Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Unique Teacher
27 May 2020

เปลี่ยนแปลง “การศึกษา” ด้วยการค้นหาความ “Unique” ในตัวครู | กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • ความ Unique ของครู คือขุมพลังที่สำคัญต่อการสร้างการเรียนรู้ ไม่แพ้การมีความรู้ที่เข้มข้น การมีเครื่องมือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทีทันสมัย หรือเทคนิคใหม่ในการจัดการเรียนการสอนที่แอคทีฟกระตุ้นการเรียนรู้ได้มากมาย
  • ความ Unique จะเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้าหาเรา เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกศิษย์ หรืออาจได้รับเสียงสะท้อนว่าเมื่ออยู่กับครูแล้วรู้สึกปลอดภัย เพราะได้รับความไว้วางใจจากลูกศิษย์ เมื่อเราเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริงแล้วจะสามารถช่วยเหลือผู้คนได้ด้วยวิธีคิดเชิงบวกในแบบที่ตัวเราเป็น
  • ความ “Unique” เป็นคุณสมบัติพิเศษที่เราไม่ค่อยรู้ตัวว่ามีอยู่ แต่มักใช้ได้ผลเสมอเมื่อนำตัวตนนี้มาใช้ในการสอน สังเกตได้จากบรรยากาศของห้องเรียนที่ผู้เรียนตื่นตัว สนใจเรียนรู้เป็นพิเศษ ความ Unique จึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องสังเกตและใคร่ครวญบ่อยๆ จนค้นเจอ

ฤดูกาลใหม่กำลังจะเริ่มต้นในเร็วๆ นี้ 

ผมว่าฤดูกาลของธรรมชาติก็เหมือนกับฤดูกาลของชีวิตที่มีจังหวะของการเริ่มต้น เติบโต ทำงานอย่างเต็มที่ พักผ่อน ใคร่ครวญ สละ ละ หยุดวาง และเกิดใหม่หมุนเวียนอยู่ร่ำไป 

ฤดูร้อนผ่านไป ฤดูฝนเริ่มต้น เปลี่ยนผ่านไปสู่ฤดูหนาว ฤดูล้วนมีผลต่อสรรพชีวิต เช่น ต้นไม้ที่ผลิดอกออกผลในฤดูร้อน ชุ่มฉ่ำเติมพลังในฤดูฝน แล้วผลัดใบเปลี่ยนผ่านในฤดูหนาว ชีวิตจึงหยุดนิ่งสักพัก เพื่อให้บ่มเพาะพลังงานเตรียมพร้อมงอกใหม่ผลิใบ เป็นต้นไม้ที่เติบโตสมบูรณ์ในฤดูกาลที่แตกต่างกัน

Quarantine time คือ ช่วงเวลาของการหยุดอยู่กับตัวเอง เปรียบเหมือนกับฤดูกาลของธรรมชาติที่ส่งผลต่อฤดูกาลของชีวิตที่ทำให้เราได้หยุด เพื่อพักผ่อน เก็บตัวให้ได้ใคร่ครวญชีวิต ค้นหาคุณสมบัติเพื่อก้าวเดินต่อในฤดูกาลต่อไปอย่างมีพลัง 

สถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่นเดียวกัน ต่างมีเวลาของการปิดเทอม เพื่อให้นักเรียนได้ปรับพลังงานชีวิต เมื่อผ่านบททดสอบที่ยากๆ ผ่านไปได้ก็มีการหยุดพักเตรียมตัวเพื่อการเริ่มต้นใหม่ในจังหวะย่างก้าวการเติบโตของชีวิต พร้อมสำหรับการเปิดเรียนที่ใกล้จะมาถึง เร็วๆ นี้

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

ครูได้พักเพื่อบ่มเพาะการเติบโต

เป็นที่น่าเสียดายเหมือนกันว่า คุณครู อาจารย์ นักการศึกษา แทนที่จะได้พักผ่อนเพื่อปรับพลังงานชีวิต ระหว่างปิดเทอม แต่ต่างต้องเตรียมตัววางแผนจัดการศึกษากันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ เมื่อมีการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ทำให้ครูไม่สามารถรวมนักเรียนในห้องเรียนได้ตามปกติ จึงต้องคิดหาวิธีการในการใช้เครื่องมือจัดการศึกษาทางไกลรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงนักเรียน นักศึกษา ให้สามารถสอนได้ตามปกติ สร้างวินัยใหม่ในการจัดการสอนออนไลน์ ต้องปรับตัวอย่างมากกับรูปแบบและเทคนิคการสอนใหม่ๆ ไม่นับรวมถึงการทบทวนความรู้ความเชี่ยวชาญในสาระวิชาที่ต้องสอน การเขียนหลักสูตร มาตรฐาน และแผนการจัดการศึกษา ไปจนถึงการวัดผล 

ในช่วงเวลาของความยุ่งยากในการแก้ปัญหาโลกแตกในการจัดการศึกษานี้ มองได้ทั้งปัญหาและโอกาสที่จะช่วยให้ครูได้ “เปลี่ยนแปลง” หรือ “สร้างสรรค์” อะไรใหม่ๆ ให้กับวงการศึกษา ที่สามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง 

(ขวา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร

แน่นอนว่าการหยุดพักด้านหนึ่งสามารถยืดเวลาให้เราคิดวางแผนแก้ปัญหาได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเราก็มีเวลามากขึ้นที่จะให้เวลากับการหยุดเพื่อเปลี่ยนผ่านฤดูกาลชีวิต เปลี่ยนบทบาทการเป็นครู อาจารย์ จากตัวตนเดิม ครูคนเดิมที่เหนื่อยล้าได้หยุดและเติบโตเป็นครูในคุณสมบัติใหม่ ให้การหยุดได้เป็นฤดูกาลที่เราจะได้บ่มเพาะการเติบโตภายในจิตวิญญาณของครู ด้วยการค้นหาสไตล์ความเป็นเอกลักษณ์ในตัวครู ที่จะใช้สร้างความสัมพันธ์กับลูกศิษย์ให้เกิดการเรียนรู้แบบใหม่ๆ 

เพราะความ Unique ของครู คือขุมพลังที่สำคัญต่อการสร้างการเรียนรู้ ไม่แพ้การมีความรู้ที่เข้มข้น การมีเครื่องมือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทีทันสมัย หรือเทคนิคใหม่ในการจัดการเรียนการสอนที่แอคทีฟกระตุ้นการเรียนรู้ได้มากมาย 

Unique สไตล์ ตัวตน ความโดดเด่น ในความเป็นครู 

ความ Unique หรือตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ คือ คุณลักษณะที่เป็นธรรมชาติของคุณที่แสดงออกโดยไม่ได้ตั้งใจ

ซึ่งธรรมชาติความเป็นตัวเราเป็นส่วนผสมพิเศษของคุณสมบัติภายในอันหลากหลายที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิต หรือได้รับมาจากความรู้สึกและบรรยากาศรอบๆ ตัว แล้วสะท้อนออกมาเป็นตัวเรา 

ครูแนน-ปาริชาต ชัยวงษ์ กับลูกศิษย์

และความเป็นธรรมชาติในความเป็นตัวเรามักจะเกิดขึ้นในเวลาที่เราเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมโยงกับความมั่นคง (Grounding) ปลอดภัย (Security) เหมือนกับการได้กลับสู่บ้านเกิด หลายคนเชื่อว่า ตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์นี้เป็นเสี้ยวส่วนอันเก่าแก่ที่อยู่ภายในตัวเราที่พร้อมจะนำทางและเป็นแรงบันดาลใจให้เราในการทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ในฐานะครู

ในอีกด้านหนึ่ง ความ Unique สร้างมาจากสภาพแวดล้อมที่เราเติบโต ความเป็นคนกล้าแสดงออก ดุ เคร่งในระเบียบวินัย  หรือเป็นคนสนุกสนานร่าเริง ยืดหยุ่น ขี้เล่น มีอารมณ์ขัน มั่นใจ สร้างสรรค์ หรือใจดี ล้วนเป็นคุณสมบัติที่ได้รับมาจากการเลี้ยงดู ตัวแบบ หรือความคาดหวังจากสังคม 

แต่บางครั้ง ด้วยความคาดหวังของสังคมทำให้ความเป็น Unique ของครูไม่ได้นำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ แต่เป็นครูจากตัวตนที่สังคมหล่อหลอมให้เราเป็น เช่น 

ครูที่ดุ และชอบที่จะควบคุมโดยใช้อำนาจ

ครูที่เป็นผู้รู้ ชอบชี้แนะสั่งสอนคนที่ไม่รู้

ครูที่แก่วิชา มุ่งเป้าการสอนที่เนื้อหาที่มีความสมบูรณ์แบบ ทันสมัย

ครูผู้น่าเกรงขาม มีความเป็นผู้ใหญ่มีสถานะอำนาจอยู่เหนือวัยวุฒิของลูกศิษย์ควรค่าแก่การเคารพ

ครูผู้คุมกฎ ที่มีอำนาจในการควบคุมชีวิต ผิด-ถูก ได้-ตก ของลูกศิษย์

การใช้ตัวตนในความเป็นครูที่สวมบทบาทที่สังคมหล่อหลอมตลอดเวลาทำให้ ความ Unique ที่เป็นคุณสมบัติเดิมแท้ หรือธรรมชาติความเป็นครูที่มีอยู่ภายในครูแต่ละคนได้ถูกละเลย จนไม่มีโอกาสได้ส่งมอบของขวัญอันมีค่าในการทำงานเป็นผู้สร้างการเรียนรู้ที่โดดเด่นและแตกต่าง 

ความ Unique เป็นอะไรได้บ้าง

ความ Unique เป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติที่มีมาตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ว่าครูจะพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองเท่าไร ครูจะรู้สึกเป็นธรรมดามากถ้าได้เป็นตัวของตัวเอง 

เรียกได้ว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เราไม่ค่อยรู้ตัวว่ามีอยู่ แต่มักใช้ได้ผลเสมอเมื่อนำตัวตนนี้มาใช้ในการสอน สังเกตได้จากบรรยากาศของห้องเรียนที่ผู้เรียนตื่นตัว สนใจเรียนรู้เป็นพิเศษ ความ Unique จึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องสังเกตและใคร่ครวญบ่อยๆ จนค้นเจอ

ความ Unique เป็นขุมพลังที่ใช้ขับเคลื่อนชีวิต ครูจะค้นพบจากการสังเกตกิจวัตรที่ลงมือทำแล้วมีความสุข มีแรงบันดาลใจที่จะผลักดันให้การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้น  

ความ Unique เป็นสิ่งที่ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแล้วยิ่งมีความสร้างสรรค์ ต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เกิดการพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่อยู่ในภาวะหมดไฟ หมดแรงบันดาลใจ เหนื่อยหน่าย เบื่อ (Burn out) แต่รู้สึกสอดประสานกับความเป็นตัวเราได้ดี มีความสุข

ครูยอดรัก ธรรมกิจ

ความ Unique หรือสิ่งที่เราเป็นจะเชื้อเชิญให้ผู้คนเข้าหาเรา เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกศิษย์ หรืออาจได้รับเสียงสะท้อนว่าเมื่ออยู่กับครูแล้วรู้สึกปลอดภัย เพราะได้รับความไว้วางใจจากลูกศิษย์ เมื่อเราเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริงแล้วจะสามารถช่วยเหลือผู้คนได้ด้วยวิธีคิดเชิงบวกในแบบที่ตัวเราเป็น

ความ Unique ของเราอาจจะแตกต่างจากค่านิยมของสังคม ที่คาดหวังให้เราเป็นครูในแบบที่ควรเป็น ไม่ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก เช่น สีผิว รูปร่าง เพศ สถาะทางสังคม ระดับการศึกษา ศาสนา หรืออายุ ดังนั้น ความโดดเด่นในแบบที่เราเป็นจะมีความหลากหลาย แตกต่างจากครูในกระแสหลัก แต่จงเชื่อมั่นเถอะว่าความ Unique ในแบบที่คุณเป็นจะมีประโยชน์และสำคัญสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายเช่นเดียวกัน

ไม่มีความ Unique หนึ่งเดียวในตัวเรา

ยังมีความ Unique ที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเราอีกมากมายที่พร้อมให้ครูได้ค้นหา และอาจซ่อนอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ช่วงเวลาที่ครูมักไม่มั่นใจหรือเกิดความผิดพลาดในการสอน ความไม่มั่นคงขณะสอน อาจเป็นชั่วขณะที่ครูตั้งหลักไม่อยู่ ถ้าครูสามารถตระหนักรู้และใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้ครูได้ค้นพบของขวัญชิ้นสำคัญที่ครูสามารถนำมาใช้เป็นคุณสมบัติใหม่ในการสอนได้อย่างมีพลัง

บางครั้งครูที่ใช้ความ Unique ของการเป็นคนเข้มแข็ง/ห้าวหาญ ในการสอน แต่หากครูใช้คุณสมบัติตรงข้ามที่ครูอาจละเลย คือความเป็นคนอ่อนโยน/โอบอุ้ม ก็อาจทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เข้าถึงผู้เรียนได้อย่างนุ่มนวล และช่วยเปิดใจให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงกับเรามากขึ้น

ครูที่ใช้เหตุผล/ความคิด นำความรู้สึก หากใช้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ รับฟังผู้เรียนมากกว่าโต้แย้งและเอาชนะทางความคิด อาจได้ความรักความทุ่มเทจากลูกศิษย์ในการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าเว้นระยะห่าง

ความ Unique ที่ซ่อนอยู่หลากหลายในตัวตนขณะเป็นครูในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดหรืออยู่ในโซนของความไม่รู้ (Unknown) เช่นนี้ มักนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศและความสัมพันธ์ในการเรียนรู้ระหว่างครูกับลูกศิษย์ที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้ 

ครูเอ๋-ปัญชลี ฉัตรอริยวิชญ์

เปลี่ยนแปลง “การศึกษา” ด้วยการค้นหาความ “Unique” ในตัวครู

ด้วยความเชื่อมั่นในคุณครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงทุกคนซึ่งเป็นแนวหน้าในการสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ The Potential จึงได้สร้างสรรค์คอลัมน์ใหม่ ในชื่อ “Unique teacher” ซึ่งคงได้ผ่านตาผู้อ่านมาบ้างแล้ว เราตั้งใจนำเสนอครู ที่นำความ Unique คุณสมบัติที่มีภายในตัวมาใช้สร้างสรรค์ห้องเรียนให้มีชีวิต และคำนึงถึงความมีชีวิตจิตใจของผู้เรียน มีอะไรบ้างฝากติดตามที่ The Potential นะครับ แต่แน่นอนว่าคุณครูเหล่านี้ล้มลุกคลุกคลานมาก่อนเช่นเดียวกัน อยากให้กำลังใจคุณครูทุกคน ชวนมาค้นหาความ Unique ของตัวเองกันครับ

การมีครูสักคนที่ไม่เพียงสอนเก่ง แต่เชื่อมั่น และมองเห็นเมล็ดพันธุ์ในตัวเราที่พร้อมจะเติบโต ผลักดันให้เรามีความหวังที่จะพัฒนาตัวเอง เส้นทางการเรียนรู้ที่มีความหมายก็พร้อมที่จะเริ่มต้นขึ้น และไม่เพียงนักเรียนที่เรียนรู้ แต่ครูก็เรียนรู้และขัดเกลาความยูนีคในตัวไปด้วยเช่นกัน

ติดตามอ่านคอลัมน์ Unique teacher ได้ที่ https://thepotential.org/column/unique-teacher/

Tags:

ครูกิตติรัตน์ ปลื้มจิตรunique teacher

Author:

illustrator

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

Illustrator:

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Related Posts

  • Movie
    Freedom Writers: ครูผู้ชวนเด็กๆ ขีดเขียนชีวิตในแบบของตัวเอง ด้วยความเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิมีชีวิตที่ดี

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    ย่อยของยาก ซอยเป้าหมายให้ง่าย ครูช่วยได้ด้วย SCAFFOLDING

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • 21st Century skills
    คำถามสำคัญกว่า ควรมีการบ้านหรือไม่ คือ มีการบ้านไปเพื่ออะไร

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Creative learning
    MAGICAL CLASSROOM: ครูทุกคนต่างมีเวทมนตร์ในตัวเอง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel