Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Education trend
22 September 2020

‘เราต้องการคนที่อยู่รอดได้ทุกสถานการณ์วิกฤต’ โจทย์ใหม่ระบบการศึกษาไทย TEP@Rayong 2020

เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • งานเสวนา โลกเปลี่ยนการศึกษาเปลี่ยน โดย ดร.สัมพันธ์  ศิลปนาฎ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปบริษัทเวสเทิรน์ ดิจิตอล (Western Digital) ภายในงาน TEP@Rayong 2020 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง วันที่ 12 กันยายน 2563
  • ในฐานะตัวแทนจากภาคธุรกิจและทำงานคลุกคลีวงการการศึกษามา 20 กว่าปี ดร.สัมพันธ์ให้เหตุผลไว้ว่าที่เราต้องปฎิรูปการศึกษา เพราะโลกในวันนี้ต้องการคนที่สามารถอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์ พร้อมรับกับทุกความเปลี่ยนแปลง
  • เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดร.สัมพันธ์ยกข้อมูล 4 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจ คือ Retire (โละคนที่มีทัศนคติแบบเดิมทิ้งไป), Retain (เก็บคนที่คิดว่าสามารถไปต่อได้), Retrain (เสริมทักษะให้คนเหล่านั้น) และ Recruit (คนแบบไหนที่บริษัทต้องการ)

คนแบบไหนที่จะอยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลงแบบนี้? ในโลกที่พร้อมพลิกผันได้เสมอ เป็นคำถามจาก ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปบริษัทเวสเทิรน์ ดิจิตอล (Western Digital) ซึ่งขึ้นพูดในงาน TEP@Rayong 2020 ร่วมเปลี่ยนการศึกษาระยอง ณ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง วันที่ 12 กันยายน 2563 ในหัวข้อ โลกเปลี่ยนการศึกษาเปลี่ยน

ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ

ประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดกันบ่อยในระบบการศึกษาไทย คือ ต้องปฏิรูป แต่ทำไมเราต้องปฏิรูปการศึกษา? ปัญหาเดิมของมันคืออะไร? ในมุมมองของ ดร.สัมพันธ์ เขาให้เหตุผลว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยิ่งเกิดโควิด-19 ยิ่งต้องย้ำประโยคดังกล่าว เมื่อลองมองย้อนกลับยังระบบการศึกษาที่เป็นตัวแปรหนึ่งในการผลิตคน ระบบการศึกษาแบบปัจจุบันที่เด็กใช้เวลาไปกว่า 200 วัน กับรูปแบบการสอนเดิมๆ สอนแบบที่ครูอยากสอน สามารถสร้างคนให้อยู่รอดในโลกใบนี้ได้หรือไม่

“การศึกษาต้องสอนให้เด็กพร้อมรับกับความไม่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลง ถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์ตกต่ำ ยากลำบาก แต่เราก็จะมีทักษะ ทัศนคติ หรือความหวังเชิงบวกทำให้เราอยู่รอดในสภาวะนั้นได้” ดร.สัมพันธ์กล่าว

ดร.สัมพันธ์กล่าวต่อว่า ปัญหาหนึ่งของการศึกษาไทย คือ มองแค่เป็นชอตๆ เช่น เรียนอนุบาลก็โฟกัสแค่ระดับอนุบาล เรียนประถมศึกษาก็โฟกัสแค่ระดับประถมศึกษา แต่เรายังไม่เคยมองภาพใหญ่ว่า เป้าหมายของเด็กนักเรียนจะไปทิศทางไหน ฉะนั้น เพื่อตอบปัญหานี้ ดร.สัมพันธ์ บอกว่า ถึงเวลาที่เราต้องทำให้เด็กๆ เรียนรู้อย่างมีเป้าประสงค์ (Learning with purpose) 

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดร.สัมพันธ์ ในฐานะตัวแทนจากภาคธุรกิจและทำงานคลุกคลีวงการการศึกษามา 20 กว่าปี ได้ยกข้อมูล 4 สิ่งที่กำลังเกิดในภาคธุรกิจ ได้แก่

  • Retire ทุกองค์กรต่างมีโจทย์ว่าต้องการใช้คนทำงานให้น้อยลง ทำให้พวกเขาเลือกเกษียณคนออกจากบริษัท โดยเฉพาะคนที่มีทัศนคติแบบ Fixed Mindset (ความคิดที่ไม่มีความยืดหยุ่น) เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทัศนคติแคบ 
  • Retain คำถามต่อมา คือ ถ้ามีคนทำงาน 100 คน องค์กรจะเลือกเก็บใครไว้ เก็บไว้กี่คน 
  • Retrain หลังจากเลือกว่าจะเก็บใครไว้ ก็พาพวกเขามา reskills (ปรับทักษะเดิมที่มี) และ upskills (เพิ่มทักษะใหม่) ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในประเทศไทยตอนนี้ นี่เป็นจุดที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจต้องย้อนกลับมาทำงานกับภาคการศึกษา เป็นโอกาสของโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตคนให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาด
  • Recruit เมื่อ 15 ปีที่แล้ว การเข้ามาของ automation (การทำงานโดยเครื่องจักรคอมพิวเตอร์) ทำให้วงการอุตสาหกรรมเผชิญกับสภาวะปลดคนงานออก และในช่วง 3 – 5 ปี เราก็กำลังเผชิญภาวะลดคนทำงานเช่นกัน โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ 

“สิ่งที่องค์กรใหญ่ๆ ค้นพบคือ เรามีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นเป็นล้านในแต่ละวัน แต่เรากลับใช้ข้อมูลนั้นไม่ถึง 3% แล้วนำข้อมูลมาคิดแค่ค่าเฉลี่ย หรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำให้เวลาประชุมเพื่อต่อยอดหรือแก้ไขปัญหา สุดท้ายแก้ปัญหาตอนนี้ได้ แต่สองเดือนถัดมาเกิดปัญหาแบบเดิมอีก 

“การเข้ามาของเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล (date) ได้ตั้งแต่ต้นทาง ส่งต่อรวดเร็ว ในวันข้างหน้าผลผลิตที่ผลิตเมื่อคืน ผมที่อยู่ไทยอาจจะรู้ช้ากว่าซีอีโอที่อยู่สิงคโปร์อีก สามารถตัดสินใจได้เลยทันที คำถามคือบริษัทจะเก็บคนไว้ทำไม” ดร.สัมพันธ์กล่าว

เมื่อรู้แล้วว่าคนแบบไหนที่ตลาดต้องการ การปฏิรูปการศึกษาเริ่มจาก 3 สิ่งต่อไปนี้

  • Reskill ทักษะเก่าที่ไปต่อไม่ได้ ต้องเปลี่ยนหรือโละทิ้ง
  • Upskill ทักษะเก่าที่ยังพอไปต่อได้ สามารถนำมาต่อยอด สร้างการเปลี่ยนแปลง
  • Newskill คนที่อยู่ภาคการศึกษาอยากผลิตคนแบบไหน ทำไมเราถึงต้องปฏิรูปการเรียนรู้

จะเห็นได้ว่าทักษะเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างคน แต่ก็มีข้อถกเถียงกันว่าระหว่าง Hard skills (ทักษะเชิงฝีมือ) และ Soft skills (ทักษะเชิงอารมณ์) ทักษะไหนสำคัญกว่ากัน ดร.สัมพันธ์ตอบว่า ผู้นำในองค์กร 60% มองว่า Soft skills สำคัญที่สุด โดยเฉพาะ Communication skills (ทักษะการสื่อสาร) และ Problem solving skills (ทักษะการแก้ปัญหา)

แต่ไม่ได้หมายความ Hard skills นั้นไม่สำคัญ ดร.สัมพันธ์บอกว่าการสร้าง Hard skills ได้ เด็กๆ ควรจะรู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไร เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าประสงค์ เขายกตัวอย่างผลสำรวจอาชีพที่ได้รับความนิยมในปี 2020 โดย World economic Forum ผลสำรวจระบุว่า อาชีพที่จะได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Data analystsis (การวิเคราะห์ข้อมูล) และอาชีพในกลุ่มเทคโนโลยี 

ดร.สัมพันธ์ทิ้งท้ายไว้ว่า การปฏิรูปนี้คงไม่สามารถทำได้แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เราทุกคนต้องช่วยกัน โดยเฉพาะภาคเอกชนควรเข้ามามีบทบาทเพราะถ้าพวกเขาบอกว่าแรงงานทุกวันนี้ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเอง ก็เข้ามาเลยทำให้เราเห็นว่าอยากได้คนแบบไหน

“อย่ารอพึ่งพาภาครัฐ เพราะเรารู้แล้วว่าทุกวันนี้การศึกษาที่นำโดยภาครัฐช้ามาก ไม่ทันโลกแน่นอน พาเราไปไม่รอดถ้าไม่ได้พลังจากทุกคน อนาคตต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน”

Tags:

ระบบการศึกษาระยองพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาTEP Forumสัมพันธ์ ศิลปะนาฎ

Author:

illustrator

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

เพิ่งพ้นรั้วมหาวิทยาลัยจากคณะแห่งการเขียนและสื่อมวลชน แม้ทำงานแรกในฐานะกองบรรณาธิการ The Potential หากขอบเขตความสนใจขยายไปเรื่องเพศ สิ่งแวดล้อม และผู้ลี้ภัย แต่ที่เป็นแหล่งความรู้วัยเด็กจริงๆ คือซีรีส์แวมไพร์, ฟิฟตี้เชดส์ ออฟ จุดจุดจุด และ ยังมุฟอรจาก Queer as folk ไม่ได้

Related Posts

  • Creative learningSocial Issues
    ปิดโรงสอน ย้อนคืนการเรียนรู้กลับสู่เด็ก : พลิกโควิดเป็นโอกาส กรณีศึกษาโรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • Education trend
    TEP@Rayong พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ความหวังปฏิรูปการศึกษาไทย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Education trend
    โควิด19-เทคโนโลยี-ทัศนคติ ความท้าทายเเละจุดเปลี่ยนระบบการศึกษา: สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

    เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

  • Creative learningLearning Theory
    ชวนพ่อแม่มาเป็นครู สอนวิชาที่เด็กๆ ชอบและไม่มีอยู่ในตำรา โรงเรียนบ้านควนเก จังหวัดสตูล

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Everyone can be an Educator
    TEP TALK: เรื่องเล่านอกห้องเรียนจาก พระ-แม่-เด็ก-ครู

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel