Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Life classroom
23 June 2022

การถูกล่วงเกินทางเพศ การไม่กล้าบอกกล่าว และความสามารถของชุมชนในการรับฟัง

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ผู้ที่ถูกล่วงเกินทางเพศ ไม่ว่าจะถูกล่วงเกินในระดับใด จะมีพื้นที่ที่ดูปลอดภัยมากขึ้นสำหรับการที่พวกเขาจะบอกเล่าเรื่องราวให้ใครสักคนฟัง เพื่อถามหาความยุติธรรมหรืออย่างน้อยก็เพื่อที่จะเยียวยาตัวเอง
  • เหล่าผู้ล่วงเกินย่อมรู้จักวางหมากกล และมักบิดความรับรู้ของคนที่เขาหาประโยชน์ทางเพศด้วยและของใครก็ตาม เพื่อให้ตัวผู้ล่วงเกินลอยนวลได้ เช่นเดียวกับกรณีของ ‘เซ็ธ (Seth Shelley)’ ผู้ชายที่ถูกผู้ข่มขืนโยนความผิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความต้องการและความผิดของเซ็ธ
  • การมีใครสักคนที่สามารถรับฟังเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาได้ โดยไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเนิ่นนานเกินไป ก็เป็นปฐมบทของการเยียวยาและเป็นการเกื้อกูลชุมชนไปด้วยเหมือนกัน

1.

แม้ในปัจจุบัน ผู้ที่ถูกล่วงเกินทางเพศ(ซึ่งเกิดได้กับคนทุกความหลากหลายทางเพศ)ไม่ว่าจะถูกล่วงเกินในระดับมากน้อยเพียงใด จะมีพื้นที่ที่ดูปลอดภัยและเป็นมิตรมากขึ้นสำหรับการที่พวกเขาจะบอกเล่าเรื่องราวให้ใครสักคนฟัง เพื่อถามหาความยุติธรรมหรืออย่างน้อยก็เพื่อที่จะเยียวยาตัวเอง 

แต่พื้นที่สำหรับการบอกเล่าแม้แค่ให้คนใกล้ชิดทราบ ก็ยังไม่ได้เป็นพื้นที่สำหรับทุกคน 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อที่ผู้ที่ล่วงเกินเป็นผู้นำหรือผู้มีอิทธิพลโดยมีภาพลักษณ์แห่งคุณธรรมความดีงามและมีคนยอกลิ่นกราบไหว้ ถือได้ว่าผู้ล่วงเกินเป็นผู้มีอำนาจ และความชวนศรัทธาก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบอำนาจอันไม่อาจแตะต้องของเขา

2.

มีตัวอย่างให้เห็นว่า ผู้ที่ถูกล่วงเกินทางเพศในขณะที่ถูกล่วงเกินนั้นมักเป็นผู้คนที่มีสิทธิอำนาจน้อยกว่า เจนโลกน้อยกว่า เข้าถึงทรัพยากรได้น้อยกว่า ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนน้อยกว่ามาก หรือจำต้องพึ่งพาผู้ที่ล่วงเกินเพื่อความอยู่รอดหรือในการทำงาน หรือเป็นคนที่ถูกวัฒนธรรมหรือคนรอบข้างบ่มเพาะให้รู้สึกว่าต้องเคารพบูชา อวยยศ เกรงใจ เตรียมพร้อมสำหรับการถูกเรียกใช้ หรือแม้แต่หวาดกลัวผู้ล่วงเกินซึ่งมีลำดับขั้นทางสังคม (social rank) สูงกว่ายังไม่ต้องพูดถึงการดำเนินการทางกฎหมายหากเข้าองค์ประกอบความผิดต่างๆ เอาแค่ว่ากล้าเล่าให้คนใกล้ชิดสักคนฟังก็เป็นเรื่องซับซ้อนอ่อนไหวเกินไปในหลายบริบทแล้ว

มีตัวอย่างจากการแสดงความเห็นเชิงแย้ง เมื่อผู้หญิงที่ถูกล่วงเกินไม่ว่าจะแค่ถูกลวนลามหรือร้ายแรงกว่านั้นออกมาพูด เช่น เมื่อ Gretchen Carlson นักข่าวและพิธีกรโทรทัศน์ชาวอเมริกัน ออกมาพูดเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทำงานว่าเป็นเรื่องของ “อำนาจ” ก็กลับมีความเห็นแย้งว่าเธอแต่งตัวไม่เรียบร้อยออกมาพูด หรือบอกว่าผู้ชายรู้สึกว่าทำได้เพราะมีผู้หญิงที่พร้อมจะใช้เซ็กส์เพื่อประโยชน์ทางการงาน หรือความเห็นเชิงน้อยเนื้อต่ำใจของผู้ชายที่บอกว่าเพื่อนร่วมงานสาวสวยได้ประโยชน์จากเจ้านายผู้ชาย ในขณะที่เขาต้องทำงานหนักกว่ามาก ฯลฯ เหล่านี้เป็นอีกด้านที่ได้รวมมาไว้เพื่อจะประมวลต่อไป  แม้จะพยายามเข้าใจหลายฝั่งแต่ก็ไม่ได้แปลว่าต้องคล้อยตามไปทุกประเด็น และความเห็นข้างต้นก็ทำให้ไม่แปลกใจที่ส่วนหนึ่งของคนที่ถูกล่วงเกินจะไม่กล้าพูดอะไรมาตลอด บ้างทำได้เพียงลวงให้ตัวเองลืมสิ่งที่เกิดขึ้น หรือบอกตัวเองว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เพื่อที่อีกเป็นทศวรรษต่อมาจะต้องกลับมาทำงานกับความทรงจำที่เคยกดไว้ซึ่งในที่สุดได้ล้นทะลักเชี่ยวกราก และเพิ่งอนุญาตให้ตัวเองโกรธในชั่วขณะหนึ่ง และต้องหาวิธีไม่ให้มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แต่เกิดขึ้นเพื่อการเติบโตของเรา มันไม่รู้สึกยุติธรรมหรอกหากผู้เสียหายต้องทำงานกับข้างในตัวเองอย่างหนักโดยปิดปากเงียบ โดยที่แม้แต่ถูกถล่มโดยผู้คนที่กลัวจะต้องรับรู้ด้วยซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เสียหาย ในขณะที่ผู้ล่วงเกินสามารถอยู่กับการบิดเบือนความเป็นจริงและรับการเยินยอต่อไปได้เรื่อยๆ

“เขาดัง สูงส่ง แกเลยไปยั่วล่ะสิ งานมโนก็มานะหล่อน เขาเฟรนลี่กับทุกคนแหละ” เสียงแขวะทำนองนี้จากส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ติดตามของเขาเป็นสิ่งคาดหมายได้เมื่อผู้เสียหายมีปฏิกิริยาบางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยรั่วไหลออกมา และแม้ความลับจะยังคงเป็นความลับต่อไป

ไม่ได้แปลว่าผู้ที่เผชิญการฉกฉวยโอกาสและถูกปั่นหัวให้สับสนกับความรับรู้ของตัวเองจะต้องใสๆ และไม่ได้แปลว่าเพศหลากหลายอื่นนอกจากชายจะใช้อำนาจและอภิสิทธิ์แสวงหาประโยชน์ทางเพศและโกหกไม่ได้ เพราะคนทุกความหลากหลายทางเพศสามารถเป็นได้ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ลองดู Men Need to Talk about their Sexual Abuse ซึ่งเซ็ธ (Seth Shelley) ผู้ชายที่เคยถูกข่มขืนเล่าว่าหลังจากเกิดเหตุ ผู้ข่มขืนพูดว่ามันเป็นความผิดของเซ็ธและจะไม่มีใครเชื่อเรื่องเล่าของเซ็ธ ผู้ข่มขืนบอกว่าคิดว่าเซ็ธต้องการ! 

เหล่าผู้ล่วงเกินย่อมรู้จักวางหมากกล และมักบิดความรับรู้ของคนที่เขาหาประโยชน์ทางเพศด้วยและของใครก็ตาม เพื่อให้ตัวผู้ล่วงเกินลอยนวลได้ 

ในกรณีของเซ็ธ เขาสับสน ส่วนหนึ่งของเขาเชื่อตามผู้ล่วงละเมิดเขาว่าเขาเป็นคนผิด เขาอยากเล่าเรื่องที่เกิดกับเขาให้ใครสักคนฟัง แต่ก็ปิดปากมานานเพราะมีญาติผู้หญิงที่โดนกระทำทางเพศซึ่งเมื่อพูดก็กลับโดนสังคมตัดสินในทางลบ ผสานไปกับความกดดันจากบางแนวคิดเรื่องความเป็นชาย (masculinity) เช่น ชายแท้ถูกข่มขืนไม่ได้ ทำให้ผู้ชายอย่างเขาก็ไม่กล้าพูดเหมือนกัน แต่แล้วมันก็เหนื่อยล้าและกัดกร่อนเกินไปที่จะต้องไม่ยอมรับความเจ็บปวดของตัวเอง ในที่สุดชายหนุ่มก็ออกมาพูดโดยตระหนักว่าเรื่องราวของเขาไม่ได้ตัดขาดจากชุมชน เขาพูดได้น่าสนใจว่า 

เมื่อเราสามารถรับฟังเรื่องราวของการถูกกระทำและความเจ็บปวด เราก็ ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นจริงๆ และสิ่งนั้นมันไม่โอเค

มีคนทำแบบนั้นกับเซ็ธจริงๆ และใครหลายคนก็เจอเรื่องทำนองนี้ และมันแย่สำหรับพวกเขา ความเจ็บปวดของทุกคนเป็นของจริง การถูกได้ยินเปิดสู่การเยียวยา ส่วนการที่ชุมชนสูญเสียความสามารถในการรับฟัง และการที่ผู้ถูกล่วงเกินสูญเสียความสามารถที่จะบอกเล่าประสบการณ์เฉพาะตามความเข้าใจของเขา ก็อาจเป็นความตายอย่างช้าๆ ของชุมชนเหมือนอย่างที่เซ็ธกล่าว

3.

ดังนั้น แม้กรณีที่ผู้เสียหายจะสามารถเติบโตเกินกว่าคนที่ทำกับเขาได้ แม้เขาสามารถนำสิ่งรบกวนผ่านช่องความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการถูกล่วงเกินทางเพศ การถูกบิดความรับรู้ และแม้แต่เสียงตัดสินก่นว่าจากส่วนหนึ่งของชุมชน มาใช้ทำงานกับตัวเองจนในที่สุดเขาเห็นได้ว่าลักษณะต่างๆ เป็นเพียงภาวะที่ลื่นไหลและผู้คนไม่ได้สร้างปัญหาให้เขาแต่เป็นโอกาสให้เราทำงานกับกระบวนการ (process) แห่งชีวิต 

กระนั้น การมีใครสักคน อย่างน้อยก็ในครอบครัว สามารถรับฟังเรื่องที่เกิดกับเขาอย่างที่เขารับรู้และตรงไปตรงมาได้ โดยไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเนิ่นนานเกินไป ก็เป็นปฐมบทของการเยียวยาและเป็นการเกื้อกูลชุมชนไปด้วยเหมือนกันนะ 

อ้างอิง

Men Need to Talk about their Sexual Abuse by Seth Shelley 

How we can end sexual harassment at Work by Gretchen Carlson

หมายเหตุ* เนื่องจากเป็นประเด็นอ่อนไหวจึงอ้างอิงเรื่องแต่งเป็นหลัก และได้เปลี่ยนคำพูดในบางตัวอย่างเพื่อปิดช่องมิให้กระทบกับตัวบุคคลใดๆ เลย

ภาพยนตร์ Silence โดยผู้กำกับ Hwang Dong-hyuk, ภาพยนตร์ Bombshell โดยผู้กำกับ Jay Roach, ภาพยนตร์ Devil All the Time โดยผู้กำกับ Antonio Campos

ซีรีส์ Anatomy of Scandal, สารคดี Watch Bikram: Yogi, Guru, Predator  ฉายทาง Netflix

The True Story Behind Bombshell and the Fox News Sexual Harassment Scandal

Bombshell: The real story behind the Oscar-nominated film starring Charlize Theron

Tags:

การถูกล่วงละเมิดทางเพศการรับฟังการเยียวยา

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Healing the trauma
    ความสัมพันธ์ที่ทำร้ายทารุณ

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • How to enjoy life
    Empathy Gap: เปลี่ยนการทำร้ายกันด้วยคำพูด เป็นการเรียนรู้ผู้อื่นโดยไม่ตัดสิน

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    ทำให้วิถีประชาธิปไตยอยู่ในโรงเรียน

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    A Beautiful Day in the Neighborhood: เมื่อความแหลกสลายในอดีตมาครอบงำจิตใจ จงปลดปล่อยตัวเองจากความโกรธ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Character building
    Discipline: ‘วินัย’ ไม่อาจสร้างจากความรุนแรง แต่บ่มเพาะจากความเชื่อใจและรับฟัง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel