Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Creative learning
21 January 2020

สุข สนุก และได้เลือกเรียนเอง เด็กๆ บ้านควนเก จึงอยากมาโรงเรียนทุกวัน

เรื่อง The Potential

โรงเรียนบ้านควนเก จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนที่นำวิชาโครงการฐานวิจัย (Research-Based Learning) หรือ RBL มาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ โดยหลักการคือให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ผ่านกิจกรรมหรือประสบการณ์ใกล้ตัว เช่น การศึกษาสีประกอบอาหารจากธรรมชาติ การทำขนมโรตีกรอบ รวมถึงการศึกษาพันธุ์ข้าวในชุมชนตัวเอง แบ่งออกเป็นขั้นตอน ทั้งสิ้น 14 ขั้นตอน เริ่มจาก…

1. เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว
เพื่อทำความรู้จักเรื่องที่จะทำ ได้รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดของตัวเอง

2. สำรวจ/วิเคราะห์/จำแนกและเลือกเรื่อง

เพื่อสำรวจเรื่องราวรอบตัว เช่น ทุนในชุมชน ทั้ง 5 ทุน ว่าพบอะไรบ้าง จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูล และเลือกเรื่องที่สนใจขึ้นมาทำ

3. พัฒนาเป็นโจทย์วิจัย
ช่วยกันเหลาประเด็นให้เล็กลง ค้นหาความสำคัญของเรื่องไปเขียนเป็นหลักการและเหตุผลของโครงงาน จากนั้นตั้งคำถามย่อยในสิ่งที่อยากรู้ให้ได้มากที่สุด

4. ออกแบบวิจัย

ช่วยกันตรวจสอบคำถามวิจัย เพื่อค้นหาวิธีการหาคำตอบ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย แหล่งเรียนรู้ และผลที่คาดว่าจะได้รับ

5. นำเสนอโครงงาน

6. สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
เพื่อค้นหาวิธีเก็บข้อมูล เช่น การสัมภาษณ์ผู้รู้จริง

7. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

8. ตรวจสอบข้อมูล

นำข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้จากการลงพื้นที่ มาประเมิน วิเคราะห์ และสกัดผลออกมา

9. คืนข้อมูลสู่ชุมชน

10. กำหนดทางเลือกใหม่

11. จัดทำแผนปฏิบัติการ

12. ทดลองลงมือปฏิบัติ

13. สรุปผล

14. นำเสนอผลการวิจัย

เห็นได้ว่าหัวใจหลักในวิชาโครงงานฐานวิจัย RBL เริ่มจากเรื่องง่ายๆ โดยการตั้งโจทย์ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว ผ่านการสำรวจต้นทุนในชุมชนของพวกเขาและคัดเลือกเรื่องที่จะศึกษาจากความสนใจของพวกเขาเอง ผลลัพธ์ของ RBL นอกจากติดอาวุธให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก และได้เรียนในสิ่งที่เขาต้องการแล้ว ยังเชื่อมโยงพ่อแม่ โรงเรียน และชุมชน ให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางอีกด้วย

หมายเหตุ: โรงเรียนบ้านควนเก จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนหนึ่งในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล สนับสนุนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ศูนย์วิจัยด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล

อ่านบทความ การเรียนรู้โดยใช้วิชาโครงการฐานวิจัย (Research-Based Learning) โรงเรียนบ้านควนเก
อ่านบทความ ชวนพ่อแม่มาเป็นครู สอนวิชาที่เด็กๆ ชอบและไม่มีอยู่ในตำรา โรงเรียนบ้านควนเก จังหวัดสตูล

Tags:

ระบบการศึกษาโรงเรียนเทคนิคการสอนResearch Base Learning(RBL)

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Creative learning
    เปิดห้อง MAKERSPACE โรงเรียนบ้านปลาดาว: แค่นั่งมองต้นไม้เฉยๆ ก็รู้ว่าเรียนรู้จากมันได้

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Unique Teacher
    ศราวุธ แก้วบุตร: นับหนึ่งที่ครูเดลิเวอรี วันนี้คือครูเต็มตัวผู้เข้าถึงปมในใจเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

  • Creative learning
    ‘โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง’ ดินคือกระดาษ จอบคือปากกา วิชาอยู่กลางทุ่ง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Unique Teacher
    ‘ครูภาคิน’ ครูไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผิดได้ และเป็นมนุษย์แบบพวกเอ็งนั่นแหละ

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel