- ผลสำรวจตลาดงานในอนาคต โดยสถาบัน McKinsey Global Institute บอกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ใน 750 สายอาชีพ มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น
- การเอาตัวรอด-ความคิดสร้างสรรค์-ทักษะเรื่องดิจิทัล-ความสามัคคี ล้วนเป็นสิ่งที่โลกต้องการ แต่กลับไม่ได้ถูกสอนในโรงเรียน
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science ไม่ใช่แค่การเขียนโค้ดเท่านั้น แต่จะต้องฝึกคิดคำนวณ การออกแบบระบบอินเตอร์เฟส (เชื่อม2อุปกรณ์เข้าด้วยกัน) ฝึกวิเคราะห์ผลข้อมูล เรียนรู้เรื่องเครื่องจักร ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่เราเรียกกันว่า (AI) ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันในโลกนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป มีข้อยืนยันมากมายที่แสดงให้ว่าความต้องการในตลาดแรงงานเปลี่ยนและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญกับทิศทางของการทำงานในอนาคตที่อาจเปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าจริงแล้วๆ โลกของการศึกษายังไม่ได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับในเรื่องนี้มากเท่าไหร่
จากการวิเคราะห์ตลาดงานในอนาคต โดยสถาบัน McKinsey Global Institute พบว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ใน 750 สายอาชีพ มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติ โดยดูจากวิธีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จุดสำคัญคือเทคโนโลยีนั้นจะช่วยขยับขยายอาชีพในระดับอุตสาหกรรม รวมถึงเพิ่มทักษะและเรตของค่าจ้างได้หรือไม่
การสำรวจเช่นนี้ ทำให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติมีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้เกิดการเลิกจ้าง แต่จะนำพาไปสู่การคัดเลือกอาชีพรวมถึงการเกิดทักษะใหม่ๆ ขึ้นแทน
เตรียมรับมือกับคนรุ่นในอนาคตได้อย่างไร
เด็กวัยประถมที่จะเรียนจบมหาวิทยาลัยในช่วงปี 2030 พวกเขาจะทำงานถึงปี 2060 หรือมากกว่านั้น โดยไม่รู้ว่าความต้องการของตลาดแรงงาน จะเปลี่ยนตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยอีกหรือไม่ ?
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ากลับเข้าไปดูการเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ จะพบว่าเนื้อหายังล้าหลัง การสอนเด็กแบบเดิมๆ ให้อ่าน-เขียน-เรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ประวัติศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่ต่างจากที่สอนในปี 1918
แม้จะให้ศูนย์การเรียนรู้หรือโรงเรียน หันมานำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในห้องเรียนมากขึ้น แต่ยังคงไม่มีการพูดถึง ‘เนื้อหา’ ที่ใช้สอนสักเท่าไร ทั้งๆ ที่ควรจะถูกให้ความสำคัญแลปรับแก้ไปพร้อมๆ กัน
การเอาตัวรอด-ความคิดสร้างสรรค์-ทักษะเรื่องดิจิทัล-ความสามัคคี ล้วนเป็นสิ่งที่โลกต้องการ แต่กลับไม่ได้ถูกสอนในโรงเรียน แม้จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการสร้างสื่อนำเสนอต่างๆ – แต่ไม่ใช่สร้างทักษะดิจิทัลอย่างแท้จริง
สิ่งที่สอนในวันนี้ ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในยุค 2030
การเขียนด้วยลายมือจะหมดไป ไม่ต้องคำนวณโจทย์เลขที่ซับซ้อนด้วยการเขียนอีกแล้ว และไม่ต้องจำข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ด้วยตัวเองอีกต่อไป เพราะมีตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมอย่างระบบอินเทอร์เน็ต
ในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุก โรงเรียนจะต้องผลัก ‘วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science’ เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอนให้ได้ ไม่ใช่แค่การเขียนโค้ดเท่านั้น แต่จะต้องฝึกคิดคำนวณ การออกแบบระบบอินเตอร์เฟส (เชื่อม2อุปกรณ์เข้าด้วยกัน) ฝึกวิเคราะห์ผลข้อมูล เรียนรู้เรื่องเครื่องจักร ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ด้วย
ประโยชน์ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ นอกจากจะช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาได้แล้ว ยังส่งผลต่อการประกอบอาชีพเชิงเทคนิค ในทุกอาชีพและทุกระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแค่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น
นักเรียนจะชอบหรือไม่ชอบ ?
การสำรวจพบว่า วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิชาอันดับสองที่เด็กชอบมากที่สุด รองจากวิชาศิลปะ
ดังนั้นผู้นำด้านการศึกษาหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง น่าจะเริ่มพูดคุยกันได้แล้วว่า เราควรจะโละเนื้อหาที่ล้าหลัง เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับหลักสูตรใหม่ๆ ได้หรือยัง?
‘วิทยาการคอมพิวเตอร์’ ไม่ควรถูกอยู่แค่ในชมรมหลังเลิกเรียน ที่มีไว้ในใช้แข่งขันหุ่นยนต์หรือให้กลุ่มพวกแฮ็คคาธอน (Hackathon) แต่ควรจะยกให้อยู่การเรียนหลัก และนักเรียนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน
สิ่งที่โรงเรียนควรสอนคือความรู้ในอนาคตไม่ใช่อดีต
หลายประเทศเริ่มยอมรับวิทยาการคอมพิวเตอร์อยู่ในหลักสูตรระดับชาติแล้ว อย่างใน 44 รัฐ ทั่วสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนนโยบายให้วิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของแกนหลักทางวิชาการ รวมถึง 25 ประเทศทั่วโลก ที่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ จนออกประกาศให้เพิ่มการสอนนี้ลงในหลักสูตรด้วย ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ อิตาลี มาเลเซีย สวีเดน และไทย
แม้การสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนอาจฟังดูน่ากลัว แต่ก็สร้างความหวังครั้งใหม่ขึ้น เนื่องจากได้เพิ่มแรงบันดาลใจให้ครูและนักเรียน แม้ว่าส่วนใหญ่ครูจะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ และหลายโรงเรียนก็ขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ปัญหาเหล่านี้จึงถูกมองเห็นและได้รับการแก้ไขมากขึ้น เหมือนกับที่ประเทศบราซิล ชิลี และไนจีเรีย กำลังเริ่มทำ
อนาคตของการทำงานอาจไม่แน่นอน แต่สิ่งที่แน่นอนคือ วิทยาการคอมพิวเตอร์จะมีความต้องการสูงขึ้น
ซึ่งนักเรียนทุกคนควรได้เรียนรู้มันในฐานะวิชาพื้นฐาน