Skip to content
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
  • Creative Learning
    Unique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an Educator
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
21st Century skills
15 November 2018

เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • โลกที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย การเถียงและโต้แย้งจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการอยู่ร่วมกัน
  • เด็กๆ ก็เช่นกัน เขามีสิทธิไม่เห็นด้วย และ เถียง
  • แต่เด็กๆ ต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ จึงจะนำไปสู่การเถียงที่มีประสิทธิภาพและผู้ใหญ่ต้องฟัง

ขณะที่เราต่างเคยพูดหรือได้ยินว่า “เป็นเด็กเป็นเล็กอย่าหัดเถียงผู้ใหญ่” แต่การสอนให้เด็กหัดเถียงกลับเป็นสิ่งสำคัญไม่ต่างจากการกิน เคลื่อนไหว และนอนหลับ เพราะการ ‘เถียง’ หรือการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเอาตัวรอดในศตวรรษที่ 21

เพราะโลกของเด็กเองก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ มีความเห็นต่าง มีความขัดแย้ง มีการแย่งชิงพื้นที่ความเป็นตัวของตัวเอง – ถ้าไม่เชื่อ ลองดูข้างสนามเด็กเล่นสิ

อลิสัน โจนส์ (Alyson Jones) นักบำบัดและผู้เขียนหนังสือ M.O.R.E. A New Philosophy for Exceptional Living บอกว่า

“เราไม่ได้มีหน้าที่ปกป้องเขาจากปัญหาความขัดแย้งทุกอย่างในชีวิต อันที่จริงปัญหาเหล่านั้นจะช่วยให้พวกเขาสร้างเครื่องมือสำคัญในชีวิตที่เราต่างก็อยากให้พวกเขามีใจจะขาด”

เครื่องมือนั้นคือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ หรือการโต้แย้งด้วยเหตุผล รู้จักแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ วิเคราะห์ คัดกรอง และทดสอบแนวคิดของตัวเองจะช่วยให้เด็กๆ อยู่รอดท่ามกลางกองทัพข้อมูลข่าวสารทั้งจริงและเท็จในปัจจุบัน

สร้างบรรยากาศบ้านของนักคิด

ความอยากรู้อยากเห็น ขี้สงสัย และทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์ – ส่วนผสมที่ลงตัวของการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่จะเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมแบบนี้

  • พูดเรื่องยากๆ ต่อหน้าเขาบ้างก็ได้ เช่น ความเป็นไปของโลก ศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง สิ่งที่คุณชอบ และสิ่งที่คุณอยากทำให้ดีขึ้น
  • ยอมรับความแตกต่างและความอยากรู้อยากเห็น เปิดใจกว้างและแย้งกันด้วยเหตุผล แต่การเปิดใจกว้างไม่ใช่จะเปิดทุกอย่าง และต้องมีขอบเขตที่มั่นคงสม่ำเสมอโดยไม่เข้มงวดเกินไป
  • ทำบ้านให้เป็นที่ปลอดภัย เด็กๆ สามารถรู้จักอารมณ์ตัวเอง ให้รู้ว่าทุกอารมณ์สามารถยอมรับได้ ไม่มีร้ายหรือดีและไม่คงอยู่ตลอดไป แต่พฤติกรรมจากอารมณ์นั้นต้องมีขอบเขตเสมอ
  • ไม่ด่วนสรุป ฟังให้มากกว่าพูด ใช้เวลาพูดคุยกัน ทำให้การพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ในครอบครัว โดยเลี่ยงการวิจารณ์ เพราะยิ่งวิจารณ์การพูดคุยยิ่งถูกปิดตาย
  • เป็นตัวอย่างของการเคารพความเห็นคนอื่น ลองเลือกหัวข้อที่รู้แน่ๆ ว่าคุณกับลูกความเห็นไม่ตรงกัน จากนั้นก็แสดงให้เขาเห็นว่าคุณสามารถเคารพอีกฝ่ายได้แม้จะคิดไม่เหมือนกันเลยก็ตาม
  • ใช้ความผิดพลาดเป็นโอกาส ให้พวกเขาก้าวผ่านและใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน
  • ให้เด็กได้ตัดสินใจเองจริงๆ เขาจะได้มีประสบการณ์เรื่องความสำเร็จและล้มเหลวเป็นของตัวเอง

คิด-วิเคราะห์-แยกแยะ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

ผลการศึกษาล่าสุดของ เดวิด แรนด์ (David Rand) นักพฤติกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ผู้ศึกษาด้านข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ พบว่า ความเชื่อในข่าวปลอมไม่เพียงเชื่อมโยงกับการบั่นทอนทักษะการคิดวิเคราะห์เท่านั้น แต่ยังโยงไปถึงรากฐานของการหลงผิดและเชื่อมั่นในตัวเองอย่างไม่ลืมหูลืมตาด้วย

ขณะเดียวกัน พ่อแม่หลายคนคงกังวลว่า การสอนให้เด็กๆ โต้เถียงเก่งจะทำให้พวกเขาไม่เคารพ แต่คิดอีกแง่หนึ่งคือ เด็กๆ ต่างต้องการต้นแบบ คนที่คิดเป็นเหตุผลและคอยอธิบายให้พวกเขาเข้าใจ ถ้าเราอยากสอนให้ลูกไม่เชื่อคนง่าย เราก็ต้องให้มีเหตุผลที่ดีพอให้พวกเขาเชื่อใจได้ด้วย

การเรียนรู้ทักษะการโต้แย้งไม่ได้ทำให้ความสร้างสรรค์อ่อนลงและไม่ได้ปฏิเสธการตอบสนองทางอารมณ์ แต่จะทำให้เด็กรู้จักตัวอย่างด้วยความเข้าใจความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ รอบตัวมากขึ้น

ดร.ซูซาน การ์ดเนอร์ (Susan Gardner) ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันด้านปรัชญาสำหรับเด็กแห่งแวนคูเวอร์ (Vancouver Institute of Philosophy for Children) ได้สรุปไว้ว่า

“การคิดเป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสารที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาจิตใจและอารมณ์ที่แข็งแรง ไว้รับมือกับแรงกดดันในชีวิต เพื่อการตัดสินใจที่ดีและการเติบโตของตนเอง ดังนั้น การคิดไม่ใช่แค่สิ่งที่ ‘เพิ่งเกิดขึ้น’ เท่านั้น และการคิดต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วย”

เถียงอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ

การโต้เถียงเกิดขึ้นทุกวันไม่ว่าจะในโลกของเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้คนในชีวิตประจำวัน โฆษณา หนังสือ นิตยสาร ดนตรี หนัง รายการโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตที่เถียงกันเอาเป็นเอาตายถึงภาพลักษณ์ ท่าที สิ่งที่ถูก ดี มีประโยชน์ ดังนั้น เด็กๆ จึงควรหัดโต้แย้งอย่างมีประสิทธิภาพ และเรามีแนวทางบางส่วนมาให้ลองนำไปทำกันดู

  • ทำให้การโต้แย้งเป็นเรื่องสนุกและเชื่อมโยงกับวัยของพวกเขาได้ อาจเริ่มจากหนังสือหรือหนังที่พวกเขาชอบ และค่อยๆ ขยับไปเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าเมื่อพวกเขาโตขึ้น
  • สอนให้รู้จักความต่างระหว่างความคิดเห็นและการเถียง พูดว่า “ฉันคิดอย่างนี้” มันง่าย แต่จะยากและละเอียดอ่อนกว่าในการอธิบายต่อว่า ฉันคิดอย่างนี้เพราะเหตุใด
  • ทำให้ผิดหวังบ้าง เพราะเขาไม่อาจได้รับทุกอย่างตามที่คาดหวังเอาไว้
  • พิจารณามุมมองและเหตุผลต่างๆ ทุกแนวคิดต้องถูกตรวจสอบและประเมินค่าก่อนจะถูกตัดทิ้ง
  • อ่านความหมายระหว่างบรรทัด เหตุผลที่ยกมาหนุนเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่ไม่ถูกนำขึ้นมาก็สำคัญเช่นกัน
  • รู้จัก ‘ตัวอย่างค้าน’ (counterexample) ให้ลองจินตนาการถึงเวลาที่การโต้แย้งไม่เป็นไปตามที่คิด
  • การรวบรวมและแยกข้อโต้แย้งออกเป็นส่วนๆ เป็นแบบฝึกหัดตลอดชีวิต ไม่เหมือนการเรียนเรื่องเวลาหรือวิธีผูกเชือกรองเท้า
อ้างอิง:
Why It’s Good to Have Arguments With Children
Want To Raise A Critical Thinker? Step Aside And Let Them Thrive

Tags:

พ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)21st Century skills4Csความเข้าอกเข้าใจ(empathy)การฟังและตั้งคำถาม

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • 21st Century skills
    SOCIAL AWARENESS ฝึกเด็กๆ เข้าไปถึงใจคนอื่นด้วยคำถาม “ถ้าเป็นเรา-เราจะรู้สึกยังไง”

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่าเข้าใจไหมและไม่รีบเฉลยคำตอบ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้ และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    3 สูตร(ไม่)สำเร็จของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะสำคัญของปัจจุบันและอนาคต

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Creative learning
    CODERDOJO : โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยที่สนุกกับคำว่า ‘ERROR’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel