Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Voice of New Gen
29 September 2020

Nexplore กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ทุกคนคิดแบบ Superhero Thinking ปลดปล่อยไอเดียบ้าๆ เพื่อสร้างนวัตกรรม

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Nexplore คือกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อสร้าง community ชวนและช่วยคนรุ่นใหม่คิดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม ผ่านการออกแบบชุดประสบการณ์ ด้วยเครื่องมือ Design Thinking
  • เริ่มตั้งแต่เข้าใจประเด็นทางสังคม บริบทการขับเคลื่อน คุยกับนวัตกรเพื่อสังคม จากนั้นจึงพัฒนาโจทย์และนวัตกรรมฉบับจำลอง (Prototype) ตามความสนใจของตัวเองโดยจะมีเมนเทอร์ช่วยให้คำแนะนำ
  • “กระบวนการในค่าย เราเลือก Design thinking เป็นอย่างแรกเลยเพราะเป็นกรอบความคิดที่ให้เราได้คิดทั้งมุมแคบและกว้าง เห็นภาพสังคมในจุดที่เล็กและใหญ่ที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาสังคมในแต่ละจุดได้ และอย่างที่สอง มันเป็นการใช้ทุกฐานของร่างกายในการทำที่เราเรียกว่า heart head hand หนึ่งสมอง สองมือ หนึ่งหัวใจในการลงมือทำตลอดกระบวนการ” จี๋–ชลิสา แก้วหล้า ตัวแทนสมาชิก Nexplore

อีกหนึ่งอาชีพใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจ และอยากหยิบมาเล่าในตีม Generation of Innovator วันนี้คือ การเป็นกลุ่มเพื่อน ตัวกลาง หรือ community ที่ชวนและช่วยกลุ่มคนรุ่นใหม่คิดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมโดยใช้กระบวนการ Design Thinking – ทั้งหมดนี้พวกเขารวมตัวกันในนาม Nexplore

Nexplore ที่ตั้งใจหมายความว่า explore to connect ออกไปทดลองเพื่อเชื่อมโยงถึงกัน

จากซ้ายไปขวา จิ๊บ-ชญานิษฐ์ แก้วหล้า, เพ่ยเพ่ย-ฐิติวรดา ทิมขำ, ปลา-นฤมล ทิพย์รักษ์, จี๋–ชลิสา แก้วหล้า และ เบสท์-ชาลิสา อินทิสาร

Nexplore คือการรวมตัวกันของ 3 ศิษย์เก่าที่เคยเข้าร่วมโปรแกรม The Exploring Social Innovation (ESI) ที่จัดโดย VIA Program โปรแกรมที่ชวนนักศึกษาจากหลากมหาวิทยาลัยและนักวิชาการรุ่นใหม่ทั่วเอเชีย ไปดูงานด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) สังคมในซานฟรานซิสโก และ ซิลิคอล วัลเลย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งการไปเรียนรู้งานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นั่นได้สร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งสามคนเป็นอย่างมาก

ไม่ใช่แค่เข้าใจว่าปัญหาสังคมคืออะไร แต่กระบวนการอะไรที่จะทำให้คนซึ่งมีไอเดีย มีไฟฝัน มีกำลัง ได้มารวมกลุ่มกันและดึงศักยภาพตัวเองออกมาใช้งานได้ – นี่คือไอเดียตั้งต้นที่เอิร์ท-วีระวัชร์ มงคลโชติ, โบว์-พรพรรณ​ ตั้งมั่น​จิต​ธรรม​ และ จี๋–ชลิสา แก้วหล้า อยากทำ โดยเฉพาะการใช้วิธีการแบบนวัตกรเข้ามาผลักดันประเด็น

ปัจจุบัน Nexplore ได้ค่อยๆ ขยายตัวมีทีมงานเพิ่มเติมอีกหลายคน ในหลากหลายคนนั้น ที่มาคุยกับ The Potential วันนี้คือ เบสท์-ชาลิสา อินทิสาร, จิ๊บ-ชญานิษฐ์ แก้วหล้า, เพ่ยเพ่ย-ฐิติวรดา ทิมขำ และ ปลา-นฤมล ทิพย์รักษ์

ความน่าสนใจของกลุ่มและที่ The Potential อยากบอกเล่าวันนี้ คือ สิ่งที่ Nexplore เรียกว่า ‘การออกแบบประสบการณ์’ ผ่านเครื่องมือ Design Thinking ซึ่งเห็นว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมคนรุ่นใหม่

จี๋–ชลิสา แก้วหล้า

‘การออกแบบประสบการณ์’ เครื่องมือที่จะพาคนเข้าใจประเด็นทางสังคมอย่างลึกซึ้งและเปี่ยมความคิดสร้างสรรค์

เพราะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของทั้ง 3 คน โดยเฉพาะจี๋ หญิงสาวอายุ 23 ปีที่มาคุยกับเราวันนี้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเรื่องการออกแบบการเรียนรู้ของคน และ การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมโดยเฉพาะ ด้วยดีกรีปริญญาตรีจากคณะ School of Global Studies and Social Entrepreneurship ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์และการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และปัจจุบันจี๋ทำงานด้านการบริหารนวัตกรรมเรียนรู้ และ การโปรเจคการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี ให้กับศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning Center) ภายใต้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

การทำงานของ Nexplore ในปีแรกออกแบบให้คล้ายกับโปรแกรม The Exploring Social Innovation Program โดยชักชวนผู้ที่สนใจอยากขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมด้วยวิธีคิดแบบนวัตกร พวกเขาก็ได้ใช้เรื่องการออกแบบชุดประสบการณ์เข้ามาในขั้นตอนนี้

จี๋อธิบายว่า โปรแกรมออกแบบให้ผู้เข้าเห็นภาพการขับเคลื่อนสังคม เช่น พาไปดู‘ร้านขยะศูนย์บาท’ เปลี่ยนขยะเป็นเงิน ชวนให้เข้าใจการสร้าง Social Innovation (นวัตกรรมเพื่อสังคม) ผ่านการคุยกับนวัตกรเพื่อสังคม อย่าง คุณพิ-พิริยะ กุลกาญจนาชีวิน จาก Glow Story ช่วยคนเล่าเรื่องเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และ คุณต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร จาก SCB 10x พร้อมพาไปคุยกับโครงการธุรกิจเพื่อสังคมอย่าง Fashion Revolution – เครือข่ายที่ต้องการสร้างความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มาจากอุตสาหกรรมแฟชั่น และ insKru – พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน และสุดท้ายจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาโจทย์และนวัตกรรมฉบับจำลอง (Prototype) ตามความสนใจของตัวเองโดยจะมีเมนเทอร์ช่วยให้คำแนะนำ

“กระบวนการในค่าย เราเลือก Design thinking เป็นอย่างแรกเลยเพราะเป็นกรอบความคิดที่ให้เราได้คิดทั้งมุมแคบและกว้าง เห็นภาพสังคมในจุดที่เล็กและใหญ่ที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาสังคมในแต่ละจุดได้ และอย่างที่สอง มันเป็นการใช้ทุกฐานของร่างกายในการทำที่เราเรียกว่า heart head hand หนึ่งสมอง สองมือ หนึ่งหัวใจในการลงมือทำตลอดกระบวนการ”

จี๋อธิบาย 5 ขั้นตอนของการทำ Design Thinking ว่า…

  • Empathy การเข้าใจปัญหา ลงไปเก็บข้อมูลกับ user หรือผู้ใช้ว่ารู้สึกต่อปัญหานี้อย่างไร ต้องเข้าใจผู้ใช้มากขนาดที่ว่าเราสามารถตอบคำถามแทน user ได้เลย
  • Define สรุปประเด็นสำคัญของปัญหาว่าจากข้อมูลทั้งหมด เราอยากจะแก้ไขหรือบทสรุปสำคัญของปัญหาคืออะไร ในปัญหานี้มีรูปแบบความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง อะไรบ้าง 
  • Ideate การระดมความคิดว่าจะแก้ปัญหา (Solution)ดังกล่าวอย่างไร และเพื่อตอบคำถามในขั้น Define
  • Prototype การสร้างแบบจำลองหรือการสร้างต้นแบบเพื่อให้เกิดการจำลองเพื่อวิพากษ์และนำมาซึ่ง process ของการพัฒนาทางแก้ไขปัญหา
  • Test การทดลอง ทำให้ได้พัฒนากระบวนการแก้ปัญหาของเราให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการปรับปรุงพร้อมรับความเห็นจากผู้ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณธ์ต่อไป

โดยเฉพาะในขั้นตอนการ Define เพื่อสรุปปัญหา ทีมจะให้ตั้งคำถาม ‘How might we question’ หรือจะทำอย่างไรดีให้ … และเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกอะไร?

ทำไมต้อง How might we question? ทำไมต้องทำความเข้าใจ? – เราถาม

ปลา หนึ่งในสมาชิกกลุ่มที่เข้าไปร่วมงานในฐานะผู้ช่วยให้คำปรึกษากับ insKru แง่รูปแบบการ Co-Creation อีกหนึ่งการทำงานของทีม อธิบายว่า “วิธีการทำงานแบบนี้ การออกแบบประสบการณ์ผ่านกระบวนเหล่านี้ มันเป็นการเปลี่ยนคนนอกให้เป็นคนในนะ ตอนแรกเรามองประเด็นการศึกษาจากมุมคนนอก เพราะเรามีชุดประสบการณ์กับระบบการศึกษาในฐานะนักเรียนมาตลอด สิบยี่สิบปี ก็จะรู้สึกว่าทำไมครูไม่ทำแบบนี้ไม่ทำแบบนั้น แต่พอเป็นคนใน ได้รับฟังปัญหาของครู ก็จะเห็นว่ามีอะไรหลายอย่างกดดันกดทับไว้อยู่ ครูเองไม่ได้อยากทำแบบนั้นหรอกแต่ต้องทำ เลยกลายเป็นว่าเราเห็นปัญหาชัดขึ้น เข้าใจขึ้น และด้วยกระบวนการจะช่วยให้เราหาวิธีที่ไม่ทำลายกันขนาดนั้น เราคิดว่าอันนี้เป็นมุมที่ดีของวิธีคิดแบบนวัตกร”

ปลา-นฤมล ทิพย์รักษ์

Superhero Thinking : ปลดปล่อยไอเดียบ้าๆ เพื่อมองหานวัตกรรม

“นอกจากนี้สิ่งที่ Nexplore จะผลักดันอยู่ตลอดเวลาคือการคิดแบบ Superhero Thinking ซึ่งจะทำให้เห็นกรอบความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (Solution) ทั้ง 4 แบบคือ หนึ่ง – Practical Idea ไอเดียที่เป็นไปได้ สอง – Innovative Ideas ไอเดียที่แปลกใหม่ มีเซนส์เป็นนวัตกรรม สาม – Moonshot Ideas ไอเดียที่มีความเป็นไปได้อยู่บ้างแต่ยาก ต้องใช้ต้นทุน เช่น เวลา พลังงาน เหมือนส่งคนไปดวงจันทร์ และ สี่ – Superhero Ideas ไอเดียที่เป็นไปไม่ได้ ขัดแย้งกับวิถีผู้คน (Social Norm) ถือว่าเป็น Impossible Mission” จี๋กล่าว และยกตัวอย่างไอเดียของ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดที่ถือเป็นจุดกำเนิดของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ว่า…

“ตอนเฮนรี ฟอร์ด คิดรถยนต์ ซึ่งคนในสมัยนั้นยังใช้ม้าในการเดินทาง เขาไม่ได้คิดโดยตั้งต้นว่าจะทำอย่างไรให้ม้าวิ่งเร็วกว่าเดิม แต่คิดว่าทำอย่างไรให้คนเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าเดิม เหมือนกับคำพูดที่ว่า If I had asked people what they wanted, they would have said faster horses.” ซึ่งนี่ถือเป็นวิธีคิดแบบ Superhero Thinking ที่เธอมองว่า ไอเดียบ้าๆ อย่าง Superhero Ideas นี่แหละนี่เป็นหัวใจของการเกิดนวัตกรรม ซึ่งควรเปิดพื้นที่ให้คนกล้าคิดคล้าฝันถึงไอเดียเช่นนี้

ขณะที่ ปลา สมาชิก Nexplore ที่ปัจจุบันเข้าไปร่วมงานในฐานะที่ปรึกษาของ insKru เสริมว่า “เวลาเราทำงานสร้างสรรค์ พอทำไปสักพักจะเริ่มมีกรอบชุดความคิดในการทำงานแบบที่จะไม่ยอมปล่อยไอเดียที่ดูเป็นไปไม่ได้ออกมาเลย เพราะมันรู้ตั้งแต่ในหัวว่าเป็นไปไม่ได้ แต่พอมาทำแบบนี้ มาคิดแบบ Superhero Thinking ที่ทำให้ได้ crazy idea หรือปล่อยไอเดียบ้าๆ ออกมา มันมันส์เหมือนกันนะ พอปล่อยออกไปแล้วมันนำไปสู่ความคิดว่า เฮ้ย จริงๆ มันก็น่าจะทำได้เหมือนกันนะเพียงแต่ก่อนหน้านี้เหมือนเราจะไม่ปล่อยมันเลย เพราะเราคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้”

อีกก้าวของ Nexplore การเป็นเพื่อนผู้ให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจเพื่อสังคม

อีกหนึ่งงานที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ (และได้แอบเล่าไปบ้างแล้ว) คือการเข้าไปเป็น ที่ปรึกษาให้กับกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม (Consultant Service) ที่จี๋และเพื่อนอธิบายว่า ไม่ใช่แค่การให้คำปรึกษาแต่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจอย่างที่เรียกว่าการ Co-create โดยกลุ่มที่ร่วมงานด้วยกันแล้วคือ กลุ่ม Fashion Revolution – เครือข่ายที่ต้องการสร้างความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มาจากอุตสาหกรรมแฟชั่น และ insKru – พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

“ที่เข้าไป Co-creation กับสองกลุ่มนี้ได้ก็เพราะตอนจัดค่ายปีที่แล้วเราเชิญ 2 กลุ่มนี้มาเป็นวิทยากร คุยไปคุยมา พี่เอิร์ทเลยชวนร่วมงานกันด้วยเลย” จี๋เล่า

เบสท์-ชาลิสา อินทิสาร และ เพ่ยเพ่ย-ฐิติวรดา ทิมขำ

เบสท์และเพ่ยเพ่ย ในฐานะผู้รับผิดชอบงาน Co-creation กับ Fashion Revolution เล่าว่า งานนี้เรียกว่าลุยงานร่วมกันทุกอย่างตั้งแต่ การเก็บข้อมูลกับ user ค้นหาข้อมูล ทดลองว่าสิ่งที่คิดนั้นใช้จริงๆ หรือเปล่า เมื่อจัดงานใหญ่ประจำปีอย่างงาน clothes swap หรืองานที่ให้คนเอาเสื้อผ้ามาแลกกันแทนที่จะซื้อเสื้อผ้าใหม่ ก็ต้องลงไปเก็บข้อมูลอีกรอบ ซึ่งทั้งคู่เล่าว่าบทบาทนี้สนุกและเปิดโอกาสให้พวกเธอได้ทดลองทำงานหลายอย่างที่ไม่อาจได้ทำในพื้นที่อื่นๆ

“การทำงานที่นี่ อะไรๆ ก็เป็นไปได้หมดเลย เพ่ยไม่ได้จบแฟชั่นมาแต่มีแพชชันเรื่องนี้ เราก็ลงมือได้เต็มที่ คิดอะไรออกมาก็เป็นไปได้หมด ทุกคนก็เปิดโอกาสให้ลองทำ” เพ่ยเล่า

“มันเป็นพื้นที่ที่ทำให้เบสท์เห็นว่าจริงๆ แล้วมันมีทรัพยากร มีโอกาส มีคนเยอะแยะมากที่ทำงานด้านสังคมอยู่ ทำให้เห็นเครือข่ายคนทำงานและ connection อย่างงาน clothes swap ก็มีองค์กรที่เสนอจะให้ใช้ Blockchain กับอีเวนต์ในอนาคตเพื่อ มา track และเก็บข้อมูลเสื้อผ้า พื้นที่แบบนี้ เบสท์ว่ามันจำเป็นมากสำหรับการทำงานเครือข่ายคนรุ่นใหม่” เบสท์กล่าว

ก่อนจากกันไป เราถามทีม Nexplore ว่าในฐานะคนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านนวัตกรรม พื้นที่แบบไหนที่จะสร้างนวัตกรรมได้ และคิดว่าคนกลุ่มนี้ต้องมีทักษะอะไรบ้าง 

“พื้นที่ที่ไม่มีการจำกัดกรอบความคิดด้วยคำว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่มีข้อจำกัดหรือกฏเกณฑ์มาจำกัดวิธีว่ามีวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีที่ ‘ถูกต้อง’ หรือสิ่งที่ควรทำในการแก้ไขปัญหา เพราะการละทิ้งกรอบความเป็นไปได้เดิมๆ และเปิดใจให้กับจิตนาการใหม่ๆ จะทำให้นวัตกรกล้าคิด กล้าแชร์ไอเดีย กล้าทำในสิ่งที่ disruptive นำมาสู่นวัตกรรมที่มีผลกระทบสูง” จิ๊บตอบคำถามแรก 

จี๋สำทับคำตอบของคำถามที่สองว่า “Superhero Thinking คือต้องเป็นคนที่คิดอะไรนอกกรอบความเป็นไปได้เดิมๆ จะช่วยทำให้นวัตกรรมนั้นมันส่งผลกระทบเชิงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อผู้คน ทัศนคติที่ไม่มองว่าการแก้ปัญหาคือเรื่องยากเกิดเอื้อม และ การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องสำคัญ”

““ที่น่าสนใจคือ คนรุ่นใหม่ทุกวันนี้จี๋คิดว่าเรามีเซนส์ของความสงสัยใคร่รู้ (sense of curiosity) มากขึ้น เรากล้าที่จะสงสัยและลงมือค้นหาคำตอบให้กับเรื่องที่คนในสมัยก่อนคิดว่าไม่ควรถาม ซึ่งจี๋คิดว่ามันสำคัญมากที่จะทำให้คนในสังคมช่วยกันจินตนาการถึงภาพสังคมในอุดมคติ ว่าในความเป็นจริงแล้วสังคมจะที่ดีขึ้นกว่านี้มันควรจะเป็นยังไงกันนะ” จี๋กล่าวปิดท้าย

Tags:

นวัตกรdesign thinkingGeneration of Innovatorประเด็นทางสังคมNexploreชลิสา แก้วหล้า

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Illustrator:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Voice of New Gen
    ‘เครื่องล้างหอยนางรม’ นวัตกรรมโดยเด็กเมืองหอยใหญ่ ที่จะทำให้การกินหอยนางรมหรอยอย่างแรงแบบปลอดภัย

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Voice of New Gen
    ชวนฟังเสียงจากคนรุ่นใหม่ Voice of new gen

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    ปิยะธิดา อินทะนัย: จากนักเรียนสู่นักวิจัยรุ่นเยาว์ ผ่านโครงการทำอาหารกุ้งฝอยจากเบต้ากลูแคน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ The Potential

  • Character buildingVoice of New Gen
    “ลูกค้าคือทรัพยากรของนวัตกรรม” ทักษะคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างนวัตกรรม กับ ต้อง – กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร SCB10X

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีเพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Voice of New Gen
    ‘เราจะก้าวสู่จุดที่เด็กทำวิจัยกับนักวิจัยเพื่อส่งของขึ้นอวกาศอย่างเป็นเรื่องปกติ’ ภูมิปรินทร์ มะโน

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel