Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
EF (executive function)
8 January 2019

อ่าน เล่น ทำงาน: ความต่างระหว่าง ‘อ่านออก (เร็ว)’ กับ ‘อ่านเอาเรื่อง’

เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

ผู้ใหญ่มีคลังคำ คลังคำเป็นคนละส่วนกับเส้นประสาทที่ใช้สะกดคำแล้วอ่าน เรื่องที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์

ข้อสังเกตนี้ได้จากการศึกษาผู้ใหญ่ที่เส้นเลือดสมองตีบ หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยสะกดคำไม่ได้อีกแล้ว แต่เขาอ่านได้ แม้ว่าความหมายจะผิดเพี้ยนไปบ้างแต่ก็ใกล้เคียง

ยกตัวอย่าง ให้ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบอ่านคำว่า “แฮม” ถ้าเขาสะกดได้ เขาควรจะอ่านว่า “สระ แอ ฮ นกฮูก ม ม้า แฮม” แต่เพราะเส้นเลือดสมองตีบและเส้นประสาทที่ทำหน้าที่สะกดคำเสียหาย ผู้ป่วยรายนี้อ่านตัวอักษรที่เขียนว่า “แฮม” ออกมาว่า “เนื้อ”

ลองดูอีกตัวอย่าง ให้ผู้ป่วยอ่านตัวอักษรที่เขียนว่า “นักวาด” หากผู้ป่วยปกติดีเขาควรอ่านว่า “น หนู ไม้หันอากาศ ก ไก่ นัก ว แหวน สระ อา ด เด็ก วาด นักวาด” แต่เพราะเส้นประสาทสะกดคำเสียหายไปแล้ว ผู้ป่วยรายนี้จึงเปล่งเสียงว่า “สิน ละ ปิน”

จะเห็นว่าเส้นทางของการอ่านมิได้มีเพียงแค่สะกดคำ แต่ยังมีเส้นทางอีกเส้นหนึ่งคือเส้นทางรูปภาพ เราแปลตัวอักษรเป็นรูปภาพแล้วอ่านรูปภาพอีกทีหนึ่ง เส้นทางนี้มักใช้กับคำที่อ่านยากหรือพบไม่บ่อย เช่น ปรัศวภาควิโลม เรามิได้แค่สะกดแล้วอ่าน แต่เราแปลคำนี้เป็นภาพกลับด้านซ้ายขวาในกระจกเงาและเรารู้อยู่ก่อนแล้วว่าปรากฏการณ์กลับด้านซ้ายขวาในกระจกเงานั้นอ่านว่า “ปรัด สะ วะ พาก วิ โลม”

ถ้าเช่นนั้น เด็กๆ อ่านหนังสืออย่างไรกันแน่?!

เราพบว่าเด็กอ่านหนังสือด้วยทั้งสองวิธี คือดูตัวอักษรแล้วพยายามสะกดคำ ในขณะเดียวกันเขาจับคู่คำกับรูปภาพที่เห็นในหนังสือนิทานประกอบภาพแล้วสร้างเส้นทางการอ่านจากภาพขึ้นมาใหม่อีกเส้นทางหนึ่ง นั่นคือเมื่อพบตัวอักษรที่เขียนว่า “ช้าง” แล้วแม่ซึ่งนอนอยู่ข้างๆ อ่านว่า “ช้าง” เป็นเวลาที่เขาเห็นรูปสัตว์ตัวใหญ่ที่มีหูใหญ่งวงยาวงาแหลมและมีสี่ขา เจ้าตัวนี้แหละที่เรียกกันว่าช้าง

จากเด็กเล็กที่แม่อ่านนิทานประกอบภาพก่อนนอนทุกคืน แล้วไปโรงเรียน วันหนึ่งเขารู้แล้วว่า “ช ช้าง สระ อา ไม้โท ช้าง” อ่านว่าอะไร แล้วหมายถึงสัตว์ที่มีรูปร่างอย่างไร เขาโตขึ้นเรื่อยๆ อ่านหนังสือเก่งขึ้นเรื่อยๆ เขารู้จักคำว่า “กุญชร” แล้วเส้นประสาทก็สร้างภาพสัตว์ตัวเดียวกันขึ้นมาในสมอง บัดนี้เขามีเส้นทางที่ใช้อ่านสองเส้นทาง วันหนึ่งเมื่อเขาแก่ตัวลงเขาอาจจะมีเส้นเลือดสมองตีบ เขาอ่านคำว่า ”กุญชร” ด้วยวิธีสะกดคำมิได้เพราะเส้นประสาทสะกดคำเสียหาย เขาไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาว่า “กุน ชอน” แต่เขาจะอ่านคำว่า “กุญชร” โดยเปล่งเสียงออกมาว่า “ช้าง”

นี่คือมหัศจรรย์แห่งการอ่าน และมหัศจรรย์ของนิทานประกอบภาพก่อนนอน

เด็กอ่านออกนั้นไม่พอ การศึกษาไทยดูเหมือนจะเคร่งเครียดกับการทำให้เด็กอ่านออกเร็วที่สุดประหนึ่งว่าเด็กไทยอ่านไม่ออกเป็นความขายหน้าระดับชาติ ซึ่งว่าไปแล้วก็น่าขายหน้าจริง อย่างไรก็ตามการเฆี่ยนตีให้เด็กอ่านหนังสือให้จงได้ก่อน ป.1 เป็นวิธีที่ผิดแน่

การอ่านควรเป็นเรื่องสนุก การอ่านนิทานประกอบภาพด้วยความสุขไม่ว่าจะเป็นแม่ พ่อ หรือครูอ่านให้ฟัง หรือเขาฝึกสะกดคำแล้วอ่านเอง ทั้งสองกิจกรรมควรตีคู่ขนานมาด้วยกัน เส้นประสาทด้านเสียงและภาพพัฒนาคู่ขนานกัน ส่งเสริมและสอดรับซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสามารถที่เรียกว่า fluent reading คืออ่านอย่างแคล่วคล่องด้วยความเร็วเกือบๆ น้ำไหลไฟดับ

การเฆี่ยนตีเด็กไทยให้อ่านได้ ทำได้เพียงอ่านได้ แต่จะอ่านน้ำไหลไฟดับไม่ได้แน่นอน

มากไปกว่านี้การอ่านอย่างน้ำไหลไฟดับก็ไม่พอ ที่เราต้องการคืออ่านแล้วเก็บความได้ ซึ่งเด็กไทยส่วนใหญ่ทำไม่ได้ เหตุเพราะว่าเด็กไทยส่วนใหญ่สักแต่ว่าอ่านแต่ไม่สามารถถอดความหมายของคำแล้ว “ถือครอง” ความหมายของคำได้นานพอจนถึงคำต่อไป ซึ่งเขาจะต้องอ่านแล้วถอดความหมายของคำแล้ว “ถือครอง” ความหมายของคำที่สองเอาไว้นานพอ จากนั้นอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง แล้วอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง แล้วอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง เป็นเช่นนี้จนครบประโยค ครบย่อหน้า ครบหน้า ครบครึ่งเล่ม หมดเล่ม ก็ยังรู้เรื่อง คืออ่านเอาเรื่อง

อ่านเอาเรื่องเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีความจำใช้งานที่ดี กล่าวคือมีวงจรประสาทรองรับการถือครองความจำใช้งานได้นานพอ และนานพอที่จะถอดความหมายแล้วถือครองต่อไป ปัญหาคือเด็กไทยไม่มีระบบบริหารความจำใช้งานที่ดี

เพราะเด็กไทยไม่ทำงาน

ความจำใช้งานเกิดจากการทำงาน มิได้เกิดจากการท่องจำ ความจำใช้งานเกิดจากการทำงานด้วยนิ้วมือทั้งสิบมากพอที่จะสร้างร่างแหของความจำใช้งานและทางด่วนข้อมูลที่ความจำใช้งานจะลื่นไหลลงมาให้ใช้งาน ถือครองไว้ แล้วปล่อยไหลลงมาเมื่อถึงเวลา เด็กที่ไม่ทำงานจะไม่มีเครื่องมือนี้ในสมอง ดังนั้นแม้ว่าจะอ่านออกแต่ก็ไม่รู้เรื่อง หรือถึงแม้ว่าจะรู้เรื่องแต่ก็เก็บใจความสำคัญมิได้

ลำพังความรู้เรื่องเส้นประสาทการอ่านสองเส้นทางและเรื่องความจำใช้งานอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของ EF บอกเราว่าการบังคับอ่านที่การศึกษาไทยทำนั้นไม่ได้อะไรนอกจากอ่านออกก่อนวัยแล้วอาจจะจบเพียงเท่านั้น มิได้ประกันว่าเด็กไทยจะอ่านหนังสือเล่มหนาๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายขนาดยาว สารคดีขนาดยาว หรือตำราเล่มหนาๆ เราทำได้แค่ “อ่านออก”

แม้กระทั่งการอ่าน เป็นเรื่องเลี่ยงมิได้ที่จะต้องมีความสุขด้วย ตั้งแต่ปฐมวัย

Tags:

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อ่าน เล่น ทำงานEFและการศึกษาการอ่าน

Author:

illustrator

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 7 (จบ)

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่านเถอะนะ ง่ายจะตายชัก

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 6

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน-เล่น-ทำงาน : สมอง ‘อ่าน’ อย่างไร

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน-เล่น-ทำงาน: เล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมาก ของ ‘นิทานก่อนนอน’

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel