลา

ดังนั้นวัยนี้ไม่มีคำว่า ‘อุ้มมากไป’ หรือ ‘ติดมือ’ เด็ดขาด เพราะธรรมชาติสร้างให้เขาต้องเรียกร้องให้เราเข้าไปใกล้ตอบสนองเขา เพื่อให้เขาได้พัฒนาความไว้วางใจขึ้นมา (Trust buiding) 

ขั้นที่ 2 ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูหลักกับผู้เลี้ยงดูรอง (Indiscriminate Attachment)

พัฒนาการความสัมพันธ์ 4 ขั้น โดยขั้นที่ 2 คือ ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูหลักกับผู้เลี้ยงดูรอง (Indiscriminate Attachment)

ทารกวัย 3 เดือน ไปจนถึง 7 เดือน จะเริ่มแสดงความต้องการที่มีต่อผู้เลี้ยงดูที่แตกต่างกันแล้วเขารับรู้ได้ว่า ใครเป็นผู้เลี้ยงดูหลัก ใครเป็นผู้เลี้ยงดูรอง วัดจากใครเข้ามาดูแลตอบสนองและใช้เวลาอยู่กับเขามากที่สุด วัยนี้ยังคงไม่แยกแยะว่าใครเป็นคนแปลกหน้า ใครเป็นพ่อหรือแม่เขา แต่เขาจะติดคนที่อยู่กับเขามากที่สุด

ด้วยเหตุนี้เอง หากเด็กวัยนี้อยู่กับใครมากที่สุด ความสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขึ้นจะแนบแน่นกับบุคคลดังกล่าว หากพ่อแม่เลี้ยงเขาเอง เขาจะติดเรา แต่ถ้าให้คนอื่นเลี้ยงเด็กจะติดคนนั้นมากกว่าเรา

ขั้นที่ 3 ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้า (Discriminate Attachment)

พัฒนาการความสัมพันธ์ 4 ขั้น โดยขั้นที่ 3 คือ ขั้นแยกแยะระหว่างผู้เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้า (Discriminate Attachment)

ทารกวัย 7 – 11 เดือน เขาจะเริ่มแสดงออกถึงความต้องการและติดกับผู้เลี้ยงดูหลักของเขา จะเริ่มไม่ยอมให้ใครก็ได้มาอุ้ม และต่อต้านที่จะให้คนแปลกหน้ามาจับตัว ที่สำคัญเป็นช่วงวัยที่เกิดความวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากจากผู้เลี้ยงดูหลักของเขา (Seperation anxiety) และรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อมีคนแปลกหน้าที่เขาไม่รู้จักอยู่รอบตัวเขา (Stranger anxiety)

จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กจะร้องไห้ทันทีเมื่อเราทิ้งเขาไว้กับคนอื่นที่เขาไม่คุ้นเคย หรือเด็กจะไม่ยอมให้ใครอุ้มง่ายๆ อีก ดังนั้น ถ้าพ่อหรือแม่ที่ฝากลูกไว้ให้คนอื่นเลี้ยงในช่วงวัยนี้มาตลอด โดยไม่ได้ไปหาเขาบ่อยๆ หรือให้ลูกได้เห็นหน้าเรา เราอาจกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับลูก ถ้าอยากให้ลูกเชื่อใจ ควรค่อยๆ เข้าไปอยู่ในชีวิตเขาให้มากขึ้น เริ่มจากนั่งใกล้ๆ เล่นใกล้ๆ และใช้เวลากับเขาจนเด็กเริ่มชินกับเรา จึงค่อยเข้าไปอุ้มสัมผัสเขา

ทางเลือกของพ่อแม่ทางไกล คือ การไปเยี่ยมเขาบ่อยๆ หรือ ใช้วิดีโอคอลหาลูกเป็นประจำเวลาเดิม สม่ำเสมอ ระยะเวลาไม่ต้องยาว เพราะเด็กวัยนี้ไม่ควรใช้หน้าจอหากไม่จำเป็น

ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ (Multiple Attachments)

พัฒนาการความสัมพันธ์ 4 ขั้น โดยขั้นที่ 4 คือ ขั้นสร้างความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ (Multiple Attachments)

ทารกวัย 9 เดือนขึ้นไปจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้เลี้ยงดูหลักของเขาได้แล้ว เขารับรู้ว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เลี้ยงดูหลักแตกต่างจากคนอื่นในชีวิตเขา ดังนั้น เด็กวัยนี้สามารถสร้างและแยกแยะความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นกับคนอื่นๆ ได้ เช่น ความสัมพันธ์กับปู่ย่าตายาย พี่น้อง ลุงป้าน้าอา เป็นต้น

เด็กวัยนี้จึงแสดงออกกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นกับบุคคลดังกล่าว เช่น อยู่กับแม่เด็กอาจจะทำตัวทะเล้น อยู่กับปู่ย่าอาจจะเข้าไปอ้อน และอยู่กับพี่น้องอาจจะแสดงออกเป็นผู้ควบคุม เป็นต้น

อ่านบทความต่อได้ที่ ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา EP.3 การแสดงออกซึ่งความรัก

Tags:

The Untold Storiesแบบแผนทางความสัมพันธ์ทฤษฎีความผูกพัน(Attachment Theory)ความสัมพันธ์

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Relationship
    ‘หึง’ ก็เพราะรัก? ‘หวง’ ก็เพราะห่วง? เข้าใจธรรมชาติของอารมณ์หึงหวงก่อนทำลายความสัมพันธ์

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Family Psychology
    Wednesday’s child : แค่ความรักที่พร่อง (ของพ่อแม่) ไม่ได้ทำให้เด็กสูญเสียคุณค่า

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Family Psychology
    การเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงดู EP.3 ความรักที่ไม่เคยได้รับในวัยเยาว์ บาดแผลทางใจที่รอการเยียวยา

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Relationship
    เหมือนดูเย็นชา แต่ใช่ว่าไม่รัก

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Family Psychology
    พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เพราะความรักเป็นเรื่องไม่อาจฝืน

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel