Skip to content
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
Life classroom
10 August 2018

BE KIND TO YOURSELF : ใจดีกับตัวเองบ้าง…วัยรุ่น

เรื่องและภาพ SHHHH

ปลายปี 2017 ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตเปิดเผยตัวเลขน่ากังวลพบว่า วัยรุ่นไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าถึง 44 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นตัวเลขง่ายๆ คือ 3 ล้านคน จากการศึกษาวัยรุ่นทั่วประเทศอายุระหว่าง 10-19 ปี พร้อมกันนั้นยังคาดการณ์ว่า มีวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแล้วกว่า 1 ล้านคน

พวกเขามัก ‘ใจร้ายกับตัวเอง’ จนนำไปสู่ความเครียดและโรคซึมเศร้า

เช่น ชอบตะโกนใส่ตัวเองซ้ำๆ ว่า ‘ฉันยังเก่งไม่พอ’ ‘ฉันแต่งตัวแบบนี้ดูอ้วนหรือเปล่า’ หรือ ‘ทุกคนดูชีวิตดีและมีความสุขกว่าฉัน’ และวัยรุ่นถือเป็นจุดพีค

ปัจจัยขับเคลื่อนทางจิตวิทยาที่ก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นในสังคมทุกวันนี้คือ ความหวาดกลัว (fear) ความไม่แน่นอน (uncertainty) และไร้การควบคุม (lack of control)

หนึ่งในวิธีทุเลาอาการ คือ Self-compassion  แปลเป็นไทยว่า การเมตตาต่อตัวเอง คือความสามารถในการมองเห็นและเข้าใจข้อผิดพลาดในชีวิต ตระหนักรู้ว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่เผชิญกับปัญหาเพียงลำพัง เห็นอกเห็นใจและให้อภัยต่อตัวเอง ไม่ตัดสิน ไม่กล่าวโทษและไม่ลงโทษตัวเอง

Self-compassion ถูกหยิบยกมาพูดครั้งแรกโดย คริสติน เนฟฟ์ (Kristin Neff) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยรัฐเท็กซัส (University of Texas) สำหรับบำบัดผู้ป่วยทางจิตที่เป็นผู้ใหญ่ เพื่อลดอาการเจ็บปวดทางใจ เปิดใจยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว มองทุกอย่างด้วยสติ โดยเนฟฟ์ยังชี้อีกว่า Self-compassion ช่วยกระตุ้นแรงบันดาลใจและมาตรฐานการทำงานให้สูงขึ้นภายใต้ความคิดว่า ‘เราไม่จำเป็นต้องใจร้ายกับตัวเองเพื่อให้ประสบความสำเร็จ’

เรเชล ซิมมอนส์ (Rachel Simmons) ผู้เขียนบทความเรื่อง ‘The Promise of Self-compassion for Stressed-out Teens’ ลง New York Timesกล่าวว่า Self-compassion เป็นอุปนิสัยที่ช่วยลดอาการโลกแตก หัวร้อนและความเครียดของวัยรุ่น

จากประสบการณ์ของเรเชลนั้น อุปนิสัยที่กลุ่มวัยรุ่นซึ่งมีความเสี่ยงว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้ามีเหมือนกันนั้นคือ การชอบวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง (Self-criticism) และมีความรู้สำนึกถึงตัวตนเอง (self-consciousness) สูง เช่น ‘ฉันยังเก่งไม่พอ’ ‘ฉันแต่งตัวแบบนี้ดูอ้วนหรือเปล่า’ หรือ ‘ทุกคนดูชีวิตดีและมีความสุขกว่าฉัน’ เป็นต้น โดยเฉพาะเด็กหญิงช่วงวัยมัธยมจะมีความรู้สึกนึกคิดแบบนี้มากที่สุดและมี Self-compassion ต่อตนเองน้อยที่สุด

“ช่วงวัยรุ่นถือเป็นจุดพีคของความเครียดของชีวิตและวัยรุ่นที่มีความรู้สำนึกถึงตัวตนเอง (Self-consciousness) สูง พวกเขาจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองภายในสูงกว่าคนอื่น” เรเชลกล่าว

ขีดเส้นใต้หนาๆ เอาไว้ว่า Self-compassion ไม่ใช่การปลอบใจให้ตัวเองรู้สึกดีไปวันๆ แต่เป็นการเตือนใจให้พวกเขารู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบเพื่อที่จะได้มีคุณค่า กล่าวคือ การปรับทัศนคติทางความคิดให้ค่อยๆ ยอมรับความผิดพลาดของตนเองเพื่อที่จะกลับไปเดินตามเส้นทางที่ตั้งเป้าเอาไว้อย่างมีสติ

Tags:

ซึมเศร้าวัยรุ่นจิตวิทยา

Author & Illustrator:

illustrator

SHHHH

Related Posts

  • Adolescent Brain
    Mindsight: บริหารสมองด้วยการทำสมาธิ ที่ช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสังคม

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    “วิชาทักษะแห่งความสุข” มะขวัญ วิภาดา อาจารย์ที่พาไปเข้าใจความสุขบนโลกที่เศร้าลง

    เรื่อง กรกมล ศรีวัฒน์ ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • How to get along with teenager
    เปิดใจ-รับฟัง ช่วยวัยรุ่นแก้ปัญหาอย่างนักจิตวิทยาโรงเรียน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Social Issues
    พี่ลาเต้ DEK-D: มหัศจรรย์การสอบสุดจะเครียด 10 ปี ไม่มีเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Adolescent BrainHow to get along with teenager
    รักที่จะรัก: เมื่อลูกๆ มีความรัก พ่อแม่จะทำอย่างไรดี?

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel