Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Relationship
21 March 2025

Breadcrumbing: เลิกกั๊กแล้วรักได้มั้ย? ความสัมพันธ์ที่มีแต่ความหวังลมๆ แล้งๆ ไม่พัฒนาไปไหน

เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Breadcrumbing หมายถึง การหลอกล่อให้เราอยู่ในความสัมพันธ์บางอย่างที่ไม่ได้พัฒนาไปไหน อีกฝ่ายอาจใช้การปฏิสัมพันธ์เล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่มีเจตนาพัฒนาความสัมพันธ์อย่างจริงจัง เปรียบเหมือนการโปรยเศษขนมปังให้เราเดินตามไปเรื่อยๆ
  • คนที่ถูก Breadcrumbing มักรู้สึกพึงพอใจในชีวิตน้อยลง สิ้นหวังมากขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์เช่นนี้จึงนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตได้
  • เรามีค่าพอที่จะได้รับความรักโดยไม่ต้องร้องขอ เพราะความรักที่แท้ต้องมาจากใจ ไม่ใช่การร้องขอ และควรสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความต้องการของตัวเอง และหากอีกฝ่ายไม่เปลี่ยนแปลง ควรเลือกเดินออกจากความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน

ในยุคที่เทคโนโลยีทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น การพบปะผู้คนใหม่ๆ ผ่านโลกออนไลน์จึงกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นการพบปะในบริบทของการทำงาน การหาเพื่อน หรือแม้กระทั่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก

บางครั้งความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ก็ก่อให้เกิดความสับสนงุนงงเมื่อไม่สามารถสร้างความชัดเจนได้ว่าเรากำลังพูดคุยกันในฐานะอะไร อีกฝ่ายดูเหมือนจะสนใจชอบพอในตัวเรา แต่ก็มาๆ หายๆ วันหนึ่งทำเหมือนว่ารัก อีกวันทำเหมือนไม่รัก พฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่า ‘Breadcrumbing’ เป็นการหลอกล่อให้เราอยู่ในความสัมพันธ์บางอย่างที่ไม่ได้พัฒนาไปไหน

Breadcrumbing คืออะไร

Breadcrumbing มีที่มาจากคำว่า ‘Breadcrumb’ ซึ่งแปลว่าเศษขนมปัง เมื่อนำมาใช้เปรียบเปรยพฤติกรรม Breadcrumbing จึงหมายถึงการนำ ‘เศษขนมปัง’ มาล่อเราให้เดินตามไปโดยไม่ได้มีจุดหมายที่ชัดเจน ทำเพื่อต้องการล่อให้เราเดินตามไปเรื่อยๆ เท่านั้น

พูดง่ายๆ ก็คือ การหว่านเสน่ห์เพื่อให้เราหลงและมีความหวัง แต่ก็ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นคนรักอย่างจริงจัง

คนที่ทำพฤติกรรม Breadcrumbing มักใช้ ‘การปฏิสัมพันธ์เล็กๆ น้อยๆ’ ในการสื่อสารกับอีกฝ่าย ไม่ต่างอะไรจากการโปรยเศษขนมปังให้ เช่น กดไลก์ คอมเมนต์อีโมจิตามโพสต์ ตอบกลับข้อความเป็นครั้งคราว ฯลฯ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องลงแรงหรือเสียเวลามาก เพราะตัวเองก็ไม่ได้หวังจะพัฒนาความสัมพันธ์นี้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ Breadcrumbing ยังหลอกให้ความหวังอีกฝ่ายผ่านการวาดฝันถึงกิจกรรมต่างๆ ที่อยากไปทำร่วมกัน แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริงเสียที โดยมักใช้การกล่าวถึงกิจกรรมนั้นอย่างผิวเผิน ไม่มีรายละเอียด ไม่มีวันนัดที่ชัดเจน หรือหากมีการนัดหมาย เมื่อถึงวันนัดก็มักจะหาข้ออ้างได้ตลอด

อีกลักษณะเด่นของ Breadcrumbing ที่คล้ายกับความสัมพันธ์ท็อกซิกแบบอื่นๆ คือ ‘เดี๋ยวรักเดี๋ยวไม่รัก’ บางครั้งก็ส่งคำหวานมาให้ ทำให้ดูเหมือนว่าสนใจและอยากพัฒนาความสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็เงียบหายไปเลย ทำเป็นเมินเฉยเหมือนไม่รักเราแล้ว

ความสัมพันธ์ท็อกซิกบางประเภทอาจทำให้ความรักกลายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและคาดเดาไม่ได้ ในช่วงแรกอีกฝ่ายอาจแสดงออกถึงความใส่ใจในระดับปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความใส่ใจเหล่านั้นกลับลดลงหรือพบได้น้อย สิ่งใดที่หายากย่อมถูกมองว่ามีค่ามาก ดังนั้นความรักความใส่ใจที่หายากนี้จึงถูกมองว่ามีค่ามาก

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ตกอยู่ในความสัมพันธ์เช่นนี้จึงอาจมองเห็นความรักที่อีกฝ่ายมอบให้มีค่ามากเกินจริง ทั้งที่ในความเป็นจริง สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเพียงการกระทำขั้นต่ำ (Bare Minimum) ที่คนรักทั่วไปพึงกระทำกัน

เช่น ‘การตอบข้อความของอีกฝ่าย’ เป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ที่ดี แต่ในความสัมพันธ์แบบ Breadcrumbing การละเลยข้อความมักเกิดขึ้นบ่อยๆ ดังนั้นเมื่ออีกฝ่ายไม่ละเลยและตอบกลับ เราจึงรู้สึกมีความสุขมาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย

ทำไมจึง Breadcrumbing

คนที่ทำพฤติกรรม Breadcrumbing อาจกระทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้บางคนแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น

  • คลายเหงา – ความเหงาเป็นกลไกของมนุษย์อย่างหนึ่งที่ผลักดันให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่ได้ต้องการปฏิสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง แค่อยากหาคนคุยแก้เหงา เลยเลือกใช้ความสัมพันธ์เช่นนี้ทดแทน
  • ไม่อยากผูกมัด – บางคนชอบการคุยกับคนอื่นเพื่อแค่ให้หัวใจกระชุ่มกระชวย ไม่ได้อยากพัฒนาความสัมพันธ์ด้วย เพราะลึกๆ ในใจแล้วก็ไม่ได้อยากลงหลักปักฐานกับใคร
  • หลีกเลี่ยงความอึดอัดทางอารมณ์ – คนที่ทำ Breadcrumbing มักไม่ชอบการเผชิญหน้าหรือความขัดแย้ง เลยจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เครียดๆ เช่น การอธิบายความรู้สึกของตัวเอง หรือการผูกมัดต่างๆ

ผลกระทบจากการถูก Breadcrumbing

คนที่ถูก Breadcrumbing อาจยุติความสัมพันธ์เช่นนี้ได้ยาก เนื่องจากรู้สึกว่าความสัมพันธ์นี้ยังพอมีหวังที่จะไปต่อได้ ซึ่งเป็นกลวิธีที่คนทำ Breadcrumbing ใช้เพื่อให้เรายังมีความหวังและยื้อให้เราอยู่

แม้เราจะรู้สึกถึงความหวังในความสัมพันธ์นี้ แต่ทุกครั้งที่เราพยายามสานสัมพันธ์กับอีกฝ่ายจะเต็มไปด้วยความสับสน ความคับข้องใจ และความผิดหวัง เนื่องจากสิ่งที่วาดฝันไว้ร่วมกันไม่เคยเป็นจริงสักที อีกทั้งเขายังทำเป็นเฉยชา อยากจะมาก็มา อยากจะไปก็ไป

งานวิจัยจากวารสาร International Journal of Environmental Research and Public Health ปี 2020 พบว่า คนที่ถูก Breadcrumbing รายงานว่ารู้สึกพึงพอใจในชีวิตน้อยลง สิ้นหวังมากขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยว ด้วยเหตุนี้เองความสัมพันธ์เช่นนี้จึงนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตได้

แล้วเราจะจัดการกับ Breadcrumbing ได้อย่างไร?

Dr. Sabrina Romanoff นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวว่า คนที่ติดอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Breadcrumbing สามารถถอนตัวออกมาได้ โดยวิธีที่ดีในการเริ่มต้นคือ ‘การพิจารณาทางอื่น’ เช่น ลองคิดดูว่าหากเราไม่ได้มีความสัมพันธ์เช่นนี้จะเกิดอะไรขึ้น เราจะได้รับหรือเสียอะไรไปบ้าง

คำแนะนำต่อมาคือ ‘การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา’ บอกความต้องการของเราไปตรงๆ เช่น อยากพัฒนาความสัมพันธ์นี้ไปอีกขั้น หรือบอกไปตรงๆ ว่าเราไม่ชอบพฤติกรรมไหนและอยากให้ปรับเปลี่ยนอย่างไร เมื่อบอกไปแล้วให้ดูความประพฤติของอีกฝ่าย หากมีการแก้ไขก็เป็นเรื่องที่ดี แต่หากไม่มีการปรับเปลี่ยนก็ควรพยายามยุติความสัมพันธ์

สุดท้าย Dr. Romanoff เตือนให้จำไว้ว่า ‘เรามีคุณค่าในตัวเอง’ มองให้เห็นและรักในคุณค่านั้น 

เรามีค่าพอที่จะได้รับความรักโดยไม่ต้องร้องขอ เพราะความรักที่แท้ต้องมาจากใจ ไม่ใช่การร้องขอ เมื่อเรารักและปฏิบัติกับตัวเองอย่างดีก็จะดึงดูดคนแบบเดียวกันเข้ามาหา

ความรักจะงอกงามในสภาพแวดล้อมที่เปี่ยมไปด้วยความรัก เมื่อคนเหงาสองคนมาเจอกันก็มีแต่จะฉกฉวยประโยชน์จากอีกฝ่ายเข้ามาเติมเต็มช่องว่างในใจตัวเอง แต่เมื่อคนที่รักตัวเองสองคนมาเจอกันจะมีแต่การแบ่งปัน การให้ที่เกิดจากใจ ฉันรักตัวเองแล้วและต้องการมอบความรักนี้ให้กับคนอื่นด้วย

ผู้ที่ทำ Breadcrumbing มีแต่จะฉกฉวยประโยชน์จากอีกฝ่ายเข้ามาเติมเต็มความโดดเดี่ยวในใจของตัวเอง ดังนั้นความสัมพันธ์เช่นนี้จึงไม่อาจนำไปสู่ความรักที่แท้จริงได้ สิ่งสำคัญคือการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง และเลือกเดินออกจากความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน เพื่อให้มีโอกาสพบกับความรักที่แท้จริง

อ้างอิง

ภูริตา บุญล้อม. (2024). Breadcrumbing พฤติกรรมที่หว่านเสน่ห์ไปทั่วแต่ไม่คิดจริงจัง.

Brittany Loggins. (2024). Feeling Led On? You Might Be A Victim of Breadcrumbing.

OSHO. (2564). Being in Love [ดีไซน์รัก]. ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

Psychology Today. (n.d.). Breadcrumbing.

Tanyaporn Thasak. (2021). รู้จักกับ “Breadcrumbing” เมื่อเขาแค่อยากเก็บเราไว้ แต่ไม่ได้อยากจริงจัง.

Tags:

ความสัมพันธ์ความรักrelationshipBreadcrumbingการให้ความหวังสุขภาพจิต

Author:

illustrator

ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Movie
    Modern love : ไม่จำเป็นต้องลืมคนเก่า-ถูกแทน หัวใจเรารักได้มากกว่านั้น

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Relationship
    Platonic Love: ความรักที่ไม่จำเป็นต้องตกหลุมรัก ไม่ครอบครองและไม่มีวันเลิกรา

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Relationship
    Parasocial Relationship: รักข้างเดียวของแฟนคลับ ความสัมพันธ์ที่ต้องรู้เท่าทัน

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    Asexual ชีวิตที่อยู่นอกกรอบเรื่องรักใคร่

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Dear ParentsMovie
    Orange is the new black: แม้ในเรือนจำความเป็นมนุษย์ไม่ควรถูกกักขัง

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel